อยากทราบว่า ทำไมหลังเปลี่ยนการปกครอง สยามถึงเปลี่ยนวิธีการประหารชีวิต จากวิธีการตัดศีรษะ มาเป็นการยิง โดยในปี พ.ศ. 2477/1934 ได้มีการแก้ไขประมวลกฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ.127 (2452/1909) ว่าด้วยการประหารชึวิตจากการ "ให้เอาไปตัดศีรษะเสีย" เป็น "ให้เอาไปยิงเสียให้ตาย"
ไม่ใช้วิธีอื่นๆ เพราะคณะราษฏรส่วนมากก็ได้รับการศึกษามาจากชาติตะวันตก ทำไมถึงไม่เลือกวิธีตามแบบตะวันตกในการประหารชีวิต
เช่น การแขวนคอแบบอังกฤษ หรือการใช้กิโยตินแบบฝรั่งเศส (อันหลังเป็นไปได้เพราะส่วนมากคณะราษฎรโดยเฉพาะสายพลเรือนได้รับการศึกษาจากฝรั่งเศส)
จขกท. เดาว่า สาเหตุที่เปลี่ยนมาใช้วิธียิงเพราะ
1.อาวุธปืนเป็นอุปกรณ์ที่หาได้ง่าย ถ้าเทียบกับวิธีอื่นๆอย่างกิโยตินที่ต้องเตรียมสถานที่มาก การแขวนคอลงทุนแค่เชือกก็จริงแต่ก็ต้องลงทุนสร้างแท่นประหาร (Gallow) อีก ซึ่งยุ่งยากกว่า ปืนดูเหมือนว่าจะง่ายที่สุด
2.หลังกบฏบวรเดช 2476/1933 คณะราษฎรสายทหารเริ่มเข้ามามีบทบาทแทนสายพลเรือน สายทหารจึงอาจเลือกวิธีที่มองว่า "เหมาะ" กับความเป็นทหาร มาใช้ในการประหารชีวิต ซึ่งนั่นก็คือการยิง
โดยนักโทษประหารชีวิตด้วยปืนคนแรกก็เป็นทหารเช่นกัน คือ สิบเอกสวัสดิ์ มหะหมัด หัวหน้าคณะกบฏนายสิบ ถูกประหารปี 2478/1935
ใครมีความเห็นหรือข้อมูลอย่างไรลองมาแชร์กันดู
เสริม: ในช่วงที่สยาม, ไทยได้ใช้วิธีการยิง (2478 - 2545/1935 - 2002) นั้น มีนักโทษถูกประหารชีวิตด้วยวิธีนี้ไป 319 ราย เป็นหญิง 3 รายในปี 2485/1942 (ฆาตกรรม) 2522/1979 (ฆาตกรรม) 2542/1999 (ยาเสพติด) โดยจำนวนนี้เป็นนักโทษที่ถูกประหารโดยเพชฌฆาตทางการ ไม่นับรวมผู้ที่ถูกยิงเป้าโดยทหารหรือตำรวจตามคำสั่งคณะปฏิวัติอีกหลายราย
การประหารด้วยการยิงนั้น เป็นการยิง (Shooting) ไม่ใช่การระดมยิง (Firing Squad) แบบที่หลายๆประเทศใช้ (ใกล้สุดในภูมิภาคเราคืออินโดนีเซีย ช่วงสองปีมานี่มีการประหารจำนวนมาก โดยเฉพาะคดียาเสพติด ตามนโยบายของ Jokowi ที่จะปราบปรามยาเสพติด เวียดนามเคยใช้วิธีนี้แต่เปลี่ยนมาเป็นฉีดยาในปี 2554/2011) เนื่องจากใช้เพชฌฆาตหนึ่งนาย ต่อนักโทษหนึ่งคน
ช่วงแรกไทยใช้ปืนกล เบิร์กมันน์ เอ็มเพ 18 (MP18.1) หรือที่ไทยเรียกว่า "ปืนแบล็คมัน" ที่ผลิตโดย Theodor Bergmann Abteilung Waffenbau
เป็นอาวุธที่ใช้ในการประหารชีวิต
ต่อมาในปี 2520/1977 ไทยได้เปลี่ยนปืนมาเป็น HKMP5 (Heckler & Koch MP5, MP5 ย่อมาจาก Maschinenpistole 5 แปลได้ว่า Submachine gun 5) (สังเกตดูว่าปืนประหารทั้งสองรุ่นนั้นทำในเยอรมนี ซึ่งข้อสันนิษฐานข้อที่สองน่าจะจริง เพราะคณะราษฎรสายทหารส่วนใหญ่ก็สำเร็จการศึกษาจากเยอรมนีเช่นกัน) ใช้กระสุนขนาด 9 มม.พาราเบลลั่มชนิดหัวแข็ง ติดท่อเก็บเสียง และใช้มาจนปี 2545/2002
ในช่วงแรกจะประหารชีวิตในช่วงเช้ามืด ก่อน 07.00 น. ต่อมาปี 2505/1962 เปลี่ยนมาเป็นช่วงเย็นแทน
ไทยเปลี่ยนวิธีการประหารมาเป็นฉีดยา (Lethal Injection) ในปี 2546/2003 มีการใช้ครั้งแรกในปีนั้น กับนักโทษคดียาเสพติด 4 ราย ฆาตกรรม 1 ราย จากนั้นประหารอีกครั้งปี 2552/2009 คดียาเสพติด 2 ราย เป็นการประหารชีวิตครั้งล่าสุดของไทยจนปัจจุบัน (2559/2016)
