ยูโอบี ประเทศไทย สนับสนุนการเติบโตของเอสเอ็มอีในธุรกิจอีคอมเมิร์ซ
กับโครงการ E-Commerce Accelerator

จากการเติบโตและขยายตัวของธุรกิจอีคอมเมิร์ซ (e-commerce) ทั้งในประเทศไทย ครอบคลุมไปจนถึงตลาดจีน ยุโรปและอเมริกา ตอกย้ำพฤติกรรมผู้บริโภคทั่วโลกที่เปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง สะท้อนให้เห็นถึงโอกาสของผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ไทยให้สามารถพาธุรกิจเข้าสู่ตลาดต่างประเทศ ผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ของต่างชาติที่ได้รับการยอมรับในระดับโลกได้ สอดคล้องกับมุมมองของ SMEs ไทย ที่ร้อยละ 90 เชื่อว่า e-commerce มีความสำคัญต่อการขยายตัวสู่ระดับโลกเพราะอาจสร้างยอดได้จากต่างประเทศได้มากกว่าในประเทศ[1]

อย่างไรก็ตาม จากผลสำรวจของวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อย (MSMEs) ในประเทศไทย พบว่าความท้าทายที่สำคัญคืออุปสรรคในด้านต้นทุน กฎระเบียบ ข้อมูล และความสามารถ ดังนั้นเพื่อช่วย SMEs ผ่านความท้าทายเหล่านี้
ยูโอบี ฟินแล็บ (UOB FinLab) จึงได้จัด
โครงการ E-Commerce Accelerator Programme (EAP) โดยร่วมกับ 3 พันธมิตรหลัก e-commerce ขนาดใหญ่ชั้นน้ำของโลกได้แก่
Amazon
, Alibaba และ Douyin มาให้คำแนะนำด้านการตลาดดิจิทัลและการส่งออกสินค้า โดยเน้นการใช้ AI และ Big Data วิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภคเพื่อเพิ่มโอกาสปิดการขายและการปรับตัวสู่เศรษฐกิจสีเขียว พร้อมทั้งคำแนะนำด้านในการทำไลฟ์คอมเมิร์ซ นับเป็นเทรนด์ด้านการตลาดที่จะช่วยขับเคลื่อนอีคอมเมิร์ซในปีนี้

นายบัลลังก์ ว่องธวัชชัย Head of Digital Engagement and FinTech Innovation ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย กล่าวว่า “การรุกตลาด e-commerce บนแพลตฟอร์มออนไลน์ระดับโลก นับเป็นโอกาสทองของผู้ประกอบการ SMEs ไทยในการส่งแบรนด์สู่ตลาดโลก แม้จะต้องเผชิญกับความท้าทายทั้งในเรื่องของเงินทุน ทักษะดิจิทัล และช่องทางในการเริ่มต้น UOB FinLab จึงได้ทำงานร่วมกับเครือข่ายพันธมิตรหลักชั้นนำของโลกด้าน e-commerce เพื่อมาให้คำแนะนำแก่ผู้ประกอบการ ทั้งกลยุทธ์การทำธุรกิจ การเลือกสินค้า โลจิสติกส์ และด้านการตลาดดิจิทัล
ที่จะช่วยให้ผู้ประกอบการขยายฐานลูกค้าใหม่ในตลาดต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ”
Amazon: คุณภาพ เอกลักษณ์เฉพาะตัว และคีย์เวิร์ดช่วยค้นหา เจาะตลาด B2C
นายธเธียร อนุจรพันธ์ ผู้อำนวยการฝ่ายกลยุทธ์และพัฒนาธุรกิจ จาก Amazon Global Selling กล่าวว่า
Amazon มีลูกค้ากว่า 300 ล้านบัญชีทั่วโลก ซึ่งด้วยคุณภาพและเอกลักษณ์เฉพาะตัวทำให้สินค้าไทยได้รับความนิยมสูงกว่าสินค้าจีน โดยสินค้าไทยที่ได้รับความนิยมมากที่สุดคือ อาหารและเครื่องดื่ม รองลงมาเป็นสินค้าเกษตร เช่น ดอกอัญชัน ข่า ขิง และอุปกรณ์แต่งรถ มีอัตราการเติบโตที่ดีมาก ในประเทศออสเตรเลีย อินเดีย ซาอุดิอารเบีย ฟิลิปปินส์และปากีสถาน
