...การใช้กฏหมายปกครอง เพื่อฟ้องเพ่งทางละเมิด

การอ่านกฏหมายบางที  เป็นสิ่งน่าเบื่อ( มาก )  ผมเลยขอสรุปง่ายๆดังนี้ครับ

ที่จริง    มันมีอยู่สองกรณี

กรณีที่หนึ่ง
ผู้ทําละมิด ละเมิดบุคคลภายนอก

เมื่อผู้ทําละมิด  ละเมิดบุคคลภายนอก  จนเกิดความเสียหาย ( ต้องกระทําในขณะปฏิบัติหน้าที่ )
หากหน่วยงานรัฐ     ต้องจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้กับผู้เสียหาย ( ผู้ถูกละเมิด ) ไปก่อน
ก็ให้กน่วยงานของรัฐนั้นๆ    มีสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนคืน   จากเจ้าหน้าที่   ผู้ทําลายเมิด
ภายในระยะเวลาหนึ่งปี ( กรณีนี้ มีอายุความหนึ่งปี)

ตัวอย่าง เช่น
เจ้าหน้าที่การไฟฟ้าไปปักเสาไฟ  เกิดความผิดพลาดเสาไปล้มทับบ้าน ชาวบ้าน
การไฟฟ้า เข้าไปเจรจา  ไกล่เกลี่ย  เพื่อยอมจ่ายค่าเสียหายให้กับเจ้าบ้าน
จากนั้นภายในหนึ่งปี   ก็ต้องตั้งคณะกรรมการไต่สวนเจ้าหน้าที่   ผู้ทําละเมิด  
เพื่อชดใช้   หรือ  เรียกเงินคืน    ให้แก่หน่วยงานรัฐ
(  หากการกระทํานั้นเกิดจากความประมาท เลินเล่อ อย่างร้ายแรง )


กรณีที่สอง
ผู้ทําละมิด  ละเมิดหน่วยงานรัฐเสียเอง
( เทียบเคียงได้ กับ กรณี คุณยิ่งลักษณ์ )
ก็ให้หน่วยงานของรัฐ
มีสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนคืน   จากเจ้าหน้าที่   ผู้ทําละเมิด
กรณีนี้  มีอายุความสองปี   นับตั้งแต่หน่วยงานของรัฐ    รู้ถึงการละเมิด

ผู้ทําละมิด  ละเมิดหน่วยงานรัฐเสียเอง
ส่วนใหญ่ก็เป็นเรื่องการทุจริต   ของเจ้าหน้าที่ภายในหน่วยงาน  
หรือ  เจ้าหน้าที่กระทําโดยประมาททําให้ทรัพย์สินของรัฐ   ได้รับความเสียหาย

------------
การพิจารณาน่าว่าคดีใด  ควรใช้กฏหมายปกครอง  เพื่อฟ้องเพิ่งทางละเมิด
( เป็นความเห็นส่วนตัวครับ )
ก็ควรประเมินดูที่มูลค่าความเสียหาย   ว่าผู้ที่กระทําให้เกิดความเสียหาย ( ผู้ทําละเมิด )
อยู่ในสถานะที่จะชดใช้ตามมูลค่าความเสียหาย   คืนให้แก่รัฐได้หรือไม่

หากไม่อยู่ในสถานะ    ที่จะชดใช้เงินคืนให้แก่หน่วยงานรัฐได้  
ก็ควรใช้วิธีการทางศาลยุติธรรมปกติ  จะเป็นการดีที่สุด

ทําไมผมถึงมีความเห็นเช่นนี้
ฟ้องศาลก็ใช่ว่าจะทําให้   รัฐเรียกเงินคืนได้เพิ่มขึ้น

แต่มันจะปลอดภัย   กับผู้บังคับบัญชา   หรือ    คณะกรรมการที่ตั้งขึ้นมา
เพราะเท่ากับผลักภาระทุกอย่างไปยังศาล

เหมือนตัวอย่าง    ที่ยกมาตอนต้น
พนักงานการไฟฟ้า   ทําเสาล้มไปทับบ้านชาวบ้าน    ถ้าสมมุติเกิดความเสียหายมากถึง 100 ล้านบาท
แล้วการไฟฟ้าไปเจรจาไก่ลเกลี่ย  โดยยินยอมจ่ายไปตามมูลค่าความเสียหาย คือ 100 ล้าน
แล้วหวังว่า    จะไปตั้งกรรมการสอบสวนฟ้องเพ่งทางละเมิด   เพื่อเรียกเงินคืนภายหลังจาก พนักงานที่ทําละเมิด

แต่ผลสุดท้าย  หากเรียกคืนมาจากผู้ทําละเมิด  ได้แค่ 3 แสน ( เป็นตัวเลขสมมุติ )

อย่างนี้   เข้าข่าย  การไฟฟ้า  หรือ คณะกรรมการที่ตั้งขึ้น   กระทําละเมิดต่อหน่วยงานรัฐเสียเองหรือไม่
แน่นอนว่าหากใช้กระบวนการทางศาลยุติธรรม  ก็ใช่ว่าจะสามารถเรียกคืนมาได้ทั้งหมด 100 ล้าน
หากผู้ทําละเมิด   ทั้งชีวิตมีอยู่ 3 แสน   ก็คงได้แค่ 3 แสน

แต่เมื่อเข้าสู่กระบวนการทางศาลยุติธรรม
มันเท่ากับเป็นเกราะป้องกัน    ผู้บังคับบัญชาของหน่วยงานรัฐนั้นๆ    ไม่ต้องมารับผิดชอบ
กับคดีความที่จะตามมา    ซึ่งอาจสุ่มเสียง     จะกลายเป็นผู้กระทําละเมิดเสียเองครับ

-----------------------
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่