ฟอร์ด มอเตอร์ คัมปะนี และโฟล์กสวาเกน กรุ๊ป ประกาศขยายความร่วมมือเป็นพันธมิตรระดับโลกในการพัฒนารถยนต์ไฟฟ้า และจะร่วมกับอาร์โก เอไอ เพื่อเปิดตัวเทคโนโลยีรถไร้คนขับในสหรัฐอเมริกา และยุโรป เพื่อให้ทั้งสองบริษัทสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน รวมถึงการบริหารต้นทุนและค่าใช้จ่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ดร. เฮอร์เบิร์ท ไดส์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร โฟล์กสวาเกน และ มร. จิม แฮคเก็ต ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ฟอร์ด มอเตอร์ คัมปะนี พร้อมด้วย มร. ไบรอัน เซลสกี้ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร อาร์โก เอไอ ประกาศว่า โฟล์กสวาเกนจะร่วมกับฟอร์ดในการลงทุนกับอาร์โก เอไอ บริษัทแพลตฟอร์มเทคโนโลยีรถไร้คนขับ
จากความร่วมมือระหว่างฟอร์ดและโฟล์กสวาเกน ระบบขับเคลื่อนอัตโนมัติ (SDS) ของอาร์โก เอไอ จะเป็นจุดเริ่มต้นของการรุกตลาดยุโรป และอเมริกา นอกจากนั้น แพลตฟอร์มของอาร์โก เอไอ ที่สามารถเข้าถึงตลาดผ่านเครือข่ายทั่วโลกของผู้ผลิตรถยนต์ ยังมีศักยภาพในการขยายเทคโนโลยีขับเคลื่อนอัตโนมัติให้ครอบคลุมพื้นที่ได้กว้างขวางที่สุดในปัจจุบัน โฟล์กสวาเกน และฟอร์ดต่างก็จะนำระบบขับเคลื่อนอัตโนมัติดังกล่าวมาใช้กับรถที่ผลิตขึ้นมาเพื่อการนี้โดยเฉพาะ เพื่อสนับสนุนการนำร่องการขนย้ายคนและสินค้าของทั้งสองบริษัท
สิ่งที่อาร์โก เอไอให้ความสำคัญยังคงเป็นการนำระบบขับเคลื่อนอัตโนมัติ SAE Level 4-capable ไปประยุกต์ใช้กับรถเพื่อการแบ่งปันการใช้บริการ (ride sharing) และบริการส่งของในพื้นที่ในเมืองที่มีประชากรหนาแน่น
ฟอร์ด และโฟล์กสวาเกนจะถือหุ้นจำนวนเท่ากันในอาร์โก เอไอ และทั้งสองจะเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่สุด สัดส่วนที่เหลือจะเก็บไว้เป็นกองทุนสำหรับค่าตอบแทนพนักงานของอาร์โก เอไอ โดยความตกลงครั้งนี้จะสมบูรณ์เมื่อได้รับการอนุมัติตามกฎระเบียบและเงื่อนไขตามข้อตกลง
“ในขณะที่ฟอร์ด และโฟล์กสวาเกนยังคงดำเนินกิจการอย่างอิสระจากกัน และแข่งขันกันอย่างดุเดือดในตลาด การร่วมมือกับอาร์โก เอไอเพื่อใช้เทคโนโลยีที่สำคัญนี้ ทำให้เรามีความได้เปรียบในด้านขีดความสามารถ ระดับการเข้าถึงครอบคลุมในทุกพื้นที่” มร. แฮคเก็ต กล่าว “การหันมาทำงานร่วมกันในหลายๆ ด้านทำให้เราสามารถแสดงพลังของความร่วมมือระดับโลกในยุคแห่งยานยนต์อัจฉริยะ เพื่อโลกอัจฉริยะ”
บรรดาผู้นำได้ประกาศว่าฟอร์ดจะเป็นบริษัทผู้ผลิตรถยนต์รายแรกที่ได้ใช้การออกแบบรถยนต์ไฟฟ้า และโมดูลรถยนต์ไฟฟ้า (Modular Electric Toolkit หรือ MEB) ของโฟล์กสวาเกน เพื่อส่งมอบรถไร้มลพิษในปริมาณมากให้กับตลาดยุโรป ตั้งแต่ปี 2566 เป็นต้นไป