แนะนำ 6 กลยุทธ์สำคัญสำหรับ SMEs 1) วิเคราะห์ตลาดและเลือกสินค้าที่เหมาะสม 2) สร้างแบรนด์ให้โดดเด่น 3) ใช้ A+ Content คือ ฟีเจอร์ที่ Amazon ให้กับผู้ขายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของหน้าผลิตภัณฑ์บนเว็บไซต์ โดยสามารถปรับแต่งรายละเอียดสินค้าให้ดูน่าสนใจ 4) ปรับปรุง Amazon SEO ด้วยคีย์เวิร์ดที่ตรงกลุ่มเป้าหมาย เนื่องจาก Amazon ใช้อัลกอริทึมในการจัดอันดับสินค้า ดังนั้นการใช้ คีย์เวิร์ดสำคัญ ในชื่อสินค้า คำอธิบาย และจุดเด่นของผลิตภัณฑ์จะช่วยให้สินค้าปรากฏในการค้นหามากขึ้น 5) ใช้ AI สร้างคอนเทนต์โปรโมชันที่ดึงดูด และ 6) บริหารสต็อกให้เพียงพอกับความต้องการในตลาด ซึ่งจะช่วยเพิ่มโอกาสในการแข่งขัน
Alibaba: 4 เครื่องมือเพิ่มโอกาสการขายสินค้า B2B
นายกรพงศ์ นวลสนิท ผู้จัดการฝ่ายช่องทางและรายได้ Alibaba.com กล่าวว่า Alibaba เป็นแพลตฟอร์ม B2B ระดับโลก ที่มีผู้ใช้งานกว่า 1 พันล้านคน โดยสินค้าจากไทย เช่น อาหาร ผลผลิตทางการเกษตร บิวตี้ และอะไหล่รถยนต์ ได้รับความนิยมสูง
แนะนำ 4 เครื่องมือสำคัญเพิ่มโอกาสทางการขาย 1) Request for Quotation (RFQ) – ระบบขอใบเสนอราคาช่วยให้ผู้ขายเสนอราคาสินค้าโดยตรงกับผู้ซื้อทั่วโลก 2) Analytic – เครื่องมือวิเคราะห์พฤติกรรมผู้ซื้อและข้อมูลการสั่งซื้อเพื่อปรับกลยุทธ์การตลาด 3) Keyword Advertising – โฆษณาผ่านคีย์เวิร์ดช่วยเพิ่มการมองเห็นสินค้าบน Alibaba และ 4) Product Posting – การโพสต์สินค้าที่มีชื่อสินค้า คำอธิบาย รูปภาพและวิดีโอคุณภาพสูง การใช้เครื่องมือเหล่านี้ช่วยให้ SMEs ไทยขยายตลาดสู่ระดับสากลและเพิ่มยอดขายอย่างมีประสิทธิภาพ
Douyin: ไลฟ์คอมเมิร์ซบน Douyin เข้าถึงผู้บริโภคจีน
นายนรุตม์ ธีระมังคลานนท์ ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาธุรกิจประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บริษัท โต่วอิน จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ปัจจุบัน โต่วอิน (Douyin) แพลตฟอร์มต้นแบบของ TikTok ในจีน มีผู้ใช้งานกว่า 750 ล้านคน โดยเฉพาะการขายผ่านไลฟ์สดที่มียอดชมถึง 2.9 พันล้านครั้งต่อวัน และมูลค่าการซื้อขายกว่า 30,000 ล้านหยวนต่อปี Douyin เป็นโอกาสในการขยายฐานลูกค้าเข้าถึงตลาดใหญ่ทั้งในจีนและทั่วโลกสำหรับ SMEs ไทย
แนะนำการตลาดดิจิทัล ด้วยการใช้ Content Marketing, การขายสินค้าผ่านฟีเจอร์ e-commerce, การร่วมมือกับ Influencers และการทำคลิปวิดีโอสั้นๆ เพื่อดึงดูดลูกค้า นอกจากนี้ Douyin ยังมีโปรแกรมสนับสนุน SMEs เช่น โลจิสติกส์ 2 รูปแบบ ได้แก่ Direct Shipping และ Bonded Warehouse และยกเว้นค่าคลังสินค้าในช่วง 3 เดือนแรก รวมถึง Stock Inventory Management ช่วยให้ผู้ประกอบการ SMEs ไทยจัดการสต็อกสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ด้าน
นางสาวกุลธิรัตน์ ภควัชร์ไกรเลิศ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ร่วมก่อตั้ง TeC: Thailand e-Business Center และนายกสมาคมผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ไทย หรือ Thai E-Commerce Association (THECA) ตอกย้ำความสำคัญของการทำไลฟ์คอมเมิร์ซที่เป็นจุดขายของธุรกิจ e-commerce ในปีนี้ว่า “คาดว่าในปีนี้ส่วนแบ่งยอดขายจากไลฟ์คอมเมิร์ซจะสูงถึงร้อยละ 35 ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปี 2567 อยู่ที่ประมาณร้อยละ 30
