ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมานี้คนไทยได้พบเจอกับช่วงเวลาที่โศกเศร้าเสียใจที่สุด กับการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ความเศร้าที่เกิดขึ้นในจิตใจของคนไทยทุกคนกับเหตุการณ์ครั้งนี้ เป็นสิ่งที่หลายๆคนได้ระลึกถึงเหตุการณ์การสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ซึ่ง มรว. คึกฤทธิ์ ปราโมช ได้เขียนบรรยายไว้ในวรรณกรรมเรื่อง สี่แผ่นดิน ดังที่ได้มีการแแชร์ข้อความบางส่วนจากวรรณกรรมในโลกโซเชียลอย่างแพร่หลาย
ทั้งนี้เนื่องจากเมื่อวันจันทร์ที่ 17 ตุลาคม ที่ผ่านมา ทางช่อง PPTV 36 ได้นำละครที่สร้างจากวรรณกรรมเรื่องนี้กลับมาฉายให้ชมอีกครั้งหนึ่ง
ในฐานะที่ิ จขกท. ชื่นชอบเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ และรักวรรณกรรมเรื่องสี่แผ่นดินมาก ๆ จึงขออนุญาตใช้พื้นที่ในพันทิปตั้งกระทู้นี้ขึ้นเพื่อให้คนไทยบางส่วนที่อาจจะยังไม่รู้จักวรรณกรรมเรื่องนี้ หรือเคยได้ยินชื่อ แต่ยังไม่เคยได้สัมผัส ได้รู้จักและลองสัมผัสดูนะคะ
(ภาพหน้าปกฉบับตีพิมพ์รวมเล่มครั้งแรกสุด)
วรรณกรรมเรื่องสี่แผ่นดิน โดย มรว. คึกฤทธิ์ ปราโมช ถูกตีพิมพ์ครั้งแรกลงในหนังสือพิมพ์สยามรัฐ โดยพิมพ์ทีละตอน ท่านคึกฤทธิ์ไม่ได้วางพล๊อตเรื่องทั้งหมดไว้ หรือไม่ได้เขียนจนจบแล้วค่อยมาแบ่งพิมพ์ แต่ท่านได้ค่อย ๆ เขียนเรื่องราวไปเรื่อยๆ เรียงตามลำดับเหตุการณ์
เรื่องนี้ ถูกเล่าในลักษณะมุมมองบุคคลที่ 3 มีศูนย์กลางที่ "แม่พลอย" นางเอกของเรื่อง
**เพราะเหตุใด เรื่องนี้จึงขึ้นชื่อว่าเป็นวรรณกรรมแห่งกรุงรัตนโกสินทร์**
ช่วงชีวิตของแม่พลอย กินเวลาตั้งแต่รัชกาลที่ 5 จนถึงรัชกาลที่ 8 โดยแม่พลอยเป็นตัวแทนของสาวชาววังในสมัยรัชกาลที่ 5 ที่มีชีวิตอยู่ใกล้ชิดใต้เบื้องยุคลบาทของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ชีวิตของแม่พลอยมีความผูกพันกับสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างลึกซึ้ง และแม่พลอยได้สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ
การใช้ชีวิตของแม่พลอย และเหตุการณ์ที่ผ่านเข้ามาในชีวิตของแม่พลอยนั้น ท่านคึกฤทธิ์ได้ใช้สำนวนการเขียนวรรณกรรมที่น่าติดตามเล่าเรื่องราวของประวัติศาสตร์บ้านเมืองไทยแต่ละยุคสมัยไปพร้อมๆกับสภาพสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองของไทยตลอดทั้งเล่ม แทรกด้วยเรื่องราวความรัก ทั้งของแม่ที่มีต่อลูก ทั้งความรักของครอบครัว ความรักในแผ่นดินไทย และรวมทั้งมุมมองที่แตกต่างต่อการพัฒนาชาติบ้านเมืองไทยในตัวละครแต่ละตัว
