Sharbat Gula หรืออีกชื่อหนึ่งว่า Afghan Girl ถูกศาลมีคำสั่งห้ามประกันตัว
แต่ยอมให้ส่งตัวไปรักษาอาการเจ็บป่วยที่โรงพยาบาล
แม้ว่าทางการปากีสถานจะได้จับกุมและตั้งข้อหา Gula ว่าถือบัตรประชาชนปลอม
แต่เธอได้รับเสียงเรียกร้องสนับสนุนจากประชาคมระหว่างประเทศอย่างล้นหลาม
Sharbat Gula สตรีชาวอัฟกานิสถาน
ที่กลายเป็นภาพหน้าปกที่ทำให้ชาวโลกสนใจกันอย่างยิ่ง
ในนิตยสาร National Geographic ในปี 1985
เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา
ศาลปากีสถานมีคำสั่งห้ามประกันตัวผู้ต้องหา
แต่มีคำสั่งอนุญาตให้ส่งตัวเธอไปรักษาที่โรงพยาบาลท้องถิ่น
Gula ถูกนำส่งตัวไปยังโรงพยาบาล Lady Reading Hospital ที่เมือง Peshawar เพราะ
มีอาการโรคไวรัสตับอักเสบซี(Hepatitis C)
Mohsin Dawar ทนายความที่ดูแลคดีเรื่องนี้
ให้สัมภาษณ์กับ National Geographic ว่า
" ไม่ทราบถึงเหตุผลว่า ทำไมโรคไวรัสตับอักเสบ
ทำให้เธอต้องถูกส่งตัวไปรักษาที่โรงพยาบาลทันที
แต่สามีของ Gula ตายเพราะโรคตับอักเสบเมื่อหลายปีก่อนแล้ว "
ขณะเดียวกัน
Dr.Omar Zakhilwal เอกอัครราชทูตอัฟกานิสถานประจำปากีสถาน
ได้เขียนข้อความลงใน Facebook
☸︎
☸︎
" Gula ถูกจำคุกที่เมือง Peshawar ทางภาคเหนือของปากีสถาน
ตั้งแต่สัปดาห์ก่อนและถูกตั้งข้อหาว่าอาศัยอยู่ในปากีสถานด้วยบัตรประชาชนปลอม
ถ้ามีการตัดสินลงโทษเธอจะต้องระวางโทษจำคุก 14 ปี
การจับกุม Sharbat Gula หนึ่งในบุคคลที่โลกรู้จักมากที่สุด
และเป็นภาพที่ชาวอัฟกานิสถานชื่นชอบมากที่สุด ได้ทำร้ายจิตใจชาวอัฟกันทั้งปวง
การดำเนินคดีในวันนี้นำไปสู่ความเศร้าเสียใจและทำร้ายจิตใจของผู้คนจำนวนมาก
และทำลายความสัมพันธ์อันดีระหว่างทั้งสองประเทศ
การปล่อยตัวเธอให้เป็นอิสระเป็นสิ่งที่ควรทำอย่างยิ่ง
นอกจากนั้น บัตรประชาชนของเธอไม่ได้ปลอม
และไม่ได้ออกมาอย่างไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
เพราะ NADRA [Pakistan's National Database Registration Authority]
ได้อนุมัติบัตรประชาชนของเธอและสามีของเธอ
ผ่านตามกระบวนการปกติเมื่อหลายปีก่อนแล้ว
หลังจากภาพของเธอปรากฎในหน้าปกของ National Geographic
เธอก็เลือกที่จะอยู่ในปากีสถานด้วยการใช้ชีวิตที่เรียบง่ายกับครอบครัวของเธอ
แม้ว่าสหรัฐอเมริกาและหลายประเทศในยุโรปต่างยินดีให้เธอเข้าไปลี้ภัยได้ "
☸︎
☸︎
อนึ่ง เจ้าหน้าที่ National Database Registration Authority (NADRA)
ได้ทำการตรวจสอบ/ทบทวนบัตรประชาชนจำนวน 91 ล้านบัตร
และตรวจพบว่าเป็นบัตรปลอมจำนวน 60,675 บัตร
ปากีสถานกลายเป็นประเทศที่หลบภัยอย่างปลอดภัย
สำหรับชาวอัฟกานิสถานหลายล้านคน
ที่ลี้ภัยสงครามจากการรุกรานของโซเวียตในปี 1979
ทำให้ประเทศนี้มีชาวอัฟกานิสถานลงทะเบียนว่าเป็นผู้ลี้ภัยจำนวน 1.4 ล้านคน
ตามตัวเลขของ UNHCR และกลายเป็นประเทศที่มีผู้ลี้ภัยมากเป็นลำดับที่ 3 ของโลก
