ฟ้องเรียก 10 ล้านบาท! ผู้เสียหาย คดี AIS ขโมยข้อมูล ยื่น สคบ. ร้องเยีวยา ขอค่าเยียวยา 10 ล้านบาท หลังโดนล้วงข้อมูลส่องพฤติกรรม ใช้งานมือถือ นานกว่า 3 เดือน ด้าน สคบ.เตรียมส่งหนังสือ แจ้ง AIS ใน 7 วันแจงกระบวนการ
เมื่อเวลาประมาณ 11 นาฬิกา นายชยพลปกรณ์ ศรัทธาณรงค์ ผู้เสียหาย กรณี ถูกพนง.AIS ขโมยข้อมูลส่วนตัว เดินทางมาพร้อม ภรรยา เข้าร้องเรียนที่ศูนย์รับเรื่องร้องเรียน สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ที่อาคารศูนย์ราชการ แจ้งวัฒนะ กรณีถูก บ.AIS ละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล โดยพบข้อมูลโดนตามส่องพิกัดและพฤติกรรมใช้งานมือถือ นานกว่า 3 เดือน เรียกร้องค่าเสียหาย จากการที่ บริษัทเอาข้อมูลไปเปิด ซึ่งการยื่นเรื่องครั้งนี้ เจ้าหน้าที่ระบุว่า นายชยพลปกรณ์ ขอเรียกร้องค่าเสียหาย จากกรณีที่บริษัท AIS นำข้อมูลส่วนตัวไปเปิดเผย และขอให้เยียวยา ความเสียหาย 10ล้านบาท
นายชยพลปกรณ์ ระบุว่า การยื่นสคบ. วันนี้ เพื่อเรียกร้องค่าเสียหาย หลังจากได้ยื่นเรื่องร้องเรียนกับ สำนักงาน กสทช. เมื่อวันที่ 16 และ 19 กันยายน 2559 แต่เนื่องจาก กสทช. แจ้งว่า ได้ กสทช มีหน้าที่กำกับดูแลค่ายมือถือ หรือ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมเท่านั้น ไม่ได้มีหน้าที่ดูแลผู้ใช้บริการ จึงมาที่สคบ.แทน เพื่อขอให้ บ.AIS รับผิดชอบ และชดใช้ความเสียหาย โดยขอให้เป็นเรื่อง ที่สคบ. ดำเนินการ
"ที่ผ่านมา หลังจาก ยื่นเรื่องร้องเรียนไป ที่ กสทช. ก็ยังไม่มีการติดต่อกลับมาจากทาง บ.AIS อีก แม้กระทั่งการถามไถ่สารทุกข์สุกดิบกันบ้างก็ดี ไม่ใช่ทื้ง ปล่อยให้เราเป็นใครก็ไม่รู้ที่มาเรียกร้องความเป็นให้กับตัวเอง"
ทั้งจากข้อมูลที่ได้รับมา นายชยพลปกรณ์ ให้ความเห็นว่า หลังจากร้องเรียนเรื่องข้อมูลถูกขโมย มีหลายสิ่งเกิดขึ้น ที่ทำให้ไม่สามารถดำเนินชีวิตได้ตามปกติ แม้ AIS จะยินยอมจ่ายค่าโทรศัพท์ตลอดไปเพื่อชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้น ก็เป็นสิ่งที่ไม่ต้องการ
"สิ่งที่เกิดขึ้น ผมผิดหวังมากว่า บริษัทใหญ่ขนาดนี้ มีการแก้ปัญหาที่ไม่คิดว่าจะเป็นแบบนี้ ทุกวันนี้ ผมและครอบครัว ต้องใช้ชีวิตอย่างระวัง หวาดกลัว การออกจากบ้านต้องมีคนมาด้วยเป็นเพื่อน ต้องคิดให้รอบคอบ การทำงานหยุดชะงัก ชีวิตไม่ปลอดภัย กระทบทั้งครอบครัว ส่วนการแจ้งความ จะรอความชัดเจนของการตรวจสอบของ กสทช. ก่อน
ซึ่งมาตรการไล่พนักงานออกไปนั้น เป็นแค่การแก้ปัญหาภายในของบริษัทเท่านั้น แต่ยังไม่ใช่การรับผิดชอบต่อผม และ ผู้ใช้บริการ"
ส่วนด้านคดี ที่ บ.AIS แจ้งความเอาผิดพนักงานนั้น เวลา 13:30น. วันนี้จะเข้าให้ข้อมูล ที่ สน.บางซื่อ
สำหรับภายหลังการยื่นร้องเรียน นายพิฆเนศ ต๊ะปวง รองเลขาธิกร คณะกรรมกาคุ้มครองผู้บริโภค เปิดเผยว่า ตามกระบวนการต้องผ่าน คณะกรรมการไกล่เกลี่ย โดย จะทำหนังสือถึง บริษัท AIS ผู้ร้องภายใน 7 วัน เพื่อให้เดินทางมาชี้แจงในกระบวนการไกล่เกลี่ยเพื่อชดเชยค่าเสียหาย ซึ่ง สคบ. สามารถ ดำเนินการ หากสามารถตกลงกันได้ในชั้นของการไกล่เกลี่ย ก็ไม่มีปัญหา