ฟอร์ดตั้งเป้าที่จะส่งรถไปจำหน่ายในยุโรปกว่า 600,000 คัน ที่ใช้โมดูลรถยนต์ไฟฟ้าในระยะเวลา 6 ปี พร้อมกับรถฟอร์ดรุ่นใหม่รุ่นที่สองสำหรับลูกค้ายุโรปที่อยู่ในระหว่างการตัดสินใจ การดำเนินการครั้งนี้เป็นไปตามกลยุทธ์ตลาดยุโรปของฟอร์ดคือการใช้จุดแข็งของฟอร์ด ที่มีทั้งรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ รถครอสโอเวอร์ และรถนำเข้าระดับตำนานอย่าง มัสแตง และ เอ็กซ์พลอเรอร์
โฟล์กสวาเกนเริ่มพัฒนาโมดูลรถยนต์ไฟฟ้าดังกล่าวในปี 2559 โดยใช้เงินลงทุนกว่า 7 พันล้านเหรียญสหรัฐ โดยวางแผนจะใช้โมดูลนี้ผลิตรถราว 15 ล้านคันเฉพาะสำหรับโฟล์กสวาเกน กรุ๊ปภายใน 10 ปีข้างหน้า
สำหรับฟอร์ด การใช้โมดูลรถยนต์ไฟฟ้าของโฟล์กสวาเกนเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการลงทุนกว่า 11.5 ล้านเหรียญสหรัฐ ในการพัฒนารถยนต์ไฟฟ้าทั่วโลก และเป็นไปตามพันธกิจของฟอร์ดที่จะนำเสนอรถยนต์ไฟฟ้าหลากหลายรุ่นให้กับลูกค้ายุโรป โดยสอดคล้องกับนโยบายความยั่งยืนของบริษัท
“ในอนาคต ทั้งลูกค้าและสิ่งแวดล้อมจะได้รับประโยชน์จากโครงสร้างการพัฒนารูปแบบรถยนต์ไฟฟ้าในระดับผู้นำอุตสาหกรรมของโฟล์กสวาเกนมากยิ่งขึ้น พันธมิตรระดับโลกของเราเริ่มแสดงให้เห็นถึงคำมั่นสัญญาที่ชัดเจนยิ่งขึ้น และเรายังเดินหน้ามองหาโอกาสด้านอื่นๆ ที่จะทำงานร่วมกันต่อไปอีก” ดร. ไดส์ กล่าว “การนำโมดูลรถยนต์ไฟฟ้ามาใช้ในอีกระดับ ทำให้ต้นทุนในการพัฒนารถยนต์ไร้มลพิษ ลดลงตามไปด้วย ส่งผลให้ทั่วโลกสามารถใช้รถยนต์ไฟฟ้าได้ทั่วถึงและรวดเร็วยิ่งขึ้น ซึ่งจะเป็นการยกระดับตำแหน่งทางธุรกิจของทั้งสองบริษัท โดยประสิทธิภาพในการบริหารต้นทุน การเติบโต และขีดความสามารถในการแข่งขันที่ดียิ่งขึ้น”
การร่วมมือเป็นพันธมิตรในครั้งนี้ ครอบคลุมการทำงานร่วมกันนอกเหนือการร่วมทุนระหว่างโฟล์กสวาเกนและฟอร์ดใน อาร์โก เอไอ ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงการถือครองหุ้นของทั้งสองบริษัทแต่อย่างใด และยังเป็นอิสระจากการลงทุนในอาร์โก เอไอ ความร่วมมือดังกล่าวกำกับดูแลโดยคณะกรรมการร่วม ซึ่งนำโดย แฮคเก็ต และ ไดส์ และรวมถึงผู้บริหารระดับสูงจากทั้งสองบริษัท
นอกจากนี้ โฟล์กสวาเกน และ ฟอร์ด ยังคงร่วมมือกันในการพัฒนารถกระบะขนาดกลางสำหรับลูกค้าทั่วโลก โดยคาดว่าจะเริ่มในปี พ.ศ. 2565 ตามด้วยรถตู้เชิงพาณิชย์
เป็นผู้ถือหุ้นที่เสมอภาคกันในอาร์โก เอไอ
โฟล์กสวาเกนจะลงทุน 2.6 พันล้านเหรียญสหรัฐใน อาร์โก เอไอ แบ่งเป็นเงินลงทุน 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ และอีก 1.6 พันล้านเหรียญสหรัฐ ลงทุนใน ออโตโนมัส อินเทลลิเจนท์ ไดร์ฟวิ่ง หรือเอไอดี (Autonomous Intelligent Driving: AID) ซึ่งมีพนักงานกว่า 200 คน โดยพนักงานส่วนใหญ่ทำงานด้านการพัฒนาเทคโนโลยีรถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติให้กับโฟล์กสวาเกน กรุ๊ป