ขณะเดียวกันหน่วยงานรัฐประมาณการว่า
ยังมีผู้ลี้ภัยอีกราว 1 ล้านคนที่ไม่ได้ลงทะเบียนแต่ยังคงอาศัยอยู่ในประเทศปากีสถาน
Dawar ทนายความของ Gula ได้ล้มเหลวในการประกันตัวเธอในช่วงวันอังคารกับวันพุธ
และรู้สึกงุนงงเป็นอย่างยิ่งที่ศาลมีคำสั่งปฏิเสธการปล่อยตัวเธอ
แม้ว่า Chaudhry Nisar Ali Khan รัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทย
ได้ให้สัมภาษณ์ในวันอาทิตย์ว่า
รัฐบาลจะทบทวนคดีนี้ด้วยมุมมองด้านมนุษยธรรม
เจ้าหน้าที่รัฐปากีสถานกล่าวว่า บัตรประชาชนจะไม่ออกให้กับคนต่างชาติ
Gula เป็นพลเมืองของอัฟกานิสถาน ที่ลี้ภัยสงครามมาในประเทศนี้ในปี 1980
และเจ้าหน้าที่รัฐ 3 นายในเมืองเปชาวาร์ถูกไล่ออกข้อหาสงสัยออกบัตรประชาชนปลอม
ให้กับชาวอัฟกานิสถานจำนวนหลายคนและยังอยู่ระหว่างการสอบสวน
" ในฐานะแม่ม่ายคนหนึ่ง Gula ต้องเลี้ยงดูลูก 4 คนตามลำพัง
เธอคือตัวแทนของสตรีและบุรุษผู้กล้าหาญ
ที่ยอมแบกรับความเจ็บปวดและทุกข์ทรมาน
เพื่อปกป้องสิ่งที่มีค่าหวงแหนมากที่สุดคือ พวกลูก ๆ
Sharbat Gula คือสัญญลักษณ์ของผู้ลี้ภัยมาหลายสิบปี
แต่ตอนนี้เธอกลายเป็นใบหน้าของผู้อพยพที่ไม่พึงประสงค์ "
ช่างภาพ Steve McCurry ได้เขียนในวันพุธ Instagram
https://goo.gl/xu992r
เขาได้ถ่ายภาพ Gula ที่ค่ายผู้ลี้ภัยแห่งหนึ่งในปากีสถานช่วงเดือนธันวาคม ปี 1984
และค้นหาเธอจนพบอีกครั้งในปี 2002
Zakhilwal เอกอัครราชทูตอัฟกานิสถานได้ร้องขอให้
Nawaz Sharif นายกรัฐมนตรีปากีสถานเข้าแทรกแซงในคดี Gula
" ทันทีที่เธอได้รับการปล่อยตัวให้เป็นอิสระ
รัฐบาลอัฟกานิสถานพร้อมที่จะอำนวยความสะดวกให้กับ Sharbat Gula
เช่นเดียวกับลูก ๆ ของเธอด้วยการส่งพวกเธอกลับไปยังอัฟกานิสถานอย่างมีศักดิ์ศรี
และให้การสนับสนุนพวกเธอที่จะอพยพกลับคืนสู่ประเทศของเธอเอง
ตามข้อเท็จจริงแล้ว Gula เพิ่งจะขายบ้านค่อนข้างเล็กของเธอในเปชาวาร์เมื่อเร็ว ๆ นี้
และได้วางแผนที่จะกลับไปอยู่ที่อัฟกานิสถานแล้ว "
The National Geographic Society ได้ร่วมกันสนับสนุน Sharbat Gula อย่างเร่าร้อน
และเรียกร้องให้ทางการปากีสถานปล่อยเธอตามหลักมนุษยธรรม
Emma Carrasco โฆษก National Geographic Society ได้แถลงการณ์ว่า
เธอมีชีวิตอยู่ท่ามกลางอุปสรรคและโศกนาฎกรรมมาทั้งชีวิต
ภาพของเธอมีการเปรียบเทียบกับ Mona Lisa ของ Leonardo Da Vinci
โดย National Geographic ได้เขียนข้อความเกี่ยวกับชีวิตของเธอ
และระบุว่าเธอเป็น Mona Lisa of Afghan war
ชาวอัฟกานิสถานระบุว่า Gula อาศัยอยู่ที่ Pachir Aw Agam
ในเขตตะวันออกของ Nangarhar ติดกับพรมแดนปากีสถาน
ตอนที่เธออายุได้ 6 ขวบ พ่อแม่ของเธอตาย
เพราะการทิ้งระเบิดจากเครื่องบินรบโซเวียต
ในช่วงสงครามยึดครองอัฟกานิสถานของสหภาพโซเวียตรัสเซีย
เธอได้ลี้ภัยเข้ามายังปากีสถานพร้อมกับน้องชาย น้องสาว 3 คนและยาย
