จริงๆแล้ววันนี้ผมจะมาเขียนเรื่องราวเกี่ยวกับภาระงานครูที่เป็นอยู่ ณ ปัจจุบัน ซึ่งอยากจะบอกว่า มันเยอะมากๆเลยละ และผมเองก็ลองคิดเล่นๆดูว่า ถ้าเราสามารถเปลี่ยนแปลงระบบงานครูให้มันดีขึ้นได้ ผมคิดว่าครูหลายๆคนคงไม่ต้องจมอยู่กับงานเอกสารที่เป็นรีมๆ กองอยู่บนโต๊ะ จนไม่รู้ว่าวันไหนจะล้มทับหัว ผมเห็นแล้วแทบไม่อยากจะพูดเลยละ
วันนี้ผมอยากนำเสนอนวัตกรรมใหม่ๆที่อยากนำเสนอให้เพื่อนๆพี่ๆ น้องๆ ที่อยู่ในแวดวงการศึกษาลองไปพิจารณาดูนะครับ
งานเอกสารหลักของครูคือ แผนการสอน เป็นงานที่บอกได้คำเดียว ถ้าไม่ยึดตามหลักการนะ ปัจจุบันแทบไม่มีผลต่อการสอนเลย ส่วนใหญ่แผนการสอนของครูก็จะอยู่ให้หัวสมองอยู่แล้ว ผมเชื่อว่า การทำแผนการสอนเป็นอะไรที่น่าเบื่อมาก ผมก็เลยไปนั่งวิเคราะแผนการสอนในปัจจุบัน พบว่ามีหลายอย่างที่ยังมีปัญหาอยู่ โดยเฉพาะการทำแผนการสอนที่มีความซ้ำซ้อนในรายละเอียดมาก ผมเลยลองคิดขึ้นมาเล่นๆนะ
ย้ำว่าเล่นๆ แต่ถ้าใครอยากเอาไปใช้จริงก็ไม่ว่ากัน
ผมตั้งชื่อแผนนี้ว่า
ระบบแผนการจัดการเรียนรู้
(Story board learning plan : SBLP)
จุดเด่นการใช้แผนนี้คือ ลดเวลาการทำแผนลง คือทำ 1 แผน ใช้สอนได้ชั่วโมงในหัวข้อเดียวกัน ลดการใช้กระดาษได้ถึง 75% และสามารถนำไปทำงานวิจัยในชั้นเรียนได้ สามารถศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกับวิธีสอนของครูได้ และประโยชน์อีกมากมาย
ผมจะอธิบายและรีวิว Story board learning plan : SBLP เป็นหัวข้อไปนะครับ
ส่วนด้านบนของแผน
เพิ่มในส่วนของ จำนวนนักเรียน
เหตุผล การวางแผนการสอนที่มีประสิทธิ์ภาพขึ้นอยู่กับจำนวนนักเรียน มันเป็นตัวกำหนดรูปแบบการสอนและการนำแผนไปใช้
เพิ่มในส่วนของ วันที่เริ่ม วันที่สิ้นสุด
เหตุผล จริงๆแล้วการจัดการเรียนรู้ให้กับนักเรียน ถ้าตีความกันจริงๆ มันไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะเวลาในชั่วโมงที่เราสอน แต่เกิดขึ้นในทุกๆเวลาที่เรายังอยู่บทเรียนนั้น เช่นวันนี้เราสอนเรื่องการบวก ถามว่าเราสอนจบ แล้วเด็กสามารถมีกระบวนการเรียนรู้ต่อได้ไหม การบ้านที่ให้ไปก็ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ที่เราจัดให้เช่นเดียวกัน
เพิ่มในส่วนของ กลุ่มชั้นเรียน