และแนวโน้มการใช้ Influencers และ KOLs (Key Opinion Leader) ได้รับความนิยมจากความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน พร้อมมีช่องทางบนสื่อสังคมออนไลน์และมีผู้ติดตามมาช่วยโปรโมทรีวิวสินค้าเพื่อเพิ่มโอกาสในการขายสินค้าได้มากขึ้นจะไม่ใช่แค่ครีเอเตอร์เพื่อมอบความบันเทิงเท่านั้น แต่ยังทำหน้าที่เป็นนักขายช่วยหลายธุรกิจในการไลฟ์ขายของ ช่วยเพิ่มยอดขายให้แบรนด์เติบโตได้มากขึ้นด้วย โดยเฉพาะบนช่องทาง TikTok ที่กำลังมาแรง เนื่องจากผู้บริโภคในยุคนี้ต้องการเห็นสินค้าจริงก่อนตัดสินใจซื้อ ทำให้ไลฟ์คอมเมิร์ซกลายเป็นหัวใจสำคัญของอีคอมเมิร์ซในปี 2025 เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือและปิดการขายได้เร็วขึ้น และสำหรับสมาคมฯเอง เราก็พร้อมช่วยเป็นที่ปรึกษาให้กับเหล่าผู้ประกอบการที่ต้องการเติบโตในตลาดจีน และตลาดไทย โดยประสานความร่วมมือและทำงานร่วมกันกับทั้ง Douyin (หรือ TikTok China) และ TikTok ไทย เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการไทยไปด้วยกัน”

สำหรับ SMEs ไทยที่สนใจเข้าร่วมโครงการ หรือศึกษา Business Transformation คอร์สฟรีออนไลน์ สามารถติดตามรายละเอียดและการรับสมัครเข้าโครงการที่จะเกิดขึ้นครั้งต่อไปได้ที่
https://community.thefinlab.com/
[1] งานวิจัยหัวข้อ
ผู้ขายสินค้าจากประเทศไทย และผู้บริโภคทั่วโลก: โอกาสเติบโตของธุรกิจไทยไปสู่ตลาดโลกด้วยการค้าออนไลน์ระหว่างประเทศ
ยูโอบี ประเทศไทย สนับสนุนการเติบโตของเอสเอ็มอีในธุรกิจอีคอมเมิร์ซ กับโครงการ E-Commerce Accelerator
กับโครงการ E-Commerce Accelerator
จากการเติบโตและขยายตัวของธุรกิจอีคอมเมิร์ซ (e-commerce) ทั้งในประเทศไทย ครอบคลุมไปจนถึงตลาดจีน ยุโรปและอเมริกา ตอกย้ำพฤติกรรมผู้บริโภคทั่วโลกที่เปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง สะท้อนให้เห็นถึงโอกาสของผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ไทยให้สามารถพาธุรกิจเข้าสู่ตลาดต่างประเทศ ผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ของต่างชาติที่ได้รับการยอมรับในระดับโลกได้ สอดคล้องกับมุมมองของ SMEs ไทย ที่ร้อยละ 90 เชื่อว่า e-commerce มีความสำคัญต่อการขยายตัวสู่ระดับโลกเพราะอาจสร้างยอดได้จากต่างประเทศได้มากกว่าในประเทศ[1]
อย่างไรก็ตาม จากผลสำรวจของวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อย (MSMEs) ในประเทศไทย พบว่าความท้าทายที่สำคัญคืออุปสรรคในด้านต้นทุน กฎระเบียบ ข้อมูล และความสามารถ ดังนั้นเพื่อช่วย SMEs ผ่านความท้าทายเหล่านี้ ยูโอบี ฟินแล็บ (UOB FinLab) จึงได้จัดโครงการ E-Commerce Accelerator Programme (EAP) โดยร่วมกับ 3 พันธมิตรหลัก e-commerce ขนาดใหญ่ชั้นน้ำของโลกได้แก่ Amazon, Alibaba และ Douyin มาให้คำแนะนำด้านการตลาดดิจิทัลและการส่งออกสินค้า โดยเน้นการใช้ AI และ Big Data วิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภคเพื่อเพิ่มโอกาสปิดการขายและการปรับตัวสู่เศรษฐกิจสีเขียว พร้อมทั้งคำแนะนำด้านในการทำไลฟ์คอมเมิร์ซ นับเป็นเทรนด์ด้านการตลาดที่จะช่วยขับเคลื่อนอีคอมเมิร์ซในปีนี้