ทั้งนี้ การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล มีประกาศที่เกี่ยวกับกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลเรียกกว่า "ประกาศคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ" พ.ศ.2544 เรื่องมาตรการคุ้มครองสิทธิของผู้ใช้บริการโทรคมนาคมเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล สิทธิในความเป็นส่วนตัว และเสรีภาพในการสื่อสารถึงกันโดยทางโทรคมนาคม
โดยการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลซึ่งเป็นเรื่องระหว่างค่ายมือถือ กับผู้ใช้บริการ ทาง สำนักงาน กสทช. สามารถใช้ประกาศฉบับดังกล่าว ดำเนินการตรวจสอบได้ มีมาตราการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลเฉพาะในกิจการโทรคมนาคมไว้ ซึ่งมีมาตรการตั้งแต่การร้องเรียนโดยผู้ใช้บริการที่คิดว่าถูกล้วงข้อมูลส่วนตัวเรื่องการใช้โทรศัพท์, การกำหนดหน้าที่ของค่ายมือถือที่ได้รับใบอนุญาต มีหน้าที่ในการกำกับดูแล รักษาข้อมูลทั้งหมด
เรื่องสิทธิของผู้ให้บริการ และมาตราการควบคุมบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นพนักงาน หรือ ใครก็ตามที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้บริการ ตามข้อ 18 วรรคสอง กำหนดให้ผู้รับใบอนุญาตจะต้องมีส่วนร่วมผูกพันกับพนักงาน หรือ ใครก็ตามที่รักษาข้อมูลของผู้ใช้บริการ
แม้จะมอบหมายให้พนักงานหรือคนอื่นดูแล แต่บริษัทเอไอเอส ก็ไม่พ้นความรับผิดชอบเรื่องนี้ด้วย ซึ่งต้องรอดูกระบวนการสอบสวนของ กสทช.
ที่มา
https://www.facebook.com/phattraporn.tpbs/posts/1241746315846493
ฟ้องเรียก 10 ล้านบาท! ผู้เสียหาย คดี AIS ขโมยข้อมูล ยื่น สคบ. ร้องเยีวยา ขอค่าเยียวยา 10 ล้านบาท
ฟ้องเรียก 10 ล้านบาท! ผู้เสียหาย คดี AIS ขโมยข้อมูล ยื่น สคบ. ร้องเยีวยา ขอค่าเยียวยา 10 ล้านบาท หลังโดนล้วงข้อมูลส่องพฤติกรรม ใช้งานมือถือ นานกว่า 3 เดือน ด้าน สคบ.เตรียมส่งหนังสือ แจ้ง AIS ใน 7 วันแจงกระบวนการ
เมื่อเวลาประมาณ 11 นาฬิกา นายชยพลปกรณ์ ศรัทธาณรงค์ ผู้เสียหาย กรณี ถูกพนง.AIS ขโมยข้อมูลส่วนตัว เดินทางมาพร้อม ภรรยา เข้าร้องเรียนที่ศูนย์รับเรื่องร้องเรียน สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ที่อาคารศูนย์ราชการ แจ้งวัฒนะ กรณีถูก บ.AIS ละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล โดยพบข้อมูลโดนตามส่องพิกัดและพฤติกรรมใช้งานมือถือ นานกว่า 3 เดือน เรียกร้องค่าเสียหาย จากการที่ บริษัทเอาข้อมูลไปเปิด ซึ่งการยื่นเรื่องครั้งนี้ เจ้าหน้าที่ระบุว่า นายชยพลปกรณ์ ขอเรียกร้องค่าเสียหาย จากกรณีที่บริษัท AIS นำข้อมูลส่วนตัวไปเปิดเผย และขอให้เยียวยา ความเสียหาย 10ล้านบาท
นายชยพลปกรณ์ ระบุว่า การยื่นสคบ. วันนี้ เพื่อเรียกร้องค่าเสียหาย หลังจากได้ยื่นเรื่องร้องเรียนกับ สำนักงาน กสทช. เมื่อวันที่ 16 และ 19 กันยายน 2559 แต่เนื่องจาก กสทช. แจ้งว่า ได้ กสทช มีหน้าที่กำกับดูแลค่ายมือถือ หรือ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมเท่านั้น ไม่ได้มีหน้าที่ดูแลผู้ใช้บริการ จึงมาที่สคบ.แทน เพื่อขอให้ บ.AIS รับผิดชอบ และชดใช้ความเสียหาย โดยขอให้เป็นเรื่อง ที่สคบ. ดำเนินการ