เหตุผล ตามปกติแล้วการจัดชั้นเรียนจะเป็น ประถม มัธยม แต่ตอนนี้ในการจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21 การสอนไม่ได้อยู่แค่นั้น เราสามารถจัดกลุ่มต่างๆได้อิสระ ตามความสนใจและความสามารถในระดับเดียวกัน เช่น กลุ่ม นักเรียนเรียนช้า กลุ่มเสริมความรู้ การใช้แผนนี้ก็เสมือนเป็นหลักสูตรย่อยๆในเรื่องที่เรียนรู้นั้น
ที่นี้เรามาดูในส่วนของเนื้อหาของแผนหน้าแรกกัน
ทักษะที่จำเป็นต้องต้องมี
ตรงนี้เป็นส่วนเพิ่มเติมเข้ามา เหตุผล คือ เวลาเราใช้แผนนี้สอน หรือในการสอน หากแต่ว่านักเรียนไม่มีพื้นฐานจากเรื่องเดิมมาก่อน การใช้แผนการสอนในการสอนจริงก็จะไม่ประสบความสำเร็จในการใช้ ตรงนี้จึงมองว่าเป็นเรื่องสำคัญมากๆ เพราะถ้าเด็กไม่มีพื้นฐานหรือพื้นฐานไม่เพียงพอ การออกแบบแผนในเรื่องนั้นจะเป็นเรื่องที่ยากมาก
จุดประสงค์แผนการการเรียนรู้
ตรงนี้ดูคล้ายๆกัน แต่ผมอยากให้สังเกตุนะครับ คำว่า
จุดประสงค์แผนการเรียนรู้ คือ จุดประสงค์ที่เราทำแผนนี้ขึ้นมาเพื่อให้นักเรียนเรียนรู้อะไร ยังไม่ได้ไปถึงเป้าหมายนะครับ
สาระแผนการเรียนรู้
ตรงนี้คล้ายๆกันกับแผนปัจจุบัน เวลาเขียนอาจจะต้องสรุปใจความนิดนึ่ง
เป้าหมาย
ตรงนี้เป็นส่วนที่นำมาเขียนหัวข้อใหม่ที่ชัดเจนขึ้น ความหมายก็ประมาณว่า เราต้องการให้เกิดการเรียนรู้อะไรเมื่อเราได้ทำตามแผนนี้สำเร็จ
ส่วนสนองมาตรฐาน/ตัวชี้วัด เป็นส่วนของการอ้างอิงนะครับ
ผมอยากให้ดูสิ่งที่วางเป็นระบบของแผนนี้
นั้นคือ กระบวนการ ต้นทาง--------ระหว่างทาง------------ปลายทาง และโยงด้วยอ้างอิง
ผมเขียนแยกเป็นหัวข้อ ดังนี้
ต้นทาง คือ ทักษะจำเป็นต้องมี
ระหว่างทาง คือ 1.จุดประสงค์แผนการเรียนรู้ 2.สาระแผนการเรียนรู้
ปลายทาง คือ เป้าหมาย
อ้างอิง คือ มาตรฐาน/ตัวชี้วัด
โดยปกติแล้วแผนปัจจุบันจะไม่ค่อยมี ต้นทาง ทำให้การเขียนแผนนั้นไม่ได้เกิดผลลัพท์ที่ควรจะเป็น
และจุดเด่นของแผนนี้ก็อยู่ในหน้าที่ 2 การเขียนผังงาน