การใช้เหตุการณ์จริงทางประวัติศาสตร์เป็นฐานในการเล่าเรื่อง ทำให้วรรณกรรมเรื่องสี่แผ่นดิน มีความสมจริง และตัวละครทุกตัว ต่างเป็นตัวแทนของบุคคลในสมัยนั้น ก่อให้เกิดความนิยมอย่างรวดเร็ว นักอ่านรวมถึงนักวิชาการหลายๆท่าน ได้มีการค้นคว้าทั้งเกี่ยวกับตัวของแม่พลอย ทั้งมีการตามรอยสถานที่ในวรรณกรรม ทำให้นักอ่านได้รู้สึกใกล้ชิดกับวรรณกรรมเรื่องนี้เป็นอย่างมาก
จนมีการตีพิมพ์รวมเล่มขึ้นหลายต่อหลายครั้ง
ฉบับรวมเล่มของสี่แผ่นดิน ถูกแบ่งออกเป็น 2 เล่มจบ
โดยเล่ม 1 จะจบเนื้อเรื่องที่แผ่นดินที่ 1 คือรัชกาลที่ 5
และเล่ม 2 คือเรื่องราวตั้งแต่รัชกาลที่ 6 ถึงรัชกาลที่ 8
หน้าปกฉบับพิมพ์ล่าสุด ยังคงเห็นได้ตามร้านหนังสือทั่วไป
ความยอดนิยมของสี่แผ่นดิน ทำให้ถูกสร้างเป็นละครทีวีถึง 5 ครั้ง
ซึ่ง จขกท. ทันดูแค่ 2 ครั้งหลัง คือ พ.ศ. 2534 และ 2546 และได้ตามย้อนดูทั้งสองครั้ง ส่วนเวอร์ชั่นเก่า ได้แก่ พ.ศ. 2504 พ.ศ. 2518 และ พ.ศ. 2523 ยังไม่มีโอกาสได้ดู
ภาพจากอินเทอร์เน็ต ของนักแสดงรุ่นเก่า ทั้ง 2504 2518 และ 2523
ละครทีวีเวอร์ชั่น 2534 และ 2546
เวอร์ชั่นที่กำลังนำมารีรันคือเวอร์ชั่น 2546 ที่คุณอุ้ม สิริยากร รับบทแม่พลอย
โดยส่วนตัวคิดว่าเวอร์ชั่นนี้มีความละเอียดมาก และด้วยงบประมานที่สูง จึงสร้างฉาก และเครื่องแต่งกายที่สมจริง ทำให้ภาพในสมัยรัชกาลต่าง ๆ และเหตุการณ์ในเรื่องสมจริงที่สุด
นอกจากละครทีวีแล้ว สี่แผ่นดินยังถูกสร้างเป็นละครเวที โดยบริษัท ซีเนียริโอ เปิดแสดงที่เมืองไทยรัชดาลัยเธียเตอร์ในปี 2554 และ 2557
ถือเป็นละครที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดของค่าย ซึ่งพี่นก สินจัย รับบทเป็นแม่พลอย
จขกท. ได้ดูทั้งสองปี ปีละสองรอบ คุ้มค่ามากๆจริงๆ
ใบปิดของละครเวทีฉบับปี 2554
ใบปิดของละครเวทีฉบับปี 2557
ละครเวทีเรื่องนี้ถือเป็นต้นฉบับของเพลง ในหลวงของแผ่นดิน ที่เปิดกันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน
https://youtu.be/ztKkZlMnV5c
(ฉบับเพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช)
่เวลานี้ ถือเป็นโอกาสที่ผู้ไม่เคยดูหรือไม่เคยรู้จักจะได้รับชมละครที่สร้างจากวรรณกรรมแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ไปพร้อม ๆ กันอีกครั้ง เพื่อสร้างความภาคภูมิใจในแผ่นดินไทยและสถาบันพระมหากษัตริย์ไทย
..........................ขอบคุณที่ติดตามอ่านค่ะ..............................