"ที่ผ่านมา หลังจาก ยื่นเรื่องร้องเรียนไป ที่ กสทช. ก็ยังไม่มีการติดต่อกลับมาจากทาง บ.AIS อีก แม้กระทั่งการถามไถ่สารทุกข์สุกดิบกันบ้างก็ดี ไม่ใช่ทื้ง ปล่อยให้เราเป็นใครก็ไม่รู้ที่มาเรียกร้องความเป็นให้กับตัวเอง"
ทั้งจากข้อมูลที่ได้รับมา นายชยพลปกรณ์ ให้ความเห็นว่า หลังจากร้องเรียนเรื่องข้อมูลถูกขโมย มีหลายสิ่งเกิดขึ้น ที่ทำให้ไม่สามารถดำเนินชีวิตได้ตามปกติ แม้ AIS จะยินยอมจ่ายค่าโทรศัพท์ตลอดไปเพื่อชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้น ก็เป็นสิ่งที่ไม่ต้องการ
"สิ่งที่เกิดขึ้น ผมผิดหวังมากว่า บริษัทใหญ่ขนาดนี้ มีการแก้ปัญหาที่ไม่คิดว่าจะเป็นแบบนี้ ทุกวันนี้ ผมและครอบครัว ต้องใช้ชีวิตอย่างระวัง หวาดกลัว การออกจากบ้านต้องมีคนมาด้วยเป็นเพื่อน ต้องคิดให้รอบคอบ การทำงานหยุดชะงัก ชีวิตไม่ปลอดภัย กระทบทั้งครอบครัว ส่วนการแจ้งความ จะรอความชัดเจนของการตรวจสอบของ กสทช. ก่อน
ซึ่งมาตรการไล่พนักงานออกไปนั้น เป็นแค่การแก้ปัญหาภายในของบริษัทเท่านั้น แต่ยังไม่ใช่การรับผิดชอบต่อผม และ ผู้ใช้บริการ"
ส่วนด้านคดี ที่ บ.AIS แจ้งความเอาผิดพนักงานนั้น เวลา 13:30น. วันนี้จะเข้าให้ข้อมูล ที่ สน.บางซื่อ
สำหรับภายหลังการยื่นร้องเรียน นายพิฆเนศ ต๊ะปวง รองเลขาธิกร คณะกรรมกาคุ้มครองผู้บริโภค เปิดเผยว่า ตามกระบวนการต้องผ่าน คณะกรรมการไกล่เกลี่ย โดย จะทำหนังสือถึง บริษัท AIS ผู้ร้องภายใน 7 วัน เพื่อให้เดินทางมาชี้แจงในกระบวนการไกล่เกลี่ยเพื่อชดเชยค่าเสียหาย ซึ่ง สคบ. สามารถ ดำเนินการ หากสามารถตกลงกันได้ในชั้นของการไกล่เกลี่ย ก็ไม่มีปัญหา
ทั้งนี้ การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล มีประกาศที่เกี่ยวกับกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลเรียกกว่า "ประกาศคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ" พ.ศ.2544 เรื่องมาตรการคุ้มครองสิทธิของผู้ใช้บริการโทรคมนาคมเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล สิทธิในความเป็นส่วนตัว และเสรีภาพในการสื่อสารถึงกันโดยทางโทรคมนาคม
โดยการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลซึ่งเป็นเรื่องระหว่างค่ายมือถือ กับผู้ใช้บริการ ทาง สำนักงาน กสทช. สามารถใช้ประกาศฉบับดังกล่าว ดำเนินการตรวจสอบได้ มีมาตราการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลเฉพาะในกิจการโทรคมนาคมไว้ ซึ่งมีมาตรการตั้งแต่การร้องเรียนโดยผู้ใช้บริการที่คิดว่าถูกล้วงข้อมูลส่วนตัวเรื่องการใช้โทรศัพท์, การกำหนดหน้าที่ของค่ายมือถือที่ได้รับใบอนุญาต มีหน้าที่ในการกำกับดูแล รักษาข้อมูลทั้งหมด
เรื่องสิทธิของผู้ให้บริการ และมาตราการควบคุมบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นพนักงาน หรือ ใครก็ตามที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้บริการ ตามข้อ 18 วรรคสอง กำหนดให้ผู้รับใบอนุญาตจะต้องมีส่วนร่วมผูกพันกับพนักงาน หรือ ใครก็ตามที่รักษาข้อมูลของผู้ใช้บริการ
แม้จะมอบหมายให้พนักงานหรือคนอื่นดูแล แต่บริษัทเอไอเอส ก็ไม่พ้นความรับผิดชอบเรื่องนี้ด้วย ซึ่งต้องรอดูกระบวนการสอบสวนของ กสทช.
ที่มา https://www.facebook.com/phattraporn.tpbs/posts/1241746315846493