คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 1
คราวนี้เรามามองถึงด้านนายกฯที่มาจากการเลือกตั้งดูกันบ้างว่าจะมีโอกาสหรือไม่
เริ่มจากพรรคที่ได้อันดับหนึ่งฝั่งเพื่อไทย ถ้าลองจับขั้วกับพรรคการเมืองที่ได้เลือกตั้งทั้งหมด ยกเว้น ปชป. กับกลุ่มที่สนับสนุนนายกฯคนนอก 218+24+13+7+5+13+4+4+2+2 = 292 เสียง ไม่ถึงครึ่งของ 750 ครับ ยังน้อยกว่า 250 สว. + 50 เสียงที่สนับสนุนนายกฯคนนอกด้วยซ้ำ และในกรณีนี้หาก สส. ของ ปชป. ไปร่วมโหวตร่วมกับ สว. 250 เสียงและพรรคการเมืองที่สนับสนุนนายกฯคนนอก พรรคที่ได้คะแนนสูงสุดอันดับหนึ่ง+พรรคแนวร่วมก็แพ้นายกฯคนนอกอยู่ดี
พรรคที่ได้อันดับสอง ปชป จับมือทุกพรรค ยกเว้นพรรค พท กับกลุ่มที่สนับสนุนนายกฯคนนอก ผมลองบวกได้ 232 เสียง น้อยกว่าทางเพื่อไทยเสียอีก น้อยกว่า 250 สว. เสียด้วยซ้ำ และในกรณีนี้หาก สส. ของ พท ไปร่วมโหวตร่วมกับ สว. 250 เสียงและพรรคการเมืองที่สนับสนุนนายกฯคนนอก พรรค ปชป ก็หมดสิทธิที่จะได้จัดตั้งรัฐบาลรวมไปถึงหมดสิทธิ์ได้ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของคุณอภิสิทธิ์ด้วย
คราวนี้เราลองมามองในด้านหนึ่งหากมีการกลับลำของพรรค ปชป ที่ตอนแรกออกมาแถลงว่ายังไงก็ตามก็จะไม่มีทางจับมือกับเพื่อไทยดูกันบ้าง (กรณีนี้ผมนำมาคิดเล่นๆเฉยๆนะครับ ว่าตัวเลขมันจะออกมาเป็นเช่นไร) คิดง่ายๆครับคือรวม ส.ส. ทุกพรรค ยกเว้นพรรคที่สนับสนุนนายกฯคนนอก รวมเสียงที่ได้คือ 450 เสียง (เกินครึ่งของ 750) แล้วตกลงกันว่าคุณจะโหวตใครคนใดคนหนึ่งขึ้นมาดำรงค์ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสู้กับ 250 สว.+พรรคที่สนับสนุน นี่อาจเป็นหนทางเดียวเท่านั้นที่จะได้นายกฯรัฐมนตรีที่มาจากการเลือกตั้ง และในทางปฏิบัติแทบจะไม่มีทางเป็นไปได้
ไม่ว่าต่อไปจะเลือกแนวทางใดก็ตาม หรือไม่ว่าใครจะมาเป็นนายกรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญ+บทเฉพาะกาลที่เพิ่มขึ้นมาจากคำถามพ่วง สิ่งหนึ่งที่ค่อนข้างชัดเจนในสายตาผมนั่นก็คือเกิดรัฐบาลผสมครับ และมีความเป็นไปได้ค่อนข้างสูงมากที่เราจะมีนายกรัฐมนตรีคนนอก
การคำนวณนี้เป็นการคำนวณคร่าวๆเพื่อสื่อให้เห็นในภาพรวมคร่าวๆของอนาคตการเมืองไทยว่าจะดำเนินเป็นเช่นไรหลังจากร่างรัฐธรรมนูญ+คำถามพ่วงผ่านประชามติแล้วเท่านั้น หากมีค่าความคลาดเคลื่อนใดๆในนามเจ้าของกระทู้ขออภัยท่านผู้อ่านมา ณ ที่นี้
The Mario ; 26 ตุลาคม 2559 11.11 น.
