ในตำราภูมิศาสตร์เรารู้จักมหาสมุทรเป็นอย่างดีว่ามีกี่แห่ง แต่เรารู้เรื่องเกี่ยวกับมหาสมุทรน้อยมากเพราะมันยังมีความลึกลับอีกมากที่ยังไม่รู้เกี่ยวกับมัน ว่ากันว่าเรารู้เรื่องพื้นผิวดวงจันทร์ดีกว่าก้นมหาสมุทรบนโลกเสียอีก แต่ความรู้ทั้งหมดทีเรามีเกี่ยวกับมหาสมุทรต้องฉีกทิ้งหมด เราเรียนจากตำราว่าแปซิฟิกเป็นมหาสุมทรที่ใหญ่ที่สุด แต่มันต้องชิดซ้ายให้กับมหาสมุทรใต้พิภพ เพราะปริมาณน้ำใต้พิภพมีปริมาณมากกว่าน้ำในมหาสมุทรบนผิวโลกทั้งหมดมารวมกันถึง 3 เท่า ความลึกสุดของมหาสมุทรแปซิที่ลึกที่สุดก็ต้องร่องมาเรียนาที่มีความลึก 11 กิโลเมตร แต่มหาสมุทรใต้พิภพลึกลงไปในชั้นแมนเทิล และทอดยาวลึกลงหลายร้อยกิโลเมตร
น้ำปริมาณมหาศาลกว่า 3 เท่าของมหาสมุทรบนโลกอยู่ลึกลงไปในชั้นที่เรียกว่า Transition Zone ซึ่งอยู่ระหว่างชั้น upper และ lower mantle ลึกลงไป 255 - 410 ไมล์ (410 - 660 กิโลเมตร) ในชั้น Transition Zone นี้มีแร่ที่เรียกว่า Ringwoodite ซึ่งมีลักษณะเป็นผลึกคล้ายฟองน้ำทำหน้าที่กักเก็บไฮโดรเจนและน้ำไว้ โดยนักวิทยาศาสตร์ระบุว่ามีเพียง 1 เปอร์เซ็นต์ของหินในชั้นแมนเทิลที่อยู่ใน Transition Zone ที่กักเก็บน้ำไว้
แต่เมื่อไม่นานมานี้ ก็มีการค้นพบน้ำปริมาณมากที่กักเก็บไว้รูปแบบเหมือนมหาสมุทรอยู่ภายในโลก นักวิทยาศาสตร์ได้สแกนหาแหล่งน้ำใต้พืภพที่มีกระจายกันไปทั่วโลก ซึ่งมหาสมุทรใต้พิภพที่ใหญ่โตมโหฬารถูกค้นพบอยู่ที่เอเซียตะวันออก ขนาดใหญ่เทียบเท่ากับมหาสมุทรอาร์คติก จุดสูงสุดของมันมีตำแหน่งอยู่ใต้กรุงปักกิ่งลงไป ซึ่งทำให้ประเทศจีนเป็นประเทศที่เสี่ยงต่อแผ่นดินไหวระดับโมหฬารมากกว่าประเทศใดในโลก นักวิทยาศาสตร์จึงตั้งชื่อว่า Beijing anomaly
การกำเนิดมหาสมุทรใต้พิภพนี้เกิดได้อย่างไรไม่มีใครทราบ แต่ก็มีทฤษฎีว่ามันอาจก่อตัวตั้งแต่ครั้งกำเนิดโลก โดยเป็นผลจากดาวหางน้ำแข็งที่พุ่งเข้าชนโลกจนทะลุลึกลงไปในผิวโลกและก็ถูกกักเก็บอยู่ตั้งแต่ครั้งบรรพกาล บางทฤษฎีก็บอกว่ามันเกิดจากกระบวนการมุดตัวของเปลือกโลกที่ดึงน้ำในมหาสมุทรบนพื้นผิวให้เข้าไปในชั้นหินระดับลึก
มหาสมุทรใต้พิภพคงมีลักษณะที่แตกต่างจากมหาสมุทรบนพื้นผิวมาก เพราะภายใต้ความดันมหาศาล สถานะของน้ำคงเป็นของแข็งที่ไม่ใช้น้ำแข็ง คือเป็นน้ำที่ถูกบีบอัดตัวจนโมเลกุลจัดเรียงจนกลายเป็นของแข็ง แต่ก็อาจมีน้ำที่อยู่ในสภานะของเหลวอยู่ในจุดที่ตื้นๆความดันไม่สูงพอก็ได้ นี่ทำให้มันน่าสนใจมากกว่าการเป็นแหล่งน้ำสำรองของโลก เพราะอาจมีวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตเกิดในสภาวะสุดขั้วแบบนี้ก็ได้ เนื่องจากมันมีทั้งน่ำ แร่ธาตุและพลังงานอย่างเหลือเฟือในการก่อกำเนิดชีวิต ซึ่งคงจะเหลือเชื่อมาก แต่นักวิทยาศาสตร์ก็ยังเชื่อว่าดวงจันทร์ยูโรป้าอาจมีสิ่งมีชีวิต มหาสมุทรของยูโรปาอยู่ใต้เปลือกน้ำแข็งที่มีความหนาหลายสิบกิโลเมตรกดทับอยู่เหมือนกับมหาสมุทรใต้พิภพของโลก
เรียบเรียงจาก
