พอดีได้ทราบมาว่าหน่วยงานของรัฐหลายแห่งมีการจ้างงานในรูปแบบของ "จ้างเหมาบริการ" ในรูปแบบของรายบุคคล
เป็นลักษณะ สัญญาจ้าง ค่าจ้าง เดือนละเท่าไหร่ ก็แล้วแต่หน่วยงานผู้ว่าจ้างเป็นผู้กำหนด
เช่น เดือนละ 15,000 บาท 19,000 บาท เป็นต้น
ซึ่งหากมีการลาหยุด หรือ ขาดงาน ไม่ว่าลักษณะใดก็ตาม ก็จะมีการหักเงินว่าจ้างเป็นรายวัน เช่น วันละ 500 บาท หรือ อัตราวันละ 0.10 ของอัตราค่าจ้าง
โดย การคัดสรรค์ผู้รับจ้างเป็นรูปแบบการสอบ / สอบและสัมภาษณ์ คุณสมบัติผู้สมัครเหมือนกับผู้สมัครสอบงานราชการทั่วไปโดยทั่วไป และเป็นวุฒิปริญญาตรี หรือ สูงกว่า
ซึ่งงานลักษณะแบบนี้ในรูปแบบของงานเอกชนจะเรียกว่า Outsource (ตัวเจ้าของกระทู้เองก็ทำอาชีพนี้) แต่จะแตกต่างกันตรงที่ว่า ผู้รับจ้างจะสังกัดบริษัท และบริษัทนั้นจะส่งผู้รับจ้างไปทำงานให้กับบริษัทลูกค้า เช่น
นายเอก เป็นพนักงานของบริษัท A
บริษัท B เป็นผู้ว่าจ้างบริษัท A ให้ทำงานให้
บรัษัท A ได้ให้นายเอก ไปทำงานที่บริษัท B แบบนี้เป็นต้น
โดย สามารถแบ่งย่อย ได้อีก 2 รูปแบบ คือ
1. นายเอกเป็นพนักงานประจำของบริษัท A (มีสวัสดิการของบริษัทโดยทั่วไป)
และ
2. นายเอกเป็นพนักงานสัญญาจ้างของบริษัท A (รายได้สูงกว่าแบบแรก แต่แลกกับการที่ไม่มีสวัสดิการพิเศษ รายละเอียดก็แล้วแต่ตกลง บางคนอาจจะได้วันลาหยุดโดยไม่หักเงินมาเดือนละ 1 วัน แต่บางคนอาจไม่ได้เลย แต่โดยปกติจะมีประกันสังคมให้แน่นอน )
กลับมาที่รูปแบบหน่วยงานของรัฐที่กล่าวข้างต้นก็ จะเหมือนรูปแบบที่ 2 ของงานเอกชน แต่แตกต่างกันที่ ค่าตอบแทนต่ำ (15,000 ลาป่วยยังจะหักอีกเหรอ ประกันสังคมก็ไม่มีให้ บางทีเงินค่าจ้างเข้ามีหักค่าโอนอีก ) และ ผู้รับจ้างไม่มีสิทธิ์ที่จะต่อรองใดๆกับหน่วยงานของรัฐ
อยากขอความเห็นว่า การจ้างงานแบบนี้จากหน่วยงานของรัฐเอาเปรียบประชาชนหรือเปล่า สัญญาที่ได้รับเป็นธรรมหรือไม่ ถ้าไม่เป็นธรรมแล้วขนาดหน่วยงานของรัฐยังเอาเปรียบประชาชนแล้วประชาชนยังจะหวังพึ่งใครได้อีกเหรอ ?!?!?
ปล. ด่าได้แต่อย่าแรง
#หน่วยงานของรัฐ #จ้างงาน #จ้างเหมา #สัญญาจ้าง #รับจ้าง #รัฐ #รัฐบาล #ว่าจ้าง #ค่าแรง #สวัสดิการ
สัญญาจ้างเหมาบริการเป็นรายบุคคล ที่ผู้ว่าจ้างเป็นหน่วยงานของรัฐ เป็นธรรมกับผู้รับจ้างหรือเปล่า ?!
