คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 3
ปีที่แล้วช่วงเดือน ส.ค. ก็มีอยู่วันนึง ที่อยู่ๆกรุงเทพก็มีฟ้ามืดครึ้มกลุ่มเมฆดำทะมึนเคลื่อนมาและมีฝนตกแต่เช้า ซึ่งการพยากรณ์ก็ไม่ได้คาดการณ์ด้วยว่าจะมีฝนตกในช่วงเช้า กลุ่มเมฆฝนลอยเป็นแพแนวยาวทิศเหนือใต้ เคลื่อนตัวมาจากทิศตะวันออกตั้งแต่ฝั่งกัมพูชาเลยทีเดียว
กลับมาดูช่วงนี้เวลานี้กัน ก่อนหน้านั้น 3-4 วัน ยังคงเป็นลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้อยู่ หลังจากนั้นเริ่มอ่อนกำลังลง ลมตะวันออก และลมตะวันออกเฉียงใต้เริ่มพัดเข้ามาแทน ซึ่งลมจากทิศนี้จะน้ำพาความชื้นมาได้มากกว่า บางช่วงผ่านทะเลมาโดยตรง และบางช่วงผ่านพื้นที่ราบ ไม่ได้ติดแนวภูเขาแบบทางฝั่งตะวันตก ทำให้สามารถเกิดฝนได้ทุกช่วงเวลา (จุดอ้างอิง: กรุงเทพ) ซึ่งปกติจะตกช่วงบ่ายถึงค่ำ ถ้าหากเป็นลมตะวันตกเฉียงใต้
[รูป 1] วันที่ 5 ก.ค. ยังคงเป็นลมทิศตะวันตกเฉียงใต้อยู่ เปรียบเทียบกับ ช่วงวันที่ 6-7 ก.ค. ที่เริ่มอ่อนกำลัง และแนวลมเปลี่ยนเป็นตะวันตกเฉียงเหนือ ซึ่งเป็นลมที่ผ่านแผ่นดินจากฝั่งพม่าเป็นส่วนใหญ่ ทำให้นำพาความชื้นมาได้น้อย และมีแดดแรง (ร้อนนั่นเอง) และผมเริ่มสังเกตจากเรดาร์ฝนของช่วงประมาณวันที่ 5 ก.ค. พบว่าแนวฝนที่เกิดแถวชายแดนกัมพูชากับเวียดนาม เริ่มเป็นฝนที่มาจากทางทิศตะวันออกจากฝั่งทะเลจีนใต้
[รูป 2] วันที่ 8 ก.ค. ลมเปลี่ยนเป็นลมตะวันออกเฉียงใต้ ทำให้กรุงเทพบางพื้นที่ฝนตกแต่เช้า และมาวันนี้ (9 ก.ค.) ยิ่งชัดเจน กลุ่มฝนมาจากทิศตะวันออกเฉียงใต้แบบต่อเนื่อง ซึ่งวันนี้ลมตะวันออกเฉียงใต้มีกำลังแรงกว่าเมื่อวาน
[รูป 3] เรดาร์ฝนวันนี้ (9 ก.ค.) ณ เวลา 10:30น. จาก RainViewer ก็บ่งบอกถึงกลุ่มฝนที่เคลื่อนตัวมาจากทิศตะวันออกเฉียงใต้เข้าสู่ภาคตะวันออกและกรุงเทพ สังเกตกลุ่มฝนจะเคลื่อนมาจากอ่าวไทยโดยตรงเลย ส่วนภาคใต้แนวลมจะออกแนวหมุนวนตามหย่อมความกดอากาศต่ำแถวภูเก็ต
ส่วนปัจจัยทั้งหมดที่ทำให้เกิดขึ้น ตามที่ จขกท. สงสัย ตามความคิดผมนะ คาดว่ามีหลายส่วนที่เกี่ยวข้อง
1. คลื่นกระสมลมฝ่ายตะวันออก ตามที่กรมอุตุฯ ได้บอกไว้
2. ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่มีกำลังอ่อนลงในบางช่วงเวลา