เริ่มจากพรรคที่ได้อันดับหนึ่งฝั่งเพื่อไทย ถ้าลองจับขั้วกับพรรคการเมืองที่ได้เลือกตั้งทั้งหมด ยกเว้น ปชป. กับกลุ่มที่สนับสนุนนายกฯคนนอก 218+24+13+7+5+13+4+4+2+2 = 292 เสียง ไม่ถึงครึ่งของ 750 ครับ ยังน้อยกว่า 250 สว. + 50 เสียงที่สนับสนุนนายกฯคนนอกด้วยซ้ำ และในกรณีนี้หาก สส. ของ ปชป. ไปร่วมโหวตร่วมกับ สว. 250 เสียงและพรรคการเมืองที่สนับสนุนนายกฯคนนอก พรรคที่ได้คะแนนสูงสุดอันดับหนึ่ง+พรรคแนวร่วมก็แพ้นายกฯคนนอกอยู่ดี
พรรคที่ได้อันดับสอง ปชป จับมือทุกพรรค ยกเว้นพรรค พท กับกลุ่มที่สนับสนุนนายกฯคนนอก ผมลองบวกได้ 232 เสียง น้อยกว่าทางเพื่อไทยเสียอีก น้อยกว่า 250 สว. เสียด้วยซ้ำ และในกรณีนี้หาก สส. ของ พท ไปร่วมโหวตร่วมกับ สว. 250 เสียงและพรรคการเมืองที่สนับสนุนนายกฯคนนอก พรรค ปชป ก็หมดสิทธิที่จะได้จัดตั้งรัฐบาลรวมไปถึงหมดสิทธิ์ได้ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของคุณอภิสิทธิ์ด้วย
คราวนี้เราลองมามองในด้านหนึ่งหากมีการกลับลำของพรรค ปชป ที่ตอนแรกออกมาแถลงว่ายังไงก็ตามก็จะไม่มีทางจับมือกับเพื่อไทยดูกันบ้าง (กรณีนี้ผมนำมาคิดเล่นๆเฉยๆนะครับ ว่าตัวเลขมันจะออกมาเป็นเช่นไร) คิดง่ายๆครับคือรวม ส.ส. ทุกพรรค ยกเว้นพรรคที่สนับสนุนนายกฯคนนอก รวมเสียงที่ได้คือ 450 เสียง (เกินครึ่งของ 750) แล้วตกลงกันว่าคุณจะโหวตใครคนใดคนหนึ่งขึ้นมาดำรงค์ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสู้กับ 250 สว.+พรรคที่สนับสนุน นี่อาจเป็นหนทางเดียวเท่านั้นที่จะได้นายกฯรัฐมนตรีที่มาจากการเลือกตั้ง และในทางปฏิบัติแทบจะไม่มีทางเป็นไปได้
ไม่ว่าต่อไปจะเลือกแนวทางใดก็ตาม หรือไม่ว่าใครจะมาเป็นนายกรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญ+บทเฉพาะกาลที่เพิ่มขึ้นมาจากคำถามพ่วง สิ่งหนึ่งที่ค่อนข้างชัดเจนในสายตาผมนั่นก็คือเกิดรัฐบาลผสมครับ และมีความเป็นไปได้ค่อนข้างสูงมากที่เราจะมีนายกรัฐมนตรีคนนอก
การคำนวณนี้เป็นการคำนวณคร่าวๆเพื่อสื่อให้เห็นในภาพรวมคร่าวๆของอนาคตการเมืองไทยว่าจะดำเนินเป็นเช่นไรหลังจากร่างรัฐธรรมนูญ+คำถามพ่วงผ่านประชามติแล้วเท่านั้น หากมีค่าความคลาดเคลื่อนใดๆในนามเจ้าของกระทู้ขออภัยท่านผู้อ่านมา ณ ที่นี้
The Mario ; 26 ตุลาคม 2559 11.11 น.
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 9
+1 ค่ะ ขอบคุณพี่โอ้กับกระทู้ดีๆ ที่ทำให้มองเห็นและวิเคราะห์เส้นทางการเมืองของไทย
ประชาธิปไตย
ในทาง ภาษาศาสตร์ก็ตามนั้นอยู่แล้ว ไม่มีอะไรซับซ้อน "ประชาชนเป็นใหญ่"
ในหนังสือพจนานุกรมของทางราชการบอกว่า “แบบการปกครองที่ถือมติปวงชนเป็นใหญ่”
ใน Dictionary แปลว่า democracy "is government by the people in which the supreme power is vested in the people and exercised directly by them or by their elected agents under a free electoral system. คือการปกครองโดยประชาชนโดยอาจใช้อำนาจของตนด้วยตนเองหรือผ่านผู้แทนที่เลือกไปใช้อำนาจแทนก็ได้
อับราฮัม ลินคอห์น บอกว่า "เป็นการปกครองของประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชน"
ดังนั้น ง่ายๆ เลย ไม่มีอะไรซับซ้อน ประชาธิปไตยก็คือการที่ประชาชนมีสิทธิ มีเสียง มีส่วนร่วม ทางการเมืองอย่างเต็มที่และเสมอภาค เพื่อให้ได้การปกครองบริหารจัดการประเทศที่เป็นประโยชน์กับประชาชนที่สุด
หากเสียงส่วนมากของประชาชนเลือกนายกได้ แล้วได้นายกไม่ดี ใครเป็นคนรับผิดชอบ ? ก็ประชาชนไง แล้วครั้งหน้าเขาก็จะไม่เลือก สุดท้ายนักการเมืองก็ต้องปรับตัว ทำผลงาน ไม่งั้นประชาชนไม่เลือก
ยังไม่นับว่า ระบบการเลือกตั้งแบบใหม่ ดูยังไงก็คือการทำเรื่องง่ายให้เป็นเรื่องยากเพื่อบอนไซบางพรรคการเมืองเท่านั้น หากพรรคนั้นมีนโยบายดี ประชาชนสนับสนุนทั้งตัวบุคคลและพรรค แต่จำนวน สส. กลับต้องถูกจำกัด เพราะยิ่งได้ สส.เขตมาก สส.แบบบัญชีรายชื่อก็จะน้อย เพราะต้องนำจำนวน สส.เขตไปลบออกจาก ส.ส. ที่พึงมี
แล้ว ...