ต่อมาเธอได้แต่งงานกับลูกจ้างร้านขนมปัง Rehmat Gul ใกล้เมืองเปชาวาร์ในปี 1990
ทั้งคู่มีลูกสาวที่ทราบชื่อ 3 คน Rubina Zahida และ Aalia ส่วนอีกคนเสียชีวิตไปแล้ว
☸︎
☸︎
เรียบเรียง/ที่มา
https://goo.gl/ljQytG
https://goo.gl/DBxtEk
https://goo.gl/fjAjMv
https://goo.gl/ZeIzbt
https://goo.gl/SVDcsp
☸︎
แนวทางแก้ไขปัญหาบัตรประชาชนปลอมของ Sharbat Gula
ทางออกที่เป็นไปได้และเหมาะสมควรยึดตาม
พระราชดำรัสรัชกาลที่ 9
นอกจากยุติธรรมตามกฎหมาย ต้องคำนึงถึงความเป็นธรรมด้วย
☸︎
☸︎
เรื่องเล่าไร้สาระ
ศาลปากีสถานมักจะเป็นไม้เบื่อไม้เมากับรัฐบาล
เพราะช่วงหลังศาลจะยึดมั่นหลักนิติรัฐตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด
ดังนั้นมักจะมีข่าวดังที่ว่าผู้พิพากษาถูกยิงทิ้ง
หรือถูกทำร้ายร่างกายเพราะการตัดสินคดีความเสมอ
ในปี 2008 มีข่าวที่โด่งดังมากไปทั่วโลก
Iftikhar Chaudhry ประธานศาลฎีกาที่กล่าวหาว่า
การเลือกตั้งประธานาธิบดี Pervez Musharraf
สกปรกและมีการโกงการเลือกตั้ง
ให้ถือว่าการเลือกตั้งครั้งนี้ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
จึงถูกประธานาธิบดี Pervez Musharraf ไล่ออกจากตำแหน่งประธานศาลฎีกา
แม้ว่า Pervez Musharraf จะมีกองทัพหนุนหลังเพราะเคยเป็นนายทหารยศพลเอก
รวมทั้งเคยมีบทบาทในการร่วมก่อการรัฐประหารในปากีสถานมาหลายครั้งแล้วก็ตาม
แต่ประชาชนต่างออกมาเดินขบวนประท้วงและสนับสนุนผู้พิพากษาคนดังกล่าว
รวมทั้งองค์คณะผู้พิพากษาศาลฎีกาและผู้พิพากษาอีกหลายท่านก็ร่วมแถลงการณ์สนับสนุน
จนกระทั่ง Pervez Musharraf ต้องลาออกจากตำแหน่งก่อนที่จะเริ่มขบวนการถอดถอนออกจากตำแหน่ง
แล้วมาสมัครรับเลือกตั้งภายหลังจนได้กลับเข้ามาดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง
☸︎
☸︎
☸︎
ประเทศไทยมีการบังคับใช้รหัสบัตรประชาชนเมื่อ 1 มค. 2527
และเริ่มต้นทำการสำรวจจนเสร็จครบทั้งประเทศ 31 พค. 2547
11 กค.2554 รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ ออกพรบ.บัตรประชาชน
ให้เด็กอายุ 7-14 ปีต้องมีบัตรประชาชน
แต่มีเสียงคัดค้านจากนักวิชาการ/คนจำนวนมากในเรื่องนี้
แต่มีเหตุผลเบื้องหลังเรื่องนี้คือ
มีการเพิ่มชื่อเด็กนักเรียนในโรงเรียนบางแห่ง
ในวงการเรียกว่า เด็กผี ไม่มีตัวตนจริง
เพราะเด็กนักเรียนบางคนมีรายชื่ออยู่ 3-5 โรงเรียน
เพื่อนำมาเบิกเงินงบประมาณอุดหนุนจากทางราชการ
ปีละ 22,500 บาทต่อหัวต่อคน
ถ้ามี 1,000คนก็จะได้ 22,500,000 บาท
เฉพาะโรงเรียนที่อยู่ในข่ายได้รับการอุดหนุน
ถ้าโรงเรียนรัฐมีผลต่อครูมากในเรื่องต่าง ๆ นานา
ทำให้พื้นที่ภาคใต้มีโรงเรียนราษฏร์บางแห่ง
ถึงขนาดจัดรถยนต์รับส่งเด็กนักเรียน
โดยเก็บค่ารถโดยสารในราคาต่ำมากจนถึงให้ฟรี
เพื่อหารายได้จากเงินอุดหนุนดังกล่าว
บางพื้นที่ มีการแจ้งชื่อเด็กเข้ารักษาพยาบาล
