ทำไมถึงใช้ RTG บน ยาน Curiosity และ ใช้งานได้ไหมในหน้าร้อน?

-เนื่อจากRTG (Radioisotope Thermo electric Generator) ได้พลังงานจากการแตกตัวของธาตุกัมมันตรังสี (Plutonium 238) ให้ไปทำกับโลหะควบคู่ ที่เมื่อรับความร้อนจะให้กระแสไฟฟ้าโดยอาสัยส่วนต่างของอุณหภูมิ (Thermo Couples) คล้ายๆกับPeltierนั่นแหละครับ ซึ่งอุณหภูมิเฉลี่ยนบนดาวอังคารคือ -55 องศาเซลเซียส คืออยากทราบว่าในหน้าร้อนของดางอังคารอุณหภูมิอยู่ที่ 27 องศาเซลเซียส ซึ่งใกล้เคียงกับโลก  RTGจะสามารถใช้งานได้ไหมครับ ? (เพราะขนาดบนโลกเรายังใช่แค่ในขั้วโลกที่อากาสเย็นๆเลยครับ)



       -เนื่องจากที่ผ่านมา ยานที่ลงบนดางอังคาร อาทิ เช่น PathFinder(HPT) และ คู่แฝด Spirit กับ Opportunity ใช้ Solar Cell ให้พลังงานซึ่งทำงานได้นานเกินคาดมาก   แต่ในลำล่าสุดที่ไป เจ้า Curiosity กลับไม่มี Solar Cell และหันไปใช้ RTGแทน เพราะอะไรครับ?

       -ยานRoverทั้งหลายบนดาวอังคารลำไหนมีการขัดข้องอะไรบ้างไหมครับ และ มีการกู้คืนแหละแก้ไขอย่างไร?
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 4
สำหรับ Spirit และ Opportunity นั้น เป้าหมายคือ 90 sol (วันดาวอังคาร) ครับ

ด้วยเงื่อนไขนี้จึงทำให้
- ใช้ solar cell ก็พอ เพราะ RTG ใช้ได้หลายสิบปี ไม่คุ้ม (ยิ่งตอนนี้เหลืออยู่แค่ไม่กี่อันแล้วด้วย)
- ไม่ต้องทำระบบทำความสะอาด solar cell เพราะใช้ไม่นาน

แต่พอมันดันใช้งานได้หลายพัน sol อย่าง Opportunity ตอนนี้ก็ปาเข้าไปกว่า 4500 sol
เข้าไปแล้ว ปัญหาต่างๆ ที่ไม่ได้ออกแบบเผื่อไว้ก็เลยเกิดขึ้นครับ แต่นาซ่าก็ยังอุตส่าห์ทู่ซี้ใช้งาน
มาได้ถึงตอนนี้ (สำหรับ Spirit คู่แฝดของ Opportunity นี่หยุดทำงานไปหลายปีแล้ว เพราะติด
หล่ม และคาดว่าทำให้ solar cell ไม่ได้รับแสงอาทิตย์มากพอจนไม่มีพลังงานพอที่จะทำงานได้
แต่ก็ยังทำงานได้ถึง 2623 sol)

ยานอื่นๆ ที่ออกไปสำรวจดาวดวงอื่น ถ้าไม่ไปไกลเกินไป ก็ยังใช้ solar cell ได้ครับ เพราะในอวกาศ
ไม่มีชั้นบรรยากาศที่บังแสงอาทิตย์ ทำให้ solar cell มีประสิทธิภาพขึ้น ประกอบกับ solar cell
รุ่นใหม่มีประสิทธิภาพมากขึ้นเรื่อยๆ ก็ทำให้ยาน Juno ซึ่งไปสำรวจดาวเสาร์สามารถใช้ solar cell
ได้แล้ว (ก่อนหน้านี้ยาน Cassini ที่ไปสำรวจดาวเสาร์ยังต้องใช้ RTG)
ซึ่งไปสำรวจดาวพฤหัสบดี
สามารถใช้ solar cell ได้แล้ว (ก่อนหน้านี้ยาน Galileo ที่ไปสำรวจดาวพฤหัสบดียังต้องใช้ RTG)

ส่วนยานที่ยังโคจรอยู่รอบดาวอังคาร (และยังใช้งานได้) ก็มี
- Mars Express (ยุโรป)
- Mars Reconnaissance Orbiter (สหรัฐอเมริกา)
- 2001 Mars Odyssey (สหรัฐอเมริกา)
- Mars Orbiter Mission (อินเดีย)
- MAVEN (สหรัฐอเมริกา)
- ExoMars Trace Gas Orbiter (ยุโรป + รัสเซีย)

https://en.wikipedia.org/wiki/Template:Mars_spacecraft
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่