ทำไมเราต้องมีนายกคนนอก ?
หากได้นายกไม่ดี ใครจะรับผิดชอบ ? รับผิดชอบอย่างไร ?
อนาคตการเมืองไทยจะเป็นอย่างไรเมื่อประชาชนไม่มีสิทธิทางการเมืองอย่างเต็มที่ ?
ใครจะรักษาผลประโยชน์ของประชาชนได้เท่ากับคนที่มาจากประชาชน ?
ปี 2540 เราเคยต่อสู้เพื่อให้ได้นายกที่ต้องมาจากประชาชนไม่ใช่เหรอคะ แล้วทำไมผ่านไป 20 ปี เรากลับพยายามย้อนยุคกลับไป ทำเหมือนกับว่าประชาชนไม่มีความรู้ ความสามารถ หรือสิทธิที่แม้แต่จะเลือกคนมาเป็นผู้นำด้วยตัวเอง
ง่ายที่สุด หากมั่นใจในคุณสมบัติ ก็ลงสนามเลือกตั้งให้ประชาชนตัดสินค่ะ
วันนี้เรายังไม่รู้หรอกว่าบทสรุปจะเป็นอย่างไร แต่เราก็ควรมองภาพรวม วิเคราะห์ ดูถึงความเป็นไปได้และผลที่จะเกิดขึ้นอย่างที่กระทู้นี้นำเสนอ เพื่อช่วยกันจับตาและส่งเสียงเท่าที่จะทำได้เพื่อผลประโยชน์ของชาติและประชาชน ไม่ได้ทำเพื่อโจมตีใคร
ประชาธิปไตย
ในทาง ภาษาศาสตร์ก็ตามนั้นอยู่แล้ว ไม่มีอะไรซับซ้อน "ประชาชนเป็นใหญ่"
ในหนังสือพจนานุกรมของทางราชการบอกว่า “แบบการปกครองที่ถือมติปวงชนเป็นใหญ่”
ใน Dictionary แปลว่า democracy "is government by the people in which the supreme power is vested in the people and exercised directly by them or by their elected agents under a free electoral system. คือการปกครองโดยประชาชนโดยอาจใช้อำนาจของตนด้วยตนเองหรือผ่านผู้แทนที่เลือกไปใช้อำนาจแทนก็ได้
อับราฮัม ลินคอห์น บอกว่า "เป็นการปกครองของประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชน"
ดังนั้น ง่ายๆ เลย ไม่มีอะไรซับซ้อน ประชาธิปไตยก็คือการที่ประชาชนมีสิทธิ มีเสียง มีส่วนร่วม ทางการเมืองอย่างเต็มที่และเสมอภาค เพื่อให้ได้การปกครองบริหารจัดการประเทศที่เป็นประโยชน์กับประชาชนที่สุด
หากเสียงส่วนมากของประชาชนเลือกนายกได้ แล้วได้นายกไม่ดี ใครเป็นคนรับผิดชอบ ? ก็ประชาชนไง แล้วครั้งหน้าเขาก็จะไม่เลือก สุดท้ายนักการเมืองก็ต้องปรับตัว ทำผลงาน ไม่งั้นประชาชนไม่เลือก
ยังไม่นับว่า ระบบการเลือกตั้งแบบใหม่ ดูยังไงก็คือการทำเรื่องง่ายให้เป็นเรื่องยากเพื่อบอนไซบางพรรคการเมืองเท่านั้น หากพรรคนั้นมีนโยบายดี ประชาชนสนับสนุนทั้งตัวบุคคลและพรรค แต่จำนวน สส. กลับต้องถูกจำกัด เพราะยิ่งได้ สส.เขตมาก สส.แบบบัญชีรายชื่อก็จะน้อย เพราะต้องนำจำนวน สส.เขตไปลบออกจาก ส.ส. ที่พึงมี
แล้ว ...
