เนื่องจากมีความคลาดเคลื่อน สับสนในเรื่องเหล่านี้มาก
จนเกิดการกล่าวตู่แบบตีขลุมเหมาเข่งว่า ความเห็นของตนคือ วัฒนธรรมไทย
ซึ่งเป็นการพูดที่ไร้ที่มาที่ไป และขาดข้อมูลทางประวัติศาสตร์ โบราณคดี เชิงวิชาการ
ทำให้เกิดอคติ และสร้างภาพลบ ให้กับนาฏศิลป์ไทยได้
สมัยกรุงศรีอยุธยา ละครไทยเริ่มจัดระเบียบแบบแผนให้รัดกุมยิ่งขึ้น
มีการตั้งชื่อละครที่เคยเล่นกันอยู่ ให้เป็นไปตามหลักวิชานาฏศิลปขึ้น
มีการแสดงเกิดขึ้นในสมัยนี้หลายอย่าง เช่น ละครชาตรี ละครนอก ละครใน โขน
การแสดงบางอย่างรับวัฒนธรรมเพื่อนบ้าน และวัฒนธรรมต่างชาติเข้ามาผสม
นาฏศิลป์ไทยได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมอินเดียเป็นเรื่องของเทพเจ้า
และตำนานการฟ้อนรำ โดยผ่านเข้าสู่ประเทศไทย ทั้งทางตรงและทางอ้อม คือ
ผ่านชนชาติชวาและเขมร ก่อนที่นำมาปรับปรุงให้เป็นรูปแบบตามเอกลักษณ์ของไทย
เกิดเป็นนาฏศิลป์ของไทยที่มีแบบแผนการเรียน การฝึกหัด จารีต ขนบธรรมเนียม มาจนถึงปัจจุบัน
อย่างไรก็ตาม บรรดาผู้เชี่ยวชาญที่ศึกษาทางด้านนาฏศิลป์ไทย ได้สันนิษฐานว่า
อารยธรรมทางศิลปะด้านนาฎศิลป์ของอินเดียนี้ได้เผยแพร่เข้ามาสู่ประเทศไทยตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา
ตามประวัติการสร้างเทวาลัยศิวะนาฎราชที่สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 1800
ซึ่งเป็นระยะที่ไทยเริ่มก่อตั้งกรุงสุโขทัย ดังนั้นที่รำไทยที่ดัดแปลงมาจากอินเดียในครั้งแรก
จึงเป็นความคิดของนักปราชญ์ในสมัยกรุงศรีอยุธยา และมีการแก้ไข ปรับปรุงมาจนถึงปัจจุบัน
รามเกียรติ์ ของไทยนั้น มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา
ในสมัยกรุงธนบุรี สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ได้ทรงพระราชนิพนธ์สำหรับให้ละครหลวงเล่น
ปัจจุบันมีอยู่ไม่ครบ
ต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์รัชกาลที่ 1 ได้ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นเพื่อรวบรวมเรื่องรามเกียรติ์
ซึ่งมีมาแต่เดิมให้ครบถ้วน สมบูรณ์ตั้งแต่ต้นจนจบ
รามเกียรติ์ฉบับต่างๆของไทย
วรรณคดีรามเกียรติ์ที่ปรากฏในภาษาไทย มีหลักฐานเก่าที่สุด คือ
ราวกลางสมัยกรุงศรีอยุธยา
และมีฉบับอื่นๆ เรื่อยมาจวบจนปัจจุบัน โดยมีรายการดังนี้
รามเกียรติ์คำฉันท์ รามเกียรติ์สำนวนนี้มีกล่าวไว้ในหนังสือจินดามณีของพระโหราธิบดี
ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เข้าใจว่าพระโหราธิบดีคงจะหยิบยกมาจากคำพากย์ของเก่า
