ที่ใดมี "รัก" ที่นั่นมีทุกข์
แต่ทางที่จะพ้น "ทุกข์" คือต้องรู้ทุกข์
และผ่านมันไปด้วย "ตัวเอง"
เรื่องบางเรื่องจะรู้แจ้งแทงตลอดได้เฉพาะตน
ต่อจากนี้อาจมิใช่มุมมองของ "พิษสวาท" ในแง่ของ "ความรัก" "ความแค้น" หรือ "การทำหน้าที่พิทักษ์รักษาแผ่นดิน" มาวันนี้เราได้มองพิษสวาทในอีกทางหนึ่ง คือ ความทุกข์ และ การพ้นทุกข์ ผ่านอุบล และ "ความรัก" ของเธอ เรื่องราวมันอาจเริ่มที่ท่านยมเทพได้เห็นความทุกข์ทรมานด้วยไฟแค้นที่สุมอก อาจเป็นไปได้ว่า "ท่าน" ที่เฝ้ามองวัฏสังสารและตัดสินดวงวิญญาณทุกดวงมาเนิ่นนาน นานจนเข้าใจสัจธรรม นานจนเห็นสัจธรรมว่าต้นเรื่องแห่งความ "ทุกข์" ของอุบลคืออะไร แต่ท่านเองถึงแม้เป็นเทพเทวาก็ไม่สามารถแทรกแซงชะตาชีวิตของผู้ใดได้ แม้ท่านจะเห็นอุบลมานานเพียงใด กี่ร้อยปีกี่ชาติภพผ่านไป ท่านคงรู้คงเห็นแต่ก็ไม่สามารถยุ่งเกี่ยว จนกระทั่งวันหนึ่ง .... ความทุกข์ความแค้นของวิญญาณดวงหนึ่งมันสุมในอกเหลือเกิน จนกระทั่งกล้าขอในสิ่งที่ไม่มีใครกล้า และ ท่านก็ให้ในสิ่งที่ท่านไม่เคยให้ใคร ไม่ทราบได้ว่าเพราะความ "เวทนา" หรือ "ความสงสัยใคร่รู้" ว่าโอกาสที่ท่านหยิบยื่นให้อุบลจะใช้มันไปในทางใด
หากสำหรับเรา .... มันคือการตามหา "ทางดับทุกข์" ในแบบของอุบลเอง จะดับทุกข์ได้ต้องรู้ทุกข์ ทุกข์คืออะไร ซึ่งอุบลได้รับรู้และซ่านซึ้งไปทุกอณูของวิญญาณ ไม่ใช่เพียงแค่เธอจะเสียชีวิต เธอยังถูกจองจำดวงวิญญาณ ด้วยโซ่ตรวน ด้วยมนตรา ด้วยไฟรักและเพลิงแค้นที่เธอมีต่อชายคนหนึ่ง เธอเที่ยวค้นหาว่าสาเหตุอยู่ที่ใด ชั้นแรกเธอคิดว่าเพราะการถูกจองจำวิญญาณ ชั้นต่อมามันถูกเสริมแรกด้วยความภักดีที่ถูกทุรยศ ชั้นต่อมารอยร้าวถูกเหยียบย่ำซ้ำเติมด้วยหน้าที่เป็นดังเสี้ยนแส้เฆี่ยนตีให้เจ็บปวด ให้รู้สึกขยะแขยงตัวเอง ให้วิญญาณได้มัวหมอง เธอเที่ยวค้นหาว่าเธอจะจัดการสาเหตุแห่งทุกข์ที่ว่านั้นอย่างไร เธอลองผิดลองถูกด้วยตัวเอง กระทำทุกสิ่งอย่างด้วยตัวเอง ไม่ว่าการทำให้เขาระลึกถึงอดีต ให้การกระทำย้อนมาบรรจบกับปัจจุบัน ด้วยการทำร้าย ทำลาย และ เอาคืน เธอคิดว่ามันจะนำพามาซึ่งความสมใจ แต่แล้วเธอก็ยังพบแต่เพียงความทุกข์
แต่เธอก็ยังไม่ยอมแพ้ .... มันจะไม่มากพอไม่แรงพอ
