----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
เส้นทาง : กรุงเทพฯ-หัวหิน-ประจวบฯ-บางสะพาน-ชุมพร-เกาะเต่า-เกาะพงัน-กระบี่-อ่าวนาง-ตรัง-หาดใหญ่-ปีนัง-มะละกา-กัวลาลัมเปอร์-ปุตราจายา
นี่เป็นการท่องเที่ยวแบ็คแพ็คที่รีดงบสุดๆ แบบทำได้บ้างไม่ได้บ้าง เริ่มจาก..ล่องลงภาคใต้ พอรู้ตัวอีกทีก็ไปไกลถึง มะละกา ประเทศมาเลเซีย นับเวลาตั้งแต่กระโดดขึ้นรถไฟฟรีที่หัวลำโพง จนกลับถึงกรุงเทพฯอีกครั้ง รวมเวลา 26 วัน ที่ได้เจอะเจอหลากบรรยากาศหลายรสชาติ จนไม่อยากจะเม้าท์ว่า.. ได้เที่ยวทะเลทั้งอ่าวไทยและอันดามัน ขึ้นเขาช่องกระจก..ดูวิวหลักล้านของอ่าวประจวบคีรีขันธ์ ไหว้พระมหาธาตุเจดีย์ภักดีประกาศที่บ้านกรูด กรี๊ดสลบกับภาพชายฝั่งทะเลตัดกับหน้าผาสีแดงที่ฝั่งแดง(บางสะพาน) ดำน้ำที่เกาะเต่า ขี่มอเตอร์ไซค์แว้นบนเกาะพงัน ซิ่งสปีดโบ๊ตไปเที่ยวหมู่เกาะพีพีที่กระบี่ อินกับภาพอาทิตย์ตกที่อ่าวนาง ลั้ลลา..ลอดถ้ำมรกตที่ทะเลตรัง ชิมอาหารพื้นเมืองและชิคๆคูลๆดูงาน Street Art ที่ปีนัง ชมเมืองมรดกโลกที่มะละกา..เมืองอะไรไม่รู้น่ารักเว่อร์ ย้อนกลับมาขึ้นถ้ำบาตูที่กัวลาลัมเปอร์ ร้องว้าวๆๆกับตึกแฝดปิโตรนาสในช่วงอาทิตย์ลับขอบฟ้า ตื่นตากับความเว่อร์วังของมัสยิดสีชมพูประจำเมืองปุตราจายา และอีกหลากหลายรสชาติมากมายให้ฟินเฟร่อกันไปเลย
ต่อจากตอนที่แล้ว หลังจากกิน Roti Canai เสร็จ ก็ไปดูจุดหมายที่ 14 : Peranakan Mansion กันต่อ
4 พฤษภาคม 2559 (ต่อ)
จุดหมาย #13 - อิ่มจาก Roti Canai แล้ว เดินต่อไปอีกนิดสังเกตุดูทางซ้ายมีบ้านเขียวอ่อนนั่นคือ Penang Peranakan Mansion เป็นบ้านที่มีการ renovation เพื่อคงลักษณะดั่งเดิมไว้ เหมือนๆกับ Blue Mansion ที่ไม่ได้ดูเมื่อเช้า..งั้นดูที่นี่ก็ได้ ภาพรวมคงไม่แตกต่าง ค่าเข้าชม 21.20 ริงกิต ค่าเข้าแพงใช้ได้แต่เรียกว่าคุ้ม เพราะเท่าที่ดูการซ่อมแซมให้กลับมาได้แบบนี้รวมถึงการหาเครื่องเรือนโบราณมาใส่ในบ้านค่าใช้จ่ายคงไม่ใช่น้อย รวมถึงมีไกด์ภาษาอังกฤษ จีน อาจมีภาษามาเลย์ด้วย มาพาชมอธิบายเรื่องราวแบบมีแอคติ้งประกอบด้วย ทำให้ดูมีสีสันขึ้นมาก
ภาพนอกอาคารเป็นสีเขียว แอบคิดว่าดูไม่หรูหราเลย แต่พอเข้าไปด้านใน..อลังการกว่าภายนอกเยอะเลย