ที่แต่งไว้สำหรับเล่นโขนหรือเล่นหนัง ซึ่งแต่งไว้เป็นเรื่องราวแต่ได้สูญหายไปแล้ว
คงเหลือที่นำมาเป็นตัวอย่างในหนังสือจินดามณี ๓-๔ บทเท่านั้น
รามเกียรติ์คำพากย์ รามเกียรติ์สำนวนนี้หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร ได้แบ่งตีพิมพ์ไว้เป็นภาค
โดยมีเนื้อเรื่องติดต่อกันไปตั้งแต่ภาค ๒ ตอน
สีดาหาย ไปจนถึงภาค ๙ ตอน
กุมภกรรณล้ม
เข้าใจว่าคำพากย์เหล่านี้แต่เดิมใช้เล่นหนัง ต่อมาภายหลังได้มีผู้นำมาใช้เล่นโขนด้วย
แต่งในราวรัชสมัยพระเพทราชา ถึงพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ
รามเกียรติ์บทละคร ความครั้งกรุงเก่า เนื้อความตั้งแต่
พระรามประชุมพล จนถึง
องคตสื่อสาร
บทละครนี้ไม่เคยตีพิมพ์ออกเผยแพร่ เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับรามเกียรติ์บทละครในรัชกาลที่๑
จะเห็นว่ามีเนื้อความไม่ตรงกันในบางแห่งบางตอน และถ้อยคำในบทละครดูแตกต่าง
น่าจะเป็นฉบับสำหรับเล่นละครของ
คณะเชลยศักดิ์(ละครชาวบ้าน) ในสมัยปลายกรุงศรีอยุธยา
รามเกียรติ์สมัยกรุงธนบุรี
พระราชนิพนธ์ใน สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี
รามเกียรติ์ของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีนั้นมีระยะเวลาในการแต่งเพียง 2 เดือนเท่านั้น
เป็นกลอนบทละคร มีเพียง 4 ตอน โดยทรงพระราชนิพนธ์ไม่เรียงตามลำดับเรื่อง คือ
พระมงกุฎประลองศร
หนุมานเกี้ยวนางวานริน
ท้าวมาลีวราชว่าความ
ทศกัณฐ์ตั้งพิธีทรายกรด
รามเกียรติ์สมัยกรุงรัตนโกสินทร์
๑. บทละครรามเกียรติ์ในรัชกาลที่ ๑ ทรงมีพระราชประสงค์จะรวบรวมเรื่องรามเกียรติ์
ที่กระจัดกระจายให้รวมเป็นเรื่องเดียวกัน จึงมีพระบรมราชโองการให้ประชุมบทละครเรื่องรามเกียรติ์
พระราชนิพนธ์เรื่องรามเกียรติ์ในรัชกาลที่๑ มีเรื่องราวยืดยาวติดต่อกันไป
นับเป็นวรรณคดีไทยเรื่องเดียวที่ยาวที่สุดในวรรณกรรมไทย เพราะต้องเขียนในสมุดไทยถึง ๑๑๗ เล่มสมุดไทย
๒. บทละครรามเกียรติ์ในรัชกาลที่๒ ทรงเห็นว่าบทพระราชนิพนธ์เรื่องรามเกียรติ์ในรัชกาลที่๑
เยิ่นเย้อเกินไป ไม่เหมาะสำหรับนำมาเล่นโขน
พระองค์จึงทรงคัดเลือกเอาเรื่องรามเกียรติ์บางตอน คือ ตั้งแต่หนุมานถวายแหวน ไปจนถึงทศกัณฐ์ล้ม
มาแต่งขึ้นใหม่สำหรับเล่นโขนหลวง เป็นหนังสือ ๓๖ เล่มสมุดไทย
๓. บทละครรามเกียรติ์ในรัชกาลที่๔ ทรงพระราชนิพนธ์บทละครเรื่องรามเกียรติ์ขึ้นอีกสำนวนหนึ่ง คือ
ตอน พระรามเดินดง เป็นหนังสือ๔ เล่มสมุดไทย
และทรงพระราชนิพนธ์เพิ่ม๒ ตอนแปลงบทละครเบิกโรงเรื่อง
