ที่มา:
http://www.matichon.co.th/news/280208
เมื่อวันที่ 10 กันยายน พ.ต.อ.ฉัตรไชย เรียนเมฆ รองผู้บังคับการตำรวจภูธร (รอง ผบก.ภ.) ประจวบคีรีขันธ์ เปิดเผยว่า หลังจากตรวจสอบรายงานความคืบหน้าคดีบุกรุกชายหาดในเขตเทศบาลหัวหิน กรณีนายทุน 52 ราย ก่อสร้างอาคารรุกพื้นที่ชายหาด ตั้งแต่ศาลเจ้าแม่ทับทิมถึงสะพานปลาหัวหินเพื่อประกอบธุรกิจโรงแรม ร้านอาหารซีฟู้ดขนาดใหญ่ บ้านพักอาศัย บริเวณริมถนนนเรศดำริห์ หลังจากศาลจังหวัดประจวบคีรีขันธ์มีคำพิพากษาตั้งแต่ปี 2557 โดยเทศบาลเมืองหัวหินเป็นโจทก์ยื่นฟ้องผู้บุกรุกทั้งหมดตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร 2522 ตั้งแต่ปี 2546 และที่ผ่านมาผู้พิพากษาได้พิจารณาออกหมายจับผู้ต้องหา 8 ราย ตั้งแต่วันที่ 10 กันยายน 2557 เนื่องจากจำเลยไม่ได้เดินทางไปฟังคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีดังกล่าว ล่าสุดได้สั่งการให้ ผกก.สภ.หัวหิน เร่งรัดจับกุมจำเลยทั้งหมดตามหมายจับให้เรียบร้อยโดยเร็ว เนื่องจากผู้ต้องหาส่วนใหญ่ไม่ได้หลบหนี แต่เป็นนักธุรกิจที่มีชื่อเสียง เป็นหัวคะแนนของนักการเมืองท้องถิ่นในเมืองหัวหิน และให้รายงานชี้แจงเหตุผลให้ทราบว่าเหตุใดหลังรับทราบหมายจับ แต่ไม่มีการจับกุมผู้ต้องหาตามอำนาจหน้าที่นานกว่า 2 ปี
นายนพพร วุฒิกุล นายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองหัวหิน ได้แจ้งหนังสือที่ ปข 52306.3//ว 3860 ลงวันที่ 7 กันยายน 2559 แจ้งให้จำเลยทุกรายปฏิบัติตามคำพิพากษาศาลฎีกา หลังจากพบว่าจำเลยยังไม่มีการรื้อถอนอาคารและยังไม่ได้ชำระค่าปรับตามคำพิพากษาศาลฎีกา ทั้งนี้จำเลยอาจมีหนังสือยินยอมให้เทศบาลหัวหินเข้าดำเนินการรื้อถอนโดยผู้บุกรุกต้องเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการรื้อถอนโดยให้ดำเนินการภายใน 30 วันนับตั้งแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้ง หากเพิกเฉยไม่ปฏิบัติตามภายในเวลาที่กำหนด เทศบาลจะพิจารณาตามขั้นของกฎหมายต่อไป
สำหรับค่าปรับที่ศาลฎีกามีคำสั่งปรับจำเลยที่ 3 ถึงที่ 11 มีความผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร 2522 แต่ละรายนั้นศาลได้พิจารณามีค่าปรับรายวันวันละ 1,000-3,000 บาท ตามระยะวลาที่ฝ่าฝืนตาม พ.ร.บ.ฯนับถึงวันฟ้อง ทำให้จำเลยแต่ละรายต้องจ่ายค่าปรับรายละเกือบ 1 ล้านบาทถึง 1.3 ล้านบาท ซึ่งระยะเวลา 2 ปี หลังศาลฎีกาอ่านคำพิพากษาเมื่อวันที่ 10 กันยายน 2557 แต่เทศบาลหัวหินในฐานะผู้เสียหายตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคารฯ ได้ทำการตรวจสำนวนเมื่อวันที่ 23 สิงหาคมที่ผ่านมา พบว่าจำเลยไม่ได้ปฏิบัติตามคำพิพากษา
