บริษัทที่กำลัง Implement ระบบ ERP หรือมีแผนที่จะนำระบบ ERP มาใช้ อ่านทางนี้ก่อน!!!



หลายๆองค์กรมีปัญหาในการขึ้นระบบ ERP โดยเฉพาะสิ่งที่เป็นปัจจัยหลักมากที่สุด คือ คน
เนื่องจากการขึ้นระบบ ERP นั้น สิ่งที่ต้องเกี่ยวข้องหลักๆ คือ ระบบ กับ คน
ดังนั้น เราไม่สามารถมองข้ามสิ่งนี้ได้ แฟรงเก้น

ตอนที่เข้ามาทำงานในวงการนี้ใหม่ๆ ยังมีความคิดเดิมๆ ว่าการที่บริษัทจะทำโครงการอะไรขึ้นมานั้น เจ้าของ หรือ
ผู้บริหารระดับสูง ก็สั่งการให้คนเดินตาม เท่านั้นก็เพียงพอแล้ว แต่พอเริ่มเข้าใจกระบวนการทำงานมากขึ้น เริ่มได้เจอลูกค้าหลากหลาย
กลับพบว่า คน เป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้โครงการสำเร็จ หรือ ไม่สำเร็จ

ผีคอยาวหากเจ้าของ หรือผู้บริหาร มีโครงการขึ้นมา แล้วไม่มีคนเดินตาม โครงการนั้นก็ไม่สามารถเดินต่อไปได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ในโครงการนั้นๆ จะต้องใช้ความร่วมมือร่วมแรงจากคนหลายๆ คน อย่างการขึ้นระบบ ERP นั้น ไม่ได้ใช้แค่ความร่วมมือร่วมแรงในช่วงที่
กำลังขึ้นระบบเท่านั้น แต่หลังจากมีระบบที่ใช้งานได้แล้ว การใช้ระบบในการทำงานยิ่งสำคัญเป็นอย่างมาก ผู้บริหารหลายๆ องค์กรที่
เคยได้พูดคุยนั้น บางท่านบอกว่า ระบบไม่สามารถใช้งานจริงได้…จริงๆ แล้วอาจจะต้องตั้งโจทย์เพิ่ม ว่า ระบบใช้งานไม่ได้
หรือ คนไม่ยอมใช้ระบบ

การที่จะให้คนที่เขาทำงานปกติอยู่ ต้องมาเปลี่ยนแปลง ยิ่งต้องรู้ว่าตอนกำลังขึ้นระบบเป็นเรื่องที่ต้องเหนื่อยเพิ่มอีกนั้น ไม่ใช่เรื่องง่าย คนเรามัก
จะไม่ชอบการเปลี่ยนแปลงแถมเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ช่วงแรกนั้น ต้องเรียนรู้เพิ่มอีกนั้นบอกเลยว่าต้องใส่ใจอย่างมาก แล้วเราจะทำอย่างไรดี…?




นานาสงสัย

เริ่มต้นง่ายๆ 3 วิธี ที่จะช่วยปูทางให้โครงการ ERP เดินต่อได้ง่ายขึ้น

1. ให้พนักงานทุกส่วน ทุกระดับ ได้รับรู้โครงการร่วมกัน
หลังจากระดับผู้บริหาร หัวหน้าฝ่ายต่างๆ ได้คัดเลือกระบบ ERP และ Implementer แล้วนั้น ควรมีการให้ทุกฝ่าย ทุกระดับ ทุกระดับในที่นี้ เรียกได้ว่า ทุกระดับจริงๆ  ให้ทุกคนเข้ามารับรู้ว่า ตอนนี้บริษัทกำลังจะทำอะไร ช่วงระหว่างทำต้องมีผลกระทบอย่างไรบ้าง และที่สำคัญหลังจากทำสำเร็จนั้น จะได้อะไร

มีบริษัทที่รู้จัก ผู้บริหาร บอกไว้เลยว่า ทำไมต้องหา ERP ช่วงที่ทำต้องเจอกับอะไรบ้าง ต้องทำอะไรบ้าง ต้องเหนื่อยอย่างไรบ้าง แต่หลังจากขึ้นระบบได้ ระบบสามารถใช้งานได้จริงแล้ว จะได้อะไร
นี่เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีเยี่ยมมากๆ เพราะทุกวันนี้เห็นเลยว่า ทุกฝ่ายมีความตั้งใจอยากที่จะช่วยกันทำให้สำเร็จ แม้ว่าจะรู้ว่าต้องเหนื่อย กลับยิ่งเป็นแรงว่า ดังนั้นต้องยิ่งตั้งใจมากขึ้นเพื่อลดช่วง
เวลาที่ต้องเหนื่อยลง รีบทำให้สำเร็จ เพื่ออนาคต