นารายณ์ปราบนนทุก
พระรามเข้าสวนพระพิราพ
๔. บทร้อง และบทพากย์รามเกียรติ์ในรัชกาลที่๖ โดยทรงค้นคว้าศึกษาที่มาของเรื่องรามเกียรติ์
จากคัมภีร์รามายณะของฤาษีวาลมิกิ แล้วทรงพระราชนิพนธ์หนังสือ บ่อเกิดแห่งรามเกียรติ์ ขึ้น
และได้ทรงพระราชนิพนธ์บทร้อง และบทพากย์สำหรับเล่นโขนขึ้นอีก๖ ชุด คือ
ชุดสีดาหาย ชุดเผาลงกา ชุดพิเภกถูกขับ ชุดจองถนน ชุดประเดิมศึกลงกา และชุดนาคบาศ
จะเห็นได้ว่าการเขียนบทรามเกียรติ์ มีพัฒนาการต่อเนื่องตามยุคสมัยที่นำไปใช้ใน
นาฏศิลป์ พากย์หนัง ละครเชลยศักดิ์ หาได้ยึดติด แน่นิ่งอยู่กับที่ไม่ และปรับปรุงให้เนื้อหากระชับ
ทันใจผู้ชมเข้ากับยุคสมัย และเข้าถึงผู้ชมได้ทุกกลุ่มในสังคมแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา
จึงได้รับความนิยมมาโดยตลอด มากกว่าเรื่อง อิเหนา อุณรุท พระอภัยมณี ในสื่อต่างๆ
การแสดงโขน พระนคร ค.ศ.1900
โขน
โขนเป็นนาฏศิลป์ชั้นสูงอย่างหนึ่งของไทย มีกำเนิดมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๒๐
ในชั้นเดิมปรับปรุงจาก การเล่น ๓ ประเภท คือ
หนังใหญ่
ชักนาคดึกดำบรรพ์
กระบี่ กระบอง
ได้แก้ไขปรับปรุง ให้ประณีตขึ้น ตามลำดับ
หัวโขน นาง
แต่เดิมนั้นผู้แสดงโขนทุกคนจะต้องสวมหัวโขน
ปิดหน้าทั้งหมด จึงต้องมีผู้พูดแทนเรียกว่าผู้พากย์-เจรจา
ต่อมาได้ปรับปรุง ให้หัวโขนตัวเทพบุตร เทพธิดา และมนุษย์ชาย หญิง เปิดหน้าเล่นได้
คู่พระ ค.ศ.1860-1870
สวมแต่เครื่องประดับศีรษะ ได้แก่ ชฎา มงกุฎ รัดเกล้า กระบังหน้า
เรียกว่า
ศิราภรณ์ แต่ผู้แสดงโขนที่สวมศิราภรณ์เหล่านี้ ยังคงรักษาประเพณีเดิมไว้ คือ
ไม่พูดเอง ต้องมีผู้พากย์ - เจรจาแทน
ฤาษี พระ นาง ค.ศ.1900
เว้นแต่ผู้แสดง เป็นตัวตลก และฤาษีบางองค์ จึงจะเจรจาเอง
ถือเป็นเอกลักษณ์ อย่างหนึ่งของผู้แสดงโขนที่เป็นตัวตลก
ไม่ปรากฏชัดแน่นอนว่าคำว่า โขน ปรากฏขึ้นในสมัยใด แต่มีการเอ่ยถึงในวรรณคดีไทย เรื่องลิลิตพระลอ
ที่กล่าวถึงโขนในงานแสดงมหรสพ ระหว่างงานพระศพของพระลอ พระเพื่อนและพระแพงว่า
ขยายโรงโขนโรงรำ ทำระทาราวเทียน
เรื่องที่ใช้แสดงโขนในปัจจุบันนี้ นิยมเพียงเรื่องเดียว คือ เรื่องรามเกียรติ์ จากเดิมสามเรื่องโดยมี อิเหนา และอุณรุท
เครื่องแต่งกายแสดงโขน ค.ศ.1800
ในสมัยของสมเด็จพระนาราย์มหาราช ได้มีการกล่าวถึงโขนโดย ลาลูแบร์ เอาไว้ว่า
การแสดงโขน จันทบุรี ค.ศ.1919
โขนนั้น เป็นการร่ายรำเข้าๆ ออกๆ หลายคำรบ ตามจังหวะซอและเครื่องดนตรีอย่างอื่นอีก
