World's first nanofish
A Sapphire Golden Arowana © Bazuki Muhammad / Reuters ที่มา
http://goo.gl/YWAKd4
Jinxing Li วิศวกรใน San Francisco ได้สร้างสิ่งประดิษฐ์ที่แสนมหัศจรรย์
ปลานาโนที่มีขนาดเล็กเพียง 1/100 เทียบเท่ากับเม็ดทราย
มันสามารถนำยาส่งไปยังทุกส่วนที่ต้องการในร่างกายมนุษย์ได้
เหมาะสำหรับใช้ในบริเวณที่ต้องผ่าตัดแบบไร้รอยแผล
หรือแม้แต่การให้ตรงไปที่เซลล์เพียงจุดเดียว
ปลานาโน Nanofish ทำจากทองคำและนิเกิล ที่ผสานกันด้วยเงิน
ส่วนหัวและหางทำจากทองคำ ส่วนลำตัวทำจากนิเกิล
แต่ละตัวมีขนาดยาว 800 nanometers
(1 nanometer เท่ากับ 1 พันล้านส่วนของ 1 meter)
รายงานข่าวจาก The New Scientist
มันทำงานได้อย่างไร
สนามแม่เหล็ก (Oscillating Magnetic Field) ถูกดัดแปลงเพื่อทำให้นิเกิลเคลื่อนที่จากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง
ด้วยการขยับเขยื้อนส่วนหัวกับส่วนหางในการทำให้มันเคลื่อนไหวได้เหมือนกับการว่ายน้ำ
สนามแม่เหล็กยังสามารถใช้ในการบ่งชี้เป้าหมายเฉพาะเจาะจงของ Nanofish ได้ด้วย
รายงานวิจัยของปลามหัศจรรย์ตัวนี้นำทีมโดย Jinxing Li ที่ University of California เขต San Diego
ซึ่งต้องการให้สิ่งประดิษฐ์ตัวจิ๋วที่ว่ายน้ำได้นี้ จะถูกนำไปใช้งานกับด้านการแพทย์ได้
“ เราเชื่อว่าพวกมันมีประโยชน์กับการใช้งานทางการแพทย์
การผ่าตัดแบบไร้รอยแผล และการจัดการเฉพาะเจาะจงตรงเซลล์เป้าหมาย " Li ให้สัมภาษณ์
นักวิทยาศาสตร์รายอื่น ๆ ก็ชื่นชอบกับแนวคิดนี้เช่นกัน แต่ยังไม่ตอบรับกับเรื่องนี้มากนัก
เพราะยังมีอีกหลายสิ่งหลายอย่างที่ต้องทำอีกมากมายกว่าจะใช้ประโยชน์จาก Nanofish ได้จริง ๆ
“ มันเป็นแนวคิดใหม่ที่น่าตื่นเต้นเรื่องหนึ่งทีเดียว
มีผลงานวิจัยหลายเรื่องเกี่ยวกับการนำยาส่งตรงไปยังเป้าหมายร่างกายของคนไข้
เรื่องการเคลื่อนย้ายอนุภาคของยาเหมือนพยาธิที่ไปตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้โดยตรงจุดที่ต้องการ
อย่างไรก็ตาม การนำส่งยาที่เคลื่อนไหวได้นี้ เป็นจุดเริ่มต้นที่จะขยายผลต่อไปได้
และผลงานนี้ได้แสดงถึงวิธีการส่งยาไปยังเป้าหมายที่มีขนาดเล็กมากและเร็วกว่าเดิมมาก ”
Justin Gooding ที่ University of New South Wales ใน Australia ให้สัมภาษณ์กับ The New Scientist
อีกประเด็นหนึ่งที่ยังไม่ชัดเจนเกี่ยวกับ Nanofish ก็คือ
ยังไม่มีคำตอบว่า มันจะนำออกมาจากร่างกายได้อย่างไรหลังจากใช้งาน
แต่ทีมนักวิจัยที่นำโดย Jinxing Li พยายามที่จะสร้างรุ่นที่ย่อยสลายได้โดยง่าย
นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่นักวิทยาศาสตร์พยายามจะพัฒนา นักว่ายน้ำนาโน Nanoswimmers ในการส่งยา
หลังจากที่มีผลการศึกษาก่อนหน้านี้ ที่ได้รับแรงบันดาลใจเกี่ยวกับรูปร่างแบบขดลวดของแบคทีเรีย
แต่วิธีการของ nanofish ได้พิสูจน์แล้วว่ามีประสิทธิภาพมากกว่า
เรียบเรียง/ที่มา
http://goo.gl/YWAKd4
http://goo.gl/luVU5W
http://goo.gl/xX5HjQ
Nanofish ตัวแรกของโลกใช้ส่งยาไปทุกส่วนของร่างกายได้
World's first nanofish
A Sapphire Golden Arowana © Bazuki Muhammad / Reuters ที่มา http://goo.gl/YWAKd4