จนกระทั่งถึงวันพิพากษา
สนฺทิฏฺฐิโก สิ่งที่เธอเคยปฏิบัติมาซ้ำซากไม่เคยส่งผล แต่เพราะเธอปฏิบัติเธอจึงรู้ว่ามันไม่ส่งผลใด เขาทุกข์เธอยังทุกข์ใจ และ หากเธอต้องลากคนที่ไม่รู้อิโหน่อิเหน่ใดมาแปดเปื้อนความทุกข์ก็ยิ่งโหมกระหน่ำ เพราะเหตุนั้นจึงนำไปสู่การรู้แจ้ง ปจฺจตฺตํ เวทิตพฺโพ วิญฺญูหิติ เพราะเธอรู้แล้ว ทำแล้วลองแล้วทุกอย่าง ด้วยตนเอง จึงได้รู้ด้วยตนเอง และ หลุดพ้นด้วยตนเอง ดังคำที่ว่า อันวิญญูชนทั้งหลาย พึงแทงตลอด เฉพาะตน สิ่งที่เธอรู้คือเมื่อเธอปล่อย ยึดติดแล้วทำไม รักแล้วทำไม ไฟโทสะ ไฟโมหะ นั่นเองที่ตรึงตรวนเธอไว้ แข็งแรงเสียยิ่งกว่าตรวนอาคม และ เมื่อรู้แจ้งแทงตลอดเช่นนี้ เสียงขององค์ยมเทพจึงอ่อนลงเพื่อยินดีกับการหลุดพ้นของอุบล
ทางเดินของเธอช่างยาวไกลนัก แต่เพราะเธอรู้ซึ้งในทุกข์ พบสาเหตุแห่งทุกข์ และ ก้าวสู่การดับทุกข์ได้ก็ถือว่าสมควร
กับหน้าที่ที่เธอได้ปฏิบัติมานาน นี่อาจจะเป็นรางวัลของการทำดีของอุบลก็ได้ วิญญาณที่ผ่องแผ้ว บริสุทธิ์ยิ่งกว่ารัศมีทิพย์ใด
เมื่อเธอได้ให้อภัย อภัยให้กับคนที่ทำกับเธอ และ เหนือสิ่งอื่นใดให้อภัย .... แก่ "ตัวของเธอเอง"
พิษสวาท (กึ่งวิพากษ์) : วาทะปรัชญาว่าด้วยการ "หลุดพ้น" สนฺทิฏฺฐิโก และ ปจฺจตฺตํ เวทิตพฺโพ วิญฺญูหิติ
แต่ทางที่จะพ้น "ทุกข์" คือต้องรู้ทุกข์
และผ่านมันไปด้วย "ตัวเอง"
เรื่องบางเรื่องจะรู้แจ้งแทงตลอดได้เฉพาะตน
ต่อจากนี้อาจมิใช่มุมมองของ "พิษสวาท" ในแง่ของ "ความรัก" "ความแค้น" หรือ "การทำหน้าที่พิทักษ์รักษาแผ่นดิน" มาวันนี้เราได้มองพิษสวาทในอีกทางหนึ่ง คือ ความทุกข์ และ การพ้นทุกข์ ผ่านอุบล และ "ความรัก" ของเธอ เรื่องราวมันอาจเริ่มที่ท่านยมเทพได้เห็นความทุกข์ทรมานด้วยไฟแค้นที่สุมอก อาจเป็นไปได้ว่า "ท่าน" ที่เฝ้ามองวัฏสังสารและตัดสินดวงวิญญาณทุกดวงมาเนิ่นนาน นานจนเข้าใจสัจธรรม นานจนเห็นสัจธรรมว่าต้นเรื่องแห่งความ "ทุกข์" ของอุบลคืออะไร แต่ท่านเองถึงแม้เป็นเทพเทวาก็ไม่สามารถแทรกแซงชะตาชีวิตของผู้ใดได้ แม้ท่านจะเห็นอุบลมานานเพียงใด กี่ร้อยปีกี่ชาติภพผ่านไป ท่านคงรู้คงเห็นแต่ก็ไม่สามารถยุ่งเกี่ยว จนกระทั่งวันหนึ่ง .... ความทุกข์ความแค้นของวิญญาณดวงหนึ่งมันสุมในอกเหลือเกิน จนกระทั่งกล้าขอในสิ่งที่ไม่มีใครกล้า และ ท่านก็ให้ในสิ่งที่ท่านไม่เคยให้ใคร ไม่ทราบได้ว่าเพราะความ "เวทนา" หรือ "ความสงสัยใคร่รู้" ว่าโอกาสที่ท่านหยิบยื่นให้อุบลจะใช้มันไปในทางใด