ทำไมเราต้องมีนายกคนนอก ?
หากได้นายกไม่ดี ใครจะรับผิดชอบ ? รับผิดชอบอย่างไร ?
อนาคตการเมืองไทยจะเป็นอย่างไรเมื่อประชาชนไม่มีสิทธิทางการเมืองอย่างเต็มที่ ?
ใครจะรักษาผลประโยชน์ของประชาชนได้เท่ากับคนที่มาจากประชาชน ?
ปี 2540 เราเคยต่อสู้เพื่อให้ได้นายกที่ต้องมาจากประชาชนไม่ใช่เหรอคะ แล้วทำไมผ่านไป 20 ปี เรากลับพยายามย้อนยุคกลับไป ทำเหมือนกับว่าประชาชนไม่มีความรู้ ความสามารถ หรือสิทธิที่แม้แต่จะเลือกคนมาเป็นผู้นำด้วยตัวเอง
ง่ายที่สุด หากมั่นใจในคุณสมบัติ ก็ลงสนามเลือกตั้งให้ประชาชนตัดสินค่ะ
วันนี้เรายังไม่รู้หรอกว่าบทสรุปจะเป็นอย่างไร แต่เราก็ควรมองภาพรวม วิเคราะห์ ดูถึงความเป็นไปได้และผลที่จะเกิดขึ้นอย่างที่กระทู้นี้นำเสนอ เพื่อช่วยกันจับตาและส่งเสียงเท่าที่จะทำได้เพื่อผลประโยชน์ของชาติและประชาชน ไม่ได้ทำเพื่อโจมตีใคร
ความคิดเห็นที่ 5
"นายกคนนอก"
"นายกที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง"
"ที่มาจากรัฐธรรมนูญฉบับใหม่"
ทำไมแค่ 3 ประโยคนี้ก็ทำผมหดหู่ใจมากแล้ว เรายังจะเป็นระบบระบอบไหนกันแน่
กลับผิดเป็นชอบกันได้แบบน่าชื่นตาบานกันได้ขนาดนี้แล้วเหรอ ...เห้อ.... เอากันให้เละเถอะครับ ผมหมดศรัทธาการเมืองไทยมานานแล้ว
ปล.ขอโทษจขกทด้วยครับ แต่ผมคิดว่า เสนอแนวคิดไปก็ไร้ค่า เพราะอะไรจขกทก็รู้อยู่แก่ใจเหมือนผม มีอำนาจจะทำขาวเป็นดำ ทำดำเป็นขาวก็ทำได้กันอยู่แล้ว ผมเลยไม่รู้จะเสนออะไร เพื่ออะไร มัน่าเศร้ามานานแล้วกับการเมืองไทย
"นายกที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง"
"ที่มาจากรัฐธรรมนูญฉบับใหม่"
ทำไมแค่ 3 ประโยคนี้ก็ทำผมหดหู่ใจมากแล้ว เรายังจะเป็นระบบระบอบไหนกันแน่
กลับผิดเป็นชอบกันได้แบบน่าชื่นตาบานกันได้ขนาดนี้แล้วเหรอ ...เห้อ.... เอากันให้เละเถอะครับ ผมหมดศรัทธาการเมืองไทยมานานแล้ว
ปล.ขอโทษจขกทด้วยครับ แต่ผมคิดว่า เสนอแนวคิดไปก็ไร้ค่า เพราะอะไรจขกทก็รู้อยู่แก่ใจเหมือนผม มีอำนาจจะทำขาวเป็นดำ ทำดำเป็นขาวก็ทำได้กันอยู่แล้ว ผมเลยไม่รู้จะเสนออะไร เพื่ออะไร มัน่าเศร้ามานานแล้วกับการเมืองไทย
ความคิดเห็นที่ 8
เห็นภาพในอนาคตรำไรแล้วค่ะว่าใครจะได้เป็นนายกรัฐมนตรีของไทยคนต่อไป ดิฉันไม่เคยคิดปฏิเสธการทำงานของผู้นำท่านใดแม้แต่ท่านพลเอกประยุทธเองก็ตามที แต่ติดใจตรงที่ว่า สว. 250 คน นั้นโหวตนายกฯได้ แต่ยังไม่มีข้อใดที่เห็นว่ายกมือไว้วางใจในสภาได้ ซึ่งแม้ว่าจะได้ตำแหน่งนายกฯไปก็ตาม แต่หากเกิดมีการอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกฯรัฐมนตรีในสภาก็อาจตกจากเก้าอี้ได้ทันทีหาก ส.ส. ฝั่งรัฐบาลโหวตสู้ไม่ได้ตกลง เรากำลังผิดพลาดอะไรไหมในเสถียรภาพของรัฐบาลในอนาคต รวมไปถึงรัฐบาลผสมจนดูมั่วไปหมด ดิฉันว่าไม่เป็นผลดีต่อตัวนายกรัฐมนตรีเองรวมไปถึงอำนาจต่อรองต่างๆของผู้สนับสนุนท่านนายกฯด้วย แล้วประเทศชาติจะได้อะไรหลังจากนั้นนอกจากตัวนักการเมืองเองเหมือนเดิมหรือแย่หนักกว่าเดิม