ผมออกแบบโดยใช้รูปแบบผังงานเพื่อให้เข้าใจถึงกระบวนการจัดการเรียนรู้ให้กับนักเรียน เหตุผลที่ใช้ เพราะโดยปกติแล้วในการวางแผนต่างๆที่มีตัวแปรเยอะๆ ไม่มีใครเค้าวางแผนเป็นเส้นตรงหรอก คำว่าเส้นตรงหมายถึง กระบวนการทำงานที่มีแค่วิธีเดียวแต่พอเกิดปัญหาระหว่างกระบวนการ ทำให้งานสะดุดและดำเนินงานตามแผนไม่ได้ เช่น การสอนคณิตศาสตร์ คุณสอนวิธีที่ 1 แต่เด็กไม่เข้าใจ คุณแค่วางแผนมาแค่อย่างเดียว พอถึงเวลาก็ใช้ประสบการณ์ตนเองผ่านมาได้ สอนนักเรียนได้ แต่คนอื่นเค้าอาจจะคิดไม่แก้ปัญหาไม่ได้ ก็จบเลย หรือ การสอนนอกห้องเรียนในสนาม จะสอนเรื่องนี้แต่ฝนตนจะหาแผนสำรองอย่างไร คือในชีวิตจริงอาจจะทำได้ แต่ถ้าในแผนการสอนมันคิดเหมือนสมองเราไม่ได้ ความจำเป็นที่จะทำให้งานสอนเรามีระบบมากขึ้นก็คือ สิ่งนี้แหละ อาจจะเรียกว่าการเขียนแผนการสอนแบบหลายทาง
จุดสำคัญก็จะมีระบบ Timeline
แบ่งชัดเจนเป็นช่วงๆว่า ในชั่วโมงนี้เราได้จัดกระบวนการอะไรให้กับเด็ก และผลที่คาดว่าเราจะต้องเจอมีอะไรบ้าง เช่น ถ้าผลการทดสอบแล้วเด็กหลายคนทำไม่ได้ เราจะแบ่งอย่างไร จะมีวิธีจัดการเรียนการสอนได้อย่างไร ซึ่งเป็นจุดสำคัญมากๆ มันเหมือนการคำนวณความน่าจะเป็นที่เกิดขึ้นมาว่า ผลลัพท์ที่เกิดขึ้นมามีอะไรบ้าง ความเป็นไปได้ในการแก้ปัญหามีเท่าไร
(อย่างในแผนนี้ใช้กลยุทธ์ UDL มาจัดการตัวแปร คือสอนหลายวิธีในเด็กได้เลือกใช้)
ระบบอย่างนึ่งที่น่าสนใจคือ ความต่อเนื่องของแผนที่ใช้ มีการปูฐานมาอย่างไร ดำเนินการในพื้นฐานของเวลาอย่างไร บริหารอย่างไร ถ้าลองให้คุณครูหลายคนสอบเขียนแผนแบบนี้ ผลลัพท์ที่เกิดขึ้นมาคือ กระบวนการแก้ปัญหา และวิธีวางแผนการจัดการเรียนรู้ของแต่ละคน บ้างก็อาจจะทำแบบเส้นตรง บ้างก็อาจจะซับซ้อนเกินไป และบ่งชี้ถึงทัศนคติในการสอนด้วย
ในหน้าถัดไปมีกระบวนการที่จะต้องบรรยายในหน้าที่ 2 คือ
ระบบ Script แต่ละกรอบนั้นมีกระบวนการทำงานงานอย่างไร มันช่วยให้ระบบแผนการการสอนเรามีประสิทธิ์ภาพมากขึ้นไปอีกขั้น ความชัดเจนเมื่อเกิดปัญหาต่งๆมากมาย วิธีการสอนตามแผนที่แตกต่างแต่สามารถอ้างอิงได้
จุดสำคัญของกรอบกระบวนการ คือ การเขียนการดำเนินการให้ชัดเจนว่า กรอบนี้เราต้องทำอะไรบ้าง เกิดอะไรขึ้นในกระบวนการสอนของเราบ้าง มันจะช่วยให้เรามีทิศทางที่ชัดเจน
ในส่วนแผนสุดท้าย คือสรุประบบแผนการจัดการเรียนรู้
ความน่าสนใจอยู่ที่การนำระบบการสรุปแบบวิจัยมาใช้
