เราเชื่อว่า การเป็นข้ารองบาทที่จงรักภักดีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช คือการปฏิบัติตนเพื่อดำเนินรอยตามพระราชดำรัสหรือพระบรมราโชวาทของพระองค์ท่าน ที่ตรัสสอนชาวไทยมาตลอดหลายทศวรรษ
แม้กระทั่ง สิ่งของหรือของใช้ส่วนพระองค์ ยังสามารถนำมาเป็น “ครู” สอนให้เรารู้จักความประหยัดและความพอเพียง สอดคล้องกับพระราชจริยวัตรอันงดงามของพระองค์ได้ ผ่านหัวใจสำคัญ 4 ประการ คือ
“มี-ใช้-ดูแล-ให้”
1. “มี” เราควรซื้อหรือเลือกสะสมของสิ่งใดให้พอดี ไม่มากเกินประมาณ ไม่จำต้องซื้อของแพงหรือมีราคาสูง หากอยากได้ของสิ่งใดจะต้องรู้จักอดออม หรือประดิษฐ์ทำขึ้นด้วยตัวเอง ไม่ก่อให้เกิดหนี้เกินจำเป็น
2. “ใช้” รู้จักเรียนรู้คุณค่าของสิ่งของที่มี และรู้จักวางแผน จัดระเบียบใช้สิ่งของให้เกิดประโยชน์สูงสุด ภายใต้กรอบหรือสภาพแวดล้อมที่มีอยู่อย่างจำกัด
3. “ดูแล” การดูแลรักษาทำให้สิ่งของใช้ได้นาน ไม่จำเป็นต้องซื้อของใหม่ การใช้ของอย่างทนุถนอมยังทำให้เห็นคุณค่าสิ่งของชิ้นนั้นและแสดงให้เห็นถึงจิตใจของคนนั้นว่าเป็นคนละเอียดอ่อนเพียงใด
4. “ให้” เมื่อของใช้ที่มีอยู่เสื่อมสภาพหรือไม่เหมาะสมต่อการใช้งานแล้ว ก็ต้องถึงเวลาบอกลาของสิ่งนั้นและเลือกใช้ของใหม่ที่เหมาะสม แต่ยังคำนึงถึงความประหยัดและประโยชน์ใช้สอย รวมถึงของที่เรามีหรือทำขึ้นมา ซึ่งมีคุณค่าหรือประโยชน์สำหรับผู้อื่น เราย่อมจะแบ่งปัน บริจาคหรือมอบส่งต่อไปได้ เพื่อให้เกิดประโยชน์ไปอย่างกว้างขวางได้
1. ดินสอ
ภาพที่หลายคนมักจำติดตา คือภาพของพระองค์ทรงถือดินสอคู่กับแผนที่ ดินสอที่ทรงใช้จะเป็นดินสอไม้ราคาไม่แพงมียางลบที่ปลายแท่ง เพื่อให้ลบคำผิดที่เขียนได้ง่าย สะดวกและไม่ต้องเปลืองกระดาษเหมือนปากกา และทรงเหลาด้วยพระองค์เอง ปีหนึ่งทรงเบิกเพียง 12 แท่ง ใช้แต่ละแท่งจนเหลือกุดสั้น
2. แผนที่
แผนที่ของพระองค์เป็นแผนที่มาตราส่วน 1 : 50,000 เป็นแผนที่ขนาดใหญ่กว่าแผนที่ทั่วไป เพราะทรงนำแผนที่หลายระวางมาต่อกันด้วยพระองค์เอง
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเล่าเรื่องการใช้แผนที่ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชว่า
“ท่านหวงแผนที่ของท่านมาก อันเดิมต้องเก็บไว้ โดยเฉพาะแผนที่ทางภาคใต้นั้นโดนฝนมา ทำให้ค่อนข้างเปื่อยยุ่ย ต้องถือด้วยความระมัดระวัง...ถ้าแผนที่นั้นเน่าเต็มทน คือโดนฝนโดนอะไร หลายปีหลายฤดูกาล ท่านก็ต้องย้ายข้อมูลจากแผ่นเก่าไปสู่แผ่นใหม่ ซึ่งท่านก็ต้องทำเองอีกเหมือนกัน”
“ท่านสอนแม้กระทั่งการพับแผนที่ เพราะว่าเวลาเรานั่งในรถที่มันแคบ กางแขนกางขาออกไปมากไม่ได้ เวลาเตรียมก่อนเดินทางเราต้องพับแผนที่ให้ถูกทางว่า ตอนแรกไปถึงไหนและพอไปถึงอีกที่จะต้องคลี่ให้ทันท่วงที...”