ในบางประเทศเช่นอียิปต์วิธีการประหารชีวิตจะแยกกันระหว่างทหารกับพลเรือน ถ้าเป็นทหารจะเป็นการระดมยิง ถ้าเป็นพลเรือนจะใช้วิธีแขวนคอ
ทำไมหลังเปลี่ยนการปกครอง สยามจึงเปลี่ยนวิธีการประหารมาเป็นยิงเป้า ไม่ใช้วิธีอื่นๆ
ไม่ใช้วิธีอื่นๆ เพราะคณะราษฏรส่วนมากก็ได้รับการศึกษามาจากชาติตะวันตก ทำไมถึงไม่เลือกวิธีตามแบบตะวันตกในการประหารชีวิต
เช่น การแขวนคอแบบอังกฤษ หรือการใช้กิโยตินแบบฝรั่งเศส (อันหลังเป็นไปได้เพราะส่วนมากคณะราษฎรโดยเฉพาะสายพลเรือนได้รับการศึกษาจากฝรั่งเศส)
จขกท. เดาว่า สาเหตุที่เปลี่ยนมาใช้วิธียิงเพราะ
1.อาวุธปืนเป็นอุปกรณ์ที่หาได้ง่าย ถ้าเทียบกับวิธีอื่นๆอย่างกิโยตินที่ต้องเตรียมสถานที่มาก การแขวนคอลงทุนแค่เชือกก็จริงแต่ก็ต้องลงทุนสร้างแท่นประหาร (Gallow) อีก ซึ่งยุ่งยากกว่า ปืนดูเหมือนว่าจะง่ายที่สุด
2.หลังกบฏบวรเดช 2476/1933 คณะราษฎรสายทหารเริ่มเข้ามามีบทบาทแทนสายพลเรือน สายทหารจึงอาจเลือกวิธีที่มองว่า "เหมาะ" กับความเป็นทหาร มาใช้ในการประหารชีวิต ซึ่งนั่นก็คือการยิง
โดยนักโทษประหารชีวิตด้วยปืนคนแรกก็เป็นทหารเช่นกัน คือ สิบเอกสวัสดิ์ มหะหมัด หัวหน้าคณะกบฏนายสิบ ถูกประหารปี 2478/1935
ใครมีความเห็นหรือข้อมูลอย่างไรลองมาแชร์กันดู
เสริม: ในช่วงที่สยาม, ไทยได้ใช้วิธีการยิง (2478 - 2545/1935 - 2002) นั้น มีนักโทษถูกประหารชีวิตด้วยวิธีนี้ไป 319 ราย เป็นหญิง 3 รายในปี 2485/1942 (ฆาตกรรม) 2522/1979 (ฆาตกรรม) 2542/1999 (ยาเสพติด) โดยจำนวนนี้เป็นนักโทษที่ถูกประหารโดยเพชฌฆาตทางการ ไม่นับรวมผู้ที่ถูกยิงเป้าโดยทหารหรือตำรวจตามคำสั่งคณะปฏิวัติอีกหลายราย
การประหารด้วยการยิงนั้น เป็นการยิง (Shooting) ไม่ใช่การระดมยิง (Firing Squad) แบบที่หลายๆประเทศใช้ (ใกล้สุดในภูมิภาคเราคืออินโดนีเซีย ช่วงสองปีมานี่มีการประหารจำนวนมาก โดยเฉพาะคดียาเสพติด ตามนโยบายของ Jokowi ที่จะปราบปรามยาเสพติด เวียดนามเคยใช้วิธีนี้แต่เปลี่ยนมาเป็นฉีดยาในปี 2554/2011) เนื่องจากใช้เพชฌฆาตหนึ่งนาย ต่อนักโทษหนึ่งคน
ช่วงแรกไทยใช้ปืนกล เบิร์กมันน์ เอ็มเพ 18 (MP18.1) หรือที่ไทยเรียกว่า "ปืนแบล็คมัน" ที่ผลิตโดย Theodor Bergmann Abteilung Waffenbau
เป็นอาวุธที่ใช้ในการประหารชีวิต
ต่อมาในปี 2520/1977 ไทยได้เปลี่ยนปืนมาเป็น HKMP5 (Heckler & Koch MP5, MP5 ย่อมาจาก Maschinenpistole 5 แปลได้ว่า Submachine gun 5) (สังเกตดูว่าปืนประหารทั้งสองรุ่นนั้นทำในเยอรมนี ซึ่งข้อสันนิษฐานข้อที่สองน่าจะจริง เพราะคณะราษฎรสายทหารส่วนใหญ่ก็สำเร็จการศึกษาจากเยอรมนีเช่นกัน) ใช้กระสุนขนาด 9 มม.พาราเบลลั่มชนิดหัวแข็ง ติดท่อเก็บเสียง และใช้มาจนปี 2545/2002
ในช่วงแรกจะประหารชีวิตในช่วงเช้ามืด ก่อน 07.00 น. ต่อมาปี 2505/1962 เปลี่ยนมาเป็นช่วงเย็นแทน
ไทยเปลี่ยนวิธีการประหารมาเป็นฉีดยา (Lethal Injection) ในปี 2546/2003 มีการใช้ครั้งแรกในปีนั้น กับนักโทษคดียาเสพติด 4 ราย ฆาตกรรม 1 ราย จากนั้นประหารอีกครั้งปี 2552/2009 คดียาเสพติด 2 ราย เป็นการประหารชีวิตครั้งล่าสุดของไทยจนปัจจุบัน (2559/2016)
ในบางประเทศเช่นอียิปต์วิธีการประหารชีวิตจะแยกกันระหว่างทหารกับพลเรือน ถ้าเป็นทหารจะเป็นการระดมยิง ถ้าเป็นพลเรือนจะใช้วิธีแขวนคอ