เป็นลักษณะ สัญญาจ้าง ค่าจ้าง เดือนละเท่าไหร่ ก็แล้วแต่หน่วยงานผู้ว่าจ้างเป็นผู้กำหนด
เช่น เดือนละ 15,000 บาท 19,000 บาท เป็นต้น
ซึ่งหากมีการลาหยุด หรือ ขาดงาน ไม่ว่าลักษณะใดก็ตาม ก็จะมีการหักเงินว่าจ้างเป็นรายวัน เช่น วันละ 500 บาท หรือ อัตราวันละ 0.10 ของอัตราค่าจ้าง
โดย การคัดสรรค์ผู้รับจ้างเป็นรูปแบบการสอบ / สอบและสัมภาษณ์ คุณสมบัติผู้สมัครเหมือนกับผู้สมัครสอบงานราชการทั่วไปโดยทั่วไป และเป็นวุฒิปริญญาตรี หรือ สูงกว่า
ซึ่งงานลักษณะแบบนี้ในรูปแบบของงานเอกชนจะเรียกว่า Outsource (ตัวเจ้าของกระทู้เองก็ทำอาชีพนี้) แต่จะแตกต่างกันตรงที่ว่า ผู้รับจ้างจะสังกัดบริษัท และบริษัทนั้นจะส่งผู้รับจ้างไปทำงานให้กับบริษัทลูกค้า เช่น
นายเอก เป็นพนักงานของบริษัท A
บริษัท B เป็นผู้ว่าจ้างบริษัท A ให้ทำงานให้
บรัษัท A ได้ให้นายเอก ไปทำงานที่บริษัท B แบบนี้เป็นต้น
โดย สามารถแบ่งย่อย ได้อีก 2 รูปแบบ คือ
1. นายเอกเป็นพนักงานประจำของบริษัท A (มีสวัสดิการของบริษัทโดยทั่วไป)
และ
2. นายเอกเป็นพนักงานสัญญาจ้างของบริษัท A (รายได้สูงกว่าแบบแรก แต่แลกกับการที่ไม่มีสวัสดิการพิเศษ รายละเอียดก็แล้วแต่ตกลง บางคนอาจจะได้วันลาหยุดโดยไม่หักเงินมาเดือนละ 1 วัน แต่บางคนอาจไม่ได้เลย แต่โดยปกติจะมีประกันสังคมให้แน่นอน )
กลับมาที่รูปแบบหน่วยงานของรัฐที่กล่าวข้างต้นก็ จะเหมือนรูปแบบที่ 2 ของงานเอกชน แต่แตกต่างกันที่ ค่าตอบแทนต่ำ (15,000 ลาป่วยยังจะหักอีกเหรอ ประกันสังคมก็ไม่มีให้ บางทีเงินค่าจ้างเข้ามีหักค่าโอนอีก ) และ ผู้รับจ้างไม่มีสิทธิ์ที่จะต่อรองใดๆกับหน่วยงานของรัฐ
อยากขอความเห็นว่า การจ้างงานแบบนี้จากหน่วยงานของรัฐเอาเปรียบประชาชนหรือเปล่า สัญญาที่ได้รับเป็นธรรมหรือไม่ ถ้าไม่เป็นธรรมแล้วขนาดหน่วยงานของรัฐยังเอาเปรียบประชาชนแล้วประชาชนยังจะหวังพึ่งใครได้อีกเหรอ ?!?!?
ปล. ด่าได้แต่อย่าแรง
#หน่วยงานของรัฐ #จ้างงาน #จ้างเหมา #สัญญาจ้าง #รับจ้าง #รัฐ #รัฐบาล #ว่าจ้าง #ค่าแรง #สวัสดิการ