ในส่วนธุรกรรมของการลงทุนครั้งนี้ โฟล์กสวาเกนจะซื้อหุ้นของ อาร์โก เอไอ จากฟอร์ด มูลค่า 500 ล้านเหรียญสหรัฐ ในช่วงระยะเวลา 3 ปี ในขณะที่ ฟอร์ดจะลงทุน 600 ล้านเหรียญสหรัฐที่เหลือ จากที่ได้ประกาศไว้ว่าจะลงทุนในอาร์โก เอไอ 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ
ธุรกรรมทั้งหมดคิดเป็นการประเมินมูลค่า อาร์โก เอไอ ที่กว่า 7 พันล้านเหรียญสหรัฐ
ผู้ผลิตรถยนต์ทั้งสองบริษัทเล็งเห็นถึงศักยภาพในการลงทุน ซึ่งรวมถึงการเติบโตของกำไรและผลประโยชน์ จากการขยายขอบเขตทางธุรกิจที่เชื่อมโยงกับเทคโนโลยีการขับขี่อัตโนมัติ
อาร์โก เอไอ วางแผนที่จะทำงานร่วมกับฟอร์ดและโฟล์กสวาเกนอย่างใกล้ชิดในการพัฒนาเทคโนโลยีรถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติให้แก่ผู้ผลิตรถยนต์ที่จำเป็นในการส่งมอบรถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติที่สามารถผลิตได้ในจำนวนมาก เพื่อให้การพัฒนารถเพื่อการแบ่งปันการใช้บริการ และบริการส่งสินค้า มีความปลอดภัย น่าเชื่อถือ และทนทาน
“อาร์โก เอไอ มีทีมคุณภาพระดับโลก เนื่องจากพวกเรามีเป้าหมายที่ชัดเจน และพันธมิตรมีความมุ่งมั่นในการใช้งานเทคโนโลยีของเรา รวมถึงพนักงานจากเอไอดี ที่ทำให้เรามีแรงงานจากทั่วโลก และสามารถดึงดูดผู้มีพรสวรรค์เข้ามาทำงานกับเราเพิ่มขึ้น” มร. เซลสกี้ ผู้ร่วมก่อตั้ง อาร์โก เอไอ กล่าว “นอกจากนี้ เทคโนโลยีของอาร์โก เอไอ จะสามารถเข้าถึงตลาดยานยนต์ในทวีปอเมริกาเหนือและยุโรปได้เกือบทุกประเทศ ด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีระหว่างแบรนด์บนโครงสร้างต่างๆ ที่หลากหลาย”
เอไอดี ซึ่งตั้งอยู่ ณ นครมิวนิก ประเทศเยอรมนี จะกลายเป็นสำนักงานใหญ่แห่งใหม่ในทวีปยุโรปของ อาร์โก เอไอ และจะบริหารงานโดย มร. คาร์ลไฮนซ์ วูร์ม ประธานกรรมการบริหาร เอไอดี คนปัจจุบัน โดยอาร์โก เอไอ จะมีพนักงานเพิ่มขึ้นจาก 500 คน เป็น 700 คน ทั่วโลก ภายหลังจากการรวมพนักงานจากเอไอดี
นอกเหนือจากสำนักงานใหญ่ที่เมืองพิตต์สเบิร์ก มลรัฐเพนซิลเวเนียแล้ว สำนักงานใหม่แห่งนี้ยังถือเป็นศูนย์กลางวิศวกรรมแห่งแรกในยุโรปของอาร์โก เอไอ และนับเป็นสำนักงานแห่งที่ 5 ของโลก ถัดจากสำนักงานในเมืองเดียร์บอร์น มลรัฐมิชิแกน เมืองแครนเบอร์รี มลรัฐนิวเจอร์ซีย์ และเมืองพาโล อัลโต มลรัฐแคลิฟอร์เนีย นอกจากนี้ อาร์โก เอไอ ยังร่วมมือกับฟอร์ด ในการทดสอบเทคโนโลยีใน ไมอามี และกรุงวอชิงตัน ดี.ซี.เพื่อใช้สำหรับการบริการเชิงพาณิชย์อีกด้วย
