Fertility specialist John Zhang holds the newborn baby (face blurred for privacy). New Hope Fertility Center
เมื่อวันที่ 28 ก.ย. เอเอฟพีรายงานความสำเร็จทางการแพทย์ครั้งสำคัญหลังนายแพทย์จอห์น จาง แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารเวชและสูตินารีเวชจากศูนย์ให้คำปรึกษาผู้มีบุตรยากในนครนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา ทำคลอดทารกที่กำเนิดจากการผสมเทียมและกรรมวิธีการดัดแปลงสารพันธุกรรม หรือดีเอ็นเอของผู้ปกครอง 3 คน ได้เป็นครั้งแรกของโลก
นพ.จางใช้กรรมวิธีดังกล่าวเพื่อขจัดดีเอ็นเอที่เป็นโรคทางกรรมพันธุ์ร้ายแรง หลังได้รับการร้องขอจากคู่สามีภรรยาชาวจอร์แดน ซึ่งสูญเสียลูกไปทั้งหมดแล้ว 2 ราย เนื่องด้วยโรคร้ายแรงนี้ ทั้งฝ่ายภรรยายังแท้งอีกถึง 4 ครั้ง
นพ.จาง ระบุว่า ตนเดินทางไปดำเนินการที่ประเทศเม็กซิโก เนื่องจากในสหรัฐมีกฎหมายห้ามใช้เทคนิคการดัดแปลงทางด้านพันธุกรรมในทารก สาเหตุที่ตัดสินใจช่วยเหลือสามีภรรยาคู่นี้เนื่องจากฝ่ายมารดามียีนโรคลีห์ ซึ่งเป็นโรคทางระบบประสาทร้ายแรงทำให้เด็กเสียชีวิตได้
ยีนส์นี้อยู่ภายในส่วนที่เรียกว่า “ไมโตคอนเดรีย” ถ่ายทอดผ่านไข่ของฝ่ายมารดา ทางคณะแพทย์จึงใช้เทคนิคเรียกว่า การเจาะย้ายฝากนิวเคลียส (spindle nuclear transfer) โดยเจาะเอาเฉพาะนิวเคลียสในไข่ของฝ่ายมารดานำไปใส่แทนนิวเคลียสของไข่จากผู้บริจาค จากนั้นจึงนำไปปฏิสนธิกับสเปิร์มของสามี
ผลที่ได้คือ ไข่ที่ผ่านการปฏิสนธิแล้วโดยมีดีเอ็นเอที่สมบูรณ์จากพ่อและดีเอ็นเอบางส่วนทั้งจากแม่กับผู้บริจาค ยกเว้นยีนส่วนไมโตคอนเดรียของแม่ ซึ่งทารกคนนี้เกิดเมื่อ 5 เดือนที่ผ่านมา และร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ดี
นพ.จาง และคณะจะนำรายละเอียดมาเปิดเผยในการประชุมวิชาการสมาคมเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์แห่งอเมริกา ในรัฐยูทาห์ เดือนต.ค.นี้
ข่าวจาก : ข่าวสดออนไลน์
https://www.khaosod.co.th/sci-tech/news_25387
วงการแพทย์ฮือฮา ทารกคนแรกแจ้งเกิดด้วยเทคนิคใช้ 3 ผู้ปกครอง พ่อ-แม่-แม่
Fertility specialist John Zhang holds the newborn baby (face blurred for privacy). New Hope Fertility Center
เมื่อวันที่ 28 ก.ย. เอเอฟพีรายงานความสำเร็จทางการแพทย์ครั้งสำคัญหลังนายแพทย์จอห์น จาง แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารเวชและสูตินารีเวชจากศูนย์ให้คำปรึกษาผู้มีบุตรยากในนครนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา ทำคลอดทารกที่กำเนิดจากการผสมเทียมและกรรมวิธีการดัดแปลงสารพันธุกรรม หรือดีเอ็นเอของผู้ปกครอง 3 คน ได้เป็นครั้งแรกของโลก
นพ.จางใช้กรรมวิธีดังกล่าวเพื่อขจัดดีเอ็นเอที่เป็นโรคทางกรรมพันธุ์ร้ายแรง หลังได้รับการร้องขอจากคู่สามีภรรยาชาวจอร์แดน ซึ่งสูญเสียลูกไปทั้งหมดแล้ว 2 ราย เนื่องด้วยโรคร้ายแรงนี้ ทั้งฝ่ายภรรยายังแท้งอีกถึง 4 ครั้ง
นพ.จาง ระบุว่า ตนเดินทางไปดำเนินการที่ประเทศเม็กซิโก เนื่องจากในสหรัฐมีกฎหมายห้ามใช้เทคนิคการดัดแปลงทางด้านพันธุกรรมในทารก สาเหตุที่ตัดสินใจช่วยเหลือสามีภรรยาคู่นี้เนื่องจากฝ่ายมารดามียีนโรคลีห์ ซึ่งเป็นโรคทางระบบประสาทร้ายแรงทำให้เด็กเสียชีวิตได้
ยีนส์นี้อยู่ภายในส่วนที่เรียกว่า “ไมโตคอนเดรีย” ถ่ายทอดผ่านไข่ของฝ่ายมารดา ทางคณะแพทย์จึงใช้เทคนิคเรียกว่า การเจาะย้ายฝากนิวเคลียส (spindle nuclear transfer) โดยเจาะเอาเฉพาะนิวเคลียสในไข่ของฝ่ายมารดานำไปใส่แทนนิวเคลียสของไข่จากผู้บริจาค จากนั้นจึงนำไปปฏิสนธิกับสเปิร์มของสามี
ผลที่ได้คือ ไข่ที่ผ่านการปฏิสนธิแล้วโดยมีดีเอ็นเอที่สมบูรณ์จากพ่อและดีเอ็นเอบางส่วนทั้งจากแม่กับผู้บริจาค ยกเว้นยีนส่วนไมโตคอนเดรียของแม่ ซึ่งทารกคนนี้เกิดเมื่อ 5 เดือนที่ผ่านมา และร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ดี
นพ.จาง และคณะจะนำรายละเอียดมาเปิดเผยในการประชุมวิชาการสมาคมเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์แห่งอเมริกา ในรัฐยูทาห์ เดือนต.ค.นี้
ข่าวจาก : ข่าวสดออนไลน์
https://www.khaosod.co.th/sci-tech/news_25387