3. กล้องถ่ายภาพ
เมื่อครั้งทรงพระเยาว์ มักทรงถ่ายรูปเป็นงานอดิเรก ซึ่งพระองค์ทรงได้ต้นแบบมาจากสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี กล้องถ่ายภาพตัวแรกๆ ของพระองค์ คือกล้อง Coronet Midget เป็นกล้องทีไม่มีเครื่องวัดแสงจึงต้องทรงปรับหน้ากล้องและความไวชัตเตอร์ด้วยพระองค์เอง ในการถ่ายภาพครั้งหนึ่ง ฟิล์มที่ใช้ถ่ายรูปม้วนหนึ่งมี 6 รูป แต่ฟิล์มเสียไปถึง 5 รูป มาประสบความสำเร็จในรูปที่ 6 ซึ่งเป็นรูปที่คนอื่นถ่าย ต่อมาทรงพัฒนาฝีพระหัตถ์จนทรงได้เป็นช่างภาพของหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษชื่อ สแตนดาร์ด โดยทรงรับเงินเดือนเพียงเดือนละ 1,000 บาท เท่านั้น
4. วิทยุสื่อสาร
พระองค์ทรงประกอบวิทยุสื่อสารเป็นงานอดิเรกมาตั้งแต่ทรงพระเยาว์ และทรงใช้วิทยุสื่อสารในการรับฟังข่าวสารและติดต่อกับเครือข่ายวิทยุตำรวจเป็นครั้งคราว โดยกรมตำรวจ (ในสมัยนั้น) ได้ถวายสัญญาณเรียกขานประจำพระองค์ว่า “กส.9” และทรงคิดค้นเทคนิคใหม่ๆ ที่ทำให้ส่งสัญญาณได้ไกลและชัดเจน ครั้งหนึ่งทรงใช้วิทยุสื่อสารขนาดเล็กติดต่อกับสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฏราชกุมาร (พระยศในขณะนั้น) จากดอยปุย จังหวัดเชียงใหม่ มายังสนามบินดอนเมืองที่กรุงเทพฯ
5. เรือจำลอง
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระปรีชาในการออกแบบและการต่อเรือด้วยพระองค์เอง ดังความตอนหนึ่งที่ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ทรงเล่าไว้ในหนังสือ เจ้านายเล็กๆ –ยุวกษัตริย์ ว่า
“...พระอนุชาได้เริ่มทำแบบเรือต่างๆ ด้วยไม้ เช่น แบบเรือรบที่ไม่มีขาย ในระยะนั้นกำลังทำเรือใบที่ใหญ่พอสมควร ใบก็เย็บเองด้วยจักรเสร็จแล้ว เหลือแต่การทาสี เมื่อเริ่มไปแล้วก็พอดีเป็นเวลาที่กำลังจะตัดสินว่าจะอพยพออกไปสวิตเซอร์แลนด์ ทรงเล่าว่าทุกคนก็ถามอย่างล้อๆ ว่า เรือจะแห้งทันไหม”
ครั้งหนึ่ง พระองค์ทรงนำภาพถ่ายเรือรบลำหนึ่งให้ข้าราชบริพารดูและให้ตอบคำถามว่าเป็นเรืออะไรและถ่ายที่ใด แต่ไม่มีใครตอบได้ถูก ยกเว้นนายทหารท่านหนึ่งตอบถูกว่าเป็นเรือรบหลวงศรีอยุธยา แต่ทุกคนทราบดีว่าพระองค์ไม่เคยเสด็จฯ ทางเรือโดยมีเรือรบหลวงศรีอยุธยาโดยเสด็จด้วย จึงไม่มีใครตอบได้ว่าถ่ายภาพจากที่ใด
ในหลวงทรงเฉลยว่า “ถ่ายในห้องนี่เอง” เพราะพระองค์ทรงประดิษฐ์เรือรบหลวงจำลอง ด้วยชิ้นส่วนนับร้อยจนเหมือนของจริง และทรงจัดวางฉากในห้องให้เหมือนท้องทะเล เมื่อทรงถ่ายภาพจึงเหมือนภาพถ่ายเรือรบกลางทะเล
6. หลอดยาสีพระทนต์
