"
ข้าวของพ่อ"
ครั้งแรกที่ได้ยินคำว่า "ข้าวของพ่อ" ใจนึกถึง 2 ความหมายค่ะ
1. นึกถึงข้าวที่เราทานกัน ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความรักและพระมหากรุณาธิคุณของพ่อหลวงที่มีต่อชาวนาและข้าว
นั่นก็คือหนังสือเล่มนี้ค่ะ “ข้าวของพ่อ” โดย วิมลพรรณ ปีตธวัชชัย สำนักพิมพ์ดีเอ็มจี
หลายปีก่อน มีอาจารย์ใจดีท่านหนึ่งมอบหนังสือเรื่อง "ข้าวของพ่อ" เล่มนี้ให้เป็นของขวัญ รู้สึกดีใจมาก
เมื่ออ่านจนจบแล้วทำให้ทราบได้ว่า
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ท่านทรงงานช่วยเหลือเกษตรกรมาตลอด
ซึ่งส่วนใหญ่จะออกมาในรูปของโครงการทดลอง โครงการเกี่ยวกับข้าวตามแนวพระราชดำริมากมาย
เพื่อที่จะพัฒนาพันธุ์ข้าวและยกระดับชีวิต “
ชาวนาไทย” ซึ่งเปรียบเสมือน “
กระดูกสันหลังของชาติ”
พระราชดำรัสเกี่ยวกับข้าวและชาวนา
พระราชดำรัส พระราชทานแก่ผู้นำกลุ่มชาวนา เมื่อ พฤษภาคม 2504
" ข้าพเจ้ามีโอกาสได้ศึกษาการทดลองและทำนามาบ้าง และทราบดีว่าการทำนานั้นมี ความยากลำบากอยู่ มิใช่น้อย จำเป็นจะต้องอาศัยพันธุ์ข้าวที่ดี และต้องใช้วิชาการต่าง ๆ ด้วยจึงจะได้ผลเป็นล่ำเป็นสัน อีกประการหนึ่งที่นานั้น เมื่อสิ้นฤดูทำนาแล้วควรปลูกพืชอื่น ๆ บ้างเพราะ จะเพิ่มรายได้ให้อีกไม่ใช่น้อย ทั้งจะช่วยให้ดินร่วน ช่วยเพิ่มปุ๋ยกากพืช ทำให้ลักษณะเนื้อดินดีขึ้น เหมาะสำหรับจะทำนาในฤดูต่อไป"
กระแสพระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (2536)
".. ข้าวต้องปลูก เพราะอีก 20 ปีประชากรอาจจะ 80 ล้านคน ข้าวจะไม่พอ ถ้าลดการปลูกข้าวไปเรื่อยๆ ข้าวจะไม่พอ
เราจะต้องซื้อข้าวจากต่างประเทศ เรื่องอะไร ประชาชนคนไทยไม่ยอม คนไทยนี้ต้องมีข้าว
แม้ข้าวที่ปลูกในเมืองไทยจะสู้ข้าวที่ปลูกในต่างประเทศไม่ได้ เราก็ต้องปลูก.."
กระแสพระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ (2541)
"ข้าวที่ออกเป็นสีลักษณะนี้เป็นข้าวที่มีประโยชน์ อย่างข้าวกล้องคนไทยส่วนใหญ่ไม่ค่อยกินกันเพราะเห็นว่าเป็นข้าวของคนจน ข้าวกล้องมีประโยชน์ทำให้ร่างกายแข็งแรงข้าวขาวเม็ดสวยแต่เขาเอาของดีออกไปหมดแล้ว มีคนบอกว่าคนจนกินข้าวกล้อง เรากินข้าวกล้องทุกวัน เรานี่ก็คนจน"
กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ได้ทูลเกล้าฯ ถวายเหรียญ "
ข้าวทองคำ" แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อเทิดทูนพระอัจฉริยภาพด้านการเกษตร
2. นึกถึงข้าวของ (เครื่องใช้) ของพ่อ เลยไปหาเรื่องเหล่านี้มาฝากค่ะ เพื่อเป็นแนวทางดำรงชีวิตตามรอยพระองค์ท่าน
การประหยัดคือไม่ใช่ไม่ยอมใช้เลยแต่ต้องรู้จักใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด มากที่สุดเท่าที่จะมากได้
ไม่ใช้แบบเหลือทิ้งเหลือขว้าง
“
ยาสีพระทนต์ของในหลวง” ในหลวงทรงเคยรับสั่งว่า...