แต่เด็กที่มารักษาไม่เคยซ้ำหน้ากันเลย
เพื่อเบิกยาและรักษาพยาบาล
ในช่วงที่เด็กอายุต่ำกว่า 15 ปียังไม่ต้องใช้รหัสบัตรประชาชน
ทำให้คนบางตัวที่หากินจากธุรกิจประเภทนี้
ด้วยการขายยาที่ไม่ใช้แล้ว
หรือสวมสิทธิ์ให้ลูกคนต่างด้าวไปรักษาพยาบาล
แต่เมื่อใช้รหัสบัตรประชาชนพร้อมชื่อนามสกุลเข้ามาควบคุม
งบประมาณที่มีการทุจริตจากการนี้ลดลงไปอย่างมาก
รวมทั้งระบบฐานข้อมูลจำนวนเด็กสัญชาติไทยก็ถูกต้องตามจริงมากขึ้น
นอกจากนั้นยังควบคุม/ป้องกันการเพิ่มชื่อคนต่างด้าวแบบไม่ชอบด้วยกฎหมาย
มีการเพิ่มหมายเลข 0 นำหน้าบัตรประชาชน
มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการ ว่า กลุ่มบุคคลผู้ไม่มีสถานะทางทะเบียน
ส่วนใหญ่เป็นคนพื้นเมืองดั้งเดิม คนชนเผ่า ทางภาคเหนือ เช่น ชาวเขาเผ่าต่าง ๆ
ทางภาคใต้ เช่น ชาวเลมอร์แกน ชาวเงาะป่า ทางอีสาน เช่น ชาวผีตองเหลือง
หรือแม้แต่เด็กเร่รอนที่ไม่รู้ว่าใคร คือ พ่อแม่
บุคคลเหล่านี้เนื่องจากตกสำรวจบ้าง หรือไม่มีหลักฐานแสดงตน
เช่น ใบรับรองการเกิดที่จะพิสูจน์จุดเกาะเกี่ยวกับแผ่นดินไทยบ้าง
จึงไม่ได้รับการยอมรับให้เป็นพลเมืองจากรัฐไทย
แต่เพราะเขามีชีวิตและตัวตนจริงบนแผ่นดินไทย
มีพี่น้องครอบครัวอยู่ในแผ่นดินไทย
รัฐจึงลงทะเบียนให้เป็นบุคคลผู้ไม่มีสถานะทางทะเบียน
ให้เลขที่บัตรประจำตัวบุคคลขึ้นต้นด้วยเลข 0
แทบจะไม่มีสิทธิใด ๆ จากรัฐไทย ไม่มีหลักประกันสุขภาพ
ไม่มีสิทธิที่จะถือครองทรัพย์สิน ไม่มีสิทธิทำใบขับขี่
ไม่มีสิทธิในการเดินทางอย่างเสรี เป็นคนไร้รัฐอย่างสมบูรณ์
มีคนกลุ่มนี้ในไทยประมาณ 210,000 คน
ข้อมูลเพิ่มเติม
https://goo.gl/ucahVJ
https://goo.gl/Tx4PkL
https://goo.gl/dwL8kf
https://goo.gl/zw5IXE
☸︎
☸︎
ในอดีตข้าราชการ/ครอบครัวเข้ารักษาพยาบาลที่โรงพยาบาลรัฐแห่งไหนก็ได้
แล้วทางโรงพยาบาลทำเรื่องไปเบิกเงินจากส่วนราชการเอง
มีบางตัว/บางครอบครัวสมคบคิดกันทุจริต
แต่ละวันจะเดินเวียนไปโรงพยาบาล 2-3 แห่ง(ที่กรุงเทพ ฯ มากที่สุด)
เพื่อขอรักษาโรคความดัน โรคหัวใจ โรคกระเพาะ สารพัดโรค
แล้วนำยาที่ได้มาจากโรงพยาบาลไปขายต่อให้กับร้านยาที่สมคบคิดกัน
แต่พอมีระบบต้องใช้เลขที่บัตรประชาชนทุกคน
และต้องระบุว่าจะเข้าใช้บริการที่โรงพยาบาล/สถานรักษาพยาบาลที่ใดเป็นหลัก
ถ้าเข้าไปใช้บริการที่อื่นจะต้องจ่ายเงินสำรองไปก่อน
การทุจริตประเภทนี้ลดลงอย่างมาก แต่ยังพอมีบ้างประปราย
ยิ่งถ้ามีการประมวลผลด้วยรหัสบัตรประชาชน
ก็จะจับคนชั่วที่ทุจริตประเภทนี้ได้
ที่ผ่านมาส่วนใหญ่มักจบแบบไทย ๆ
ประเภทตีหน้าเศร้า เล่าความเท็จ
และแล้วคนชั่วมักจะลอยนวล
เพราะอ้างความจนเป็นสรณะ
นิทานไร้สาระของผู้เรียบเรียง
http://ppantip.com/topic/34315093 หมอจากเทพกลายเป็นอสูร
ศาลห้ามประกันตัว Sharbat Gula หรือ Afghan Girl