ฟอร์ดจะใช้โมดูลรถยนต์ไฟฟ้า MEB ของโฟล์กสวาเกนในรถยนต์ 600,000 คัน
ฟอร์ดวางแผนในการออกแบบรถยนต์ไฟฟ้ารุ่นใหม่ที่ผลิตบนโมดูลรถยนต์ไฟฟ้า MEB ซึ่งจะเริ่มนำส่งมอบในปี 2566 ที่เมืองโคโลญ ประเทศเยอรมนี โดยมีโฟล์กสวาเกนเป็นผู้ผลิตจัดหาชิ้นส่วนและส่วนประกอบโมดูลดังกล่าว ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของการร่วมมือ
นอกจากนี้ ทั้งฟอร์ดและโฟล์กสวาเกนจะเดินหน้ามุ่งเป้าไปยังความร่วมมือด้านอื่นๆ เพิ่มเติม ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนารถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งเป็นเป้าหมายทางกลยุทธ์สำคัญของทั้งคู่ ขณะที่ทั้งสองบริษัทกำลังเร่งเปลี่ยนผ่านไปสู่การสัญจรที่ยั่งยืนและมีราคาที่เข้าถึงได้อย่างรวดเร็ว
ข้อตกลงกับฟอร์ดถือเป็นก้าวสำคัญในกลยุทธ์การพัฒนารถยนต์ไฟฟ้าของโฟล์กสวาเกน ทั้งในด้านการสนับสนุนการเติบโตของอุตสาหกรรมการขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า และส่งเสริมระดับสากลในการบรรลุผลข้อตกลงปารีส 2050 (Paris 2050 Agreement)
ความร่วมมือในการพัฒนารถตู้ และรถกระบะเพื่อการพาณิชย์
ฟอร์ด และ โฟล์กสวาเกน ยังคงเดินหน้าร่วมมือพัฒนารถตู้และรถกระบะขนาดกลางเพื่อการพาณิชย์ในตลาดสำคัญทั่วโลกตามที่ได้ประกาศไว้ ถือเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพให้กับทั้งสองบริษัท
ฟอร์ดจะออกแบบทางวิศวกรรม พัฒนา และผลิตรถกระบะขนาดกลางให้กับทั้งสองบริษัทตามที่เคยประกาศก่อนหน้านี้ สำหรับลูกค้าในยุโรป แอฟริกา ตะวันออกกลาง เอเชีย แปซิฟิค และอเมริกาใต้ โดยคาดว่าจะออกสู่ตลาดได้เร็วที่สุดในปี 2565
นอกจากนี้ ฟอร์ดยังมีความตั้งใจที่จะออกแบบ พัฒนาและผลิตรถตู้เพื่อการพาณิชย์ที่มีขนาดใหญ่ขึ้นสำหรับลูกค้าในตลาดยุโรป เริ่มตั้งแต่ปี 2565 เป็นต้นไป ส่วนโฟล์กสวาเกนก็มุ่งมั่นในการพัฒนารถตู้ขนาดเล็กสำหรับขับขี่ในเมือง ในตลาดยุโรป และตลาดอื่น
โฟล์กสวาเกนและฟอร์ดมีความแข็งแกร่งทางธุรกิจในตลาดรถตู้ และรถกระบะเพื่อการพาณิชย์ ที่ส่งเสริมซึ่งกันแลกันในหลายตลาดทั่วโลก โดยมีรถรุ่นยอดนิยมอย่าง ฟอร์ด ทรานซิท และฟอร์ด เรนเจอร์ เช่นเดียวกับโฟล์กสวาเกนที่มี ทรานสปอร์เตอร์ แคดดี้ และอมาร็อค
ทั้งสองบริษัทคาดการณ์ว่า ความต้องการรถกระบะขนาดกลางและรถตู้เพื่อการพาณิชย์จะเติบโตขึ้นทั่วโลกในอีก 5 ปีข้างหน้า ความร่วมมือในตลาดรถสำคัญทั้งสองนี้จะทำให้ลูกค้าของทั้งสองบริษัทสามารถเข้าถึงเทคโนโลยี และนวัตกรรมใหม่ๆ ที่ล้ำสมัยได้รวดเร็วยิ่งขึ้น และสามารถใช้กำลังการผลิตของโรงงานผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นอีกด้วย