มีส่วนของการสรุปแบบเชิงปริมาณ ที่เพิ่มเข้ามา ทำให้รู้ได้ว่า นักเรียนที่ยังไม่สามารถบรรลุถึง จุดประสงค์ที่ต้องการได้มีกี่คน การสรุปนั้นขึ้นอยู่กับข้อมูลที่ผู้สอนที่จะให้ มันเป็นส่วนของการเขียนแผนให้มีประสิทธิภาพ
และการสรุปในส่วนของเชิงคุณภาพ ให้มองในมุมมองว่า ภาพรวมเป็นอย่างไร ดีไหม หรือไม่ดี มีการอาจจะระบุตัวแปรที่เกิดขึ้นนอกแผนนี้
และการพัฒนาในระบบแผนการจัดการเรียนรู้ เป็นการสรุปเพื่อการปรับปรุงระบบแผนนี้ ในการแก้ปัญหา วางแผนที่ดีขึ้นต่อไปหลังดำเนินการตามแผนนี้
สุดท้ายก็จะมีสรุปว่า แผนที่เราทำประสบความสำเร็จในระดับ เป็นการบอกเพื่อ เผื่อใครอยากเอาแผนเราไปใช้ จะได้รู้ประสิทธิการวางแผนของแผนนี้
และหน้าสุดท้ายก็ ผอ เซ็นต์
อันนี้เป็นระบบแผนที่คิดเล่นๆนะครับ ไม่อยากให้คาดหวังว่ามันจะเกิดขึ้นจริง เพราะอย่างไร เค้าก็คงไม่เอาแผนเด็กออทิสติกอย่างผมไปใช้กันทั่วประเทศอยู่แล้ว ในใจลึกๆอยากให้ใช้นะ ผมเชื่อว่าการลดขั้นตอนการทำงานที่ซ้ำซ้อน จะช่วยให้ครูพัฒนานักเรียนได้ดีขึ้น ผมเชื่อว่าอย่างนั้น
ย้ำนะครับ ว่าคิดเล่นๆ แต่ตั้งใจรีวิวมากเลย ส่วนใครที่รู้จักผม ก็น่าพอรู้ว่าผมเป็นคนชอบพัฒนาระบบละ
สำหรับใครที่มีข้อเสนอแนะอย่างไร เขียนติชมมาได้เลยนะครับ ผมไม่ว่า ผมอยากพัฒนาสิ่งที่ผมคิดให้ดีที่สุดครับ
เมื่อ ศธ มีนโยบาย " ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ " สำหรับนักเรียน ผมว่าควรที่จะมี "ลดภาระงานครู เพิ่มเวลาสอน"
วันนี้ผมอยากนำเสนอนวัตกรรมใหม่ๆที่อยากนำเสนอให้เพื่อนๆพี่ๆ น้องๆ ที่อยู่ในแวดวงการศึกษาลองไปพิจารณาดูนะครับ
งานเอกสารหลักของครูคือ แผนการสอน เป็นงานที่บอกได้คำเดียว ถ้าไม่ยึดตามหลักการนะ ปัจจุบันแทบไม่มีผลต่อการสอนเลย ส่วนใหญ่แผนการสอนของครูก็จะอยู่ให้หัวสมองอยู่แล้ว ผมเชื่อว่า การทำแผนการสอนเป็นอะไรที่น่าเบื่อมาก ผมก็เลยไปนั่งวิเคราะแผนการสอนในปัจจุบัน พบว่ามีหลายอย่างที่ยังมีปัญหาอยู่ โดยเฉพาะการทำแผนการสอนที่มีความซ้ำซ้อนในรายละเอียดมาก ผมเลยลองคิดขึ้นมาเล่นๆนะ
ย้ำว่าเล่นๆ แต่ถ้าใครอยากเอาไปใช้จริงก็ไม่ว่ากัน
ผมตั้งชื่อแผนนี้ว่า
ระบบแผนการจัดการเรียนรู้
(Story board learning plan : SBLP)