นายบัลลังก์ ว่องธวัชชัย Head of Digital Engagement and FinTech Innovation ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย กล่าวว่า “การรุกตลาด e-commerce บนแพลตฟอร์มออนไลน์ระดับโลก นับเป็นโอกาสทองของผู้ประกอบการ SMEs ไทยในการส่งแบรนด์สู่ตลาดโลก แม้จะต้องเผชิญกับความท้าทายทั้งในเรื่องของเงินทุน ทักษะดิจิทัล และช่องทางในการเริ่มต้น UOB FinLab จึงได้ทำงานร่วมกับเครือข่ายพันธมิตรหลักชั้นนำของโลกด้าน e-commerce เพื่อมาให้คำแนะนำแก่ผู้ประกอบการ ทั้งกลยุทธ์การทำธุรกิจ การเลือกสินค้า โลจิสติกส์ และด้านการตลาดดิจิทัล ที่จะช่วยให้ผู้ประกอบการขยายฐานลูกค้าใหม่ในตลาดต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ”
Amazon: คุณภาพ เอกลักษณ์เฉพาะตัว และคีย์เวิร์ดช่วยค้นหา เจาะตลาด B2C
นายธเธียร อนุจรพันธ์ ผู้อำนวยการฝ่ายกลยุทธ์และพัฒนาธุรกิจ จาก Amazon Global Selling กล่าวว่า
Amazon มีลูกค้ากว่า 300 ล้านบัญชีทั่วโลก ซึ่งด้วยคุณภาพและเอกลักษณ์เฉพาะตัวทำให้สินค้าไทยได้รับความนิยมสูงกว่าสินค้าจีน โดยสินค้าไทยที่ได้รับความนิยมมากที่สุดคือ อาหารและเครื่องดื่ม รองลงมาเป็นสินค้าเกษตร เช่น ดอกอัญชัน ข่า ขิง และอุปกรณ์แต่งรถ มีอัตราการเติบโตที่ดีมาก ในประเทศออสเตรเลีย อินเดีย ซาอุดิอารเบีย ฟิลิปปินส์และปากีสถาน
แนะนำ 6 กลยุทธ์สำคัญสำหรับ SMEs 1) วิเคราะห์ตลาดและเลือกสินค้าที่เหมาะสม 2) สร้างแบรนด์ให้โดดเด่น 3) ใช้ A+ Content คือ ฟีเจอร์ที่ Amazon ให้กับผู้ขายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของหน้าผลิตภัณฑ์บนเว็บไซต์ โดยสามารถปรับแต่งรายละเอียดสินค้าให้ดูน่าสนใจ 4) ปรับปรุง Amazon SEO ด้วยคีย์เวิร์ดที่ตรงกลุ่มเป้าหมาย เนื่องจาก Amazon ใช้อัลกอริทึมในการจัดอันดับสินค้า ดังนั้นการใช้ คีย์เวิร์ดสำคัญ ในชื่อสินค้า คำอธิบาย และจุดเด่นของผลิตภัณฑ์จะช่วยให้สินค้าปรากฏในการค้นหามากขึ้น 5) ใช้ AI สร้างคอนเทนต์โปรโมชันที่ดึงดูด และ 6) บริหารสต็อกให้เพียงพอกับความต้องการในตลาด ซึ่งจะช่วยเพิ่มโอกาสในการแข่งขัน
Alibaba: 4 เครื่องมือเพิ่มโอกาสการขายสินค้า B2B
นายกรพงศ์ นวลสนิท ผู้จัดการฝ่ายช่องทางและรายได้ Alibaba.com กล่าวว่า Alibaba เป็นแพลตฟอร์ม B2B ระดับโลก ที่มีผู้ใช้งานกว่า 1 พันล้านคน โดยสินค้าจากไทย เช่น อาหาร ผลผลิตทางการเกษตร บิวตี้ และอะไหล่รถยนต์ ได้รับความนิยมสูง
แนะนำ 4 เครื่องมือสำคัญเพิ่มโอกาสทางการขาย 1) Request for Quotation (RFQ) – ระบบขอใบเสนอราคาช่วยให้ผู้ขายเสนอราคาสินค้าโดยตรงกับผู้ซื้อทั่วโลก 2) Analytic – เครื่องมือวิเคราะห์พฤติกรรมผู้ซื้อและข้อมูลการสั่งซื้อเพื่อปรับกลยุทธ์การตลาด 3) Keyword Advertising – โฆษณาผ่านคีย์เวิร์ดช่วยเพิ่มการมองเห็นสินค้าบน Alibaba และ 4) Product Posting – การโพสต์สินค้าที่มีชื่อสินค้า คำอธิบาย รูปภาพและวิดีโอคุณภาพสูง การใช้เครื่องมือเหล่านี้ช่วยให้ SMEs ไทยขยายตลาดสู่ระดับสากลและเพิ่มยอดขายอย่างมีประสิทธิภาพ
Douyin: ไลฟ์คอมเมิร์ซบน Douyin เข้าถึงผู้บริโภคจีน