Jinxing Li วิศวกรใน San Francisco ได้สร้างสิ่งประดิษฐ์ที่แสนมหัศจรรย์
ปลานาโนที่มีขนาดเล็กเพียง 1/100 เทียบเท่ากับเม็ดทราย
มันสามารถนำยาส่งไปยังทุกส่วนที่ต้องการในร่างกายมนุษย์ได้
เหมาะสำหรับใช้ในบริเวณที่ต้องผ่าตัดแบบไร้รอยแผล
หรือแม้แต่การให้ตรงไปที่เซลล์เพียงจุดเดียว
ปลานาโน Nanofish ทำจากทองคำและนิเกิล ที่ผสานกันด้วยเงิน
ส่วนหัวและหางทำจากทองคำ ส่วนลำตัวทำจากนิเกิล
แต่ละตัวมีขนาดยาว 800 nanometers
(1 nanometer เท่ากับ 1 พันล้านส่วนของ 1 meter)
รายงานข่าวจาก The New Scientist
Cultura/REX/Shutterstock ที่มา http://goo.gl/luVU5W
มันทำงานได้อย่างไร
สนามแม่เหล็ก (Oscillating Magnetic Field) ถูกดัดแปลงเพื่อทำให้นิเกิลเคลื่อนที่จากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง
ด้วยการขยับเขยื้อนส่วนหัวกับส่วนหางในการทำให้มันเคลื่อนไหวได้เหมือนกับการว่ายน้ำ
สนามแม่เหล็กยังสามารถใช้ในการบ่งชี้เป้าหมายเฉพาะเจาะจงของ Nanofish ได้ด้วย
รายงานวิจัยของปลามหัศจรรย์ตัวนี้นำทีมโดย Jinxing Li ที่ University of California เขต San Diego
ซึ่งต้องการให้สิ่งประดิษฐ์ตัวจิ๋วที่ว่ายน้ำได้นี้ จะถูกนำไปใช้งานกับด้านการแพทย์ได้
“ เราเชื่อว่าพวกมันมีประโยชน์กับการใช้งานทางการแพทย์
การผ่าตัดแบบไร้รอยแผล และการจัดการเฉพาะเจาะจงตรงเซลล์เป้าหมาย " Li ให้สัมภาษณ์
นักวิทยาศาสตร์รายอื่น ๆ ก็ชื่นชอบกับแนวคิดนี้เช่นกัน แต่ยังไม่ตอบรับกับเรื่องนี้มากนัก
เพราะยังมีอีกหลายสิ่งหลายอย่างที่ต้องทำอีกมากมายกว่าจะใช้ประโยชน์จาก Nanofish ได้จริง ๆ
“ มันเป็นแนวคิดใหม่ที่น่าตื่นเต้นเรื่องหนึ่งทีเดียว
มีผลงานวิจัยหลายเรื่องเกี่ยวกับการนำยาส่งตรงไปยังเป้าหมายร่างกายของคนไข้
เรื่องการเคลื่อนย้ายอนุภาคของยาเหมือนพยาธิที่ไปตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้โดยตรงจุดที่ต้องการ
อย่างไรก็ตาม การนำส่งยาที่เคลื่อนไหวได้นี้ เป็นจุดเริ่มต้นที่จะขยายผลต่อไปได้
และผลงานนี้ได้แสดงถึงวิธีการส่งยาไปยังเป้าหมายที่มีขนาดเล็กมากและเร็วกว่าเดิมมาก ”
Justin Gooding ที่ University of New South Wales ใน Australia ให้สัมภาษณ์กับ The New Scientist
อีกประเด็นหนึ่งที่ยังไม่ชัดเจนเกี่ยวกับ Nanofish ก็คือ
ยังไม่มีคำตอบว่า มันจะนำออกมาจากร่างกายได้อย่างไรหลังจากใช้งาน
แต่ทีมนักวิจัยที่นำโดย Jinxing Li พยายามที่จะสร้างรุ่นที่ย่อยสลายได้โดยง่าย
นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่นักวิทยาศาสตร์พยายามจะพัฒนา นักว่ายน้ำนาโน Nanoswimmers ในการส่งยา
หลังจากที่มีผลการศึกษาก่อนหน้านี้ ที่ได้รับแรงบันดาลใจเกี่ยวกับรูปร่างแบบขดลวดของแบคทีเรีย
แต่วิธีการของ nanofish ได้พิสูจน์แล้วว่ามีประสิทธิภาพมากกว่า
ที่มา http://goo.gl/xX5HjQ
เรียบเรียง/ที่มา
http://goo.gl/YWAKd4
http://goo.gl/luVU5W
http://goo.gl/xX5HjQ
ตัวอย่างแบคทีเรียแบบขดลวด ที่มา http://goo.gl/wtRHn6
ตัวอย่างแบคทีเรียแบบขดลวด ที่มา http://goo.gl/SHXQR9