ความคิดเห็นที่ 7
มองดูตัวเลขการเลือกตั้ง และรัฐธรรมนูญฉบับไหม่ที่สว.มาจากการแต่งตั้งทั้งหมดโดยรัฐบาลปัจจุบัน
โอกาศที่นายกมาจากการเลือกตั้ง แทบไม่มีทางเลย รัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้วางกฎเกณฑ์และกฎหมายชั่วคราว
เพื่อที่ไห้ได้นายกจากคนนอก แทบไม่ต้องลุ้นเลยว่านายกยกนอกจะเป็นไคร ถ้าคิดว่ามีความภาพภูมิไจที่ได้เป็นนายกจากการแต่งตั้ง โดยไม่สนไจเสียงประชาชน ก็ทำไปเลยครับ
โอกาศที่นายกมาจากการเลือกตั้ง แทบไม่มีทางเลย รัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้วางกฎเกณฑ์และกฎหมายชั่วคราว
เพื่อที่ไห้ได้นายกจากคนนอก แทบไม่ต้องลุ้นเลยว่านายกยกนอกจะเป็นไคร ถ้าคิดว่ามีความภาพภูมิไจที่ได้เป็นนายกจากการแต่งตั้ง โดยไม่สนไจเสียงประชาชน ก็ทำไปเลยครับ
แสดงความคิดเห็น
มาลองคำนวณเล่นๆกับเรื่องนายกฯคนนอก(นายกฯที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง) ตาม รธน.ฉบับใหม่กันครับ (by The Mario)
กระทู้นี้ลองคำนวณในกรณีที่มีการแก้ไขบทเฉพาะกาลเพิ่มเติมคำถามพ่วงเรื่องให้ สว. โหวตเลือกนายกรัฐมนตรีร่วมกับ ส.ส.ได้ ก่อนอื่นเรามาดู รธน. มาตราที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้กันก่อน เริ่มต้นจากมาตรา 272 ที่เปิดโอกาสให้มีนายกฯคนนอกได้
หลังจาก รธน. ผ่านการประชามติ และคำถามเพิ่มเติมพ่วงท้ายผ่านประชามติ มีการแก้ไขบทเฉพาะกาลเพิ่มเติม
การคำนวณเบื้องต้นเรามาลองคำนวนจำนวน ส.ส. ของแต่ละพรรคที่จะได้ก่อนครับ
การคำนวนนี้เป็นการคำนวณแบบคร่าวๆโดยยึดหลักฐานคะแนนเดิมจาก ปี 2554 ไม่ใช่ผลที่ได้ตรงแน่นอน 100% แต่เป็นผลที่พอจะคาดเดาได้ถึงบทสรุปแบบคร่าวๆเพื่อที่จะมองไปยังท่าทีของพรรคการเมืองต่างๆในการเลือกตั้งครั้งที่จะถึงนี้ว่าพรรคการเมืองต่างๆจะมีการเตรียมแผนอย่างไรหรือจะรับหรือไม่รับดีสำหรับ รธน. 2559
เพื่อให้เป็นการง่ายต่อการนำเสนอและการอ่านของเพื่อนสมาชิก ขอก้าวข้ามรายละเอียดที่มาของการคำนวณและขอนำแสดงแผนภาพตัวอย่างง่ายๆที่อธิบายการคิดคะแนนหา สส. ทั้งระบบแบ่งเขต+บัญชีรายชื่อแทนดังภาพนี้
รายละเอียดการคำนวณและเครดิตภาพตามไปดูได้ที่ลิ้งค์นี้ http://ilaw.or.th/node/4079
หมายเหตุ : ภาพตัวอย่างตามเวป ilaw ดังกล่าวใช้ 40,000,000 คะแนนมาหาร 500 แต่ตัวเลขที่นำมาคำนวณในกระทู้นี้คือ 32,525,504 (ตัวเลขจากผลรวมคะแนนสมบูรณ์ตามตารางสรุปผลเลือกตั้งปี 54) นำมาหาร 500
จากผลการเลือกตั้งปี 2554 เครดิตภาพวิกิพีเดีย
เนื่องจากจำนวน ส.ส. ระบบแบ่งเขตและระบบบัญชีรายชื่อที่เปลี่ยนไปจาก 375:125 แปรเปลี่ยนไปเป็น 350:150 ตามมาตรา 83