หากสำหรับเรา .... มันคือการตามหา "ทางดับทุกข์" ในแบบของอุบลเอง จะดับทุกข์ได้ต้องรู้ทุกข์ ทุกข์คืออะไร ซึ่งอุบลได้รับรู้และซ่านซึ้งไปทุกอณูของวิญญาณ ไม่ใช่เพียงแค่เธอจะเสียชีวิต เธอยังถูกจองจำดวงวิญญาณ ด้วยโซ่ตรวน ด้วยมนตรา ด้วยไฟรักและเพลิงแค้นที่เธอมีต่อชายคนหนึ่ง เธอเที่ยวค้นหาว่าสาเหตุอยู่ที่ใด ชั้นแรกเธอคิดว่าเพราะการถูกจองจำวิญญาณ ชั้นต่อมามันถูกเสริมแรกด้วยความภักดีที่ถูกทุรยศ ชั้นต่อมารอยร้าวถูกเหยียบย่ำซ้ำเติมด้วยหน้าที่เป็นดังเสี้ยนแส้เฆี่ยนตีให้เจ็บปวด ให้รู้สึกขยะแขยงตัวเอง ให้วิญญาณได้มัวหมอง เธอเที่ยวค้นหาว่าเธอจะจัดการสาเหตุแห่งทุกข์ที่ว่านั้นอย่างไร เธอลองผิดลองถูกด้วยตัวเอง กระทำทุกสิ่งอย่างด้วยตัวเอง ไม่ว่าการทำให้เขาระลึกถึงอดีต ให้การกระทำย้อนมาบรรจบกับปัจจุบัน ด้วยการทำร้าย ทำลาย และ เอาคืน เธอคิดว่ามันจะนำพามาซึ่งความสมใจ แต่แล้วเธอก็ยังพบแต่เพียงความทุกข์
จนกระทั่งถึงวันพิพากษา
สนฺทิฏฺฐิโก สิ่งที่เธอเคยปฏิบัติมาซ้ำซากไม่เคยส่งผล แต่เพราะเธอปฏิบัติเธอจึงรู้ว่ามันไม่ส่งผลใด เขาทุกข์เธอยังทุกข์ใจ และ หากเธอต้องลากคนที่ไม่รู้อิโหน่อิเหน่ใดมาแปดเปื้อนความทุกข์ก็ยิ่งโหมกระหน่ำ เพราะเหตุนั้นจึงนำไปสู่การรู้แจ้ง ปจฺจตฺตํ เวทิตพฺโพ วิญฺญูหิติ เพราะเธอรู้แล้ว ทำแล้วลองแล้วทุกอย่าง ด้วยตนเอง จึงได้รู้ด้วยตนเอง และ หลุดพ้นด้วยตนเอง ดังคำที่ว่า อันวิญญูชนทั้งหลาย พึงแทงตลอด เฉพาะตน สิ่งที่เธอรู้คือเมื่อเธอปล่อย ยึดติดแล้วทำไม รักแล้วทำไม ไฟโทสะ ไฟโมหะ นั่นเองที่ตรึงตรวนเธอไว้ แข็งแรงเสียยิ่งกว่าตรวนอาคม และ เมื่อรู้แจ้งแทงตลอดเช่นนี้ เสียงขององค์ยมเทพจึงอ่อนลงเพื่อยินดีกับการหลุดพ้นของอุบล
กับหน้าที่ที่เธอได้ปฏิบัติมานาน นี่อาจจะเป็นรางวัลของการทำดีของอุบลก็ได้ วิญญาณที่ผ่องแผ้ว บริสุทธิ์ยิ่งกว่ารัศมีทิพย์ใด
เมื่อเธอได้ให้อภัย อภัยให้กับคนที่ทำกับเธอ และ เหนือสิ่งอื่นใดให้อภัย .... แก่ "ตัวของเธอเอง"