มหาดเล็กห้องสรง เห็นว่ายาสีพระทนต์ของพระองค์คงใช้หมดแล้วจึงได้นำหลอดใหม่มาเปลี่ยนให้แทน
เมื่อพระองค์ได้ทรงทราบ ก็ได้ขอให้เขานำยาสีพระทนต์หลอดเก่ามาคืนและพระองค์ท่านยังทรงสามารถใช้ต่อไปได้อีกถึง 5 วัน
หลอดยาสีพระทนต์ประวัติศาสตร์ที่เห็นแบนเรียบนั้น เป็นผลจากการใช้ด้ามแปรงสีพระทนต์ช่วยรีดและกดจนเป็นรอยบุ๋ม
จะเห็นได้ว่าในส่วนของพระองค์ท่านเองนั้น ทรงประหยัดอย่างยิ่ง ซึ่งตรงกันข้ามกับพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์
ที่ทรงพระราชทานเพื่อราษฎรผู้ยากไร้อยู่เป็นนิจ พระจริยาวัตรของพระองค์ได้แสดงให้เห็นอย่างแจ่มชัดถึงพระวิริยะ อุตสาหะ
ตลอดจนความประหยัดในการใช้ของอย่างคุ้มค่า
หลังจากนั้นทันตแพทย์ประจำพระองค์ได้กราบพระบาททูลขอพระราชทานหลอดยาสีพระทนต์หลอดนั้น
เพื่อนำไปให้ศิษย์ได้เห็นและรับใส่เกล้าเป็นตัวอย่างเพื่อประพฤติปฏิบัติในโอกาสต่อๆ ไป
"
กระป๋องคนจน"
ทรงได้รับการอบรมให้รู้จักการให้ โดยสมเด็จย่าจะทรงตั้งกระป๋องออมสินเรียกว่า "กระป๋องคนจน"
หากทรงนำเงินไปทำกิจกรรมแล้วมีกำไร จะต้องถูกเก็บภาษี โดยหยอดใส่กระปุกเอาไว้ 10 เปอร์เซนต์
ทุกสิ้นเดือน สมเด็จย่าจะทรงถามว่า จะเอาเงินในกระป๋องนี้ไปทำอะไร เช่น มอบให้โรงเรียนคนตาบอดมอบให้เด็กกำพร้า
หรือทำกิจกรรมเพื่อคนยากจน
"
ดินสอทรงงาน"
พระองค์โปรดการใช้ดินสอแทนการใช้ปากกา เพราะเมื่อเขียนผิด สามารถลบออกได้ง่ายโดยใช้ยางลบที่ปลายแท่ง
ทรงใช้ดินสอจนสั้นกุด และใช้เพียง 12 แท่งต่อปีเท่านั้น
"
ฉลองพระบาทคู่โปรด"
ฉลองพระบาทคู่โปรดของในหลวงเป็นเพียงรองเท้าหนังสีดำธรรมดา เมื่อพระองค์ทรงใช้งานจนมีสภาพชำรุดทรุดโทรม
พื้นภายในรองเท้าผุกร่อนหลุดร่อนหลายแห่ง ถ้าเป็นคนทั่วไปก็อาจจะทิ้งไปแล้ว แต่พระองค์กลับมีพระราชกระแสรับสั่ง
ให้ช่างนำไปซ่อมแซมเพื่อใช้งานต่อ
ที่มาข้อมูลบางส่วนและภาพประกอบ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้https://plus.google.com/115899235324359784677/posts/JuNxVVTxK5b
http://www.admissionpremium.com/news/1642
http://www.thairice.org/html/culture/culture04_1.html
http://oknation.nationtv.tv/blog/print.php?id=775559
http://brainbank.sl.ac.th/brainbank/index.php/%E0%B8%90%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88_38_%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AB%E0%B8%A2%E0%B8%B1%E0%B8%94
ในหลวงทรงห่วงใยชาวนาและเกษตรกรไทย ทรงมีโครงการต่างๆ เพื่อพัฒนาข้าวไทย
ให้ความสำคัญและช่วยเหลือชาวนาไทยมาตลอด
ส่วนของใช้ส่วนพระองค์ กลับทรงใช้ของทุกชิ้นอย่างคุ้มค่าและเต็มประสิทธิภาพ
และเน้นที่การใช้งานมากกว่ารูปลักษณ์ภายนอก
ทรงเป็นพระเจ้าแผ่นดินที่ยิ่งใหญ่ที่ชาวไทยต่างสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ
และควรนำคำสอนหรือยึดแนวทางพระองค์ในการดำรงชีวิต