"สี่แผ่นดิน" วรรณกรรมแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ที่คนไทยทุกคนควรอ่าน
ความเศร้าที่เกิดขึ้นในจิตใจของคนไทยทุกคนกับเหตุการณ์ครั้งนี้ เป็นสิ่งที่หลายๆคนได้ระลึกถึงเหตุการณ์การสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ซึ่ง มรว. คึกฤทธิ์ ปราโมช ได้เขียนบรรยายไว้ในวรรณกรรมเรื่อง สี่แผ่นดิน ดังที่ได้มีการแแชร์ข้อความบางส่วนจากวรรณกรรมในโลกโซเชียลอย่างแพร่หลาย
ทั้งนี้เนื่องจากเมื่อวันจันทร์ที่ 17 ตุลาคม ที่ผ่านมา ทางช่อง PPTV 36 ได้นำละครที่สร้างจากวรรณกรรมเรื่องนี้กลับมาฉายให้ชมอีกครั้งหนึ่ง
ในฐานะที่ิ จขกท. ชื่นชอบเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ และรักวรรณกรรมเรื่องสี่แผ่นดินมาก ๆ จึงขออนุญาตใช้พื้นที่ในพันทิปตั้งกระทู้นี้ขึ้นเพื่อให้คนไทยบางส่วนที่อาจจะยังไม่รู้จักวรรณกรรมเรื่องนี้ หรือเคยได้ยินชื่อ แต่ยังไม่เคยได้สัมผัส ได้รู้จักและลองสัมผัสดูนะคะ
(ภาพหน้าปกฉบับตีพิมพ์รวมเล่มครั้งแรกสุด)
วรรณกรรมเรื่องสี่แผ่นดิน โดย มรว. คึกฤทธิ์ ปราโมช ถูกตีพิมพ์ครั้งแรกลงในหนังสือพิมพ์สยามรัฐ โดยพิมพ์ทีละตอน ท่านคึกฤทธิ์ไม่ได้วางพล๊อตเรื่องทั้งหมดไว้ หรือไม่ได้เขียนจนจบแล้วค่อยมาแบ่งพิมพ์ แต่ท่านได้ค่อย ๆ เขียนเรื่องราวไปเรื่อยๆ เรียงตามลำดับเหตุการณ์
เรื่องนี้ ถูกเล่าในลักษณะมุมมองบุคคลที่ 3 มีศูนย์กลางที่ "แม่พลอย" นางเอกของเรื่อง
**เพราะเหตุใด เรื่องนี้จึงขึ้นชื่อว่าเป็นวรรณกรรมแห่งกรุงรัตนโกสินทร์**
ช่วงชีวิตของแม่พลอย กินเวลาตั้งแต่รัชกาลที่ 5 จนถึงรัชกาลที่ 8 โดยแม่พลอยเป็นตัวแทนของสาวชาววังในสมัยรัชกาลที่ 5 ที่มีชีวิตอยู่ใกล้ชิดใต้เบื้องยุคลบาทของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ชีวิตของแม่พลอยมีความผูกพันกับสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างลึกซึ้ง และแม่พลอยได้สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ
การใช้ชีวิตของแม่พลอย และเหตุการณ์ที่ผ่านเข้ามาในชีวิตของแม่พลอยนั้น ท่านคึกฤทธิ์ได้ใช้สำนวนการเขียนวรรณกรรมที่น่าติดตามเล่าเรื่องราวของประวัติศาสตร์บ้านเมืองไทยแต่ละยุคสมัยไปพร้อมๆกับสภาพสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองของไทยตลอดทั้งเล่ม แทรกด้วยเรื่องราวความรัก ทั้งของแม่ที่มีต่อลูก ทั้งความรักของครอบครัว ความรักในแผ่นดินไทย และรวมทั้งมุมมองที่แตกต่างต่อการพัฒนาชาติบ้านเมืองไทยในตัวละครแต่ละตัว
