ห้องเพลงคนรากหญ้า ***รวมใจคนไทยอาลัยพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศพระผู้เสด็จสู่สวรรคาลัย*** ข้าวของพ่อ (31/10/2016)




"ข้าวของพ่อ"

ครั้งแรกที่ได้ยินคำว่า "ข้าวของพ่อ" ใจนึกถึง 2 ความหมายค่ะ

1. นึกถึงข้าวที่เราทานกัน ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความรักและพระมหากรุณาธิคุณของพ่อหลวงที่มีต่อชาวนาและข้าว
นั่นก็คือหนังสือเล่มนี้ค่ะ “ข้าวของพ่อ” โดย วิมลพรรณ ปีตธวัชชัย สำนักพิมพ์ดีเอ็มจี

หลายปีก่อน มีอาจารย์ใจดีท่านหนึ่งมอบหนังสือเรื่อง "ข้าวของพ่อ" เล่มนี้ให้เป็นของขวัญ รู้สึกดีใจมาก



เมื่ออ่านจนจบแล้วทำให้ทราบได้ว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ท่านทรงงานช่วยเหลือเกษตรกรมาตลอด
ซึ่งส่วนใหญ่จะออกมาในรูปของโครงการทดลอง โครงการเกี่ยวกับข้าวตามแนวพระราชดำริมากมาย
เพื่อที่จะพัฒนาพันธุ์ข้าวและยกระดับชีวิต “ชาวนาไทย” ซึ่งเปรียบเสมือน “กระดูกสันหลังของชาติ




พระราชดำรัสเกี่ยวกับข้าวและชาวนา กระแสพระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (2536)



".. ข้าวต้องปลูก เพราะอีก 20 ปีประชากรอาจจะ 80 ล้านคน ข้าวจะไม่พอ ถ้าลดการปลูกข้าวไปเรื่อยๆ ข้าวจะไม่พอ
เราจะต้องซื้อข้าวจากต่างประเทศ เรื่องอะไร ประชาชนคนไทยไม่ยอม คนไทยนี้ต้องมีข้าว
แม้ข้าวที่ปลูกในเมืองไทยจะสู้ข้าวที่ปลูกในต่างประเทศไม่ได้ เราก็ต้องปลูก
.."


กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ได้ทูลเกล้าฯ ถวายเหรียญ "ข้าวทองคำ" แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เพื่อเทิดทูนพระอัจฉริยภาพด้านการเกษตร





2. นึกถึงข้าวของ (เครื่องใช้) ของพ่อ เลยไปหาเรื่องเหล่านี้มาฝากค่ะ เพื่อเป็นแนวทางดำรงชีวิตตามรอยพระองค์ท่าน

การประหยัดคือไม่ใช่ไม่ยอมใช้เลยแต่ต้องรู้จักใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด มากที่สุดเท่าที่จะมากได้
ไม่ใช้แบบเหลือทิ้งเหลือขว้าง

ยาสีพระทนต์ของในหลวง” ในหลวงทรงเคยรับสั่งว่า...

มหาดเล็กห้องสรง เห็นว่ายาสีพระทนต์ของพระองค์คงใช้หมดแล้วจึงได้นำหลอดใหม่มาเปลี่ยนให้แทน
เมื่อพระองค์ได้ทรงทราบ ก็ได้ขอให้เขานำยาสีพระทนต์หลอดเก่ามาคืนและพระองค์ท่านยังทรงสามารถใช้ต่อไปได้อีกถึง 5 วัน



หลอดยาสีพระทนต์ประวัติศาสตร์ที่เห็นแบนเรียบนั้น เป็นผลจากการใช้ด้ามแปรงสีพระทนต์ช่วยรีดและกดจนเป็นรอยบุ๋ม  
จะเห็นได้ว่าในส่วนของพระองค์ท่านเองนั้น ทรงประหยัดอย่างยิ่ง ซึ่งตรงกันข้ามกับพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์
ที่ทรงพระราชทานเพื่อราษฎรผู้ยากไร้อยู่เป็นนิจ  พระจริยาวัตรของพระองค์ได้แสดงให้เห็นอย่างแจ่มชัดถึงพระวิริยะ อุตสาหะ
ตลอดจนความประหยัดในการใช้ของอย่างคุ้มค่า