เสด็จสู่ฟากฟ้าสุราลัย พระมหากรุณาธิคุณจารึกในใจไทยชั่วกาล (ข้าวของพ่อ) ... ข้าพระพุทธเจ้า ล็อกอินชุนเทียน
ครั้งแรกที่ได้ยินคำว่า "ข้าวของพ่อ" ใจนึกถึง 2 ความหมายค่ะ
1. นึกถึงข้าวที่เราทานกัน ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความรักและพระมหากรุณาธิคุณของพ่อหลวงที่มีต่อชาวนาและข้าว
นั่นก็คือหนังสือเล่มนี้ค่ะ “ข้าวของพ่อ” โดย วิมลพรรณ ปีตธวัชชัย สำนักพิมพ์ดีเอ็มจี
หลายปีก่อน มีอาจารย์ใจดีท่านหนึ่งมอบหนังสือเรื่อง "ข้าวของพ่อ" เล่มนี้ให้เป็นของขวัญ รู้สึกดีใจมาก
เมื่ออ่านจนจบแล้วทำให้ทราบได้ว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ท่านทรงงานช่วยเหลือเกษตรกรมาตลอด
ซึ่งส่วนใหญ่จะออกมาในรูปของโครงการทดลอง โครงการเกี่ยวกับข้าวตามแนวพระราชดำริมากมาย
เพื่อที่จะพัฒนาพันธุ์ข้าวและยกระดับชีวิต “ชาวนาไทย” ซึ่งเปรียบเสมือน “กระดูกสันหลังของชาติ”
พระราชดำรัสเกี่ยวกับข้าวและชาวนา
พระราชดำรัส พระราชทานแก่ผู้นำกลุ่มชาวนา เมื่อ พฤษภาคม 2504
" ข้าพเจ้ามีโอกาสได้ศึกษาการทดลองและทำนามาบ้าง และทราบดีว่าการทำนานั้นมี ความยากลำบากอยู่ มิใช่น้อย จำเป็นจะต้องอาศัยพันธุ์ข้าวที่ดี และต้องใช้วิชาการต่าง ๆ ด้วยจึงจะได้ผลเป็นล่ำเป็นสัน อีกประการหนึ่งที่นานั้น เมื่อสิ้นฤดูทำนาแล้วควรปลูกพืชอื่น ๆ บ้างเพราะ จะเพิ่มรายได้ให้อีกไม่ใช่น้อย ทั้งจะช่วยให้ดินร่วน ช่วยเพิ่มปุ๋ยกากพืช ทำให้ลักษณะเนื้อดินดีขึ้น เหมาะสำหรับจะทำนาในฤดูต่อไป"
กระแสพระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (2536)
".. ข้าวต้องปลูก เพราะอีก 20 ปีประชากรอาจจะ 80 ล้านคน ข้าวจะไม่พอ ถ้าลดการปลูกข้าวไปเรื่อยๆ ข้าวจะไม่พอ
เราจะต้องซื้อข้าวจากต่างประเทศ เรื่องอะไร ประชาชนคนไทยไม่ยอม คนไทยนี้ต้องมีข้าว
แม้ข้าวที่ปลูกในเมืองไทยจะสู้ข้าวที่ปลูกในต่างประเทศไม่ได้ เราก็ต้องปลูก.."
กระแสพระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ (2541)
"ข้าวที่ออกเป็นสีลักษณะนี้เป็นข้าวที่มีประโยชน์ อย่างข้าวกล้องคนไทยส่วนใหญ่ไม่ค่อยกินกันเพราะเห็นว่าเป็นข้าวของคนจน ข้าวกล้องมีประโยชน์ทำให้ร่างกายแข็งแรงข้าวขาวเม็ดสวยแต่เขาเอาของดีออกไปหมดแล้ว มีคนบอกว่าคนจนกินข้าวกล้อง เรากินข้าวกล้องทุกวัน เรานี่ก็คนจน"
กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ได้ทูลเกล้าฯ ถวายเหรียญ "ข้าวทองคำ" แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อเทิดทูนพระอัจฉริยภาพด้านการเกษตร
2. นึกถึงข้าวของ (เครื่องใช้) ของพ่อ เลยไปหาเรื่องเหล่านี้มาฝากค่ะ เพื่อเป็นแนวทางดำรงชีวิตตามรอยพระองค์ท่าน
การประหยัดคือไม่ใช่ไม่ยอมใช้เลยแต่ต้องรู้จักใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด มากที่สุดเท่าที่จะมากได้
ไม่ใช้แบบเหลือทิ้งเหลือขว้าง
“ยาสีพระทนต์ของในหลวง” ในหลวงทรงเคยรับสั่งว่า...