ผู้แสดงนั้นสวมหน้ากาก(หัวโขน) และถืออาวุธ แสดงบทหนักไปในทางสู้รบกันมากกว่าจะเป็นการร่ายรำ
และมาตรว่าการแสดงส่วนใหญ่จะหนักไปในทางโลดเต้นเผ่นโผนโจนทะยาน และวางท่าอย่างเกินสมควรแล้ว
นานๆ จะหยุดเจรจาออกมาสักคำสองคำ หน้ากาก(หัวโขน) ส่วนใหญ่นั้นน่าเกลียด
เป็นหน้าสัตว์ที่มีรูปพรรณวิตถาร(ลิง) หรือไม่เป็นหน้าปีศาจ(ยักษ์)
โขนในพระราชสำนัก
แต่เดิมนั้นใช้ผู้ชายล้วนในการแสดงทั้งตัวพระและตัวนาง การได้รับคัดเลือกให้แสดงโขนในสมัยนั้น
ถือเป็นความภาคภูมิใจต่อผู้ที่ได้ถูกรับคัดเลือก เนื่องจากโขนเป็นศิลปะการแสดงชั้นสูง
และกลายเป็นประเพณีสืบต่อมาจนถึงกรุงรัตนโกสินทร์ ที่ผู้แสดงโขนในพระราชสำนักจะต้องเป็นพวกมหาดเล็ก
ข้าราชการหรือบุตรหลานข้าราชการเท่านั้น
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ได้พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้เจ้านายชั้นสูง
ข้าราชการเสนาอำมาตย์
มีละครหญิง ที่แต่เดิมมีเฉพาะพระมหากษัตริย์ได้ ดังพระราชปรารภว่า
มีละครด้วยกันหลายรายดี บ้านเมืองจะได้ครึกครื้น จะได้เป็นเกียรติยศแก่แผ่นดิน
ทำให้ส่งผลกระทบกระเทือนอย่างใหญ่หลวงต่อการแสดงโขนในพระราชสำนักของเจ้านายชั้นสูงและขุนนางชั้นผู้ใหญ่
นางรำ ปทุมธานี ค.ศ.1922
การที่พระราชทานอนุญาตให้มีละครหญิงได้นั้น ทำให้เจ้านายชั้นสูง เสนาอำมาตย์ขุนนางต่างๆ
พากันเปลี่ยนแปลงเพศของผู้แสดงในสังกัดตนเองเป็นอย่างมาก ทำให้แต่เดิมโขนที่มีเฉพาะผู้ชายล้วนนั้น
เริ่มมีการเล่นผสมผสานกับละครหญิง ที่ได้รับความนิยมแทนที่โขนอย่างรวดเร็ว
เป็นเหตุให้หัวหน้าคณะที่เคยฝึกหัดและทำนุบำรุงโขนไว้ เริ่มเปลี่ยนแปลงการแสดงในสังกัดตนเอง
บางรายมีโขนและละครหญิงควบคู่กันไป บางรายถึงกับยกเลิกโขนในสังกัดและเปลี่ยนมาหัดละครหญิงเพียงอย่างเดียว
ทำให้โขนค่อยๆ สูญหายไป ยกเว้นบางสังกัดที่มีความนิยมชมชอบศิลปะไทยแบบโบราณเช่นโขน
ที่ยังคงอนุรักษ์รักษาไว้สืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน และโขนหลวงที่พระมหากษัตริย์ทรงอุปถัมภ์ไว้เท่านั้น
รวมทั้งได้ก่อตั้งเป็นกรมโขนขึ้นก่อนจะยกเลิกไปในสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3
การแสดงโขน ประเทศสิงคโปร์ ค.ศ.1898
ในสมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 โปรดให้เลิกโรงมหรสพต่างๆ รวมทั้งโขน
เนื่องจากมหรสพต่างๆ นั้นเป็นการสิ้นเปลืองพระราชทรัพย์ในท้องพระคลังเป็นอย่างมาก
และโอนงานทางด้านนาฏศิลป์และศิลปะ ให้อยู่ภายใต้สังกัดของกรมศิลปากร
