ผู้เชี่ยวชาญอุตสาหกรรมรถยนต์ จับตาการเปิดตัวรถรุ่นใหม่ ของค่ายรถยนต์ โฟล์คสวาเกน ในงานแสดงรถยนต์ ปารีส มอเตอร์ โชว์ 2016 อย่างใกล้ชิด เพื่อทำนายอนาคตของรถยนต์ดีเซล ซึ่งก็เป็นไปตามความคาดหมายคือค่ายโฟล์กฯ หันไปทำรถพลังงานไฟฟ้า (อีวี) อย่างเต็มตัว โดยการเปิดตัวรถ I.D.วิ่งได้ 249-373 ไมล์ต่อการชาร์จไฟหนึ่งครั้ง แข่งกับรถไฟฟ้าของเทสลา จีเอ็มและเบนซ์
อย่างที่ทราบอยู่แล้วว่า บริษัทโฟล์คสวาเกน มีความเชี่ยวชาญเรื่องเครื่องยนต์ดีเซลอย่างมาก และก่อนที่จะมีคดี ดีเซลเกท หรือการจับโกหกค่าวัดระดับไอเสีย จากรถยนต์ดีเซลของโฟล์กสวาเก้นและแบรนด์รถในเครือ รถยนต์เครื่องยนต์ดีเซลของค่ายนี้และค่ายรถอื่น ๆ ยังสามารถขายได้ในตลาดโลก
เหตุที่เกิดการโกงค่าระดับมลพิษในไอเสียในรถของรถโฟล์กสวาเก้น ก็เพราะว่าผู้บริหารที่ยังไม่มีการระบุตัวว่าเป็นใคร ต้องการขายรถเครื่องดีเซลใน ตลาดสหรัฐอเมริกา แต่ติดความเข้มงวดในเรื่องเกณฑ์ควบคุมการปล่อยไอเสียของเครื่องยนต์ ซึ่งแม้จะมีการพัฒนาเทคโนโลยีเครื่องยนต์ดีเซลไปจนสุดทางแล้ว แต่ไอเสียก็ยังไม่ผ่านเกณฑ์จึงต้อง ใช้วิธีการโกง
ซึ่งหมายความว่ารถเครี่องยนต์ดีเซลจะไม่สามารถขายได้ในตลาดประเทศสหรัฐอเมริกาและยุโรป ซึ่งมีเกณฑ์การคุมไอเสียรถยนต์ เข้มงวดและเพิ่มความเข้มงวดขึ้นทุกปี และด้วยเหตุนี้เองที่ค่ายรถยนต์ต่าง ๆ จะต้องหยุดพัฒนาและผลิตเครื่องยนต์ดีเซลอย่างแน่นอน
ผู้บริหารของบริษัทโตโยต้า ได้ประกาศที่งานแสดงรถยนต์ที่ปารีส ว่าบริษัทโตโยต้า ได้ตัดสินใจในช่วง 6-12 เดือนที่ผ่านมาว่าจะไม่เสนอรถยนต์เครื่องดีเซลในงานแสดงรถและรถรุ่นใหม่ในอนาคตก็จะไม่มีรถเครื่องยนต์ดีเซล ขณะเดียวกันผู้บริหารบริษัทเรโนลต์ให้สัมภาษณ์นักข่าวของสำนักข่าวรอยเตอร์ว่า ในอนาคตคงไม่มีรถยนต์ดีเซลวิ่งในยุโรปเพราะจากการคำนวณของบริษัทพบว่า หากจะทำรถดีเซลให้สามารถควบคุมการปล่อยไอเสียได้ตามเกณฑ์ของยุโรป รถยนต์จะมีราคาแพงมาก ถึงมากที่สุด
ดูทิศทางของบริษัทรถยนต์ชั้นนำของโลกแล้วเห็นได้ชัดว่า เครื่องยนต์ดีเซลและน้ำมันดีเซลคงจะหมดอนาคตไปด้วยกัน
ประเด็นที่ควรใคร่ครวญต่อไป คือผลกระทบต่อประเทศไทยจะเป็นอย่างไร อุตสาหกรรมรถยนต์และชิ้นส่วนรถยนต์ของไทยจะต้องปรับตัวอย่างไร กระทรวงศึกษาจะปรับการเรียนการสอนของโรงเรียนอาชีวะต่าง ๆ หันไปหาเทคโนโลยีรถไฟฟ้าเลยหรือไม่ โรงกลั่นน้ำมันของไทยจะต้องปรับตัวอย่างไรเพี่อรับมือกับความต้องการใช้น้ำมันดีเซลที่ลดลงทั่วโลก
ที่สำคัญมีบางคนคิดว่า ค่ายรถยนต์ต่าง ๆ จะมีการโละรถยนต์ดีเซลจากสต็อก เพี่อขายให้กับประเทศโลกที่ 3 ประเภทที่รัฐบาล มีความสนใจห่วงสุขภาพประชาชนน้อยกว่ารายได้จากอุตสาหกรรมรถยนต์ หรือฟังเสียงประชาชนน้อยกว่าเสียงของนักอุตสาหกรรมรถยนต์ หรือไม่
ประเทศไทยจะเป็น 1 ในประเทศโลกที่ 3 ที่พูดถึงนี้หรือเปล่า น่าจับตาดู