นายนรุตม์ ธีระมังคลานนท์ ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาธุรกิจประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บริษัท โต่วอิน จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ปัจจุบัน โต่วอิน (Douyin) แพลตฟอร์มต้นแบบของ TikTok ในจีน มีผู้ใช้งานกว่า 750 ล้านคน โดยเฉพาะการขายผ่านไลฟ์สดที่มียอดชมถึง 2.9 พันล้านครั้งต่อวัน และมูลค่าการซื้อขายกว่า 30,000 ล้านหยวนต่อปี Douyin เป็นโอกาสในการขยายฐานลูกค้าเข้าถึงตลาดใหญ่ทั้งในจีนและทั่วโลกสำหรับ SMEs ไทย
แนะนำการตลาดดิจิทัล ด้วยการใช้ Content Marketing, การขายสินค้าผ่านฟีเจอร์ e-commerce, การร่วมมือกับ Influencers และการทำคลิปวิดีโอสั้นๆ เพื่อดึงดูดลูกค้า นอกจากนี้ Douyin ยังมีโปรแกรมสนับสนุน SMEs เช่น โลจิสติกส์ 2 รูปแบบ ได้แก่ Direct Shipping และ Bonded Warehouse และยกเว้นค่าคลังสินค้าในช่วง 3 เดือนแรก รวมถึง Stock Inventory Management ช่วยให้ผู้ประกอบการ SMEs ไทยจัดการสต็อกสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ด้านนางสาวกุลธิรัตน์ ภควัชร์ไกรเลิศ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ร่วมก่อตั้ง TeC: Thailand e-Business Center และนายกสมาคมผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ไทย หรือ Thai E-Commerce Association (THECA) ตอกย้ำความสำคัญของการทำไลฟ์คอมเมิร์ซที่เป็นจุดขายของธุรกิจ e-commerce ในปีนี้ว่า “คาดว่าในปีนี้ส่วนแบ่งยอดขายจากไลฟ์คอมเมิร์ซจะสูงถึงร้อยละ 35 ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปี 2567 อยู่ที่ประมาณร้อยละ 30 และแนวโน้มการใช้ Influencers และ KOLs (Key Opinion Leader) ได้รับความนิยมจากความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน พร้อมมีช่องทางบนสื่อสังคมออนไลน์และมีผู้ติดตามมาช่วยโปรโมทรีวิวสินค้าเพื่อเพิ่มโอกาสในการขายสินค้าได้มากขึ้นจะไม่ใช่แค่ครีเอเตอร์เพื่อมอบความบันเทิงเท่านั้น แต่ยังทำหน้าที่เป็นนักขายช่วยหลายธุรกิจในการไลฟ์ขายของ ช่วยเพิ่มยอดขายให้แบรนด์เติบโตได้มากขึ้นด้วย โดยเฉพาะบนช่องทาง TikTok ที่กำลังมาแรง เนื่องจากผู้บริโภคในยุคนี้ต้องการเห็นสินค้าจริงก่อนตัดสินใจซื้อ ทำให้ไลฟ์คอมเมิร์ซกลายเป็นหัวใจสำคัญของอีคอมเมิร์ซในปี 2025 เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือและปิดการขายได้เร็วขึ้น และสำหรับสมาคมฯเอง เราก็พร้อมช่วยเป็นที่ปรึกษาให้กับเหล่าผู้ประกอบการที่ต้องการเติบโตในตลาดจีน และตลาดไทย โดยประสานความร่วมมือและทำงานร่วมกันกับทั้ง Douyin (หรือ TikTok China) และ TikTok ไทย เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการไทยไปด้วยกัน”
สำหรับ SMEs ไทยที่สนใจเข้าร่วมโครงการ หรือศึกษา Business Transformation คอร์สฟรีออนไลน์ สามารถติดตามรายละเอียดและการรับสมัครเข้าโครงการที่จะเกิดขึ้นครั้งต่อไปได้ที่ https://community.thefinlab.com/
[1] งานวิจัยหัวข้อ ผู้ขายสินค้าจากประเทศไทย และผู้บริโภคทั่วโลก: โอกาสเติบโตของธุรกิจไทยไปสู่ตลาดโลกด้วยการค้าออนไลน์ระหว่างประเทศ