ทิฏฺิคณฺิ

อิต. ปมคือทิฐิ, ปมยุ่งแห่งความคิดเห็นอันไร้เหตุผล

ตัวอย่างหัวข้อเรื่อง และประโยคที่มี คำว่า ทิฐิ

         วินิจฉัยมี   อย่างคือ ญาณ ตัณหา ทิฐิและวิตก.
      ในวินิจฉัยเหล่านั้น พึงรู้วินิจฉัย อันเป็นความสุข
      ครั้นรู้วินิจฉัย อันเป็นสุขแล้วพึงเพียรหาความสุข


                                 ฉบับ มมร. ๑๓/๒๑๐/๑-๒

(อื่นๆ)

[14] ทิฏฐิ 3 (ความเห็น, ความเห็นผิด - view; false view)
       1. อกิริยทิฏฐิ (ความเห็นว่าไม่เป็นอันทำ, เห็นว่าการกระทำไม่มีผล - view of the inefficacy of action)
       2. อเหตุกทิฏฐิ (ความเห็นว่าไม่มีเหตุ, เห็นว่าสิ่งทั้งหลายไม่มีเหตุปัจจัย - view of non-causality)
       3. นัตถิกทิฏฐิ (ความเห็นว่าไม่มี, เห็นว่าไม่มีการกระทำหรือสภาวะที่จะกำหนดเอาเป็นหลักได้ - nihilistic view; nihilism)

M.I.404.    ม.ม. 13/105/111.

เรื่องอำมาตย์ คน ทิฐิ

มีอำมาตย์   คน  ทำการ
สั่งสอนอรรถและธรรม.  บรรดาอำมาตย์ทั้ง    คนนั้น    

   คนหนึ่งเป็นอเหตุกวาที - อำมาตย์ผู้เป็นอเหตุกวาทีสั่งสอนมหาชนให้ถือเอาอย่างว่า  สัตว์เหล่านี้เป็นผู้หมดจดในสงสาร.
  
   คนหนึ่งเป็นอิสรกรณวาที -  อำมาตย์ผู้เป็นอิสรกรณวาที   สั่งสอนมหาชนให้ถือเอาอย่างว่า  โลกนี้   พระเจ้าเป็นผู้สร้าง.
  
   คนหนึ่งเป็นปุพเพกตวาที  -   อำมาตย์ผู้เป็นปุพเพกตวาที  สั่งสอนให้มหาชนเอาอย่างว่า  ความสุขหรือความทุกข์ของสัตว์เหล่านี้   เมื่อจะเกิดขึ้นมา   ย่อมเกิดขึ้นด้วยเหตุที่ตนทำไว้ในปางก่อนนั่นแหละ.

   คนหนึ่งเป็นอุจเฉทวาที - อำมาตย์ผู้เป็นอุจเฉทวาที   สั่งสอนให้มหาชนเอาอย่างว่า  ขึ้นชื่อว่า   บุคคลผู้จากโลกนี้ไปยังโลกหน้า   ย่อมไม่มี   โลกนี้ย่อมขาดสูญ

   คนหนึ่งเป็นขัตตวิชชวาที - อำมาตย์ผู้เป็นขัตตวิชชวาที   สั่งสอนให้มหาชนเอาอย่างว่า  บุคคลควรฆ่ามารดาบิดาแล้ว     มุ่งทำประโยชน์ของตนเองถ่ายเดียวเถิด.
    
   อำมาตย์ทั้ง    คนนั้น
ดำรงอยู่ในตำแหน่งผู้พิพากษาอรรถคดีแทนพระราชา  แต่กลับพากันกินสินบนตัดสินความทำคนที่มิได้เป็นเจ้าของให้ได้เป็นเจ้าของ   และทำคนที่เป็นเจ้าของไม่ให้ได้เป็นเจ้าของ.

บางส่วนจาก มหาโพธิชาดก  พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่