เรื่องเล่าของศาสตราจารย์พิเศษ ทันตแพทย์หญิงท่านผู้หญิงเพ็ชรา เตชะกัมพุช ทันตแพทย์ประจำพระองค์เมื่อได้ทราบว่าในหลวง รัชกาลที่ 9 ทรงมีรับสั่งให้มหาดเล็กนำหลาดยาสีพระทนต์หลอดเก่าที่ถูกเปลี่ยนให้พระองค์นำกลับมาใช้ต่อได้ถึง 5 วัน ท่านผู้หญิงจึงกราบพระบาททูลขอพระราชทานหลอดยาสีพระทนต์หลอดนั้นเพื่อนำไปให้ลูกศิษย์ได้เห็นถึงพระราชจริยวัตรในเรื่องความประหยัดในการใช้ของอย่างคุ้มค่า
“ประมาณหนึ่งสัปดาห์หลังจากนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานหลอดสีพระทนต์เปล่าหลอดนั้นมาให้ดิฉันถึงบ้าน...เมื่อได้พิจารณาถึงลักษณะของหลอดยาสีพระทนต์เปล่าหลอดนั้นแล้ว ทำให้เกิดความสงสัยว่า เหตุใดหลอดยาสีพระทนต์หลอดนี้จึงแบนเรียบราบโดยตลอด คล้ายแผ่นกระดาษ โดยเฉพาะบริเวณคอหลอดยังปรากฏรอยบุ๋มลึกลงไปเกือบถึงคอหลอด...”
“เมื่อได้มีโอกาสเข้าเฝ้าฯ อีกครั้งในเวลาต่อมา จึงได้รับคำอธิบายจากพระองค์ว่า หลอดยาสีพระทนต์ทีเห็นแบนเรียบนั้น เป็นผลจากการใช้ด้ามแปรงสีพระทนต์รีดและกดจนเป็นรอยบุ๋มอย่างที่เห็นนั่นเอง...”
7. พระสมเด็จจิตรลดา
พระสมเด็จจิตรลดา หรือ พระกำลังแผ่นดิน พระองค์ทรงสร้างด้วยพระหัตถ์ของพระองค์เอง พระราชทานแก่ทหาร ตำรวจ ข้าราชการ และพลเรือน ในช่วงระหว่าง พ.ศ. 2508 - 2513 มีทั้งสิ้นประมาณ 2,500 องค์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานด้วยพระหัตถ์พระองค์เอง มีเอกสารส่วนพระองค์ (ใบกำกับพระ) ซึ่งแสดงชื่อ นามสกุล วันที่รับพระราชทาน หมายเลขกำกับทุกองค์ และภาพพระสมเด็จจิตรลดา โดยมีพระราชดำรัสแก่ผู้รับพระราชทานว่า "ให้ปิดทองที่หลังองค์พระปฏิมาแล้วเอาไว้บูชาตลอดไป ให้ทำความดีโดยไม่หวังสิ่งตอบแทนใดๆ"
มวลสารของพระสมเด็จจิตรลดา ประกอบด้วย ดอกไม้แห้งจากมาลัยที่ประชาชนได้ทูลเกล้าฯ ถวายในการเสด็จพระราชดำเนินเปลี่ยนเครื่องทรงพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรและได้ทรงแขวนไว้ที่องค์พระตลอดเทศกาล และดอกไม้แห้งจากมาลัยที่แขวนพระมหาเศวตฉัตรและด้ามพระแสงขรรค์ชัยศรี ในพระราชพิธีฉัตรมงคล เส้นพระเกศาของพระองค์ (เส้นพระเจ้า) ซึ่งรวบรวมหลังจากทรงพระเครื่องใหญ่ สีซึ่งขูดจากผ้าใบที่ทรงเขียนภาพฝีพระหัตถ์ ชันและสีน้ำมัน ซึ่งทรงขูดจากเรือใบไมโครมด (เรือใบ พระที่นั่ง ในการแข่งขันกีฬาแหลมทอง ครั้งที่ 4)
8. เสื้อพระราชทาน
พ.ศ.2522 พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เดินทางไปร่วมประชุมในต่างประเทศแล้วพบว่า ผู้แทนชาติต่างๆ มีชุดประจำชาติ แต่ของไทยกลับไม่มี จึงได้นำความกราบบังคมทูลสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เพื่อขอพระราชทานแนวพระราชดำริ
สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ จึงพระราชทานฉลองพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช แก่พลเอกเปรมฯ จึงเป็นที่มาของ “เสื้อพระราชทาน” หรือ “ชุดพระราชทาน” ซึ่งมีแบบอย่างดั้งเดิมมาจากเสื้อราชปะแตน
9. ส.ค.ส.