Sharbat Gula สาวน้อยเจ้าของภาพที่โด่งดังไปทั่วโลกถูกจับข้อหาบัตรปลอม
☸︎
☸︎
☸︎
Sharbat Gula หรืออีกชื่อหนึ่งว่า Afghan Girl ถูกศาลมีคำสั่งห้ามประกันตัว
แต่ยอมให้ส่งตัวไปรักษาอาการเจ็บป่วยที่โรงพยาบาล
แม้ว่าทางการปากีสถานจะได้จับกุมและตั้งข้อหา Gula ว่าถือบัตรประชาชนปลอม
แต่เธอได้รับเสียงเรียกร้องสนับสนุนจากประชาคมระหว่างประเทศอย่างล้นหลาม
Sharbat Gula สตรีชาวอัฟกานิสถาน
ที่กลายเป็นภาพหน้าปกที่ทำให้ชาวโลกสนใจกันอย่างยิ่ง
ในนิตยสาร National Geographic ในปี 1985
เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา
ศาลปากีสถานมีคำสั่งห้ามประกันตัวผู้ต้องหา
แต่มีคำสั่งอนุญาตให้ส่งตัวเธอไปรักษาที่โรงพยาบาลท้องถิ่น
Gula ถูกนำส่งตัวไปยังโรงพยาบาล Lady Reading Hospital ที่เมือง Peshawar เพราะ
มีอาการโรคไวรัสตับอักเสบซี(Hepatitis C)
Mohsin Dawar ทนายความที่ดูแลคดีเรื่องนี้
ให้สัมภาษณ์กับ National Geographic ว่า
" ไม่ทราบถึงเหตุผลว่า ทำไมโรคไวรัสตับอักเสบ
ทำให้เธอต้องถูกส่งตัวไปรักษาที่โรงพยาบาลทันที
แต่สามีของ Gula ตายเพราะโรคตับอักเสบเมื่อหลายปีก่อนแล้ว "
ขณะเดียวกัน Dr.Omar Zakhilwal เอกอัครราชทูตอัฟกานิสถานประจำปากีสถาน
ได้เขียนข้อความลงใน Facebook
☸︎
" Gula ถูกจำคุกที่เมือง Peshawar ทางภาคเหนือของปากีสถาน
ตั้งแต่สัปดาห์ก่อนและถูกตั้งข้อหาว่าอาศัยอยู่ในปากีสถานด้วยบัตรประชาชนปลอม
ถ้ามีการตัดสินลงโทษเธอจะต้องระวางโทษจำคุก 14 ปี
การจับกุม Sharbat Gula หนึ่งในบุคคลที่โลกรู้จักมากที่สุด
และเป็นภาพที่ชาวอัฟกานิสถานชื่นชอบมากที่สุด ได้ทำร้ายจิตใจชาวอัฟกันทั้งปวง
การดำเนินคดีในวันนี้นำไปสู่ความเศร้าเสียใจและทำร้ายจิตใจของผู้คนจำนวนมาก
และทำลายความสัมพันธ์อันดีระหว่างทั้งสองประเทศ
การปล่อยตัวเธอให้เป็นอิสระเป็นสิ่งที่ควรทำอย่างยิ่ง
นอกจากนั้น บัตรประชาชนของเธอไม่ได้ปลอม
และไม่ได้ออกมาอย่างไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
เพราะ NADRA [Pakistan's National Database Registration Authority]
ได้อนุมัติบัตรประชาชนของเธอและสามีของเธอ
ผ่านตามกระบวนการปกติเมื่อหลายปีก่อนแล้ว
หลังจากภาพของเธอปรากฎในหน้าปกของ National Geographic
เธอก็เลือกที่จะอยู่ในปากีสถานด้วยการใช้ชีวิตที่เรียบง่ายกับครอบครัวของเธอ
แม้ว่าสหรัฐอเมริกาและหลายประเทศในยุโรปต่างยินดีให้เธอเข้าไปลี้ภัยได้ "
☸︎
อนึ่ง เจ้าหน้าที่ National Database Registration Authority (NADRA)
ได้ทำการตรวจสอบ/ทบทวนบัตรประชาชนจำนวน 91 ล้านบัตร
และตรวจพบว่าเป็นบัตรปลอมจำนวน 60,675 บัตร
ปากีสถานกลายเป็นประเทศที่หลบภัยอย่างปลอดภัย
สำหรับชาวอัฟกานิสถานหลายล้านคน
ที่ลี้ภัยสงครามจากการรุกรานของโซเวียตในปี 1979
ทำให้ประเทศนี้มีชาวอัฟกานิสถานลงทะเบียนว่าเป็นผู้ลี้ภัยจำนวน 1.4 ล้านคน