พัฒนาการของบทเรื่องรามเกียรติ์ โขน และการไหว้ครู ในประเทศไทย
จนเกิดการกล่าวตู่แบบตีขลุมเหมาเข่งว่า ความเห็นของตนคือ วัฒนธรรมไทย
ซึ่งเป็นการพูดที่ไร้ที่มาที่ไป และขาดข้อมูลทางประวัติศาสตร์ โบราณคดี เชิงวิชาการ
ทำให้เกิดอคติ และสร้างภาพลบ ให้กับนาฏศิลป์ไทยได้
สมัยกรุงศรีอยุธยา ละครไทยเริ่มจัดระเบียบแบบแผนให้รัดกุมยิ่งขึ้น
มีการตั้งชื่อละครที่เคยเล่นกันอยู่ ให้เป็นไปตามหลักวิชานาฏศิลปขึ้น
มีการแสดงเกิดขึ้นในสมัยนี้หลายอย่าง เช่น ละครชาตรี ละครนอก ละครใน โขน
การแสดงบางอย่างรับวัฒนธรรมเพื่อนบ้าน และวัฒนธรรมต่างชาติเข้ามาผสม
นาฏศิลป์ไทยได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมอินเดียเป็นเรื่องของเทพเจ้า
และตำนานการฟ้อนรำ โดยผ่านเข้าสู่ประเทศไทย ทั้งทางตรงและทางอ้อม คือ
ผ่านชนชาติชวาและเขมร ก่อนที่นำมาปรับปรุงให้เป็นรูปแบบตามเอกลักษณ์ของไทย
เกิดเป็นนาฏศิลป์ของไทยที่มีแบบแผนการเรียน การฝึกหัด จารีต ขนบธรรมเนียม มาจนถึงปัจจุบัน
อย่างไรก็ตาม บรรดาผู้เชี่ยวชาญที่ศึกษาทางด้านนาฏศิลป์ไทย ได้สันนิษฐานว่า
อารยธรรมทางศิลปะด้านนาฎศิลป์ของอินเดียนี้ได้เผยแพร่เข้ามาสู่ประเทศไทยตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา
ตามประวัติการสร้างเทวาลัยศิวะนาฎราชที่สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 1800
ซึ่งเป็นระยะที่ไทยเริ่มก่อตั้งกรุงสุโขทัย ดังนั้นที่รำไทยที่ดัดแปลงมาจากอินเดียในครั้งแรก
จึงเป็นความคิดของนักปราชญ์ในสมัยกรุงศรีอยุธยา และมีการแก้ไข ปรับปรุงมาจนถึงปัจจุบัน
รามเกียรติ์ ของไทยนั้น มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา
ในสมัยกรุงธนบุรี สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ได้ทรงพระราชนิพนธ์สำหรับให้ละครหลวงเล่น ปัจจุบันมีอยู่ไม่ครบ
ต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์รัชกาลที่ 1 ได้ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นเพื่อรวบรวมเรื่องรามเกียรติ์
ซึ่งมีมาแต่เดิมให้ครบถ้วน สมบูรณ์ตั้งแต่ต้นจนจบ
รามเกียรติ์ฉบับต่างๆของไทย
วรรณคดีรามเกียรติ์ที่ปรากฏในภาษาไทย มีหลักฐานเก่าที่สุด คือ ราวกลางสมัยกรุงศรีอยุธยา
และมีฉบับอื่นๆ เรื่อยมาจวบจนปัจจุบัน โดยมีรายการดังนี้
รามเกียรติ์คำฉันท์ รามเกียรติ์สำนวนนี้มีกล่าวไว้ในหนังสือจินดามณีของพระโหราธิบดี
ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เข้าใจว่าพระโหราธิบดีคงจะหยิบยกมาจากคำพากย์ของเก่า