อธิบายภาพรวมก่อน Penang Peranakan Mansion จะแบ่งออกเป็น 3 ส่วนใหญ่ๆ คือ
ส่วนที่ 1. ส่วนจัดแสดงการอยู่อาศัย คือ อาคารด้านหน้าสีเขียว คืออาคารที่เราเข้ามาตอนแรกสุด
ส่วนที่ 2. ศาลบรรพชน อยู่ด้านหน้าทางขวาของตัวบ้าน ต้องเข้าจากด้านหลังของส่วนจัดแสดงการอยู่อาศัย
ส่วนที่ 3. ห้องจัดแสดงเครื่องใช้เครื่องแต่งกาย และเครื่องทอง เป็นอาคารแยกมาอยู่ด้านหลัง
* ตำแหน่งของห้องในแต่ละภาพ คือตำแหน่งพื้นที่เส้นหนา บนแปลนในแต่ละภาพ
ภาพแรกที่ผ่านเข้าไปด้านใน ตรงกลางบ้านจะเป็น Loft คือเป็นพื้นที่ที่มีหลังคาสูง(แบบโปร่งแสง) แต่เมื่อก่อนเป็นลานโล่งไม่มีหลังคา เพราะความเชื่อทางฮวงจุ้ย ช่วยในการรับทรัพย์ ..โชคดีเข้าไปตรงรอบไกด์ภาษาอังกฤษพอดี
เข้ามาด้านซ้ายเป็นหน้าบ้าน เป็นห้องรับแขกทั่วๆไปนั่งคุยแบบไม่เป็นทางการมาก
ห้องด้านหน้าขวามือ จะเป็นห้องรับแขกคุยธุระแบบเป็นส่วนตัวและเป็นทางการ
จากทางเข้าด้านซ้ายมือเป็นหลังบ้าน ตรงกลางเป็นห้องอาหารแบบจีน ใช้เลี้ยงรับรองและทานอาหารในครอบครัว จะมีห้องอาหารแบบตะวันตกทางด้านซ้ายของห้องนี้ เพื่อใช้เลี้ยงรับรองแขกชาติตะวันตก
ทางด้านขวาห้องอาหารเป็นห้องชุมนุมสมาชิกครอบครัว โดยตั่งที่เห็นตรงกลางด้านในเป็นที่นั่งสูบฝิ่นของเจ้าของบ้าน
หลังห้องอาหารมีบันไดขึ้นชั้นสองของบ้าน ขึ้นมาชั้นสองจะเจอโถงยาว บริเวณนี้ใช้เป็นที่ชุมนุมเฉพาะผู้หญิงในบ้าน โดยด้านในสุดภรรยาเจ้าของบ้านจะนั่งเป็นประธาน โดยด้านหลังเป็นรูปของเธอในชุดสตรีชั้นสูงในราชสำนัก ส่วนผู้หญิงที่เหลือจะนั่งลดหลั่นกันตามความสำคัญ
ถัดเข้ามาด้านในโถงตรงกลางจะเป็นพื้นที่พักผ่อนของภรรยาเจ้าของบ้าน ถัดไปเป็นราวระเบียงล้อมพื้นที่ว่างกลางบ้าน ถ้ามองลงไปเห็นโถงชั้นล่าง มีห้องด้านข้างสองข้าง ข้างหนึ่งจัดแสดงเป็นห้องนอนของลูกสาว อีกด้านเป็นห้องจัดแสดงแจกันแก้วสำหรับตกแต่งโต๊ะอาหาร
ถัดมาด้านข้างตัวบ้านด้านซ้าย เป็นโถงที่ตรงกลางจัดวางเก้าอี้บ่าวสาว คือลักษณะเป็นเก้าอี้แฝดที่นั่งเยื้องกัน เหตุผลที่ออกแบบมาเป็นแบบนี้ เพราะสมัยก่อนเป็นการแต่งงานแบบคลุมถุงชน เจ้าบ่าวเจ้าสาวไม่เคยเห็นหน้ากันมาก่อน ก่อนทำพิธีจะให้มานั่งพักรอที่เก้าอี้ตัวนี้ เป็นการเจอกันครั้งแรกของทั้งคู่ การมาให้นั่งแบบนี้ก็เพื่อที่บ่าวสาวจะได้มีโอกาสแอบสังเกตุกันและกันได้ และการนั่งเยื้องกันจะทำให้ทั้งสองคนไม่อึดอัดจนเกินไป