จุดเด่นการใช้แผนนี้คือ ลดเวลาการทำแผนลง คือทำ 1 แผน ใช้สอนได้ชั่วโมงในหัวข้อเดียวกัน ลดการใช้กระดาษได้ถึง 75% และสามารถนำไปทำงานวิจัยในชั้นเรียนได้ สามารถศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกับวิธีสอนของครูได้ และประโยชน์อีกมากมาย
ผมจะอธิบายและรีวิว Story board learning plan : SBLP เป็นหัวข้อไปนะครับ
ส่วนด้านบนของแผน
เพิ่มในส่วนของ จำนวนนักเรียน
เหตุผล การวางแผนการสอนที่มีประสิทธิ์ภาพขึ้นอยู่กับจำนวนนักเรียน มันเป็นตัวกำหนดรูปแบบการสอนและการนำแผนไปใช้
เพิ่มในส่วนของ วันที่เริ่ม วันที่สิ้นสุด
เหตุผล จริงๆแล้วการจัดการเรียนรู้ให้กับนักเรียน ถ้าตีความกันจริงๆ มันไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะเวลาในชั่วโมงที่เราสอน แต่เกิดขึ้นในทุกๆเวลาที่เรายังอยู่บทเรียนนั้น เช่นวันนี้เราสอนเรื่องการบวก ถามว่าเราสอนจบ แล้วเด็กสามารถมีกระบวนการเรียนรู้ต่อได้ไหม การบ้านที่ให้ไปก็ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ที่เราจัดให้เช่นเดียวกัน
เพิ่มในส่วนของ กลุ่มชั้นเรียน
เหตุผล ตามปกติแล้วการจัดชั้นเรียนจะเป็น ประถม มัธยม แต่ตอนนี้ในการจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21 การสอนไม่ได้อยู่แค่นั้น เราสามารถจัดกลุ่มต่างๆได้อิสระ ตามความสนใจและความสามารถในระดับเดียวกัน เช่น กลุ่ม นักเรียนเรียนช้า กลุ่มเสริมความรู้ การใช้แผนนี้ก็เสมือนเป็นหลักสูตรย่อยๆในเรื่องที่เรียนรู้นั้น
ที่นี้เรามาดูในส่วนของเนื้อหาของแผนหน้าแรกกัน
ทักษะที่จำเป็นต้องต้องมี
ตรงนี้เป็นส่วนเพิ่มเติมเข้ามา เหตุผล คือ เวลาเราใช้แผนนี้สอน หรือในการสอน หากแต่ว่านักเรียนไม่มีพื้นฐานจากเรื่องเดิมมาก่อน การใช้แผนการสอนในการสอนจริงก็จะไม่ประสบความสำเร็จในการใช้ ตรงนี้จึงมองว่าเป็นเรื่องสำคัญมากๆ เพราะถ้าเด็กไม่มีพื้นฐานหรือพื้นฐานไม่เพียงพอ การออกแบบแผนในเรื่องนั้นจะเป็นเรื่องที่ยากมาก
จุดประสงค์แผนการการเรียนรู้
ตรงนี้ดูคล้ายๆกัน แต่ผมอยากให้สังเกตุนะครับ คำว่า จุดประสงค์แผนการเรียนรู้ คือ จุดประสงค์ที่เราทำแผนนี้ขึ้นมาเพื่อให้นักเรียนเรียนรู้อะไร ยังไม่ได้ไปถึงเป้าหมายนะครับ
สาระแผนการเรียนรู้
ตรงนี้คล้ายๆกันกับแผนปัจจุบัน เวลาเขียนอาจจะต้องสรุปใจความนิดนึ่ง
เป้าหมาย