Ford จับมือ VW พัฒนารถไร้คนขับและรถยนต์ไฟฟ้า
ฟอร์ด มอเตอร์ คัมปะนี และโฟล์กสวาเกน กรุ๊ป ประกาศขยายความร่วมมือเป็นพันธมิตรระดับโลกในการพัฒนารถยนต์ไฟฟ้า และจะร่วมกับอาร์โก เอไอ เพื่อเปิดตัวเทคโนโลยีรถไร้คนขับในสหรัฐอเมริกา และยุโรป เพื่อให้ทั้งสองบริษัทสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน รวมถึงการบริหารต้นทุนและค่าใช้จ่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ดร. เฮอร์เบิร์ท ไดส์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร โฟล์กสวาเกน และ มร. จิม แฮคเก็ต ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ฟอร์ด มอเตอร์ คัมปะนี พร้อมด้วย มร. ไบรอัน เซลสกี้ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร อาร์โก เอไอ ประกาศว่า โฟล์กสวาเกนจะร่วมกับฟอร์ดในการลงทุนกับอาร์โก เอไอ บริษัทแพลตฟอร์มเทคโนโลยีรถไร้คนขับ
จากความร่วมมือระหว่างฟอร์ดและโฟล์กสวาเกน ระบบขับเคลื่อนอัตโนมัติ (SDS) ของอาร์โก เอไอ จะเป็นจุดเริ่มต้นของการรุกตลาดยุโรป และอเมริกา นอกจากนั้น แพลตฟอร์มของอาร์โก เอไอ ที่สามารถเข้าถึงตลาดผ่านเครือข่ายทั่วโลกของผู้ผลิตรถยนต์ ยังมีศักยภาพในการขยายเทคโนโลยีขับเคลื่อนอัตโนมัติให้ครอบคลุมพื้นที่ได้กว้างขวางที่สุดในปัจจุบัน โฟล์กสวาเกน และฟอร์ดต่างก็จะนำระบบขับเคลื่อนอัตโนมัติดังกล่าวมาใช้กับรถที่ผลิตขึ้นมาเพื่อการนี้โดยเฉพาะ เพื่อสนับสนุนการนำร่องการขนย้ายคนและสินค้าของทั้งสองบริษัท
สิ่งที่อาร์โก เอไอให้ความสำคัญยังคงเป็นการนำระบบขับเคลื่อนอัตโนมัติ SAE Level 4-capable ไปประยุกต์ใช้กับรถเพื่อการแบ่งปันการใช้บริการ (ride sharing) และบริการส่งของในพื้นที่ในเมืองที่มีประชากรหนาแน่น
ฟอร์ด และโฟล์กสวาเกนจะถือหุ้นจำนวนเท่ากันในอาร์โก เอไอ และทั้งสองจะเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่สุด สัดส่วนที่เหลือจะเก็บไว้เป็นกองทุนสำหรับค่าตอบแทนพนักงานของอาร์โก เอไอ โดยความตกลงครั้งนี้จะสมบูรณ์เมื่อได้รับการอนุมัติตามกฎระเบียบและเงื่อนไขตามข้อตกลง
“ในขณะที่ฟอร์ด และโฟล์กสวาเกนยังคงดำเนินกิจการอย่างอิสระจากกัน และแข่งขันกันอย่างดุเดือดในตลาด การร่วมมือกับอาร์โก เอไอเพื่อใช้เทคโนโลยีที่สำคัญนี้ ทำให้เรามีความได้เปรียบในด้านขีดความสามารถ ระดับการเข้าถึงครอบคลุมในทุกพื้นที่” มร. แฮคเก็ต กล่าว “การหันมาทำงานร่วมกันในหลายๆ ด้านทำให้เราสามารถแสดงพลังของความร่วมมือระดับโลกในยุคแห่งยานยนต์อัจฉริยะ เพื่อโลกอัจฉริยะ”
บรรดาผู้นำได้ประกาศว่าฟอร์ดจะเป็นบริษัทผู้ผลิตรถยนต์รายแรกที่ได้ใช้การออกแบบรถยนต์ไฟฟ้า และโมดูลรถยนต์ไฟฟ้า (Modular Electric Toolkit หรือ MEB) ของโฟล์กสวาเกน เพื่อส่งมอบรถไร้มลพิษในปริมาณมากให้กับตลาดยุโรป ตั้งแต่ปี 2566 เป็นต้นไป