Credit หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 36 ฉบับที่ 3,197 วันที่ 2 – 5 ตุลาคม พ.ศ. 2559
ปล. ผมว่าเป็นไปได้ยากส์ครับ โดยเฉพาะ Asia แถบบ้านเรา
อวสานรถดีเซล จะเป็นไปได้หรือ
อย่างที่ทราบอยู่แล้วว่า บริษัทโฟล์คสวาเกน มีความเชี่ยวชาญเรื่องเครื่องยนต์ดีเซลอย่างมาก และก่อนที่จะมีคดี ดีเซลเกท หรือการจับโกหกค่าวัดระดับไอเสีย จากรถยนต์ดีเซลของโฟล์กสวาเก้นและแบรนด์รถในเครือ รถยนต์เครื่องยนต์ดีเซลของค่ายนี้และค่ายรถอื่น ๆ ยังสามารถขายได้ในตลาดโลก
เหตุที่เกิดการโกงค่าระดับมลพิษในไอเสียในรถของรถโฟล์กสวาเก้น ก็เพราะว่าผู้บริหารที่ยังไม่มีการระบุตัวว่าเป็นใคร ต้องการขายรถเครื่องดีเซลใน ตลาดสหรัฐอเมริกา แต่ติดความเข้มงวดในเรื่องเกณฑ์ควบคุมการปล่อยไอเสียของเครื่องยนต์ ซึ่งแม้จะมีการพัฒนาเทคโนโลยีเครื่องยนต์ดีเซลไปจนสุดทางแล้ว แต่ไอเสียก็ยังไม่ผ่านเกณฑ์จึงต้อง ใช้วิธีการโกง
ซึ่งหมายความว่ารถเครี่องยนต์ดีเซลจะไม่สามารถขายได้ในตลาดประเทศสหรัฐอเมริกาและยุโรป ซึ่งมีเกณฑ์การคุมไอเสียรถยนต์ เข้มงวดและเพิ่มความเข้มงวดขึ้นทุกปี และด้วยเหตุนี้เองที่ค่ายรถยนต์ต่าง ๆ จะต้องหยุดพัฒนาและผลิตเครื่องยนต์ดีเซลอย่างแน่นอน
ผู้บริหารของบริษัทโตโยต้า ได้ประกาศที่งานแสดงรถยนต์ที่ปารีส ว่าบริษัทโตโยต้า ได้ตัดสินใจในช่วง 6-12 เดือนที่ผ่านมาว่าจะไม่เสนอรถยนต์เครื่องดีเซลในงานแสดงรถและรถรุ่นใหม่ในอนาคตก็จะไม่มีรถเครื่องยนต์ดีเซล ขณะเดียวกันผู้บริหารบริษัทเรโนลต์ให้สัมภาษณ์นักข่าวของสำนักข่าวรอยเตอร์ว่า ในอนาคตคงไม่มีรถยนต์ดีเซลวิ่งในยุโรปเพราะจากการคำนวณของบริษัทพบว่า หากจะทำรถดีเซลให้สามารถควบคุมการปล่อยไอเสียได้ตามเกณฑ์ของยุโรป รถยนต์จะมีราคาแพงมาก ถึงมากที่สุด
ดูทิศทางของบริษัทรถยนต์ชั้นนำของโลกแล้วเห็นได้ชัดว่า เครื่องยนต์ดีเซลและน้ำมันดีเซลคงจะหมดอนาคตไปด้วยกัน
ประเด็นที่ควรใคร่ครวญต่อไป คือผลกระทบต่อประเทศไทยจะเป็นอย่างไร อุตสาหกรรมรถยนต์และชิ้นส่วนรถยนต์ของไทยจะต้องปรับตัวอย่างไร กระทรวงศึกษาจะปรับการเรียนการสอนของโรงเรียนอาชีวะต่าง ๆ หันไปหาเทคโนโลยีรถไฟฟ้าเลยหรือไม่ โรงกลั่นน้ำมันของไทยจะต้องปรับตัวอย่างไรเพี่อรับมือกับความต้องการใช้น้ำมันดีเซลที่ลดลงทั่วโลก
ที่สำคัญมีบางคนคิดว่า ค่ายรถยนต์ต่าง ๆ จะมีการโละรถยนต์ดีเซลจากสต็อก เพี่อขายให้กับประเทศโลกที่ 3 ประเภทที่รัฐบาล มีความสนใจห่วงสุขภาพประชาชนน้อยกว่ารายได้จากอุตสาหกรรมรถยนต์ หรือฟังเสียงประชาชนน้อยกว่าเสียงของนักอุตสาหกรรมรถยนต์ หรือไม่
ประเทศไทยจะเป็น 1 ในประเทศโลกที่ 3 ที่พูดถึงนี้หรือเปล่า น่าจับตาดู
Credit หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 36 ฉบับที่ 3,197 วันที่ 2 – 5 ตุลาคม พ.ศ. 2559
ปล. ผมว่าเป็นไปได้ยากส์ครับ โดยเฉพาะ Asia แถบบ้านเรา