เนื่องจากผมไม่มีข้อมูลในแต่ละเขตเลือกตั้งของผู้สมัครทั้งหมดจากทุกพรรคจากผลตัวเลขเดิมของปี 54 จึงได้นำ ส.ส. แบ่งเขตที่พรรคต่างๆได้รับนำมาเทียบเทียบบัญญัติไตรยางค์ใหม่ดังนี้
เช่น พรรคเพื่อไทยจากเดิมเดิมได้ ส.ส.ระบบเขต 204 ที่นั่งจาก 375 เขต เมื่อปัจจุบันเหลือเพียง 350 เขต จะได้ ส.ส. = 204*350/375=190 ที่นั่ง พรรคประชาธิปัตย์จะได้ ส.ส. = 109*350/375 = 107 ที่นั่งเป็นต้น
จากการคำนวณ ขอสรุปจำนวน ส.ส. แบ่งเขตที่แต่ละพรรคจะได้ตามกติกาการเลือกตั้งใหม่ดังนี้
เพื่อไทย 190 ที่นั่ง
ประชาธิปัตย์ 107 ที่นั่ง
ภูมิใจไทย 27 ที่นั่ง
ชาติไทยพัฒนา 14 ที่นั่ง
ชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน 5 ที่นั่ง
พลังชล 6 ที่นั่ง
รักประเทศไทย 0 ที่นั่ง
มาตุภูมิ 1 ที่นั่ง
รักษ์สันติ 0 ที่นั่ง
มหาชน 0 ที่นั่ง
ประชาธิปไตยใหม่ 0 ที่นั่ง
อื่น ๆ 0 ที่นั่ง
รวม 350 ที่นั่ง
สำหรับ ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อคิดคร่าวๆจากฐานคะแนนเดิมของแต่ละพรรคที่ได้ทั้งหมด (โดยคาดการณ์ว่าการเลือกตั้งที่ผ่านมาคนส่วนใหญ่เลือกทั้งคนเลือกทั้งพรรค และครั้งนี้นำคะแนนรวมของแต่ละเขตที่แต่ละพรรคได้มารวมกัน) สรุปคะแนนที่จะนำมาคิด ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อได้ดังนี้
เพื่อไทย 15,744,190 คะแนน
ประชาธิปัตย์ 11,433,762 คะแนน
ภูมิใจไทย 1,281,577 คะแนน
ชาติไทยพัฒนา 906,656 คะแนน
ชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน 494,894 คะแนน
พลังชล 178,110 คะแนน
รักประเทศไทย 998,603 คะแนน
มาตุภูมิ 251,702 คะแนน
รักษ์สันติ 284,132 คะแนน
มหาชน 133,772 คะแนน
ประชาธิปไตยใหม่ 125,784 คะแนน
อื่น ๆ 692,322 คะแนน
รวม 32,525,504 คะแนน
การคำนวณหา ส.ส. ระบบบัญชีรายชื่อของแต่ละพรรคที่ได้คือ 32,525,504/500 = 65,051 นำตัวเลขนี้เป็นตัวหาร และนำคะแนนรวมของแต่ละพรรคเป็นตัวตั้ง
เช่นพรรคเพื่อไทยได้คะแนนรวม 15,744,190 คะแนน จำนวน ส.ส. ที่พึงจะมีได้คือ 15,744,190/65,051 = 242 คน แล้วนำตัวเลข 242 ไปลบกับจำนวน ส.ส. ระบบแบ่งเขตที่ได้มา จะได้เป็นจำนวน ส.ส. ระบบบัญชีรายชื่อที่พรรคนั้นจะได้รับคือ 242-190 = 52 ที่นั่ง (ค่อยๆอ่านอีกรอบนะครับจะได้ไม่งง)
ในส่วนของพรรคประชาธิปัตย์ จำนวน ส.ส. ที่พึงจะมีได้คือ 11,433,762/65,051 = 176 คน มี ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ 176-107 = 69 ที่นั่ง
สรุปทุกพรรคสำหรับที่นั่งระบบบัญชีรายชื่อ
เพื่อไทย 52 ที่นั่ง
ประชาธิปัตย์ 69 ที่นั่ง
ภูมิใจไทย 0 ที่นั่ง (จำนวน ส.ส. ที่พึงจะมีได้ต่ำกว่าจำนวน ส.ส. แบบแบ่งเขต ตามมาตรา 91 ข้อ 4 ทำให้ไม่ได้ ส.ส.บัญชีรายชื่อ)