ล้อมรอบเก้าอี้บ่าวสาวคือตู้จัดแสดงโชว์ชุดถ้วยชามเคลือบดินเผา
โถงกลางฝั่งตรงข้ามทางเข้าเป็นที่พักผ่อนของเจ้าของบ้าน มีรูปคู่เจ้าของบ้านในชุดขุนนางและสตรีชั้นสูงประดับด้านข้าง มีห้องนอนขนาบอยู่ทั้งสองด้าน ด้านหนึ่งจัดแสดงเป็นห้องนอนเจ้าของบ้าน อีกห้องจัดแสดงเป็นห้องบ่าวสาว
เสร็จจากการชมห้องของตึกที่จัดแสดงเป็นที่อยู่อาศัยแล้ว ลงมาด้านล่าง ออกมาด้านหลังบ้าน ด้านซ้ายจะเป็นศาลบรรพชนที่ใช้เก็บป้ายชื่อบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว และด้านหลังจะเป็นตึกอีกหลังหนึ่งที่ปัจจุบันใช้เป็นอาคารจัดแสดงเครื่องใช้และเครื่องแต่งกายรวมถึงทรัพสินที่เป็นของสะสม ..เราไปดูศาลบรรพชนกันก่อน
มาดูอาคารจัดแสดงเครื่องใช้และเครื่องแต่งกายรวมถึงทรัพย์สินของสะสม ..เข้าไปจะเจอบ่อน้ำพุทางด้านซ้ายมือ
ที่สวมคลุมหน้าสำหรับเจ้าสาว ชุดเจ้าสาว และเครื่องแต่งต้วออกงานของผู้หญิง
เครื่องถ้วยชามเคลือบต่างๆ
อุปกรณ์สำหรับช่างทอง
[CR] ชิลล์คนเดียวเที่ยวไปเรื่อย ฟินเฟร่อ 26 วันในไทยและมาเลเซีย ตอนที่ 12
เส้นทาง : กรุงเทพฯ-หัวหิน-ประจวบฯ-บางสะพาน-ชุมพร-เกาะเต่า-เกาะพงัน-กระบี่-อ่าวนาง-ตรัง-หาดใหญ่-ปีนัง-มะละกา-กัวลาลัมเปอร์-ปุตราจายา
นี่เป็นการท่องเที่ยวแบ็คแพ็คที่รีดงบสุดๆ แบบทำได้บ้างไม่ได้บ้าง เริ่มจาก..ล่องลงภาคใต้ พอรู้ตัวอีกทีก็ไปไกลถึง มะละกา ประเทศมาเลเซีย นับเวลาตั้งแต่กระโดดขึ้นรถไฟฟรีที่หัวลำโพง จนกลับถึงกรุงเทพฯอีกครั้ง รวมเวลา 26 วัน ที่ได้เจอะเจอหลากบรรยากาศหลายรสชาติ จนไม่อยากจะเม้าท์ว่า.. ได้เที่ยวทะเลทั้งอ่าวไทยและอันดามัน ขึ้นเขาช่องกระจก..ดูวิวหลักล้านของอ่าวประจวบคีรีขันธ์ ไหว้พระมหาธาตุเจดีย์ภักดีประกาศที่บ้านกรูด กรี๊ดสลบกับภาพชายฝั่งทะเลตัดกับหน้าผาสีแดงที่ฝั่งแดง(บางสะพาน) ดำน้ำที่เกาะเต่า ขี่มอเตอร์ไซค์แว้นบนเกาะพงัน ซิ่งสปีดโบ๊ตไปเที่ยวหมู่เกาะพีพีที่กระบี่ อินกับภาพอาทิตย์ตกที่อ่าวนาง ลั้ลลา..ลอดถ้ำมรกตที่ทะเลตรัง ชิมอาหารพื้นเมืองและชิคๆคูลๆดูงาน Street Art ที่ปีนัง ชมเมืองมรดกโลกที่มะละกา..เมืองอะไรไม่รู้น่ารักเว่อร์ ย้อนกลับมาขึ้นถ้ำบาตูที่กัวลาลัมเปอร์ ร้องว้าวๆๆกับตึกแฝดปิโตรนาสในช่วงอาทิตย์ลับขอบฟ้า ตื่นตากับความเว่อร์วังของมัสยิดสีชมพูประจำเมืองปุตราจายา และอีกหลากหลายรสชาติมากมายให้ฟินเฟร่อกันไปเลย