ตามตัวเลขของ UNHCR และกลายเป็นประเทศที่มีผู้ลี้ภัยมากเป็นลำดับที่ 3 ของโลก
ขณะเดียวกันหน่วยงานรัฐประมาณการว่า
ยังมีผู้ลี้ภัยอีกราว 1 ล้านคนที่ไม่ได้ลงทะเบียนแต่ยังคงอาศัยอยู่ในประเทศปากีสถาน
Dawar ทนายความของ Gula ได้ล้มเหลวในการประกันตัวเธอในช่วงวันอังคารกับวันพุธ
และรู้สึกงุนงงเป็นอย่างยิ่งที่ศาลมีคำสั่งปฏิเสธการปล่อยตัวเธอ
แม้ว่า Chaudhry Nisar Ali Khan รัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทย
ได้ให้สัมภาษณ์ในวันอาทิตย์ว่า
รัฐบาลจะทบทวนคดีนี้ด้วยมุมมองด้านมนุษยธรรม
เจ้าหน้าที่รัฐปากีสถานกล่าวว่า บัตรประชาชนจะไม่ออกให้กับคนต่างชาติ
Gula เป็นพลเมืองของอัฟกานิสถาน ที่ลี้ภัยสงครามมาในประเทศนี้ในปี 1980
และเจ้าหน้าที่รัฐ 3 นายในเมืองเปชาวาร์ถูกไล่ออกข้อหาสงสัยออกบัตรประชาชนปลอม
ให้กับชาวอัฟกานิสถานจำนวนหลายคนและยังอยู่ระหว่างการสอบสวน
" ในฐานะแม่ม่ายคนหนึ่ง Gula ต้องเลี้ยงดูลูก 4 คนตามลำพัง
เธอคือตัวแทนของสตรีและบุรุษผู้กล้าหาญ
ที่ยอมแบกรับความเจ็บปวดและทุกข์ทรมาน
เพื่อปกป้องสิ่งที่มีค่าหวงแหนมากที่สุดคือ พวกลูก ๆ
Sharbat Gula คือสัญญลักษณ์ของผู้ลี้ภัยมาหลายสิบปี
แต่ตอนนี้เธอกลายเป็นใบหน้าของผู้อพยพที่ไม่พึงประสงค์ "
ช่างภาพ Steve McCurry ได้เขียนในวันพุธ Instagram https://goo.gl/xu992r
เขาได้ถ่ายภาพ Gula ที่ค่ายผู้ลี้ภัยแห่งหนึ่งในปากีสถานช่วงเดือนธันวาคม ปี 1984
และค้นหาเธอจนพบอีกครั้งในปี 2002
Zakhilwal เอกอัครราชทูตอัฟกานิสถานได้ร้องขอให้
Nawaz Sharif นายกรัฐมนตรีปากีสถานเข้าแทรกแซงในคดี Gula
" ทันทีที่เธอได้รับการปล่อยตัวให้เป็นอิสระ
รัฐบาลอัฟกานิสถานพร้อมที่จะอำนวยความสะดวกให้กับ Sharbat Gula
เช่นเดียวกับลูก ๆ ของเธอด้วยการส่งพวกเธอกลับไปยังอัฟกานิสถานอย่างมีศักดิ์ศรี
และให้การสนับสนุนพวกเธอที่จะอพยพกลับคืนสู่ประเทศของเธอเอง
ตามข้อเท็จจริงแล้ว Gula เพิ่งจะขายบ้านค่อนข้างเล็กของเธอในเปชาวาร์เมื่อเร็ว ๆ นี้
และได้วางแผนที่จะกลับไปอยู่ที่อัฟกานิสถานแล้ว "
The National Geographic Society ได้ร่วมกันสนับสนุน Sharbat Gula อย่างเร่าร้อน
และเรียกร้องให้ทางการปากีสถานปล่อยเธอตามหลักมนุษยธรรม
Emma Carrasco โฆษก National Geographic Society ได้แถลงการณ์ว่า
เธอมีชีวิตอยู่ท่ามกลางอุปสรรคและโศกนาฎกรรมมาทั้งชีวิต
ภาพของเธอมีการเปรียบเทียบกับ Mona Lisa ของ Leonardo Da Vinci
โดย National Geographic ได้เขียนข้อความเกี่ยวกับชีวิตของเธอ
และระบุว่าเธอเป็น Mona Lisa of Afghan war
ชาวอัฟกานิสถานระบุว่า Gula อาศัยอยู่ที่ Pachir Aw Agam
ในเขตตะวันออกของ Nangarhar ติดกับพรมแดนปากีสถาน
ตอนที่เธออายุได้ 6 ขวบ พ่อแม่ของเธอตาย
เพราะการทิ้งระเบิดจากเครื่องบินรบโซเวียต
ในช่วงสงครามยึดครองอัฟกานิสถานของสหภาพโซเวียตรัสเซีย
