เมื่อร่างกายต้องการน้ำตาล ตัวไหนเลวน้อยสุด

ปกติมีเพจของตัวเองชื่อ Be fit & Eat well ค่ะ แต่เรื่องนี้ข้อมูลเยอะ ไหนๆทำการบ้านมาแล้ว เลยเอามาแบ่งปันค่ะ 😄 ยาวหน่อย ค่อยๆๆอ่านไปนะคะ
ข้อมูลล้นหลามไปหมด บางคนก็ว่าน้ำตาลชนิดนี้กินได้ไม่เป็นไร บางคนบอกกินไม่ได้ สับสน วันนี้เลยมานั่งเรียบเรียงข้อมูลว่า น้ำตาลชนิดไหน มีคุณสมบัติอย่างไร แล้วที่เหลือให้ไปตัดสินใจกันเอาเองก็แล้วกันนะคะ มาให้ข้อมูลเฉยๆค่ะ วันนี้
.
แต่ก่อนอื่นเลย ไม่ว่าจะน้ำตาลปาล์ม น้ำผึ้ง น้ำตาลทั่วไปบนโต๊ะอาหาร พวกนี้ยังไงก็คือน้ำตาลนะคะ จะผิดกันก็ตรงรายละเอียดของคุณสมบัติของมันเท่านั้นค่ะ บางชนิดเป็นน้ำตาลที่เรียกว่า น้ำตาลซูโครส (sucrose) บางชนิดคือ ฟรุกโตส (fructose) ซึ่งก็จะมีผลกระทบต่อร่างกายเราต่างกันไป
.
น้ำตาลซูโครส (sucrose) เนี่ยเป็นน้ำตาลโมเลกุลคู่ หรือเรียกว่าไดแชคคาไรด์(disaccharide) หรือน้ำตาลสองชั้น(double sugar) จะมีการย่อยโดยเอนไซม์ในระบบย่อยอาหารได้น้ำตาลชั้นเดียวก่อนให้ออกมาเป็น กลูโคสและฟรุกโตส จึงจะดูดซึมต่อไปได้ในกระแสเลือด และก็ไปยกระดับของกลูโคสในกระแสเลือดให้สูงขึ้น พอน้ำตาลในเลือดสูง มากๆนานๆเข้าก็จะไปทำลายเส้นเลือด ฟันผุ และเป็นโรคเหงือกได้ นี่แบบง่ายๆนะคะ พอให้เข้าใจนะคะ อย่ามาไพ่พลังใส่กัน เราจะได้เข้าเรื่องเร็วๆ
.
ฟรุกโตสเนี่ย จะไม่เหมือนกัน คือมันจะไม่เข้าไปในกระแสเลือดแบบกลูโคส มันจะต้องเข้าไปที่ตับก่อนไปฟอกย่อยอะไรต่างๆให้มันอยู่ในรูปแบบที่ใช้การได้ก่อน เพราะฉะนั้นมันจะไม่ทำให้น้ำตาลในกระแสเลือดสูง เผินๆเหมือนดีนะคะ แต่ถ้าเรากินฟรุกโตสแหลกลานจนเกินแคลอรี่ ตัวฟรุกโตสนี้เนี่ยสามารถเปลี่ยนรูปไปเป็น triglycerides ซึ่งเป็นไขมันแท้จริง ก่อให้เกิดโรคความดันเลือดสูง โรคอ้วน เส้นเลือดแข็ง ซึ่งแย่สาหัสไปกว่ากลูโคสอีกค่ะ คือฟรุกโตสเนี่ยมันดีในแง่ที่ว่ามันไปเติมไกลโคเจนในตับให้เรา ให้สมองเราได้รับไกลโคเจนจากตรงนี้ไปเลี้ยง อีกอย่างที่ดีคือ ฟรุกโตสไม่ทำให้ฟันผุ
.
แต่ที่แย่คือเนื่องจากมันไม่ให้ประโยชน์ในด้านพลังงานให้กับร่างกายเรา (ยกเว้นสมอง) เวลาตับจะกำจัด ก็จะกำจัดให้เปลี่ยนไปอยู่ในรูปของไขมันส่งไปรวมตัวเป็นเซลล์ไขมัน และเมื่อเราไม่สามารถใช้มันได้บางทีฟรุกโตสก็จะกลายเป็นเชื้อรา แบคทีเรียได้ด้วย มะเร็งสามารถเจริญเติบโตได้ดีโดยใช้น้ำตาลฟรุกโตสเป็นแหล่งพลังงานส่วนตัว
.
แต่เอาจริงๆนะคะ น้ำตาลทุกตัวเนี่ยแย่พอกันหมดแหละถ้ากินเยอะๆ
.
แหล่งคาร์โบไฮเดรตที่ดีที่สุดก็คือพวก starch ที่พบในพืช สะสมอยู่ในเมล็ด ราก หัว ลำต้น และใบของพืช  เช่น  มัน  เผือก  กลอย พวกนี้ก็จะถูกย่อยไปเป็นน้ำตาลกลูโคส
.
น้ำตาลทุกตัวเนี่ยเราควรคุมให้อยู่ที่ 5-10% ของจำนวนแคลอรี่ทั้งหมดต่อวัน คือ ถ้าต้องการจะฟิตเฉยๆ มี body fat ประมาณ 15% สำหรับผู้ชาย และ 23-25% สำหรับผู้หญิง ก็หยวนได้หน่อยประมาณ 10% แต่ถ้าต้องการมี six-pack ก็ต้องกินน้อยหน่อย ประมาณ 5% พอ
.
มาดูกันว่า น้ำตาลแบบไหนมีอะไรซ่อนอยู่นะคะ
.