ฟอร์ดตั้งเป้าที่จะส่งรถไปจำหน่ายในยุโรปกว่า 600,000 คัน ที่ใช้โมดูลรถยนต์ไฟฟ้าในระยะเวลา 6 ปี พร้อมกับรถฟอร์ดรุ่นใหม่รุ่นที่สองสำหรับลูกค้ายุโรปที่อยู่ในระหว่างการตัดสินใจ การดำเนินการครั้งนี้เป็นไปตามกลยุทธ์ตลาดยุโรปของฟอร์ดคือการใช้จุดแข็งของฟอร์ด ที่มีทั้งรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ รถครอสโอเวอร์ และรถนำเข้าระดับตำนานอย่าง มัสแตง และ เอ็กซ์พลอเรอร์
โฟล์กสวาเกนเริ่มพัฒนาโมดูลรถยนต์ไฟฟ้าดังกล่าวในปี 2559 โดยใช้เงินลงทุนกว่า 7 พันล้านเหรียญสหรัฐ โดยวางแผนจะใช้โมดูลนี้ผลิตรถราว 15 ล้านคันเฉพาะสำหรับโฟล์กสวาเกน กรุ๊ปภายใน 10 ปีข้างหน้า
สำหรับฟอร์ด การใช้โมดูลรถยนต์ไฟฟ้าของโฟล์กสวาเกนเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการลงทุนกว่า 11.5 ล้านเหรียญสหรัฐ ในการพัฒนารถยนต์ไฟฟ้าทั่วโลก และเป็นไปตามพันธกิจของฟอร์ดที่จะนำเสนอรถยนต์ไฟฟ้าหลากหลายรุ่นให้กับลูกค้ายุโรป โดยสอดคล้องกับนโยบายความยั่งยืนของบริษัท
“ในอนาคต ทั้งลูกค้าและสิ่งแวดล้อมจะได้รับประโยชน์จากโครงสร้างการพัฒนารูปแบบรถยนต์ไฟฟ้าในระดับผู้นำอุตสาหกรรมของโฟล์กสวาเกนมากยิ่งขึ้น พันธมิตรระดับโลกของเราเริ่มแสดงให้เห็นถึงคำมั่นสัญญาที่ชัดเจนยิ่งขึ้น และเรายังเดินหน้ามองหาโอกาสด้านอื่นๆ ที่จะทำงานร่วมกันต่อไปอีก” ดร. ไดส์ กล่าว “การนำโมดูลรถยนต์ไฟฟ้ามาใช้ในอีกระดับ ทำให้ต้นทุนในการพัฒนารถยนต์ไร้มลพิษ ลดลงตามไปด้วย ส่งผลให้ทั่วโลกสามารถใช้รถยนต์ไฟฟ้าได้ทั่วถึงและรวดเร็วยิ่งขึ้น ซึ่งจะเป็นการยกระดับตำแหน่งทางธุรกิจของทั้งสองบริษัท โดยประสิทธิภาพในการบริหารต้นทุน การเติบโต และขีดความสามารถในการแข่งขันที่ดียิ่งขึ้น”
การร่วมมือเป็นพันธมิตรในครั้งนี้ ครอบคลุมการทำงานร่วมกันนอกเหนือการร่วมทุนระหว่างโฟล์กสวาเกนและฟอร์ดใน อาร์โก เอไอ ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงการถือครองหุ้นของทั้งสองบริษัทแต่อย่างใด และยังเป็นอิสระจากการลงทุนในอาร์โก เอไอ ความร่วมมือดังกล่าวกำกับดูแลโดยคณะกรรมการร่วม ซึ่งนำโดย แฮคเก็ต และ ไดส์ และรวมถึงผู้บริหารระดับสูงจากทั้งสองบริษัท
นอกจากนี้ โฟล์กสวาเกน และ ฟอร์ด ยังคงร่วมมือกันในการพัฒนารถกระบะขนาดกลางสำหรับลูกค้าทั่วโลก โดยคาดว่าจะเริ่มในปี พ.ศ. 2565 ตามด้วยรถตู้เชิงพาณิชย์
เป็นผู้ถือหุ้นที่เสมอภาคกันในอาร์โก เอไอ