ตรงนี้เป็นส่วนที่นำมาเขียนหัวข้อใหม่ที่ชัดเจนขึ้น ความหมายก็ประมาณว่า เราต้องการให้เกิดการเรียนรู้อะไรเมื่อเราได้ทำตามแผนนี้สำเร็จ
ส่วนสนองมาตรฐาน/ตัวชี้วัด เป็นส่วนของการอ้างอิงนะครับ
ผมอยากให้ดูสิ่งที่วางเป็นระบบของแผนนี้
นั้นคือ กระบวนการ ต้นทาง--------ระหว่างทาง------------ปลายทาง และโยงด้วยอ้างอิง
ผมเขียนแยกเป็นหัวข้อ ดังนี้
ต้นทาง คือ ทักษะจำเป็นต้องมี
ระหว่างทาง คือ 1.จุดประสงค์แผนการเรียนรู้ 2.สาระแผนการเรียนรู้
ปลายทาง คือ เป้าหมาย
อ้างอิง คือ มาตรฐาน/ตัวชี้วัด
โดยปกติแล้วแผนปัจจุบันจะไม่ค่อยมี ต้นทาง ทำให้การเขียนแผนนั้นไม่ได้เกิดผลลัพท์ที่ควรจะเป็น
และจุดเด่นของแผนนี้ก็อยู่ในหน้าที่ 2 การเขียนผังงาน
ผมออกแบบโดยใช้รูปแบบผังงานเพื่อให้เข้าใจถึงกระบวนการจัดการเรียนรู้ให้กับนักเรียน เหตุผลที่ใช้ เพราะโดยปกติแล้วในการวางแผนต่างๆที่มีตัวแปรเยอะๆ ไม่มีใครเค้าวางแผนเป็นเส้นตรงหรอก คำว่าเส้นตรงหมายถึง กระบวนการทำงานที่มีแค่วิธีเดียวแต่พอเกิดปัญหาระหว่างกระบวนการ ทำให้งานสะดุดและดำเนินงานตามแผนไม่ได้ เช่น การสอนคณิตศาสตร์ คุณสอนวิธีที่ 1 แต่เด็กไม่เข้าใจ คุณแค่วางแผนมาแค่อย่างเดียว พอถึงเวลาก็ใช้ประสบการณ์ตนเองผ่านมาได้ สอนนักเรียนได้ แต่คนอื่นเค้าอาจจะคิดไม่แก้ปัญหาไม่ได้ ก็จบเลย หรือ การสอนนอกห้องเรียนในสนาม จะสอนเรื่องนี้แต่ฝนตนจะหาแผนสำรองอย่างไร คือในชีวิตจริงอาจจะทำได้ แต่ถ้าในแผนการสอนมันคิดเหมือนสมองเราไม่ได้ ความจำเป็นที่จะทำให้งานสอนเรามีระบบมากขึ้นก็คือ สิ่งนี้แหละ อาจจะเรียกว่าการเขียนแผนการสอนแบบหลายทาง
จุดสำคัญก็จะมีระบบ Timeline
แบ่งชัดเจนเป็นช่วงๆว่า ในชั่วโมงนี้เราได้จัดกระบวนการอะไรให้กับเด็ก และผลที่คาดว่าเราจะต้องเจอมีอะไรบ้าง เช่น ถ้าผลการทดสอบแล้วเด็กหลายคนทำไม่ได้ เราจะแบ่งอย่างไร จะมีวิธีจัดการเรียนการสอนได้อย่างไร ซึ่งเป็นจุดสำคัญมากๆ มันเหมือนการคำนวณความน่าจะเป็นที่เกิดขึ้นมาว่า ผลลัพท์ที่เกิดขึ้นมามีอะไรบ้าง ความเป็นไปได้ในการแก้ปัญหามีเท่าไร
(อย่างในแผนนี้ใช้กลยุทธ์ UDL มาจัดการตัวแปร คือสอนหลายวิธีในเด็กได้เลือกใช้)