มหาดเล็กห้องสรง เห็นว่ายาสีพระทนต์ของพระองค์คงใช้หมดแล้วจึงได้นำหลอดใหม่มาเปลี่ยนให้แทน
เมื่อพระองค์ได้ทรงทราบ ก็ได้ขอให้เขานำยาสีพระทนต์หลอดเก่ามาคืนและพระองค์ท่านยังทรงสามารถใช้ต่อไปได้อีกถึง 5 วัน
หลอดยาสีพระทนต์ประวัติศาสตร์ที่เห็นแบนเรียบนั้น เป็นผลจากการใช้ด้ามแปรงสีพระทนต์ช่วยรีดและกดจนเป็นรอยบุ๋ม
จะเห็นได้ว่าในส่วนของพระองค์ท่านเองนั้น ทรงประหยัดอย่างยิ่ง ซึ่งตรงกันข้ามกับพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์
ที่ทรงพระราชทานเพื่อราษฎรผู้ยากไร้อยู่เป็นนิจ พระจริยาวัตรของพระองค์ได้แสดงให้เห็นอย่างแจ่มชัดถึงพระวิริยะ อุตสาหะ
ตลอดจนความประหยัดในการใช้ของอย่างคุ้มค่า
หลังจากนั้นทันตแพทย์ประจำพระองค์ได้กราบพระบาททูลขอพระราชทานหลอดยาสีพระทนต์หลอดนั้น
เพื่อนำไปให้ศิษย์ได้เห็นและรับใส่เกล้าเป็นตัวอย่างเพื่อประพฤติปฏิบัติในโอกาสต่อๆ ไป
"กระป๋องคนจน"
ทรงได้รับการอบรมให้รู้จักการให้ โดยสมเด็จย่าจะทรงตั้งกระป๋องออมสินเรียกว่า "กระป๋องคนจน"
หากทรงนำเงินไปทำกิจกรรมแล้วมีกำไร จะต้องถูกเก็บภาษี โดยหยอดใส่กระปุกเอาไว้ 10 เปอร์เซนต์
ทุกสิ้นเดือน สมเด็จย่าจะทรงถามว่า จะเอาเงินในกระป๋องนี้ไปทำอะไร เช่น มอบให้โรงเรียนคนตาบอดมอบให้เด็กกำพร้า
หรือทำกิจกรรมเพื่อคนยากจน
"ดินสอทรงงาน"
พระองค์โปรดการใช้ดินสอแทนการใช้ปากกา เพราะเมื่อเขียนผิด สามารถลบออกได้ง่ายโดยใช้ยางลบที่ปลายแท่ง
ทรงใช้ดินสอจนสั้นกุด และใช้เพียง 12 แท่งต่อปีเท่านั้น
"ฉลองพระบาทคู่โปรด"
ฉลองพระบาทคู่โปรดของในหลวงเป็นเพียงรองเท้าหนังสีดำธรรมดา เมื่อพระองค์ทรงใช้งานจนมีสภาพชำรุดทรุดโทรม
พื้นภายในรองเท้าผุกร่อนหลุดร่อนหลายแห่ง ถ้าเป็นคนทั่วไปก็อาจจะทิ้งไปแล้ว แต่พระองค์กลับมีพระราชกระแสรับสั่ง
ให้ช่างนำไปซ่อมแซมเพื่อใช้งานต่อ
ที่มาข้อมูลบางส่วนและภาพประกอบ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ในหลวงทรงห่วงใยชาวนาและเกษตรกรไทย ทรงมีโครงการต่างๆ เพื่อพัฒนาข้าวไทย
ให้ความสำคัญและช่วยเหลือชาวนาไทยมาตลอด
ส่วนของใช้ส่วนพระองค์ กลับทรงใช้ของทุกชิ้นอย่างคุ้มค่าและเต็มประสิทธิภาพ
และเน้นที่การใช้งานมากกว่ารูปลักษณ์ภายนอก
ทรงเป็นพระเจ้าแผ่นดินที่ยิ่งใหญ่ที่ชาวไทยต่างสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ
และควรนำคำสอนหรือยึดแนวทางพระองค์ในการดำรงชีวิต