โฟล์กสวาเกนจะลงทุน 2.6 พันล้านเหรียญสหรัฐใน อาร์โก เอไอ แบ่งเป็นเงินลงทุน 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ และอีก 1.6 พันล้านเหรียญสหรัฐ ลงทุนใน ออโตโนมัส อินเทลลิเจนท์ ไดร์ฟวิ่ง หรือเอไอดี (Autonomous Intelligent Driving: AID) ซึ่งมีพนักงานกว่า 200 คน โดยพนักงานส่วนใหญ่ทำงานด้านการพัฒนาเทคโนโลยีรถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติให้กับโฟล์กสวาเกน กรุ๊ป
ในส่วนธุรกรรมของการลงทุนครั้งนี้ โฟล์กสวาเกนจะซื้อหุ้นของ อาร์โก เอไอ จากฟอร์ด มูลค่า 500 ล้านเหรียญสหรัฐ ในช่วงระยะเวลา 3 ปี ในขณะที่ ฟอร์ดจะลงทุน 600 ล้านเหรียญสหรัฐที่เหลือ จากที่ได้ประกาศไว้ว่าจะลงทุนในอาร์โก เอไอ 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ
ธุรกรรมทั้งหมดคิดเป็นการประเมินมูลค่า อาร์โก เอไอ ที่กว่า 7 พันล้านเหรียญสหรัฐ
ผู้ผลิตรถยนต์ทั้งสองบริษัทเล็งเห็นถึงศักยภาพในการลงทุน ซึ่งรวมถึงการเติบโตของกำไรและผลประโยชน์ จากการขยายขอบเขตทางธุรกิจที่เชื่อมโยงกับเทคโนโลยีการขับขี่อัตโนมัติ
อาร์โก เอไอ วางแผนที่จะทำงานร่วมกับฟอร์ดและโฟล์กสวาเกนอย่างใกล้ชิดในการพัฒนาเทคโนโลยีรถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติให้แก่ผู้ผลิตรถยนต์ที่จำเป็นในการส่งมอบรถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติที่สามารถผลิตได้ในจำนวนมาก เพื่อให้การพัฒนารถเพื่อการแบ่งปันการใช้บริการ และบริการส่งสินค้า มีความปลอดภัย น่าเชื่อถือ และทนทาน
“อาร์โก เอไอ มีทีมคุณภาพระดับโลก เนื่องจากพวกเรามีเป้าหมายที่ชัดเจน และพันธมิตรมีความมุ่งมั่นในการใช้งานเทคโนโลยีของเรา รวมถึงพนักงานจากเอไอดี ที่ทำให้เรามีแรงงานจากทั่วโลก และสามารถดึงดูดผู้มีพรสวรรค์เข้ามาทำงานกับเราเพิ่มขึ้น” มร. เซลสกี้ ผู้ร่วมก่อตั้ง อาร์โก เอไอ กล่าว “นอกจากนี้ เทคโนโลยีของอาร์โก เอไอ จะสามารถเข้าถึงตลาดยานยนต์ในทวีปอเมริกาเหนือและยุโรปได้เกือบทุกประเทศ ด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีระหว่างแบรนด์บนโครงสร้างต่างๆ ที่หลากหลาย”
เอไอดี ซึ่งตั้งอยู่ ณ นครมิวนิก ประเทศเยอรมนี จะกลายเป็นสำนักงานใหญ่แห่งใหม่ในทวีปยุโรปของ อาร์โก เอไอ และจะบริหารงานโดย มร. คาร์ลไฮนซ์ วูร์ม ประธานกรรมการบริหาร เอไอดี คนปัจจุบัน โดยอาร์โก เอไอ จะมีพนักงานเพิ่มขึ้นจาก 500 คน เป็น 700 คน ทั่วโลก ภายหลังจากการรวมพนักงานจากเอไอดี
นอกเหนือจากสำนักงานใหญ่ที่เมืองพิตต์สเบิร์ก มลรัฐเพนซิลเวเนียแล้ว สำนักงานใหม่แห่งนี้ยังถือเป็นศูนย์กลางวิศวกรรมแห่งแรกในยุโรปของอาร์โก เอไอ และนับเป็นสำนักงานแห่งที่ 5 ของโลก ถัดจากสำนักงานในเมืองเดียร์บอร์น มลรัฐมิชิแกน เมืองแครนเบอร์รี มลรัฐนิวเจอร์ซีย์ และเมืองพาโล อัลโต มลรัฐแคลิฟอร์เนีย นอกจากนี้ อาร์โก เอไอ ยังร่วมมือกับฟอร์ด ในการทดสอบเทคโนโลยีใน ไมอามี และกรุงวอชิงตัน ดี.ซี.เพื่อใช้สำหรับการบริการเชิงพาณิชย์อีกด้วย