ชาติไทยพัฒนา 0 ที่นั่ง (เช่นเดียวกับพรรคภูมิใจไทย)
ชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน 3 ที่นั่ง
พลังชล 0 ที่นั่ง (เช่นเดียวกับพรรคภูมิใจไทย)
รักประเทศไทย 15 ที่นั่ง
มาตุภูมิ 3 ที่นั่ง
รักษ์สันติ 4 ที่นั่ง
มหาชน 2 ที่นั่ง
ประชาธิปไตยใหม่ 2 ที่นั่ง
อื่น ๆ 0 ที่นั่ง (อนุมานว่าจำนวนพรรคเล็กพรรคน้อยหลายพรรคในแต่ละพรรคคะแนนหาร 65,051 ไม่ถึง 1 คน)
รวม 150 ที่นั่ง
อย่างไรก็ตาม การนับคะแนน หลักเกณฑ์ วิธีการคํานวณ และการคิดอัตราส่วนที่ชัดเจน ยังต้องรอพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
เพื่อไทย 242 ที่นั่ง
ประชาธิปัตย์ 176 ที่นั่ง
ภูมิใจไทย 27 ที่นั่ง
ชาติไทยพัฒนา 14 ที่นั่ง
ชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน 8 ที่นั่ง
พลังชล 6 ที่นั่ง
รักประเทศไทย 15 ที่นั่ง
มาตุภูมิ 4 ที่นั่ง
รักษ์สันติ 4 ที่นั่ง
มหาชน 2 ที่นั่ง
ประชาธิปไตยใหม่ 2 ที่นั่ง
อื่น ๆ 0 ที่นั่ง
รวม 500 ที่นั่ง
นายกฯคนนอกในสายตาประชาชนทั่วไปที่ติดตามด้านการเมืองมาตลอดเป้าแรกที่หลายคนมองก็คงไม่พ้นนายกฯคนปัจจุบันคือท่านพลเอกประยุทธ จันทร์โอชา ซึ่งแม้แต่นายไพบูลย์ นิติตะวัน อดีตสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ยังแถลงว่า หลังจากที่ร่างรัฐธรรมนูญและคำถามพ่วงผ่านประชามติไปแล้ว โดยเฉพาะประเด็นคำถามพ่วงที่ให้ ส.ว.เลือกนายกฯได้ คำถามพ่วงที่ประชาชนโหวตเห็นชอบกว่า 10 ล้านเสียง นายไพบูลย์ได้อนุมานว่าคงมีอุดมการณ์เดียวกับที่ตนเคยเสนอคือ สนับสนุนให้ พล.อ.ประยุทธ์เป็นนายกฯต่อ เพราะถ้าไม่เห็นชอบก็คงไม่โหวตคำถามพ่วงให้ผ่านมากขนาดนี้ ดังนั้น เชื่อว่าประชาชนจำนวนมากยังให้ความเห็นชอบ คสช. โดยมี พล.อ.ประยุทธ์เป็นนายกฯอยู่ นอกจากกลุ่มของนายไพบูลย์แล้ว ยังคงมีกลุ่ม กปปส. และกลุ่มอื่นๆที่พร้อมสนับสนุนพลเอกประยุทธเป็นนายกฯต่ออีกด้วย
หากเรายอมรับความเป็นจริง มองด้วยความเป็นกลาง ณ ทุกวันนี้ ก็คงปฏิเสธไม่ได้ว่ามีกลุ่มบุคคลที่นิยมชมชอบพลเอกประยุทธอยู่ก็ไม่น้อย มีสื่อสนับสนุน มีออกรายการเดินหน้าประเทศไทยสนับสนุนรัฐบาลทุกวัน(อาจยกเว้นช่วงนี้) มีกองทัพสนับสนุน และมวลชนที่นิยมผู้นำสไตล์นี้สนับสนุน คนเรามันก็ต้องมีทั้งดีและไม่ดีอยู่ในคนๆเดียวกัน ข้อดีข้อเสียของท่านผมขออนุญาติก้าวข้ามตรงนี้ไปแล้วแต่ความชอบความไม่ชอบและมุมมองของแต่ละบุคคล ด้วยใจจริงแล้วอยากให้ท่านลงมาสมัครเลือกตั้งด้วยตนเองเสียด้วยซ้ำ จะได้รู้ถึงคะแนนในส่วนของตัวเองที่แท้จริงว่าประชาชนต้องการมากน้อยเพียงใด สิ่งที่ตอบโจทย์ให้ตัวเองมากที่สุดก็คือเสียงของประชาชนผ่านกติกาตามระบอบประชาธิปไตยครับ ส่วนนายกฯคนนอกในตัวเลือกต่อๆไปในกรณีที่พลเอกประยุทธไม่ขอรับตำแหน่งต่อ เช่นรองวิษณุ คุณสมคิด พลเอกประวิทย์ หรือท่านอื่นๆนอกจากนี้ขออนุญาติที่จะยังไม่กล่าวถึงครับเพื่อรอกระแสและความชัดเจนมากกว่านี้
