สิ่งที่ผมเป็นเขาเรียกว่า โรคแพนิค หรือปล่าวครับ??

สิ่งที่ผมเป็นมันค่อนข้างมีผลกระทบกับการใช้ชีวิตในประจำวันค่อนข้างพอสมควร รายละเอียดของอาการประมาณนี้ครับ
1. บางครั้งรู้สึกว่าตัวเองกลัวตายขึ้นมาดื้อๆ มือจะเย็นไปหมด กลัวหัวใจหยุดเต้น กลัวการดับสูญ และจะหายใจไม่ทั่วท้อง
2. เวลารู้สึกตื่นเต้น ตกใจ ใจจะเต้นเต้นแรง มือเท้าเย็น แล้วรู้สึกใจหวิวๆ อยากจะเป็นลม
3. เวลาเจอข่าวคนตาย หรือ ไปงานศพ บางครั้งจะรู้สึกหายใจไม่ทั่วท้อง กลัวว่าตัวเองจะตายเช่นกัน
4. ช่วงเวลาที่เป็นบ่อยมากที่สุดคือ จะนอนตอนกลางคืน ถ้ากำลังเล่นโทรศัพท์หรือทำอะไรก็แล้วแต่จะรู้สึกปกติไม่มีอะไร (เหมือนเราสนใจเรื่องที่กำลังทำในขณะนั้นมากกว่า) แต่ถ้าเลิกเล่นแล้วจะนอน ความพะวง ความกังวนจะเกิดทันที พะวงเกี่ยวกับการหายใจ ยิ่งพะวงยิ่งเหมือนหายใจไม่ทั่วท้อง กลัวนอนไปแล้วตาย ไม่ฟื้น ตายแล้วจะเจออะไรหลังความตาย
5. บางทีนั่งอยู่เฉยๆ อาการมันก็เกิดขึ้นเอง หายใจไม่ทั่วท้อง เหนื่อย ตระหนก  มันยิ่งทำให้เรากลัวตาย พะวง พอยิ่งกลัวยิ่งพะวงอาการก็จะยิ่งหนัก ปล่อยไว้สัก 15-30 นาที มันก็จะหายเอง
6. ยิ่งเวลาเจอข่าวว่า คนหัวใจวายตาย วายเฉียบพลัน บางคนยังหนุ่ม แข็งแรง เราก็ยิ่งกลัวว่า วันหนึ่งเราจะเป็นเหมือนเขาไหม อยู่ๆหัวใจจะหยุดเต้นไหม ล่าสุดมีคนไกล้ตัว ยังหนุ่ม แข็งแรง ไปวิ่งออกกำลังกายและฟุบล้มไปและเสียชีวิต หมอบอกหัวใจล้มเหลว ยิ่งทำให้กลัวการวิ่งออกกำลังกายว่าถ้าวิ่งแล้ว หัวใจทำงานหนัก กลัวมันล้มเหลว กลัวไปหมดทุกอย่าง!!!

** เรารู้ว่าถ้าทำใจให้สบายมันจะหายเอง อย่างที่เขาบอก ใจเป็นนาย ตัวเป็นบ่าว แต่พอมันเป็น มันจะอดคิดไม้ได้ ไม่รู้จะทำยังไงดีครับ
** เวลาเป็นหรืออาการกำเริบ จะพยายามหารัยทำ หรือ เล่น โทรศัพท์เพื่อให้มันลืม มันก็ได้ผลครับ แต่ถ้ามันจะไม่เป็นจะดีกว่า
** เหมือนครั้งก่อน ผมไปดูบอลที่สนามราชมังฯ ตอนไทยพบกับญี่ปุ่น ดูไปได้สักพัก อาการกำเริบ หายใจไม่ทั่วท้อง เหมือนจะเป็นลม ต้องดมยาดม และเดินออกมานั่งตรงบันใดทางเข้าสนาม กลัวตาย กลัวว่าถ้าเป็นรัยไปจะไป รพ ทันไหม พะวงไปหมดทุกอย่าง กลัวทุกสิ่งอย่าง... เลยพยามหายใจเข้าลึกๆ สักพักถึงหาย
** บางครั้งก็สับสนว่าสรุป เราเป็น แพนิค ความดัน โรคหัวใจ หรืออะไรกันแน่ เพราะโรคสามโรคนี้มันค่อนข้างมีอาการไกล้เคียงกัน เคยไปตรวจแต่ก็ปกติดี

  ขอคำปรึกษาด้วยนะครับ  พาพันขอบคุณ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่