1. หญ้าหวาน (STEVIA)

.

ใช้แทนน้ำตาล เข้าใจว่ากำลังฮิต อะไรๆก็หญ้าหวาน พวกนี้ไม่มีน้ำตาล ไม่มีแคลอรี่ ทำจากใบของต้น  stevia plant จะไม่มีการยกระดับน้ำตาลในกระแสเลือด ดีสุดนะคะ แต่ข้อเสียคือ ถ้ากินเยอะๆบ่อยๆเข้า ก็จะทำให้เราติดนิสัยการกินหวานมากขค้นไปเรื่อยๆค่ะ

.

2. น้ำผึ้ง

มีส่วนผสมของฟรุกโตสและกลูโคส ส่วนดีคือมี ส่วนผสมคล้ายๆยาปฎิชีวนะ และยาฆ่าแบคทีเรีย ซึ่งก็ทำให้ใช้เป็นยาแก้ไอ แก้เจ็บคอได้ ยิ่งเกรดดีเท่าไหร่ยิ่งมีตัวยามากเท่านั้น แต่ไม่ดีอยู่อย่างนึงคือ มีแคลอรี่สูงและคาร์โบไฮเดรต(น้ำตาล)สูง

.

3. น้ำตาลมะพร้าว

.

ส่วนใหญ่เป็นซูโครสค่ะ แต่เนื่องจากไม่มีการสังเคราะห์มากมายนัก  วิธีการทำน้ำตาลมะพร้าวจะเหมือนกับน้ำตาลตโนดและเรียกว่าน้ำตาลปึก หรือน้ำตาลปี๊บเหมือนกัน คือทำจากจั่นมะพร้าว (คือช่อดอกของต้นมะพร้าว) สีของน้ำตาลมะพร้าวแท้จะออกเหลืองเข้มไปจนถึงสีน้ำตาล ขึ้นอยู่กับวัตถุดิบและเวลาในการเคี่ยว

.

เนื่องจากน้ำตาลมะพร้าวไม่ผ่านกระบวนการมากมายนัก ก็เลยยังพอมีแร่ธาตุพวก แมกนีเซียม โพแทสเซียม และ อินูลิน เหลืออยู่บ้างค่ะ

.

ข้อเสียคือ มีแคลอรี่สูง และก่อให้เกิด advanced glycation end-products (AGEs) มากๆเข้าก็จะก่อให้เกิดการทำลาย collagen สรุปคือทำให้แก่ สร้างริ้วรอย

.

ทั้งนี้เพราะว่าในร่างกายมีกระบวนการธรรมชาติตกแต่งโปรตีนที่สังเคราะห์ขึ้นมาด้วยน้ำตาลเรียกว่า glycation กระบวนการนี้จะทำให้น้ำตาลที่ไหลเวียนอยู่ในกระแสเลือดไปเกาะกับโปรตีนในร่างกายกลายเป็นโมเลกุลชนิดใหม่ขึ้นมา เรียกโมเลกุลนี้ว่า Advanced Glycation End Products ยิ่งบริโภคน้ำตาลประเภทนี้เข้าไปมากเท่าไร ก็จะยิ่งไปกระตุ้นโมเลกุล Advanced Glycation End Products หรือAGEs มากยิ่งขึ้นเท่านั้น ก็จะส่งผลกระทบถึงผิวสวยๆ มากยิ่งขึ้น

.