ฟอร์ดจะใช้โมดูลรถยนต์ไฟฟ้า MEB ของโฟล์กสวาเกนในรถยนต์ 600,000 คัน
ฟอร์ดวางแผนในการออกแบบรถยนต์ไฟฟ้ารุ่นใหม่ที่ผลิตบนโมดูลรถยนต์ไฟฟ้า MEB ซึ่งจะเริ่มนำส่งมอบในปี 2566 ที่เมืองโคโลญ ประเทศเยอรมนี โดยมีโฟล์กสวาเกนเป็นผู้ผลิตจัดหาชิ้นส่วนและส่วนประกอบโมดูลดังกล่าว ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของการร่วมมือ
นอกจากนี้ ทั้งฟอร์ดและโฟล์กสวาเกนจะเดินหน้ามุ่งเป้าไปยังความร่วมมือด้านอื่นๆ เพิ่มเติม ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนารถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งเป็นเป้าหมายทางกลยุทธ์สำคัญของทั้งคู่ ขณะที่ทั้งสองบริษัทกำลังเร่งเปลี่ยนผ่านไปสู่การสัญจรที่ยั่งยืนและมีราคาที่เข้าถึงได้อย่างรวดเร็ว
ข้อตกลงกับฟอร์ดถือเป็นก้าวสำคัญในกลยุทธ์การพัฒนารถยนต์ไฟฟ้าของโฟล์กสวาเกน ทั้งในด้านการสนับสนุนการเติบโตของอุตสาหกรรมการขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า และส่งเสริมระดับสากลในการบรรลุผลข้อตกลงปารีส 2050 (Paris 2050 Agreement)
ความร่วมมือในการพัฒนารถตู้ และรถกระบะเพื่อการพาณิชย์
ฟอร์ด และ โฟล์กสวาเกน ยังคงเดินหน้าร่วมมือพัฒนารถตู้และรถกระบะขนาดกลางเพื่อการพาณิชย์ในตลาดสำคัญทั่วโลกตามที่ได้ประกาศไว้ ถือเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพให้กับทั้งสองบริษัท
ฟอร์ดจะออกแบบทางวิศวกรรม พัฒนา และผลิตรถกระบะขนาดกลางให้กับทั้งสองบริษัทตามที่เคยประกาศก่อนหน้านี้ สำหรับลูกค้าในยุโรป แอฟริกา ตะวันออกกลาง เอเชีย แปซิฟิค และอเมริกาใต้ โดยคาดว่าจะออกสู่ตลาดได้เร็วที่สุดในปี 2565
นอกจากนี้ ฟอร์ดยังมีความตั้งใจที่จะออกแบบ พัฒนาและผลิตรถตู้เพื่อการพาณิชย์ที่มีขนาดใหญ่ขึ้นสำหรับลูกค้าในตลาดยุโรป เริ่มตั้งแต่ปี 2565 เป็นต้นไป ส่วนโฟล์กสวาเกนก็มุ่งมั่นในการพัฒนารถตู้ขนาดเล็กสำหรับขับขี่ในเมือง ในตลาดยุโรป และตลาดอื่น
โฟล์กสวาเกนและฟอร์ดมีความแข็งแกร่งทางธุรกิจในตลาดรถตู้ และรถกระบะเพื่อการพาณิชย์ ที่ส่งเสริมซึ่งกันแลกันในหลายตลาดทั่วโลก โดยมีรถรุ่นยอดนิยมอย่าง ฟอร์ด ทรานซิท และฟอร์ด เรนเจอร์ เช่นเดียวกับโฟล์กสวาเกนที่มี ทรานสปอร์เตอร์ แคดดี้ และอมาร็อค
ทั้งสองบริษัทคาดการณ์ว่า ความต้องการรถกระบะขนาดกลางและรถตู้เพื่อการพาณิชย์จะเติบโตขึ้นทั่วโลกในอีก 5 ปีข้างหน้า ความร่วมมือในตลาดรถสำคัญทั้งสองนี้จะทำให้ลูกค้าของทั้งสองบริษัทสามารถเข้าถึงเทคโนโลยี และนวัตกรรมใหม่ๆ ที่ล้ำสมัยได้รวดเร็วยิ่งขึ้น และสามารถใช้กำลังการผลิตของโรงงานผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นอีกด้วย