ที่แต่งไว้สำหรับเล่นโขนหรือเล่นหนัง ซึ่งแต่งไว้เป็นเรื่องราวแต่ได้สูญหายไปแล้ว
คงเหลือที่นำมาเป็นตัวอย่างในหนังสือจินดามณี ๓-๔ บทเท่านั้น
รามเกียรติ์คำพากย์ รามเกียรติ์สำนวนนี้หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร ได้แบ่งตีพิมพ์ไว้เป็นภาค
โดยมีเนื้อเรื่องติดต่อกันไปตั้งแต่ภาค ๒ ตอน สีดาหาย ไปจนถึงภาค ๙ ตอน กุมภกรรณล้ม
เข้าใจว่าคำพากย์เหล่านี้แต่เดิมใช้เล่นหนัง ต่อมาภายหลังได้มีผู้นำมาใช้เล่นโขนด้วย
แต่งในราวรัชสมัยพระเพทราชา ถึงพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ
รามเกียรติ์บทละคร ความครั้งกรุงเก่า เนื้อความตั้งแต่ พระรามประชุมพล จนถึง องคตสื่อสาร
บทละครนี้ไม่เคยตีพิมพ์ออกเผยแพร่ เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับรามเกียรติ์บทละครในรัชกาลที่๑
จะเห็นว่ามีเนื้อความไม่ตรงกันในบางแห่งบางตอน และถ้อยคำในบทละครดูแตกต่าง
น่าจะเป็นฉบับสำหรับเล่นละครของ คณะเชลยศักดิ์(ละครชาวบ้าน) ในสมัยปลายกรุงศรีอยุธยา
รามเกียรติ์สมัยกรุงธนบุรี
พระราชนิพนธ์ใน สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี
รามเกียรติ์ของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีนั้นมีระยะเวลาในการแต่งเพียง 2 เดือนเท่านั้น
เป็นกลอนบทละคร มีเพียง 4 ตอน โดยทรงพระราชนิพนธ์ไม่เรียงตามลำดับเรื่อง คือ
พระมงกุฎประลองศร
หนุมานเกี้ยวนางวานริน
ท้าวมาลีวราชว่าความ
ทศกัณฐ์ตั้งพิธีทรายกรด
รามเกียรติ์สมัยกรุงรัตนโกสินทร์
๑. บทละครรามเกียรติ์ในรัชกาลที่ ๑ ทรงมีพระราชประสงค์จะรวบรวมเรื่องรามเกียรติ์
ที่กระจัดกระจายให้รวมเป็นเรื่องเดียวกัน จึงมีพระบรมราชโองการให้ประชุมบทละครเรื่องรามเกียรติ์
พระราชนิพนธ์เรื่องรามเกียรติ์ในรัชกาลที่๑ มีเรื่องราวยืดยาวติดต่อกันไป
นับเป็นวรรณคดีไทยเรื่องเดียวที่ยาวที่สุดในวรรณกรรมไทย เพราะต้องเขียนในสมุดไทยถึง ๑๑๗ เล่มสมุดไทย
๒. บทละครรามเกียรติ์ในรัชกาลที่๒ ทรงเห็นว่าบทพระราชนิพนธ์เรื่องรามเกียรติ์ในรัชกาลที่๑
เยิ่นเย้อเกินไป ไม่เหมาะสำหรับนำมาเล่นโขน
พระองค์จึงทรงคัดเลือกเอาเรื่องรามเกียรติ์บางตอน คือ ตั้งแต่หนุมานถวายแหวน ไปจนถึงทศกัณฐ์ล้ม
มาแต่งขึ้นใหม่สำหรับเล่นโขนหลวง เป็นหนังสือ ๓๖ เล่มสมุดไทย
๓. บทละครรามเกียรติ์ในรัชกาลที่๔ ทรงพระราชนิพนธ์บทละครเรื่องรามเกียรติ์ขึ้นอีกสำนวนหนึ่ง คือ
ตอน พระรามเดินดง เป็นหนังสือ๔ เล่มสมุดไทย
และทรงพระราชนิพนธ์เพิ่ม๒ ตอนแปลงบทละครเบิกโรงเรื่อง