เธอได้ลี้ภัยเข้ามายังปากีสถานพร้อมกับน้องชาย น้องสาว 3 คนและยาย
ต่อมาเธอได้แต่งงานกับลูกจ้างร้านขนมปัง Rehmat Gul ใกล้เมืองเปชาวาร์ในปี 1990
ทั้งคู่มีลูกสาวที่ทราบชื่อ 3 คน Rubina Zahida และ Aalia ส่วนอีกคนเสียชีวิตไปแล้ว
☸︎
เรียบเรียง/ที่มา
https://goo.gl/ljQytG
https://goo.gl/DBxtEk
https://goo.gl/fjAjMv
https://goo.gl/ZeIzbt
https://goo.gl/SVDcsp
☸︎
แนวทางแก้ไขปัญหาบัตรประชาชนปลอมของ Sharbat Gula
ทางออกที่เป็นไปได้และเหมาะสมควรยึดตาม
พระราชดำรัสรัชกาลที่ 9
นอกจากยุติธรรมตามกฎหมาย ต้องคำนึงถึงความเป็นธรรมด้วย
☸︎
เรื่องเล่าไร้สาระ
ศาลปากีสถานมักจะเป็นไม้เบื่อไม้เมากับรัฐบาล
เพราะช่วงหลังศาลจะยึดมั่นหลักนิติรัฐตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด
ดังนั้นมักจะมีข่าวดังที่ว่าผู้พิพากษาถูกยิงทิ้ง
หรือถูกทำร้ายร่างกายเพราะการตัดสินคดีความเสมอ
ในปี 2008 มีข่าวที่โด่งดังมากไปทั่วโลก
Iftikhar Chaudhry ประธานศาลฎีกาที่กล่าวหาว่า
การเลือกตั้งประธานาธิบดี Pervez Musharraf
สกปรกและมีการโกงการเลือกตั้ง
ให้ถือว่าการเลือกตั้งครั้งนี้ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
จึงถูกประธานาธิบดี Pervez Musharraf ไล่ออกจากตำแหน่งประธานศาลฎีกา
แม้ว่า Pervez Musharraf จะมีกองทัพหนุนหลังเพราะเคยเป็นนายทหารยศพลเอก
รวมทั้งเคยมีบทบาทในการร่วมก่อการรัฐประหารในปากีสถานมาหลายครั้งแล้วก็ตาม
แต่ประชาชนต่างออกมาเดินขบวนประท้วงและสนับสนุนผู้พิพากษาคนดังกล่าว
รวมทั้งองค์คณะผู้พิพากษาศาลฎีกาและผู้พิพากษาอีกหลายท่านก็ร่วมแถลงการณ์สนับสนุน
จนกระทั่ง Pervez Musharraf ต้องลาออกจากตำแหน่งก่อนที่จะเริ่มขบวนการถอดถอนออกจากตำแหน่ง
แล้วมาสมัครรับเลือกตั้งภายหลังจนได้กลับเข้ามาดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง
☸︎
☸︎
ประเทศไทยมีการบังคับใช้รหัสบัตรประชาชนเมื่อ 1 มค. 2527
และเริ่มต้นทำการสำรวจจนเสร็จครบทั้งประเทศ 31 พค. 2547
11 กค.2554 รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ ออกพรบ.บัตรประชาชน
ให้เด็กอายุ 7-14 ปีต้องมีบัตรประชาชน
แต่มีเสียงคัดค้านจากนักวิชาการ/คนจำนวนมากในเรื่องนี้
แต่มีเหตุผลเบื้องหลังเรื่องนี้คือ
มีการเพิ่มชื่อเด็กนักเรียนในโรงเรียนบางแห่ง
ในวงการเรียกว่า เด็กผี ไม่มีตัวตนจริง
เพราะเด็กนักเรียนบางคนมีรายชื่ออยู่ 3-5 โรงเรียน
เพื่อนำมาเบิกเงินงบประมาณอุดหนุนจากทางราชการ
ปีละ 22,500 บาทต่อหัวต่อคน
ถ้ามี 1,000คนก็จะได้ 22,500,000 บาท
เฉพาะโรงเรียนที่อยู่ในข่ายได้รับการอุดหนุน
ถ้าโรงเรียนรัฐมีผลต่อครูมากในเรื่องต่าง ๆ นานา
ทำให้พื้นที่ภาคใต้มีโรงเรียนราษฏร์บางแห่ง
ถึงขนาดจัดรถยนต์รับส่งเด็กนักเรียน
โดยเก็บค่ารถโดยสารในราคาต่ำมากจนถึงให้ฟรี
เพื่อหารายได้จากเงินอุดหนุนดังกล่าว