ต่อจากตอนที่แล้ว หลังจากกิน Roti Canai เสร็จ ก็ไปดูจุดหมายที่ 14 : Peranakan Mansion กันต่อ
4 พฤษภาคม 2559 (ต่อ)
จุดหมาย #13 - อิ่มจาก Roti Canai แล้ว เดินต่อไปอีกนิดสังเกตุดูทางซ้ายมีบ้านเขียวอ่อนนั่นคือ Penang Peranakan Mansion เป็นบ้านที่มีการ renovation เพื่อคงลักษณะดั่งเดิมไว้ เหมือนๆกับ Blue Mansion ที่ไม่ได้ดูเมื่อเช้า..งั้นดูที่นี่ก็ได้ ภาพรวมคงไม่แตกต่าง ค่าเข้าชม 21.20 ริงกิต ค่าเข้าแพงใช้ได้แต่เรียกว่าคุ้ม เพราะเท่าที่ดูการซ่อมแซมให้กลับมาได้แบบนี้รวมถึงการหาเครื่องเรือนโบราณมาใส่ในบ้านค่าใช้จ่ายคงไม่ใช่น้อย รวมถึงมีไกด์ภาษาอังกฤษ จีน อาจมีภาษามาเลย์ด้วย มาพาชมอธิบายเรื่องราวแบบมีแอคติ้งประกอบด้วย ทำให้ดูมีสีสันขึ้นมาก
ภาพนอกอาคารเป็นสีเขียว แอบคิดว่าดูไม่หรูหราเลย แต่พอเข้าไปด้านใน..อลังการกว่าภายนอกเยอะเลย
อธิบายภาพรวมก่อน Penang Peranakan Mansion จะแบ่งออกเป็น 3 ส่วนใหญ่ๆ คือ
ส่วนที่ 1. ส่วนจัดแสดงการอยู่อาศัย คือ อาคารด้านหน้าสีเขียว คืออาคารที่เราเข้ามาตอนแรกสุด
ส่วนที่ 2. ศาลบรรพชน อยู่ด้านหน้าทางขวาของตัวบ้าน ต้องเข้าจากด้านหลังของส่วนจัดแสดงการอยู่อาศัย
ส่วนที่ 3. ห้องจัดแสดงเครื่องใช้เครื่องแต่งกาย และเครื่องทอง เป็นอาคารแยกมาอยู่ด้านหลัง
* ตำแหน่งของห้องในแต่ละภาพ คือตำแหน่งพื้นที่เส้นหนา บนแปลนในแต่ละภาพ
ภาพแรกที่ผ่านเข้าไปด้านใน ตรงกลางบ้านจะเป็น Loft คือเป็นพื้นที่ที่มีหลังคาสูง(แบบโปร่งแสง) แต่เมื่อก่อนเป็นลานโล่งไม่มีหลังคา เพราะความเชื่อทางฮวงจุ้ย ช่วยในการรับทรัพย์ ..โชคดีเข้าไปตรงรอบไกด์ภาษาอังกฤษพอดี
เข้ามาด้านซ้ายเป็นหน้าบ้าน เป็นห้องรับแขกทั่วๆไปนั่งคุยแบบไม่เป็นทางการมาก
ห้องด้านหน้าขวามือ จะเป็นห้องรับแขกคุยธุระแบบเป็นส่วนตัวและเป็นทางการ
จากทางเข้าด้านซ้ายมือเป็นหลังบ้าน ตรงกลางเป็นห้องอาหารแบบจีน ใช้เลี้ยงรับรองและทานอาหารในครอบครัว จะมีห้องอาหารแบบตะวันตกทางด้านซ้ายของห้องนี้ เพื่อใช้เลี้ยงรับรองแขกชาติตะวันตก