พระองค์ทรงใช้เครื่องโทรพิมพ์เพื่อรับส่งข่าวสารต่างๆ ในการพระราชทานความช่วยเหลือแต่ประชาชนผ่านหน่วยงานต่างๆ โดยรับส่งข้อความด้วยการปรุแถบทีละบรรทัด จนกระทั่ง พ.ศ.2530 พระองค์ทรงปรุแถบโทรพิมพ์ด้วยพระองค์เอง เพื่อพระราชทานเป็นพรปีใหม่แก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานถวายและระบุท้าย ส.ค.ส.ว่า “กส.9 ปรุ” ส่วนคำว่า “กส.9 ปรุง” เกิดจากการที่พระองค์ทรงออกแบบลวดลายเพิ่มเติม นอกเหนือจกการพิมพ์ตัวอักษร
ขอพระบรมราชานุญาต รวบรวมและเรียบเรียง
พระผู้เสด็จสู่สวรรคาลัย สถิตในดวงใจตราบนิจนิรันดร์ น้อมศิระกราน กราบแทบพระยุคลบาท
ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นอันหาที่สุดมิได้
ข้าพระพุทธเจ้า PROUD นักจัดระเบียบสิ่งของ
สามารถติดตามข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งของหรือการจัดระเบียบ ได้ที่เพจ Proud นักจัดระเบียบสิ่งของ
www.facebook.com/proud.tidy/ หรือ
http://proudtidy.wixsite.com/proudtidy
เครดิต ข้อมูล และภาพประกอบ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้สารคดี ปีที่ 23 ฉบับที่ 274 ธันวาคม 2550
a day ปีที่ 8 ฉบับที่ 88 ธันวาคม 2550
http://www.oknation.net/blog/print.php?id=838846
http://www.oknation.net/…/theloveofmylife/2012/11/23/entry-2
http://www.photoontour.com/…/data_king_fa…/King_photo_04.htm
https://goo.gl/YlcSAk
https://goo.gl/17q9iV
https://www.youtube.com/watch?v=Z5Hy8OOJs6U
https://goo.gl/tJvTya
https://goo.gl/JbHzS1
http://www.polyboon.com/stories/story000085.html
ในหลวงรัชกาลที่ 9 กับเรื่องเล่าจาก "สิ่งของ"
เราเชื่อว่า การเป็นข้ารองบาทที่จงรักภักดีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช คือการปฏิบัติตนเพื่อดำเนินรอยตามพระราชดำรัสหรือพระบรมราโชวาทของพระองค์ท่าน ที่ตรัสสอนชาวไทยมาตลอดหลายทศวรรษ
แม้กระทั่ง สิ่งของหรือของใช้ส่วนพระองค์ ยังสามารถนำมาเป็น “ครู” สอนให้เรารู้จักความประหยัดและความพอเพียง สอดคล้องกับพระราชจริยวัตรอันงดงามของพระองค์ได้ ผ่านหัวใจสำคัญ 4 ประการ คือ
“มี-ใช้-ดูแล-ให้”
1. “มี” เราควรซื้อหรือเลือกสะสมของสิ่งใดให้พอดี ไม่มากเกินประมาณ ไม่จำต้องซื้อของแพงหรือมีราคาสูง หากอยากได้ของสิ่งใดจะต้องรู้จักอดออม หรือประดิษฐ์ทำขึ้นด้วยตัวเอง ไม่ก่อให้เกิดหนี้เกินจำเป็น
2. “ใช้” รู้จักเรียนรู้คุณค่าของสิ่งของที่มี และรู้จักวางแผน จัดระเบียบใช้สิ่งของให้เกิดประโยชน์สูงสุด ภายใต้กรอบหรือสภาพแวดล้อมที่มีอยู่อย่างจำกัด
