ธรรมะจากพระผู้รู้ โดย พระ ปราโมทย์ ปา โมชฺโช ค่ะ
จาก หนังสือธรรมะใกล้ตัว ฉบับที่ 55 ค่ะ
ถาม: อยากถามเรื่องการดูจิตกับการเจริญสติปัฏฐาน
จิตที่พร้อมจะเจริญสติปัฏฐานได้จริง จะต้องเป็นจิตที่มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
๑.เป็นจิตที่สามารถระลึกรู้อารมณ์ จะเป็นกาย เวทนา จิตหรือธรรมอะไรก็ได้
อย่างเป็น
วิหารธรรม คือเครื่องรู้ เครื่องอยู่ เครื่องระลึกของสติ
แต่ส่วนมากเราเอาอารมณ์มาเป็นคุกขังจิตกัน
(แบบที่นักปฏิบัติท่านหนึ่งเล่าว่าเพ่งลงไปให้จิตหยุดอยู่ในอารมณ์เดียว)
มากกว่าจะเอามาเป็นวิหารธรรมหรือเครื่องอยู่อันสบายของจิต
๒. จิตต้องมี
ตบะ หรือความเพียรแผดเผากิเลสให้เร่าร้อน
การปฏิบัติต้องปฏิบัติด้วยความรู้เท่าทันกิเลส
ไม่ใช่ปล่อยให้กิเลสตัณหาชักนำให้ปฏิบัติ
คือปฏิบัติไปด้วยความอยากมี อยากเป็น อยากเห็น อยากรู้ อยากพ้น สารพัดอยาก
เมื่อกิเลสชักจูงให้ปฏิบัติแล้ว ที่จะเอาชนะกิเลสนั้นยากนักครับ
เพราะไม่รู้ทันปัจจุบันว่า กำลังมีกิเลสตัณหา
มัวแต่เฝ้ารอจะต่อสู้กับกิเลสตัณหา ที่คิดว่าประเดี๋ยวจึงจะมา
๓. จิตจะต้องมี
สัมปชัญญะ ซึ่งทางกายหมายถึงการรู้ความเคลื่อนไหวของกาย
ทางจิตหมายถึงการรู้ความเคลื่อนไหวของจิต
ไม่ถูกโมหะครอบงำ จนไม่รู้สภาพธรรมตามความเป็นจริง
๔. จิตจะต้องมี
สติ คือรู้เท่าทันสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ
ซึ่งเรื่องสตินั้นผู้กำหนดอิริยาบถย่อยมักจะมีกันอยู่แล้ว
ที่ขาดคือขาดความรู้ตัวจริงๆ เท่านั้น
๕. จิตจะต้อง
สลัดความยินดียินร้ายในโลก
คือเป็นกลางต่อ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และธรรมารมณ์ได้
แต่ผู้ปฏิบัติส่วนมากไม่รู้เท่าจิตใจของตน
จิตหลงยินดียินร้ายแต่รู้ไม่ทัน คิดว่าตนเป็นกลางแล้ว
...ธรรมะจากพระผู้รู้... โดย พระ ปราโมทย์ ปา โมชฺโช ค่ะ ^ ^ จาก หนังสือธรรมะใกล้ตัว ฉบับที่ 55 - 56 ค่ะ
จาก หนังสือธรรมะใกล้ตัว ฉบับที่ 55 ค่ะ
ถาม: อยากถามเรื่องการดูจิตกับการเจริญสติปัฏฐาน
จิตที่พร้อมจะเจริญสติปัฏฐานได้จริง จะต้องเป็นจิตที่มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
๑.เป็นจิตที่สามารถระลึกรู้อารมณ์ จะเป็นกาย เวทนา จิตหรือธรรมอะไรก็ได้
อย่างเป็น วิหารธรรม คือเครื่องรู้ เครื่องอยู่ เครื่องระลึกของสติ
แต่ส่วนมากเราเอาอารมณ์มาเป็นคุกขังจิตกัน
(แบบที่นักปฏิบัติท่านหนึ่งเล่าว่าเพ่งลงไปให้จิตหยุดอยู่ในอารมณ์เดียว)
มากกว่าจะเอามาเป็นวิหารธรรมหรือเครื่องอยู่อันสบายของจิต
๒. จิตต้องมี ตบะ หรือความเพียรแผดเผากิเลสให้เร่าร้อน
การปฏิบัติต้องปฏิบัติด้วยความรู้เท่าทันกิเลส
ไม่ใช่ปล่อยให้กิเลสตัณหาชักนำให้ปฏิบัติ
คือปฏิบัติไปด้วยความอยากมี อยากเป็น อยากเห็น อยากรู้ อยากพ้น สารพัดอยาก
เมื่อกิเลสชักจูงให้ปฏิบัติแล้ว ที่จะเอาชนะกิเลสนั้นยากนักครับ
เพราะไม่รู้ทันปัจจุบันว่า กำลังมีกิเลสตัณหา
มัวแต่เฝ้ารอจะต่อสู้กับกิเลสตัณหา ที่คิดว่าประเดี๋ยวจึงจะมา
๓. จิตจะต้องมี สัมปชัญญะ ซึ่งทางกายหมายถึงการรู้ความเคลื่อนไหวของกาย
ทางจิตหมายถึงการรู้ความเคลื่อนไหวของจิต
ไม่ถูกโมหะครอบงำ จนไม่รู้สภาพธรรมตามความเป็นจริง
๔. จิตจะต้องมี สติ คือรู้เท่าทันสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ
ซึ่งเรื่องสตินั้นผู้กำหนดอิริยาบถย่อยมักจะมีกันอยู่แล้ว
ที่ขาดคือขาดความรู้ตัวจริงๆ เท่านั้น
๕. จิตจะต้อง สลัดความยินดียินร้ายในโลก
คือเป็นกลางต่อ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และธรรมารมณ์ได้
แต่ผู้ปฏิบัติส่วนมากไม่รู้เท่าจิตใจของตน
จิตหลงยินดียินร้ายแต่รู้ไม่ทัน คิดว่าตนเป็นกลางแล้ว