บางพื้นที่ มีการแจ้งชื่อเด็กเข้ารักษาพยาบาล
แต่เด็กที่มารักษาไม่เคยซ้ำหน้ากันเลย
เพื่อเบิกยาและรักษาพยาบาล
ในช่วงที่เด็กอายุต่ำกว่า 15 ปียังไม่ต้องใช้รหัสบัตรประชาชน
ทำให้คนบางตัวที่หากินจากธุรกิจประเภทนี้
ด้วยการขายยาที่ไม่ใช้แล้ว
หรือสวมสิทธิ์ให้ลูกคนต่างด้าวไปรักษาพยาบาล
แต่เมื่อใช้รหัสบัตรประชาชนพร้อมชื่อนามสกุลเข้ามาควบคุม
งบประมาณที่มีการทุจริตจากการนี้ลดลงไปอย่างมาก
รวมทั้งระบบฐานข้อมูลจำนวนเด็กสัญชาติไทยก็ถูกต้องตามจริงมากขึ้น
นอกจากนั้นยังควบคุม/ป้องกันการเพิ่มชื่อคนต่างด้าวแบบไม่ชอบด้วยกฎหมาย
☸︎
ที่มา https://goo.gl/K0uJnK
☸︎
มีการเพิ่มหมายเลข 0 นำหน้าบัตรประชาชน
มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการ ว่า กลุ่มบุคคลผู้ไม่มีสถานะทางทะเบียน
ส่วนใหญ่เป็นคนพื้นเมืองดั้งเดิม คนชนเผ่า ทางภาคเหนือ เช่น ชาวเขาเผ่าต่าง ๆ
ทางภาคใต้ เช่น ชาวเลมอร์แกน ชาวเงาะป่า ทางอีสาน เช่น ชาวผีตองเหลือง
หรือแม้แต่เด็กเร่รอนที่ไม่รู้ว่าใคร คือ พ่อแม่
บุคคลเหล่านี้เนื่องจากตกสำรวจบ้าง หรือไม่มีหลักฐานแสดงตน
เช่น ใบรับรองการเกิดที่จะพิสูจน์จุดเกาะเกี่ยวกับแผ่นดินไทยบ้าง
จึงไม่ได้รับการยอมรับให้เป็นพลเมืองจากรัฐไทย
แต่เพราะเขามีชีวิตและตัวตนจริงบนแผ่นดินไทย
มีพี่น้องครอบครัวอยู่ในแผ่นดินไทย
รัฐจึงลงทะเบียนให้เป็นบุคคลผู้ไม่มีสถานะทางทะเบียน
ให้เลขที่บัตรประจำตัวบุคคลขึ้นต้นด้วยเลข 0
แทบจะไม่มีสิทธิใด ๆ จากรัฐไทย ไม่มีหลักประกันสุขภาพ
ไม่มีสิทธิที่จะถือครองทรัพย์สิน ไม่มีสิทธิทำใบขับขี่
ไม่มีสิทธิในการเดินทางอย่างเสรี เป็นคนไร้รัฐอย่างสมบูรณ์
มีคนกลุ่มนี้ในไทยประมาณ 210,000 คน
ข้อมูลเพิ่มเติม
https://goo.gl/ucahVJ
https://goo.gl/Tx4PkL
https://goo.gl/dwL8kf
https://goo.gl/zw5IXE
☸︎
ในอดีตข้าราชการ/ครอบครัวเข้ารักษาพยาบาลที่โรงพยาบาลรัฐแห่งไหนก็ได้
แล้วทางโรงพยาบาลทำเรื่องไปเบิกเงินจากส่วนราชการเอง
มีบางตัว/บางครอบครัวสมคบคิดกันทุจริต
แต่ละวันจะเดินเวียนไปโรงพยาบาล 2-3 แห่ง(ที่กรุงเทพ ฯ มากที่สุด)
เพื่อขอรักษาโรคความดัน โรคหัวใจ โรคกระเพาะ สารพัดโรค
แล้วนำยาที่ได้มาจากโรงพยาบาลไปขายต่อให้กับร้านยาที่สมคบคิดกัน
แต่พอมีระบบต้องใช้เลขที่บัตรประชาชนทุกคน
และต้องระบุว่าจะเข้าใช้บริการที่โรงพยาบาล/สถานรักษาพยาบาลที่ใดเป็นหลัก
ถ้าเข้าไปใช้บริการที่อื่นจะต้องจ่ายเงินสำรองไปก่อน
การทุจริตประเภทนี้ลดลงอย่างมาก แต่ยังพอมีบ้างประปราย
ยิ่งถ้ามีการประมวลผลด้วยรหัสบัตรประชาชน
ก็จะจับคนชั่วที่ทุจริตประเภทนี้ได้
ที่ผ่านมาส่วนใหญ่มักจบแบบไทย ๆ
ประเภทตีหน้าเศร้า เล่าความเท็จ
และแล้วคนชั่วมักจะลอยนวล
เพราะอ้างความจนเป็นสรณะ
นิทานไร้สาระของผู้เรียบเรียง
http://ppantip.com/topic/34315093 หมอจากเทพกลายเป็นอสูร