การทำเช่นนี้ ทุกคนรู้ว่าทำไมต้องทำ ระหว่างทำต้องเจอและเตรียมรับมือกับอะไร หลังจากทำสำเร็จแล้ว จะได้อะไร ทุกคนมีแนวทางและเป้าหมายเดียวกันในการเดินไปข้างหน้า แน่นอน ไม่ค่อยมีใครชอบความเปลี่ยนแปลงหรอก แต่ถ้าได้รู้ว่า ทำไปทำไม ทำแล้วได้อะไร ถ้าเห็นแล้วว่ามันคุ้ม…ทำไมจะไม่ทำล่ะ

2. ให้พนักงานทุกส่วน ทุกระดับ ได้มีส่วนร่วมตั้งแต่แรก
หลังจากภายในมีการรับรู้แล้วว่า บริษัทกำลังจะทำอะไรแล้วนั้น ตั้งแต่เริ่มก็จะมีการจัดประชุม แนะนำ ทีมวางระบบ ที่จะเข้าไปทำงาน แนะนำระบบโดยรวม ทุกคนควรได้เข้ามารับรู้ ไม่ต้องคำนึงถึงว่าจะเข้าใจ หรือไม่เข้าใจ นี่เป็นสิ่งที่ทำให้ทุกคนได้เป็นส่วนหนึ่งกับโครงการตั้งแต่เริ่ม ลองนึกภาพตามนะ สมมุติว่า เรา คือ พนักงานคนนึง

Case 1:  พนักงานเห็นว่า มีทีมจากข้างนอกเข้ามาในบริษัท ระดับหัวหน้าเข้าห้องประชุมไป แล้วทีมนั้นก็กับ…ใคร? มาทำอะไร? มันคืออะไร?
แล้วหัวหน้าก็เรียกเราไปบอกว่า ต้องทำอะไรบ้าง ไม่รู้ ไม่เข้าใจ เหนื่อย แล้วทำไมต้องทำล่ะ…วันต่อมา ทีมนั้นเข้ามาอีกแล้ว…เฮ้อ…เหนื่อยอีกแล้วสิเรา

Case 2: มีทีมจากข้างนอกเข้ามา ทุกคนได้เข้าไปทำความรู้จัก มาแนะนำตัว มาบอกว่าระบบนี้ คือ อะไร เข้าใจบ้าง ไม่เข้าใจบ้าง…
แต่นี่คือ สิ่งที่ที่เราเป็นส่วนหนึ่งในโครงการนั้น หัวหน้าบอกว่าต้องทำอะไรบ้าง… อ๋อ เรื่องที่เราได้เข้าประชุมด้วยวันนั้นนี่เอง…วันต่อมา
ทีมนั้นเข้ามาอีก เข้าใจแล้วว่าพวกเขาเข้ามาทำไม แล้วเราต้องเตรียมอะไรบ้างนะ

ไม่ว่าจะมาก หรือน้อย แต่ทุกคนได้เป็นส่วนหนึ่งกับโครงการนี้ตั้งแต่ต้น การที่ได้เข้าร่วมและรับรู้ ก็จะมีความเป็นส่วนหนึ่งไปด้วยอัตโนมัติ นอกเหนือจากนี้ ถ้าผู้บริหารจะมีรางวัล หรือแรงจูงใจให้กับทีมงาน ก็ลองพิจารณาดูได้ เมื่อเทียบกับผลตอบรับที่จะได้ ยังไงก็คุ้มค่า

3. ให้โอกาส ให้พื้นที่ ทุกคนได้คิด ได้ถาม ได้ออกความเห็น
เป็นที่รู้กันดีว่า คนจะถาม หรือ ออกความเห็นในห้องประชุม โดยเฉพาะจากพนักงานทั่วไปนั้น น้อยมาก ดังนั้น ถ้ามีคนต้องการสอบถาม หรือต้องการออกความเห็น ไม่ว่าจะเป็นคนระดับไหนก็ตาม นั่นถือ
ว่าเป็นเรื่องที่น่ายินดี เคยเป็นหรือเปล่า? ถ้าเราไม่สนใจ เราก็จะฟังเฉยๆ แต่ถ้าเราสนใจเราจะตั้งใจฟังแล้วอยากรู้อยากเห็น…

การที่พนักงานเริ่มมีคำถาม นั่นเราก็จะสามารถตีความได้ว่า เขาสนใจ แล้วยิ่งถ้าเขาออกความคิดเห็น นั่นแสดงว่าเขาเริ่มมีความเป็นส่วนหนึ่งกับโครงการแล้ว ไม่ว่าความเห็นนั้นจะออกมาในเชิงลบ หรือบวก ก็ตาม เพราะถ้าเขาไม่ได้รู้สึกอะไรเลย นั่นอาจหมายถึงว่า เขาไม่คิดว่าเรื่องนี้มันมีอะไรเกี่ยวข้องกับเขาทั้งสิ้น หรือจริงๆ แล้วหลายคนก็มีความสนใจอยู่แต่ ไม่กล้า ถามหรือออกความเห็น นั่นสามารถให้พื้นที่ สอบถามได้ว่าเขามีคำถามหรือต้องการออกความเห็นหรือไม่ คำถามและความคิดเห็นของพนักงาน เป็นสิ่งที่น่ายินดี
นานาเยี่ยม
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่