อันนี้เอามาจากบทความนะครับ
ระบบภูเขาในภาคพื้นทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีลักษณะเหมือนรูปพัด (Fan Pattern) โดยมีโคนพัดหรือบริเวณที่ภูเขาไปรวมตัวกันที่ยูนนานนอต (Yunnan Knot) ประมาณละติจูดที่ 28องศาเหนือ ในมณฑลยูนนานทางตอนใต้ของประเทศจีน จากจุดรวมตัวแนวทิวเขาจะแยกกระจายออกไปเปรียบเสมือนเป็นซี่พัด ส่วนในหมู่เกาะเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แนวภูเขาจะมีลักษณะเป็นหมู่เกาะรูปโค้ง (Island Arc Pattern)
จากยูนนานนอตทิวเขาจะแยกกระจายลงสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็น 3 แนวคือ
1. แนวเทือกเขาใหม่ทางตะวันตก มีอายุประมาณ 30 ล้านปี หรือมีอายุทางธรณีวิทยาอยู่ในสมัย Tertiary เนื่องจากเป็นทิวเขายุคใหม่จึงมีการสึกกร่อนพังทลายน้อย และยังคงสภาพเป็นทิวเขาสูง พื้นแผ่นดินไม่มั่นคง เทือกเขาในแนวนี้ต่อเนื่องมาจากเทือกเขาหิมาลัย และวกลงมาเป็นเทือกเขาทางตะวันตกของประเทศพม่า มีบางส่วนจมหายลงไปในทะเล และบางส่วนโผล่ขึ้นมาเหนือน้ำ เช่น หมู่เกาะอันดามัน นิโคบาร์ เทือกเขาบาริซานทางใต้ของเกาะสุมาตรา เกาะชวา หมู่เกาะซุนดาน้อย เกาะเซลิเบส เกาะบอร์เนียวตะวันออก และหมู่เกาะฟิลิปปินส์ทางตอนใต้
2. แนวเทือกเขาตอนกลาง เริ่มต้นจากที่ราบสูงรัฐฉานของประเทศพม่า เทือกเขาทางตะวันตกของประเทศไทย ทิวเขาในมาเลเซียตะวันตก เกาะสิงคโปร์ เกาะบังกา เกาะบิลลิตัน และ ภูเขาทางตะวันตกของเกาะบอร์เนียวเป็นแนวเทือกเขาที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้อายุประมาณ 100 ล้านปีมาแล้ว ผ่านการสึกกร่อนมาช้านาน และในบริเวณนี้ยังมีเขตทะเลที่ตื้นเขินเรียกว่า เขตลานทวีปซุนดา (Sunda Platform) ซึ่งเกิดจากการสึกกร่อนพังทลายของภูเขาเป็นที่ราบและปัจจุบันได้จมอยู่ใต้ระดับน้ำทะเล ซึ่งมีระดับความลึกเฉลี่ยประมาณ 120 – 140 ฟุตเท่านั้น
3. แนวเทือกเขาทางตะวันออก เป็นแนวเทือกเขากลางเก่ากลางใหม่ เกิดในยุคเมโส โซอิก (Mesozoic) เป็นแนวเทือกเขาที่ต่อเนื่องมาจากยูนนานนอตทางตอนใต้ของประเทศจีน ผ่านทางตอนเหนือของประเทศไทยเป็นแนวโค้งไปทางตะวันออก ได้แก่ ทิวเขาในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียตนาม และกัมพูชาประชาธิปไตย
ช่วยวาดระบบภูเขาให้ผมทราบหน่อยเถอะครับ T^T
http://www.mx7.com/i/9d3/WS7GEE.png
ข้างบนเป็นภาพที่ผมเดาคราวๆครับ แหะๆ รบกวนด้วยครับ
แผนที่ทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีลักษณะเหมือนรูปพัด เป็นพัดยังไงหรอครับ? ดูไม่ออกจริงๆ
ระบบภูเขาในภาคพื้นทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีลักษณะเหมือนรูปพัด (Fan Pattern) โดยมีโคนพัดหรือบริเวณที่ภูเขาไปรวมตัวกันที่ยูนนานนอต (Yunnan Knot) ประมาณละติจูดที่ 28องศาเหนือ ในมณฑลยูนนานทางตอนใต้ของประเทศจีน จากจุดรวมตัวแนวทิวเขาจะแยกกระจายออกไปเปรียบเสมือนเป็นซี่พัด ส่วนในหมู่เกาะเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แนวภูเขาจะมีลักษณะเป็นหมู่เกาะรูปโค้ง (Island Arc Pattern)
จากยูนนานนอตทิวเขาจะแยกกระจายลงสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็น 3 แนวคือ
1. แนวเทือกเขาใหม่ทางตะวันตก มีอายุประมาณ 30 ล้านปี หรือมีอายุทางธรณีวิทยาอยู่ในสมัย Tertiary เนื่องจากเป็นทิวเขายุคใหม่จึงมีการสึกกร่อนพังทลายน้อย และยังคงสภาพเป็นทิวเขาสูง พื้นแผ่นดินไม่มั่นคง เทือกเขาในแนวนี้ต่อเนื่องมาจากเทือกเขาหิมาลัย และวกลงมาเป็นเทือกเขาทางตะวันตกของประเทศพม่า มีบางส่วนจมหายลงไปในทะเล และบางส่วนโผล่ขึ้นมาเหนือน้ำ เช่น หมู่เกาะอันดามัน นิโคบาร์ เทือกเขาบาริซานทางใต้ของเกาะสุมาตรา เกาะชวา หมู่เกาะซุนดาน้อย เกาะเซลิเบส เกาะบอร์เนียวตะวันออก และหมู่เกาะฟิลิปปินส์ทางตอนใต้
2. แนวเทือกเขาตอนกลาง เริ่มต้นจากที่ราบสูงรัฐฉานของประเทศพม่า เทือกเขาทางตะวันตกของประเทศไทย ทิวเขาในมาเลเซียตะวันตก เกาะสิงคโปร์ เกาะบังกา เกาะบิลลิตัน และ ภูเขาทางตะวันตกของเกาะบอร์เนียวเป็นแนวเทือกเขาที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้อายุประมาณ 100 ล้านปีมาแล้ว ผ่านการสึกกร่อนมาช้านาน และในบริเวณนี้ยังมีเขตทะเลที่ตื้นเขินเรียกว่า เขตลานทวีปซุนดา (Sunda Platform) ซึ่งเกิดจากการสึกกร่อนพังทลายของภูเขาเป็นที่ราบและปัจจุบันได้จมอยู่ใต้ระดับน้ำทะเล ซึ่งมีระดับความลึกเฉลี่ยประมาณ 120 – 140 ฟุตเท่านั้น
3. แนวเทือกเขาทางตะวันออก เป็นแนวเทือกเขากลางเก่ากลางใหม่ เกิดในยุคเมโส โซอิก (Mesozoic) เป็นแนวเทือกเขาที่ต่อเนื่องมาจากยูนนานนอตทางตอนใต้ของประเทศจีน ผ่านทางตอนเหนือของประเทศไทยเป็นแนวโค้งไปทางตะวันออก ได้แก่ ทิวเขาในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียตนาม และกัมพูชาประชาธิปไตย
ช่วยวาดระบบภูเขาให้ผมทราบหน่อยเถอะครับ T^T
http://www.mx7.com/i/9d3/WS7GEE.png
ข้างบนเป็นภาพที่ผมเดาคราวๆครับ แหะๆ รบกวนด้วยครับ