3. “ดูแล” การดูแลรักษาทำให้สิ่งของใช้ได้นาน ไม่จำเป็นต้องซื้อของใหม่ การใช้ของอย่างทนุถนอมยังทำให้เห็นคุณค่าสิ่งของชิ้นนั้นและแสดงให้เห็นถึงจิตใจของคนนั้นว่าเป็นคนละเอียดอ่อนเพียงใด
4. “ให้” เมื่อของใช้ที่มีอยู่เสื่อมสภาพหรือไม่เหมาะสมต่อการใช้งานแล้ว ก็ต้องถึงเวลาบอกลาของสิ่งนั้นและเลือกใช้ของใหม่ที่เหมาะสม แต่ยังคำนึงถึงความประหยัดและประโยชน์ใช้สอย รวมถึงของที่เรามีหรือทำขึ้นมา ซึ่งมีคุณค่าหรือประโยชน์สำหรับผู้อื่น เราย่อมจะแบ่งปัน บริจาคหรือมอบส่งต่อไปได้ เพื่อให้เกิดประโยชน์ไปอย่างกว้างขวางได้
1. ดินสอ
ภาพที่หลายคนมักจำติดตา คือภาพของพระองค์ทรงถือดินสอคู่กับแผนที่ ดินสอที่ทรงใช้จะเป็นดินสอไม้ราคาไม่แพงมียางลบที่ปลายแท่ง เพื่อให้ลบคำผิดที่เขียนได้ง่าย สะดวกและไม่ต้องเปลืองกระดาษเหมือนปากกา และทรงเหลาด้วยพระองค์เอง ปีหนึ่งทรงเบิกเพียง 12 แท่ง ใช้แต่ละแท่งจนเหลือกุดสั้น
2. แผนที่
แผนที่ของพระองค์เป็นแผนที่มาตราส่วน 1 : 50,000 เป็นแผนที่ขนาดใหญ่กว่าแผนที่ทั่วไป เพราะทรงนำแผนที่หลายระวางมาต่อกันด้วยพระองค์เอง
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเล่าเรื่องการใช้แผนที่ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชว่า
“ท่านหวงแผนที่ของท่านมาก อันเดิมต้องเก็บไว้ โดยเฉพาะแผนที่ทางภาคใต้นั้นโดนฝนมา ทำให้ค่อนข้างเปื่อยยุ่ย ต้องถือด้วยความระมัดระวัง...ถ้าแผนที่นั้นเน่าเต็มทน คือโดนฝนโดนอะไร หลายปีหลายฤดูกาล ท่านก็ต้องย้ายข้อมูลจากแผ่นเก่าไปสู่แผ่นใหม่ ซึ่งท่านก็ต้องทำเองอีกเหมือนกัน”
“ท่านสอนแม้กระทั่งการพับแผนที่ เพราะว่าเวลาเรานั่งในรถที่มันแคบ กางแขนกางขาออกไปมากไม่ได้ เวลาเตรียมก่อนเดินทางเราต้องพับแผนที่ให้ถูกทางว่า ตอนแรกไปถึงไหนและพอไปถึงอีกที่จะต้องคลี่ให้ทันท่วงที...”
3. กล้องถ่ายภาพ
เมื่อครั้งทรงพระเยาว์ มักทรงถ่ายรูปเป็นงานอดิเรก ซึ่งพระองค์ทรงได้ต้นแบบมาจากสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี กล้องถ่ายภาพตัวแรกๆ ของพระองค์ คือกล้อง Coronet Midget เป็นกล้องทีไม่มีเครื่องวัดแสงจึงต้องทรงปรับหน้ากล้องและความไวชัตเตอร์ด้วยพระองค์เอง ในการถ่ายภาพครั้งหนึ่ง ฟิล์มที่ใช้ถ่ายรูปม้วนหนึ่งมี 6 รูป แต่ฟิล์มเสียไปถึง 5 รูป มาประสบความสำเร็จในรูปที่ 6 ซึ่งเป็นรูปที่คนอื่นถ่าย ต่อมาทรงพัฒนาฝีพระหัตถ์จนทรงได้เป็นช่างภาพของหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษชื่อ สแตนดาร์ด โดยทรงรับเงินเดือนเพียงเดือนละ 1,000 บาท เท่านั้น
4. วิทยุสื่อสาร