ระบบอย่างนึ่งที่น่าสนใจคือ ความต่อเนื่องของแผนที่ใช้ มีการปูฐานมาอย่างไร ดำเนินการในพื้นฐานของเวลาอย่างไร บริหารอย่างไร ถ้าลองให้คุณครูหลายคนสอบเขียนแผนแบบนี้ ผลลัพท์ที่เกิดขึ้นมาคือ กระบวนการแก้ปัญหา และวิธีวางแผนการจัดการเรียนรู้ของแต่ละคน บ้างก็อาจจะทำแบบเส้นตรง บ้างก็อาจจะซับซ้อนเกินไป และบ่งชี้ถึงทัศนคติในการสอนด้วย
ในหน้าถัดไปมีกระบวนการที่จะต้องบรรยายในหน้าที่ 2 คือ
ระบบ Script แต่ละกรอบนั้นมีกระบวนการทำงานงานอย่างไร มันช่วยให้ระบบแผนการการสอนเรามีประสิทธิ์ภาพมากขึ้นไปอีกขั้น ความชัดเจนเมื่อเกิดปัญหาต่งๆมากมาย วิธีการสอนตามแผนที่แตกต่างแต่สามารถอ้างอิงได้
จุดสำคัญของกรอบกระบวนการ คือ การเขียนการดำเนินการให้ชัดเจนว่า กรอบนี้เราต้องทำอะไรบ้าง เกิดอะไรขึ้นในกระบวนการสอนของเราบ้าง มันจะช่วยให้เรามีทิศทางที่ชัดเจน
ในส่วนแผนสุดท้าย คือสรุประบบแผนการจัดการเรียนรู้
ความน่าสนใจอยู่ที่การนำระบบการสรุปแบบวิจัยมาใช้
มีส่วนของการสรุปแบบเชิงปริมาณ ที่เพิ่มเข้ามา ทำให้รู้ได้ว่า นักเรียนที่ยังไม่สามารถบรรลุถึง จุดประสงค์ที่ต้องการได้มีกี่คน การสรุปนั้นขึ้นอยู่กับข้อมูลที่ผู้สอนที่จะให้ มันเป็นส่วนของการเขียนแผนให้มีประสิทธิภาพ
และการสรุปในส่วนของเชิงคุณภาพ ให้มองในมุมมองว่า ภาพรวมเป็นอย่างไร ดีไหม หรือไม่ดี มีการอาจจะระบุตัวแปรที่เกิดขึ้นนอกแผนนี้
และการพัฒนาในระบบแผนการจัดการเรียนรู้ เป็นการสรุปเพื่อการปรับปรุงระบบแผนนี้ ในการแก้ปัญหา วางแผนที่ดีขึ้นต่อไปหลังดำเนินการตามแผนนี้
สุดท้ายก็จะมีสรุปว่า แผนที่เราทำประสบความสำเร็จในระดับ เป็นการบอกเพื่อ เผื่อใครอยากเอาแผนเราไปใช้ จะได้รู้ประสิทธิการวางแผนของแผนนี้
และหน้าสุดท้ายก็ ผอ เซ็นต์
อันนี้เป็นระบบแผนที่คิดเล่นๆนะครับ ไม่อยากให้คาดหวังว่ามันจะเกิดขึ้นจริง เพราะอย่างไร เค้าก็คงไม่เอาแผนเด็กออทิสติกอย่างผมไปใช้กันทั่วประเทศอยู่แล้ว ในใจลึกๆอยากให้ใช้นะ ผมเชื่อว่าการลดขั้นตอนการทำงานที่ซ้ำซ้อน จะช่วยให้ครูพัฒนานักเรียนได้ดีขึ้น ผมเชื่อว่าอย่างนั้น
ย้ำนะครับ ว่าคิดเล่นๆ แต่ตั้งใจรีวิวมากเลย ส่วนใครที่รู้จักผม ก็น่าพอรู้ว่าผมเป็นคนชอบพัฒนาระบบละ
สำหรับใครที่มีข้อเสนอแนะอย่างไร เขียนติชมมาได้เลยนะครับ ผมไม่ว่า ผมอยากพัฒนาสิ่งที่ผมคิดให้ดีที่สุดครับ