3. หย่อมความกดอากาศต่ำที่เคลื่อนผ่าน ช่วยดึงและเปลี่ยนทิศทางลม
กลับมาดูช่วงนี้เวลานี้กัน ก่อนหน้านั้น 3-4 วัน ยังคงเป็นลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้อยู่ หลังจากนั้นเริ่มอ่อนกำลังลง ลมตะวันออก และลมตะวันออกเฉียงใต้เริ่มพัดเข้ามาแทน ซึ่งลมจากทิศนี้จะน้ำพาความชื้นมาได้มากกว่า บางช่วงผ่านทะเลมาโดยตรง และบางช่วงผ่านพื้นที่ราบ ไม่ได้ติดแนวภูเขาแบบทางฝั่งตะวันตก ทำให้สามารถเกิดฝนได้ทุกช่วงเวลา (จุดอ้างอิง: กรุงเทพ) ซึ่งปกติจะตกช่วงบ่ายถึงค่ำ ถ้าหากเป็นลมตะวันตกเฉียงใต้
[รูป 1] วันที่ 5 ก.ค. ยังคงเป็นลมทิศตะวันตกเฉียงใต้อยู่ เปรียบเทียบกับ ช่วงวันที่ 6-7 ก.ค. ที่เริ่มอ่อนกำลัง และแนวลมเปลี่ยนเป็นตะวันตกเฉียงเหนือ ซึ่งเป็นลมที่ผ่านแผ่นดินจากฝั่งพม่าเป็นส่วนใหญ่ ทำให้นำพาความชื้นมาได้น้อย และมีแดดแรง (ร้อนนั่นเอง) และผมเริ่มสังเกตจากเรดาร์ฝนของช่วงประมาณวันที่ 5 ก.ค. พบว่าแนวฝนที่เกิดแถวชายแดนกัมพูชากับเวียดนาม เริ่มเป็นฝนที่มาจากทางทิศตะวันออกจากฝั่งทะเลจีนใต้
[รูป 2] วันที่ 8 ก.ค. ลมเปลี่ยนเป็นลมตะวันออกเฉียงใต้ ทำให้กรุงเทพบางพื้นที่ฝนตกแต่เช้า และมาวันนี้ (9 ก.ค.) ยิ่งชัดเจน กลุ่มฝนมาจากทิศตะวันออกเฉียงใต้แบบต่อเนื่อง ซึ่งวันนี้ลมตะวันออกเฉียงใต้มีกำลังแรงกว่าเมื่อวาน
[รูป 3] เรดาร์ฝนวันนี้ (9 ก.ค.) ณ เวลา 10:30น. จาก RainViewer ก็บ่งบอกถึงกลุ่มฝนที่เคลื่อนตัวมาจากทิศตะวันออกเฉียงใต้เข้าสู่ภาคตะวันออกและกรุงเทพ สังเกตกลุ่มฝนจะเคลื่อนมาจากอ่าวไทยโดยตรงเลย ส่วนภาคใต้แนวลมจะออกแนวหมุนวนตามหย่อมความกดอากาศต่ำแถวภูเก็ต
ส่วนปัจจัยทั้งหมดที่ทำให้เกิดขึ้น ตามที่ จขกท. สงสัย ตามความคิดผมนะ คาดว่ามีหลายส่วนที่เกี่ยวข้อง
1. คลื่นกระสมลมฝ่ายตะวันออก ตามที่กรมอุตุฯ ได้บอกไว้
2. ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่มีกำลังอ่อนลงในบางช่วงเวลา
3. หย่อมความกดอากาศต่ำที่เคลื่อนผ่าน ช่วยดึงและเปลี่ยนทิศทางลม
แสดงความคิดเห็น
ลมตะวันออกเฉียงใต้มีอิทธิพลกับไทยบ่อยขึ้นกว่าเมื่อก่อนรึเปล่า แม้ไม่ใช่ช่วงฤดูร้อน หรือปลายฝนต้นหนาว