การใช้เหตุการณ์จริงทางประวัติศาสตร์เป็นฐานในการเล่าเรื่อง ทำให้วรรณกรรมเรื่องสี่แผ่นดิน มีความสมจริง และตัวละครทุกตัว ต่างเป็นตัวแทนของบุคคลในสมัยนั้น ก่อให้เกิดความนิยมอย่างรวดเร็ว นักอ่านรวมถึงนักวิชาการหลายๆท่าน ได้มีการค้นคว้าทั้งเกี่ยวกับตัวของแม่พลอย ทั้งมีการตามรอยสถานที่ในวรรณกรรม ทำให้นักอ่านได้รู้สึกใกล้ชิดกับวรรณกรรมเรื่องนี้เป็นอย่างมาก
จนมีการตีพิมพ์รวมเล่มขึ้นหลายต่อหลายครั้ง
ฉบับรวมเล่มของสี่แผ่นดิน ถูกแบ่งออกเป็น 2 เล่มจบ
โดยเล่ม 1 จะจบเนื้อเรื่องที่แผ่นดินที่ 1 คือรัชกาลที่ 5
และเล่ม 2 คือเรื่องราวตั้งแต่รัชกาลที่ 6 ถึงรัชกาลที่ 8
หน้าปกฉบับพิมพ์ล่าสุด ยังคงเห็นได้ตามร้านหนังสือทั่วไป
ความยอดนิยมของสี่แผ่นดิน ทำให้ถูกสร้างเป็นละครทีวีถึง 5 ครั้ง
ซึ่ง จขกท. ทันดูแค่ 2 ครั้งหลัง คือ พ.ศ. 2534 และ 2546 และได้ตามย้อนดูทั้งสองครั้ง ส่วนเวอร์ชั่นเก่า ได้แก่ พ.ศ. 2504 พ.ศ. 2518 และ พ.ศ. 2523 ยังไม่มีโอกาสได้ดู
ภาพจากอินเทอร์เน็ต ของนักแสดงรุ่นเก่า ทั้ง 2504 2518 และ 2523
ละครทีวีเวอร์ชั่น 2534 และ 2546
เวอร์ชั่นที่กำลังนำมารีรันคือเวอร์ชั่น 2546 ที่คุณอุ้ม สิริยากร รับบทแม่พลอย
โดยส่วนตัวคิดว่าเวอร์ชั่นนี้มีความละเอียดมาก และด้วยงบประมานที่สูง จึงสร้างฉาก และเครื่องแต่งกายที่สมจริง ทำให้ภาพในสมัยรัชกาลต่าง ๆ และเหตุการณ์ในเรื่องสมจริงที่สุด
นอกจากละครทีวีแล้ว สี่แผ่นดินยังถูกสร้างเป็นละครเวที โดยบริษัท ซีเนียริโอ เปิดแสดงที่เมืองไทยรัชดาลัยเธียเตอร์ในปี 2554 และ 2557
ถือเป็นละครที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดของค่าย ซึ่งพี่นก สินจัย รับบทเป็นแม่พลอย
จขกท. ได้ดูทั้งสองปี ปีละสองรอบ คุ้มค่ามากๆจริงๆ
ใบปิดของละครเวทีฉบับปี 2554
ใบปิดของละครเวทีฉบับปี 2557
ละครเวทีเรื่องนี้ถือเป็นต้นฉบับของเพลง ในหลวงของแผ่นดิน ที่เปิดกันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน
https://youtu.be/ztKkZlMnV5c
(ฉบับเพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช)
่เวลานี้ ถือเป็นโอกาสที่ผู้ไม่เคยดูหรือไม่เคยรู้จักจะได้รับชมละครที่สร้างจากวรรณกรรมแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ไปพร้อม ๆ กันอีกครั้ง เพื่อสร้างความภาคภูมิใจในแผ่นดินไทยและสถาบันพระมหากษัตริย์ไทย
..........................ขอบคุณที่ติดตามอ่านค่ะ..............................