4. น้ำตาลทรายแดง (RAW CANE SUGAR)

.

ซูโครสเต็มๆค่ะ ทำจากอ้อย บางทีเค้าจะไว้ใส่ในนมที่ไม่ใช่ dairy คือพวกนมอัลมอนด์ นมมะม่วงหิมพานต์ และอาหารสุขภาพต่างๆ

.

น้ำตาลทรายแดงนี้จะไม่ถูกขัดมากเท่าน้ำตาลทรายขาว ก็เลยยังคงความชื้นจากพืชอยู่บ้าง ก็จะทำให้มีน้ำตาลน้อยกว่าน้ำตาลขาวในปริมาณที่เท่ากัน ก็ดีกว่าหน่อย

5. น้ำหวานจากเกสรดอกไม้ (AGAVE)

.

อย่าหลงผิดว่ามาจากธรรมชาติ น้ำตาลชนิดนี้มีความเป็นฟรุกโตสมากกว่ากลูโคสค่ะ บางทีเป็น   ฟรุกโตสถึง 90% (น้ำตาลปกติมี ฟรุกโตส แค่ 50% เอง) มีค่า GI ต่ำก็จริง คืออาจจะโอเคถ้าเป็นโรคเบาหวาน แต่เมื่อมันมีความเป็นฟรุกโตสมากขนาดนี้แน่นอนว่า โรคอ้วนถามหาแน่ๆค่ะ

.

6. น้ำตาลทรายแดงไม่ขัดสี (BROWN SUGAR)

.

ซูโครสค่ะ เหมือนน้ำตาลปกติแหละ พอมีสีจากธรรมชาติเหลือมาดูเล่นหน่อยๆ แค่นั่นแหละค่ะ แต่ไม่มากพอที่จะมีสารอะไรที่มีประโยชน์เป็นชิ้นเป็นอัน
.

7. น้ำตาลทรายขาว (GRANULATED WHITE SUGAR)

.

ซูโครสค่ะ ละลายนำ้ได้ดี เลยนิยมใช้ชงเครื่องดื่มกัน ทั้งร้อนเย็น ทำขนม ผ่านการสังเคราะห์แบบสุดตัวที่สุดของน้ำตาลทั้งหมด แย่ยิ่งกว่าแย่ค่ะ แหะ แหะ
.

8. พวกน้ำตาลแบบ SWEETENERS (ASPARTAME, SPLENDA)

.

ไม่มีน้ำตาล ไม่มีแคลอรี่ แต่เป็นสารเคมี ไม่ใช่อาหาร ยี่ห้อ Splenda เนี่ยจะเป็นซูโครส คือมีโมเลกุลน้ำตาลผสม โมเลกุล chlorine  

.

ยี่ห้อ Maltodextrin ก็มาจากข้าวโพด เอามาสังเคราะห์ปรุงแต่ง

.

Aspartame นี่อยู่ในลิสท์ของ EPA (Environmental protection agency) ของอเมริกาว่า มีสารก่อมะเร็ง potential carcinogens) และเมื่อทดลองในสัตว์ก็พบว่า เมื่อใช้จำนวนมากจะก่อให้เกิดโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลัน (leukemia) ตัวนี้เป็นสารให้ความหวานแทนน้ำตาลที่อันตรายที่สุด ทำให้ความจำเสื่อม มีส่วนที่ก่อให้เกิดเนื้องอกในสมอง ส่วนใหญ่จะอยู่ในพวกเครื่องดื่มไดเอทโซดา ชากระป๋อง อะไรพวกเนี้ยค่ะ ดูให้ดี  และจากผลการวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารด้านชีววิทยาและการแพทย์ของมหาวิทยาลัยเยล รายงานว่า แอสปาร์แตมทำให้ระดับการผลิตฮอร์โมนในร่างกายผิดปกติ ส่งผลให้อยากอาหารและต้องการน้ำตาลในปริมาณมากขึ้นกว่าเดิมด้วยค่ะ

.

ไปเลือกเอาที่สบายใจเลยค่ะ ว่าจะกินน้ำตาลตัวไหนดีวันนี้
.

Ref: Aeberli I, Zimmermann MB, Molinari L, et al. Fructose intake is a predictor of LDL particle size in overweight schoolchildren. Am J Clin Nutr 2007;86:1174–8.

Bray GA, Nielsen SJ, Popkin BM. Consumption of high-fructose corn syrup in beverages may play a role in the epidemic of obesity. Am J Clin Nutr 2004;79:537–43.
.


----------------
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่