พระองค์ทรงประกอบวิทยุสื่อสารเป็นงานอดิเรกมาตั้งแต่ทรงพระเยาว์ และทรงใช้วิทยุสื่อสารในการรับฟังข่าวสารและติดต่อกับเครือข่ายวิทยุตำรวจเป็นครั้งคราว โดยกรมตำรวจ (ในสมัยนั้น) ได้ถวายสัญญาณเรียกขานประจำพระองค์ว่า “กส.9” และทรงคิดค้นเทคนิคใหม่ๆ ที่ทำให้ส่งสัญญาณได้ไกลและชัดเจน ครั้งหนึ่งทรงใช้วิทยุสื่อสารขนาดเล็กติดต่อกับสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฏราชกุมาร (พระยศในขณะนั้น) จากดอยปุย จังหวัดเชียงใหม่ มายังสนามบินดอนเมืองที่กรุงเทพฯ
5. เรือจำลอง
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระปรีชาในการออกแบบและการต่อเรือด้วยพระองค์เอง ดังความตอนหนึ่งที่ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ทรงเล่าไว้ในหนังสือ เจ้านายเล็กๆ –ยุวกษัตริย์ ว่า
“...พระอนุชาได้เริ่มทำแบบเรือต่างๆ ด้วยไม้ เช่น แบบเรือรบที่ไม่มีขาย ในระยะนั้นกำลังทำเรือใบที่ใหญ่พอสมควร ใบก็เย็บเองด้วยจักรเสร็จแล้ว เหลือแต่การทาสี เมื่อเริ่มไปแล้วก็พอดีเป็นเวลาที่กำลังจะตัดสินว่าจะอพยพออกไปสวิตเซอร์แลนด์ ทรงเล่าว่าทุกคนก็ถามอย่างล้อๆ ว่า เรือจะแห้งทันไหม”
ครั้งหนึ่ง พระองค์ทรงนำภาพถ่ายเรือรบลำหนึ่งให้ข้าราชบริพารดูและให้ตอบคำถามว่าเป็นเรืออะไรและถ่ายที่ใด แต่ไม่มีใครตอบได้ถูก ยกเว้นนายทหารท่านหนึ่งตอบถูกว่าเป็นเรือรบหลวงศรีอยุธยา แต่ทุกคนทราบดีว่าพระองค์ไม่เคยเสด็จฯ ทางเรือโดยมีเรือรบหลวงศรีอยุธยาโดยเสด็จด้วย จึงไม่มีใครตอบได้ว่าถ่ายภาพจากที่ใด
ในหลวงทรงเฉลยว่า “ถ่ายในห้องนี่เอง” เพราะพระองค์ทรงประดิษฐ์เรือรบหลวงจำลอง ด้วยชิ้นส่วนนับร้อยจนเหมือนของจริง และทรงจัดวางฉากในห้องให้เหมือนท้องทะเล เมื่อทรงถ่ายภาพจึงเหมือนภาพถ่ายเรือรบกลางทะเล
6. หลอดยาสีพระทนต์
เรื่องเล่าของศาสตราจารย์พิเศษ ทันตแพทย์หญิงท่านผู้หญิงเพ็ชรา เตชะกัมพุช ทันตแพทย์ประจำพระองค์เมื่อได้ทราบว่าในหลวง รัชกาลที่ 9 ทรงมีรับสั่งให้มหาดเล็กนำหลาดยาสีพระทนต์หลอดเก่าที่ถูกเปลี่ยนให้พระองค์นำกลับมาใช้ต่อได้ถึง 5 วัน ท่านผู้หญิงจึงกราบพระบาททูลขอพระราชทานหลอดยาสีพระทนต์หลอดนั้นเพื่อนำไปให้ลูกศิษย์ได้เห็นถึงพระราชจริยวัตรในเรื่องความประหยัดในการใช้ของอย่างคุ้มค่า
“ประมาณหนึ่งสัปดาห์หลังจากนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานหลอดสีพระทนต์เปล่าหลอดนั้นมาให้ดิฉันถึงบ้าน...เมื่อได้พิจารณาถึงลักษณะของหลอดยาสีพระทนต์เปล่าหลอดนั้นแล้ว ทำให้เกิดความสงสัยว่า เหตุใดหลอดยาสีพระทนต์หลอดนี้จึงแบนเรียบราบโดยตลอด คล้ายแผ่นกระดาษ โดยเฉพาะบริเวณคอหลอดยังปรากฏรอยบุ๋มลึกลงไปเกือบถึงคอหลอด...”
“เมื่อได้มีโอกาสเข้าเฝ้าฯ อีกครั้งในเวลาต่อมา จึงได้รับคำอธิบายจากพระองค์ว่า หลอดยาสีพระทนต์ทีเห็นแบนเรียบนั้น เป็นผลจากการใช้ด้ามแปรงสีพระทนต์รีดและกดจนเป็นรอยบุ๋มอย่างที่เห็นนั่นเอง...”