ทางด้านขวาห้องอาหารเป็นห้องชุมนุมสมาชิกครอบครัว โดยตั่งที่เห็นตรงกลางด้านในเป็นที่นั่งสูบฝิ่นของเจ้าของบ้าน
หลังห้องอาหารมีบันไดขึ้นชั้นสองของบ้าน ขึ้นมาชั้นสองจะเจอโถงยาว บริเวณนี้ใช้เป็นที่ชุมนุมเฉพาะผู้หญิงในบ้าน โดยด้านในสุดภรรยาเจ้าของบ้านจะนั่งเป็นประธาน โดยด้านหลังเป็นรูปของเธอในชุดสตรีชั้นสูงในราชสำนัก ส่วนผู้หญิงที่เหลือจะนั่งลดหลั่นกันตามความสำคัญ
ถัดเข้ามาด้านในโถงตรงกลางจะเป็นพื้นที่พักผ่อนของภรรยาเจ้าของบ้าน ถัดไปเป็นราวระเบียงล้อมพื้นที่ว่างกลางบ้าน ถ้ามองลงไปเห็นโถงชั้นล่าง มีห้องด้านข้างสองข้าง ข้างหนึ่งจัดแสดงเป็นห้องนอนของลูกสาว อีกด้านเป็นห้องจัดแสดงแจกันแก้วสำหรับตกแต่งโต๊ะอาหาร
ถัดมาด้านข้างตัวบ้านด้านซ้าย เป็นโถงที่ตรงกลางจัดวางเก้าอี้บ่าวสาว คือลักษณะเป็นเก้าอี้แฝดที่นั่งเยื้องกัน เหตุผลที่ออกแบบมาเป็นแบบนี้ เพราะสมัยก่อนเป็นการแต่งงานแบบคลุมถุงชน เจ้าบ่าวเจ้าสาวไม่เคยเห็นหน้ากันมาก่อน ก่อนทำพิธีจะให้มานั่งพักรอที่เก้าอี้ตัวนี้ เป็นการเจอกันครั้งแรกของทั้งคู่ การมาให้นั่งแบบนี้ก็เพื่อที่บ่าวสาวจะได้มีโอกาสแอบสังเกตุกันและกันได้ และการนั่งเยื้องกันจะทำให้ทั้งสองคนไม่อึดอัดจนเกินไป
ล้อมรอบเก้าอี้บ่าวสาวคือตู้จัดแสดงโชว์ชุดถ้วยชามเคลือบดินเผา
โถงกลางฝั่งตรงข้ามทางเข้าเป็นที่พักผ่อนของเจ้าของบ้าน มีรูปคู่เจ้าของบ้านในชุดขุนนางและสตรีชั้นสูงประดับด้านข้าง มีห้องนอนขนาบอยู่ทั้งสองด้าน ด้านหนึ่งจัดแสดงเป็นห้องนอนเจ้าของบ้าน อีกห้องจัดแสดงเป็นห้องบ่าวสาว
เสร็จจากการชมห้องของตึกที่จัดแสดงเป็นที่อยู่อาศัยแล้ว ลงมาด้านล่าง ออกมาด้านหลังบ้าน ด้านซ้ายจะเป็นศาลบรรพชนที่ใช้เก็บป้ายชื่อบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว และด้านหลังจะเป็นตึกอีกหลังหนึ่งที่ปัจจุบันใช้เป็นอาคารจัดแสดงเครื่องใช้และเครื่องแต่งกายรวมถึงทรัพสินที่เป็นของสะสม ..เราไปดูศาลบรรพชนกันก่อน
มาดูอาคารจัดแสดงเครื่องใช้และเครื่องแต่งกายรวมถึงทรัพย์สินของสะสม ..เข้าไปจะเจอบ่อน้ำพุทางด้านซ้ายมือ
ที่สวมคลุมหน้าสำหรับเจ้าสาว ชุดเจ้าสาว และเครื่องแต่งต้วออกงานของผู้หญิง
เครื่องถ้วยชามเคลือบต่างๆ
อุปกรณ์สำหรับช่างทอง