นารายณ์ปราบนนทุก
พระรามเข้าสวนพระพิราพ
๔. บทร้อง และบทพากย์รามเกียรติ์ในรัชกาลที่๖ โดยทรงค้นคว้าศึกษาที่มาของเรื่องรามเกียรติ์
จากคัมภีร์รามายณะของฤาษีวาลมิกิ แล้วทรงพระราชนิพนธ์หนังสือ บ่อเกิดแห่งรามเกียรติ์ ขึ้น
และได้ทรงพระราชนิพนธ์บทร้อง และบทพากย์สำหรับเล่นโขนขึ้นอีก๖ ชุด คือ
ชุดสีดาหาย ชุดเผาลงกา ชุดพิเภกถูกขับ ชุดจองถนน ชุดประเดิมศึกลงกา และชุดนาคบาศ
จะเห็นได้ว่าการเขียนบทรามเกียรติ์ มีพัฒนาการต่อเนื่องตามยุคสมัยที่นำไปใช้ใน
นาฏศิลป์ พากย์หนัง ละครเชลยศักดิ์ หาได้ยึดติด แน่นิ่งอยู่กับที่ไม่ และปรับปรุงให้เนื้อหากระชับ
ทันใจผู้ชมเข้ากับยุคสมัย และเข้าถึงผู้ชมได้ทุกกลุ่มในสังคมแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา
จึงได้รับความนิยมมาโดยตลอด มากกว่าเรื่อง อิเหนา อุณรุท พระอภัยมณี ในสื่อต่างๆ
การแสดงโขน พระนคร ค.ศ.1900
โขน
โขนเป็นนาฏศิลป์ชั้นสูงอย่างหนึ่งของไทย มีกำเนิดมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๒๐
ในชั้นเดิมปรับปรุงจาก การเล่น ๓ ประเภท คือ
หนังใหญ่
ชักนาคดึกดำบรรพ์
กระบี่ กระบอง
ได้แก้ไขปรับปรุง ให้ประณีตขึ้น ตามลำดับ
หัวโขน นาง
แต่เดิมนั้นผู้แสดงโขนทุกคนจะต้องสวมหัวโขน ปิดหน้าทั้งหมด จึงต้องมีผู้พูดแทนเรียกว่าผู้พากย์-เจรจา
ต่อมาได้ปรับปรุง ให้หัวโขนตัวเทพบุตร เทพธิดา และมนุษย์ชาย หญิง เปิดหน้าเล่นได้
คู่พระ ค.ศ.1860-1870
สวมแต่เครื่องประดับศีรษะ ได้แก่ ชฎา มงกุฎ รัดเกล้า กระบังหน้า
เรียกว่า ศิราภรณ์ แต่ผู้แสดงโขนที่สวมศิราภรณ์เหล่านี้ ยังคงรักษาประเพณีเดิมไว้ คือ
ไม่พูดเอง ต้องมีผู้พากย์ - เจรจาแทน
ฤาษี พระ นาง ค.ศ.1900
เว้นแต่ผู้แสดง เป็นตัวตลก และฤาษีบางองค์ จึงจะเจรจาเอง
ถือเป็นเอกลักษณ์ อย่างหนึ่งของผู้แสดงโขนที่เป็นตัวตลก
ไม่ปรากฏชัดแน่นอนว่าคำว่า โขน ปรากฏขึ้นในสมัยใด แต่มีการเอ่ยถึงในวรรณคดีไทย เรื่องลิลิตพระลอ
ที่กล่าวถึงโขนในงานแสดงมหรสพ ระหว่างงานพระศพของพระลอ พระเพื่อนและพระแพงว่า
ขยายโรงโขนโรงรำ ทำระทาราวเทียน
เรื่องที่ใช้แสดงโขนในปัจจุบันนี้ นิยมเพียงเรื่องเดียว คือ เรื่องรามเกียรติ์ จากเดิมสามเรื่องโดยมี อิเหนา และอุณรุท
เครื่องแต่งกายแสดงโขน ค.ศ.1800
ในสมัยของสมเด็จพระนาราย์มหาราช ได้มีการกล่าวถึงโขนโดย ลาลูแบร์ เอาไว้ว่า
การแสดงโขน จันทบุรี ค.ศ.1919
โขนนั้น เป็นการร่ายรำเข้าๆ ออกๆ หลายคำรบ ตามจังหวะซอและเครื่องดนตรีอย่างอื่นอีก