7. พระสมเด็จจิตรลดา
พระสมเด็จจิตรลดา หรือ พระกำลังแผ่นดิน พระองค์ทรงสร้างด้วยพระหัตถ์ของพระองค์เอง พระราชทานแก่ทหาร ตำรวจ ข้าราชการ และพลเรือน ในช่วงระหว่าง พ.ศ. 2508 - 2513 มีทั้งสิ้นประมาณ 2,500 องค์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานด้วยพระหัตถ์พระองค์เอง มีเอกสารส่วนพระองค์ (ใบกำกับพระ) ซึ่งแสดงชื่อ นามสกุล วันที่รับพระราชทาน หมายเลขกำกับทุกองค์ และภาพพระสมเด็จจิตรลดา โดยมีพระราชดำรัสแก่ผู้รับพระราชทานว่า "ให้ปิดทองที่หลังองค์พระปฏิมาแล้วเอาไว้บูชาตลอดไป ให้ทำความดีโดยไม่หวังสิ่งตอบแทนใดๆ"
มวลสารของพระสมเด็จจิตรลดา ประกอบด้วย ดอกไม้แห้งจากมาลัยที่ประชาชนได้ทูลเกล้าฯ ถวายในการเสด็จพระราชดำเนินเปลี่ยนเครื่องทรงพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรและได้ทรงแขวนไว้ที่องค์พระตลอดเทศกาล และดอกไม้แห้งจากมาลัยที่แขวนพระมหาเศวตฉัตรและด้ามพระแสงขรรค์ชัยศรี ในพระราชพิธีฉัตรมงคล เส้นพระเกศาของพระองค์ (เส้นพระเจ้า) ซึ่งรวบรวมหลังจากทรงพระเครื่องใหญ่ สีซึ่งขูดจากผ้าใบที่ทรงเขียนภาพฝีพระหัตถ์ ชันและสีน้ำมัน ซึ่งทรงขูดจากเรือใบไมโครมด (เรือใบ พระที่นั่ง ในการแข่งขันกีฬาแหลมทอง ครั้งที่ 4)
8. เสื้อพระราชทาน
พ.ศ.2522 พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เดินทางไปร่วมประชุมในต่างประเทศแล้วพบว่า ผู้แทนชาติต่างๆ มีชุดประจำชาติ แต่ของไทยกลับไม่มี จึงได้นำความกราบบังคมทูลสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เพื่อขอพระราชทานแนวพระราชดำริ
สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ จึงพระราชทานฉลองพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช แก่พลเอกเปรมฯ จึงเป็นที่มาของ “เสื้อพระราชทาน” หรือ “ชุดพระราชทาน” ซึ่งมีแบบอย่างดั้งเดิมมาจากเสื้อราชปะแตน
9. ส.ค.ส.
พระองค์ทรงใช้เครื่องโทรพิมพ์เพื่อรับส่งข่าวสารต่างๆ ในการพระราชทานความช่วยเหลือแต่ประชาชนผ่านหน่วยงานต่างๆ โดยรับส่งข้อความด้วยการปรุแถบทีละบรรทัด จนกระทั่ง พ.ศ.2530 พระองค์ทรงปรุแถบโทรพิมพ์ด้วยพระองค์เอง เพื่อพระราชทานเป็นพรปีใหม่แก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานถวายและระบุท้าย ส.ค.ส.ว่า “กส.9 ปรุ” ส่วนคำว่า “กส.9 ปรุง” เกิดจากการที่พระองค์ทรงออกแบบลวดลายเพิ่มเติม นอกเหนือจกการพิมพ์ตัวอักษร
ขอพระบรมราชานุญาต รวบรวมและเรียบเรียง
พระผู้เสด็จสู่สวรรคาลัย สถิตในดวงใจตราบนิจนิรันดร์ น้อมศิระกราน กราบแทบพระยุคลบาท
ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นอันหาที่สุดมิได้
ข้าพระพุทธเจ้า PROUD นักจัดระเบียบสิ่งของ
สามารถติดตามข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งของหรือการจัดระเบียบ ได้ที่เพจ Proud นักจัดระเบียบสิ่งของ
www.facebook.com/proud.tidy/ หรือ http://proudtidy.wixsite.com/proudtidy
เครดิต ข้อมูล และภาพประกอบ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้