หลังจากนั้นทันตแพทย์ประจำพระองค์ได้กราบพระบาททูลขอพระราชทานหลอดยาสีพระทนต์หลอดนั้น
เพื่อนำไปให้ศิษย์ได้เห็นและรับใส่เกล้าเป็นตัวอย่างเพื่อประพฤติปฏิบัติในโอกาสต่อๆ ไป



"กระป๋องคนจน"

ทรงได้รับการอบรมให้รู้จักการให้ โดยสมเด็จย่าจะทรงตั้งกระป๋องออมสินเรียกว่า "กระป๋องคนจน"



หากทรงนำเงินไปทำกิจกรรมแล้วมีกำไร จะต้องถูกเก็บภาษี โดยหยอดใส่กระปุกเอาไว้ 10 เปอร์เซนต์
ทุกสิ้นเดือน สมเด็จย่าจะทรงถามว่า จะเอาเงินในกระป๋องนี้ไปทำอะไร เช่น มอบให้โรงเรียนคนตาบอดมอบให้เด็กกำพร้า
หรือทำกิจกรรมเพื่อคนยากจน


"ดินสอทรงงาน"

พระองค์โปรดการใช้ดินสอแทนการใช้ปากกา เพราะเมื่อเขียนผิด สามารถลบออกได้ง่ายโดยใช้ยางลบที่ปลายแท่ง
ทรงใช้ดินสอจนสั้นกุด และใช้เพียง 12 แท่งต่อปีเท่านั้น





"ฉลองพระบาทคู่โปรด"

ฉลองพระบาทคู่โปรดของในหลวงเป็นเพียงรองเท้าหนังสีดำธรรมดา เมื่อพระองค์ทรงใช้งานจนมีสภาพชำรุดทรุดโทรม
พื้นภายในรองเท้าผุกร่อนหลุดร่อนหลายแห่ง ถ้าเป็นคนทั่วไปก็อาจจะทิ้งไปแล้ว แต่พระองค์กลับมีพระราชกระแสรับสั่ง
ให้ช่างนำไปซ่อมแซมเพื่อใช้งานต่อ





ที่มา
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้


ในหลวงทรงห่วงใยชาวนาและเกษตรกรไทย ทรงมีโครงการต่างๆ เพื่อพัฒนาข้าวไทย
ให้ความสำคัญและช่วยเหลือชาวนาไทยมาตลอด

ส่วนของใช้ส่วนพระองค์ กลับทรงใช้ของทุกชิ้นอย่างคุ้มค่าและเต็มประสิทธิภาพ
และเน้นที่การใช้งานมากกว่ารูปลักษณ์ภายนอก

ทรงเป็นพระเจ้าแผ่นดินที่ยิ่งใหญ่ที่ชาวไทยต่างสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ
และควรนำคำสอนหรือยึดแนวทางพระองค์ในการดำรงชีวิต
แก้ไขข้อความเมื่อ
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 1
แปรดอกไม้พวงมาลัย เป็นเครื่องหอมโบราณ “บุหงาสราญรมย์” ดอกไม้ของพระราชา

จากกรณีที่มีการเผยแพร่ภาพถุงผ้าแพรบรรจุกลีบดอกไม้นานาชนิดและมีป้ายระบุข้อความว่า ‘บุหงา สราญรมย์’ หรือ
เครื่องหอมสมัยโบราณในโลกออนไลน์ รวมไปถึงมีการเชิญชวนให้ประชาชนที่มีจิตอาสาสามารถเข้าร่วมการทำเครื่องหอมชนิดนี้
ต่อมาเมื่อเวลา 15:30 น.วันที่ 31 ต.ค. ที่สวนสราญรมย์ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายอนุสรณ์ กะดามัน อาจารย์ประจำโรงเรียนวัดบวรนิเวศ
ผู้ริเริ่มกิจกรรมทำเครื่องหอมโบราณ ได้ให้สัมภาษณ์ถึงกิจกรรมดังกล่าวว่า บุหงา สราญรมย์ มีแนวคิดมาจากพระราชดำริของ
พระบามสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในเรื่องของความพอเพียง พอดี พอใช้ จึงได้มีความคิดที่จะนำดอกไม้และพวงมาลัย
ที่ประชาชนนำมาถวายสักการะพระบรมศพ บริเวณโดยรอบกำแพงพระบรมมหาราชวังนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ โดยได้รับความร่วมมือ
จากเจ้าหน้าที่ กทม. เจ้าหน้าที่ประจำสวนสราญรมย์ ในการจัดทำเครื่องหอมครั้งนี้