https://www.theguardian.com/science/2014/jun/13/earth-may-have-underground-ocean-three-times-that-on-surface
https://crisisboom.com/2011/08/30/huge-ocean-discovered-inside-earth/
http://www.seeker.com/oceans-of-water-locked-400-miles-inside-earth-1768677509.html
http://www.livescience.com/1312-huge-ocean-discovered-earth.html
วังมังกร มหาสมุทรใต้พิภพ
น้ำปริมาณมหาศาลกว่า 3 เท่าของมหาสมุทรบนโลกอยู่ลึกลงไปในชั้นที่เรียกว่า Transition Zone ซึ่งอยู่ระหว่างชั้น upper และ lower mantle ลึกลงไป 255 - 410 ไมล์ (410 - 660 กิโลเมตร) ในชั้น Transition Zone นี้มีแร่ที่เรียกว่า Ringwoodite ซึ่งมีลักษณะเป็นผลึกคล้ายฟองน้ำทำหน้าที่กักเก็บไฮโดรเจนและน้ำไว้ โดยนักวิทยาศาสตร์ระบุว่ามีเพียง 1 เปอร์เซ็นต์ของหินในชั้นแมนเทิลที่อยู่ใน Transition Zone ที่กักเก็บน้ำไว้
แต่เมื่อไม่นานมานี้ ก็มีการค้นพบน้ำปริมาณมากที่กักเก็บไว้รูปแบบเหมือนมหาสมุทรอยู่ภายในโลก นักวิทยาศาสตร์ได้สแกนหาแหล่งน้ำใต้พืภพที่มีกระจายกันไปทั่วโลก ซึ่งมหาสมุทรใต้พิภพที่ใหญ่โตมโหฬารถูกค้นพบอยู่ที่เอเซียตะวันออก ขนาดใหญ่เทียบเท่ากับมหาสมุทรอาร์คติก จุดสูงสุดของมันมีตำแหน่งอยู่ใต้กรุงปักกิ่งลงไป ซึ่งทำให้ประเทศจีนเป็นประเทศที่เสี่ยงต่อแผ่นดินไหวระดับโมหฬารมากกว่าประเทศใดในโลก นักวิทยาศาสตร์จึงตั้งชื่อว่า Beijing anomaly
การกำเนิดมหาสมุทรใต้พิภพนี้เกิดได้อย่างไรไม่มีใครทราบ แต่ก็มีทฤษฎีว่ามันอาจก่อตัวตั้งแต่ครั้งกำเนิดโลก โดยเป็นผลจากดาวหางน้ำแข็งที่พุ่งเข้าชนโลกจนทะลุลึกลงไปในผิวโลกและก็ถูกกักเก็บอยู่ตั้งแต่ครั้งบรรพกาล บางทฤษฎีก็บอกว่ามันเกิดจากกระบวนการมุดตัวของเปลือกโลกที่ดึงน้ำในมหาสมุทรบนพื้นผิวให้เข้าไปในชั้นหินระดับลึก
มหาสมุทรใต้พิภพคงมีลักษณะที่แตกต่างจากมหาสมุทรบนพื้นผิวมาก เพราะภายใต้ความดันมหาศาล สถานะของน้ำคงเป็นของแข็งที่ไม่ใช้น้ำแข็ง คือเป็นน้ำที่ถูกบีบอัดตัวจนโมเลกุลจัดเรียงจนกลายเป็นของแข็ง แต่ก็อาจมีน้ำที่อยู่ในสภานะของเหลวอยู่ในจุดที่ตื้นๆความดันไม่สูงพอก็ได้ นี่ทำให้มันน่าสนใจมากกว่าการเป็นแหล่งน้ำสำรองของโลก เพราะอาจมีวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตเกิดในสภาวะสุดขั้วแบบนี้ก็ได้ เนื่องจากมันมีทั้งน่ำ แร่ธาตุและพลังงานอย่างเหลือเฟือในการก่อกำเนิดชีวิต ซึ่งคงจะเหลือเชื่อมาก แต่นักวิทยาศาสตร์ก็ยังเชื่อว่าดวงจันทร์ยูโรป้าอาจมีสิ่งมีชีวิต มหาสมุทรของยูโรปาอยู่ใต้เปลือกน้ำแข็งที่มีความหนาหลายสิบกิโลเมตรกดทับอยู่เหมือนกับมหาสมุทรใต้พิภพของโลก
เรียบเรียงจาก
https://www.theguardian.com/science/2014/jun/13/earth-may-have-underground-ocean-three-times-that-on-surface
https://crisisboom.com/2011/08/30/huge-ocean-discovered-inside-earth/
http://www.seeker.com/oceans-of-water-locked-400-miles-inside-earth-1768677509.html
http://www.livescience.com/1312-huge-ocean-discovered-earth.html