ผู้แสดงนั้นสวมหน้ากาก(หัวโขน) และถืออาวุธ แสดงบทหนักไปในทางสู้รบกันมากกว่าจะเป็นการร่ายรำ
และมาตรว่าการแสดงส่วนใหญ่จะหนักไปในทางโลดเต้นเผ่นโผนโจนทะยาน และวางท่าอย่างเกินสมควรแล้ว
นานๆ จะหยุดเจรจาออกมาสักคำสองคำ หน้ากาก(หัวโขน) ส่วนใหญ่นั้นน่าเกลียด
เป็นหน้าสัตว์ที่มีรูปพรรณวิตถาร(ลิง) หรือไม่เป็นหน้าปีศาจ(ยักษ์)
โขนในพระราชสำนัก
แต่เดิมนั้นใช้ผู้ชายล้วนในการแสดงทั้งตัวพระและตัวนาง การได้รับคัดเลือกให้แสดงโขนในสมัยนั้น
ถือเป็นความภาคภูมิใจต่อผู้ที่ได้ถูกรับคัดเลือก เนื่องจากโขนเป็นศิลปะการแสดงชั้นสูง
และกลายเป็นประเพณีสืบต่อมาจนถึงกรุงรัตนโกสินทร์ ที่ผู้แสดงโขนในพระราชสำนักจะต้องเป็นพวกมหาดเล็ก
ข้าราชการหรือบุตรหลานข้าราชการเท่านั้น
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ได้พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้เจ้านายชั้นสูง
ข้าราชการเสนาอำมาตย์ มีละครหญิง ที่แต่เดิมมีเฉพาะพระมหากษัตริย์ได้ ดังพระราชปรารภว่า
มีละครด้วยกันหลายรายดี บ้านเมืองจะได้ครึกครื้น จะได้เป็นเกียรติยศแก่แผ่นดิน
ทำให้ส่งผลกระทบกระเทือนอย่างใหญ่หลวงต่อการแสดงโขนในพระราชสำนักของเจ้านายชั้นสูงและขุนนางชั้นผู้ใหญ่
นางรำ ปทุมธานี ค.ศ.1922
การที่พระราชทานอนุญาตให้มีละครหญิงได้นั้น ทำให้เจ้านายชั้นสูง เสนาอำมาตย์ขุนนางต่างๆ
พากันเปลี่ยนแปลงเพศของผู้แสดงในสังกัดตนเองเป็นอย่างมาก ทำให้แต่เดิมโขนที่มีเฉพาะผู้ชายล้วนนั้น
เริ่มมีการเล่นผสมผสานกับละครหญิง ที่ได้รับความนิยมแทนที่โขนอย่างรวดเร็ว
เป็นเหตุให้หัวหน้าคณะที่เคยฝึกหัดและทำนุบำรุงโขนไว้ เริ่มเปลี่ยนแปลงการแสดงในสังกัดตนเอง
บางรายมีโขนและละครหญิงควบคู่กันไป บางรายถึงกับยกเลิกโขนในสังกัดและเปลี่ยนมาหัดละครหญิงเพียงอย่างเดียว
ทำให้โขนค่อยๆ สูญหายไป ยกเว้นบางสังกัดที่มีความนิยมชมชอบศิลปะไทยแบบโบราณเช่นโขน
ที่ยังคงอนุรักษ์รักษาไว้สืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน และโขนหลวงที่พระมหากษัตริย์ทรงอุปถัมภ์ไว้เท่านั้น
รวมทั้งได้ก่อตั้งเป็นกรมโขนขึ้นก่อนจะยกเลิกไปในสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3
การแสดงโขน ประเทศสิงคโปร์ ค.ศ.1898
ในสมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 โปรดให้เลิกโรงมหรสพต่างๆ รวมทั้งโขน
เนื่องจากมหรสพต่างๆ นั้นเป็นการสิ้นเปลืองพระราชทรัพย์ในท้องพระคลังเป็นอย่างมาก
และโอนงานทางด้านนาฏศิลป์และศิลปะ ให้อยู่ภายใต้สังกัดของกรมศิลปากร