“จำนวนดอกไม้ในแต่ละวันมีเยอะมาก ซึ่งเจ้าหน้าที่ก็ไม่ได้นำไปทิ้งให้เสียประโยชน์ เพราะเข้าใจดีว่าดอกไม้และพวงมาลัยที่คนนำมาถวาย
นั้นมีคุณค่าทางจิตใจ เป็นสิ่งที่แสดงถึงความอาลัยที่มีต่อพระองค์ท่าน ดังนั้นเราจึงคิดกันว่าจะทำอย่างไรให้ดอกไม้และพวงมาลัยสามารถที่จะ
เก็บรักษาไว้ให้นานที่สุด ผมจึงเกิดความคิดว่า จะนำดอกไม้และพวงมาลัยทั้งหมดมาทำเป็นเครื่องหอมโบราณ นอกเหนือจากดอกไม้บางส่วน
ที่เจ้าหน้าที่ทำสวนสราญรมย์นำไปทำเป็นปุ๋ยชีวภาพแล้วนั้น บางส่วนจึงได้นำมาทำเป็นเครื่องหอมโบราณที่เรียกว่าบุหงาสราญรมย์”
นายอนุสรณ์ กล่าว

ผู้ที่สนใจการทำบุหงาสราญรมย์ สามารถเข้าร่วมกิจกรรมจิตอาสานี้ได้ โดยจะเปิดให้ทำกิจกรรมร่วมกันในทุกวันอาทิตย์ บริเวณด้าน
หน้าพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระปรมอนทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ภายในสวนสนาญรมย์

https://www.khaosod.co.th/special-stories/news_76955
เพลงสรรเสริญพระบารมี Major Cineplex
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
https://www.youtube.com/watch?v=Mo017h3_HZY

สาวแว่น
ความคิดเห็นที่ 4
นาข้าวในวังสวนจิตร



ยังมีโครงการที่เป็นต้นแบบอีกมากมายภายในวังสวนจิตรลดา

ขอพระองค์ทรงพระเจริญ
ความคิดเห็นที่ 3
เล่าสู่หลานฟัง - ป๊อปปี้ ปรัชญาลักษณ์

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
ความคิดเห็นที่ 2
ต้นไม้ของพ่อ-น้องใบพลู

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
ความคิดเห็นที่ 14



    " ข้าพเจ้ามีโอกาสได้ศึกษาการทดลองและทำนามาบ้าง และทราบดีว่าการทำนานั้นมี ความยากลำบากอยู่ มิใช่น้อย จำเป็นจะต้องอาศัยพันธุ์ข้าวที่ดี และต้องใช้วิชาการต่าง ๆ ด้วยจึงจะได้ผลเป็นล่ำเป็นสัน อีกประการหนึ่งที่นานั้น เมื่อสิ้นฤดูทำนาแล้วควรปลูกพืชอื่น ๆ บ้างเพราะ จะเพิ่มรายได้ให้อีกไม่ใช่น้อย ทั้งจะช่วยให้ดินร่วน ช่วยเพิ่มปุ๋ยกากพืช ทำให้ลักษณะเนื้อดินดีขึ้น เหมาะสำหรับจะทำนาในฤดูต่อไป"

พระราชดำรัส พระราชทานแก่ผู้นำกลุ่มชาวนา เมื่อ พฤษภาคม 2504
จากหนังสือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับการพัฒนาข้าวไทย : หน้า 2
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่