เรามาดูกลุ่มบุคคลที่จะเพิ่มเติมเข้ามาในบทเฉพาะกาลหลังจากคำถามพ่วงผ่านให้กลุ่มคนเหล่านี้โหวตเลือกนายกฯได้ นั่นก็คือกลุ่ม 250 สว. โดยการนำเสนอจาก คสช. ทั้งคณะ
คราวนี้เราลองมาคำนวณกันใหม่ว่าใครกันจะได้มีโอกาสเป็นนายกฯหลังจากการเลือกตั้งครั้งใหม่ที่กำลังจะมาถึง
ผมคงไม่ใจร้ายพอที่จะนำตัวเลขจากการคำนวนคร่าวๆดังกล่าวมาใช้เลย โดยที่ไม่แบ่งคะแนนให้กับกลุ่มการเมืองทางเลือกใหม่ที่ชัดเจนในการสนับสนุนนายกฯคนนอก เช่นพรรคประชาชนปฏิรูป กลุ่ม กปปส. และกลุ่มอื่นๆที่จะตามมา ขออนุญาติยกที่นั่ง ส.ส. ให้กลุ่มเหล่นนี้ไปเลย 50 ที่นั่ง โดยขอแบ่งจากพรรคต่างๆออกมาในอัตราส่วนเท่าๆกัน จึงขอสรุปยอดจำนวน ส.ส. ที่จะได้ตามกติกาการเลือกตั้งครั้งใหม่ได้ดังนี้
ประชาธิปัตย์ 158 ที่นั่ง
ภูมิใจไทย 24 ที่นั่ง
ชาติไทยพัฒนา 13 ที่นั่ง
ชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน 7 ที่นั่ง
พลังชล 5 ที่นั่ง
รักประเทศไทย 13 ที่นั่ง
มาตุภูมิ 4 ที่นั่ง
รักษ์สันติ 4 ที่นั่ง
มหาชน 2 ที่นั่ง
ประชาธิปไตยใหม่ 2 ที่นั่ง
พรรคที่สนับสนุนนายกฯคนนอก 50 ที่นั่ง
รวม 500 ที่นั่ง
ปกติแล้ว การโหวตเลือกนายกฯในสภาจะใช้จำนวนเสียง ส.ส. ทั้งหมดในสภาเพื่อโหวตว่าใครจะได้รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี แต่หลังจากคำถามพ่วงผ่านแล้วและมีการแก้ไขบทเฉพาะกาลเพิ่มเติมแล้ว สิทธิในการโหวตเลือกนายกฯจาก ส.ส. 500 คน จะมี สว. อีก 250 คนที่มีสิทธิในการโหวตเลือกนายกฯได้ รวมเป็นผู้มีสิทธิโหวตนายกฯได้ทั้งหมด 750 เสียง เรามาลองดูทางเลือกในการโหวตเลือกนายกฯกันครับ (ขออนุญาตแยกเพื่อไทยออกจากประชาธิปัตย์ เพราะสองขั้วนี้ชัดเจนแล้วว่าไม่จับมือกัน)
ทางเลือกแรก 250 สว + พรรคที่สนับสนุนนายกฯคนนอก 50 + ปชป 158 + ภท 24 + ชทพ 13 + ชพพ 7 รวม 502 เสียง ส่วนพรรคที่เหลืออีก 248 เสียงไปเป็นฝ่ายค้าน (ที่จำเป็นต้องบวกโหวตให้มากมายขนาดนี้เพราะว่า สว. 250 คน นั้นโหวตนายกฯได้ แต่ยังไม่มีข้อใดที่เห็นว่ายกมือไว้วางใจในสภาได้ ซึ่งแม้ว่าจะได้ตำแหน่งนายกฯไปก็ตาม แต่หากเกิดมีการอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกฯรัฐมนตรีในสภาก็อาจตกจากเก้าอี้ได้ทันทีหาก ส.ส. ฝั่งรัฐบาลโหวตสู้ไม่ได้)
ทางเลือกที่สอง 250 สว + พรรคที่สนับสนุนนายกฯคนนอก 50 + พท 218 + ชทพ 13 + ชพพ 7 + พช 5 + รปท 13 + มต 4 + รส 4 + มช 2 + ปม 2 รวม 568 เสียง ส่วนพรรคที่เหลืออีก 182 เสียงไปเป็นฝ่ายค้าน
สองทางเลือกแรกคนนอกลอยลำไปเป็นนายกฯครับ ที่ต้องบวกมากมายให้เห็นเพียงเพราะเสถียรภาพของรัฐบาลหลังจากนั้นด้วย แต่ภาพที่ชัดเจนก็คือเราจะเห็นรัฐบาลผสมทั้งสองทางเลือก