ด้าน พ.ต.อ.บัญชา ปั้นประดับ รองผู้บังคับการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (รอง ผบก.ปทส.) กล่าวว่า จากการติดตามความคดีหน้าคดีรุกหาดหัวหินพบว่ามีความล่าช้าผิดปกติ หลังจากศาลฎีกามีคำพิพากษาแล้ว 2 ปี แต่เจ้าพนักงานท้องถิ่นเพิ่งมีหนังสือถึงจำเลย ล่าสุดฝ่ายปกครอง อ.หัวหิน กรมสอบสวนคดีพิเศษหรือดีเอสไอ เจ้าหน้าที่จากสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) พร้อมเจ้าหน้าที่ทหารจาก กอ.รมน.ส่วนกลาง จะลงพื้นที่เพื่อร่วมกันตรวจสอบและเร่งรัดดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายในฐานความผิดบุกรุกที่สาธารณประโยชน์ มีการปล่อยน้ำเสียทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยขอให้ผู้บริหารเทศบาลหัวหินชี้แจงเหตุผลความล่าช้า มีการประวิงเวลาโดยส่อเจตนาไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาล
สั่งนายทุน 52 ราย รื้อตึกรุก ‘หาดหัวหิน’ ภายใน 30 วัน ชี้ส่วนใหญ่เป็นนักธุรกิจ นักการเมืองท้องถิ่น
เมื่อวันที่ 10 กันยายน พ.ต.อ.ฉัตรไชย เรียนเมฆ รองผู้บังคับการตำรวจภูธร (รอง ผบก.ภ.) ประจวบคีรีขันธ์ เปิดเผยว่า หลังจากตรวจสอบรายงานความคืบหน้าคดีบุกรุกชายหาดในเขตเทศบาลหัวหิน กรณีนายทุน 52 ราย ก่อสร้างอาคารรุกพื้นที่ชายหาด ตั้งแต่ศาลเจ้าแม่ทับทิมถึงสะพานปลาหัวหินเพื่อประกอบธุรกิจโรงแรม ร้านอาหารซีฟู้ดขนาดใหญ่ บ้านพักอาศัย บริเวณริมถนนนเรศดำริห์ หลังจากศาลจังหวัดประจวบคีรีขันธ์มีคำพิพากษาตั้งแต่ปี 2557 โดยเทศบาลเมืองหัวหินเป็นโจทก์ยื่นฟ้องผู้บุกรุกทั้งหมดตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร 2522 ตั้งแต่ปี 2546 และที่ผ่านมาผู้พิพากษาได้พิจารณาออกหมายจับผู้ต้องหา 8 ราย ตั้งแต่วันที่ 10 กันยายน 2557 เนื่องจากจำเลยไม่ได้เดินทางไปฟังคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีดังกล่าว ล่าสุดได้สั่งการให้ ผกก.สภ.หัวหิน เร่งรัดจับกุมจำเลยทั้งหมดตามหมายจับให้เรียบร้อยโดยเร็ว เนื่องจากผู้ต้องหาส่วนใหญ่ไม่ได้หลบหนี แต่เป็นนักธุรกิจที่มีชื่อเสียง เป็นหัวคะแนนของนักการเมืองท้องถิ่นในเมืองหัวหิน และให้รายงานชี้แจงเหตุผลให้ทราบว่าเหตุใดหลังรับทราบหมายจับ แต่ไม่มีการจับกุมผู้ต้องหาตามอำนาจหน้าที่นานกว่า 2 ปี
นายนพพร วุฒิกุล นายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองหัวหิน ได้แจ้งหนังสือที่ ปข 52306.3//ว 3860 ลงวันที่ 7 กันยายน 2559 แจ้งให้จำเลยทุกรายปฏิบัติตามคำพิพากษาศาลฎีกา หลังจากพบว่าจำเลยยังไม่มีการรื้อถอนอาคารและยังไม่ได้ชำระค่าปรับตามคำพิพากษาศาลฎีกา ทั้งนี้จำเลยอาจมีหนังสือยินยอมให้เทศบาลหัวหินเข้าดำเนินการรื้อถอนโดยผู้บุกรุกต้องเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการรื้อถอนโดยให้ดำเนินการภายใน 30 วันนับตั้งแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้ง หากเพิกเฉยไม่ปฏิบัติตามภายในเวลาที่กำหนด เทศบาลจะพิจารณาตามขั้นของกฎหมายต่อไป
สำหรับค่าปรับที่ศาลฎีกามีคำสั่งปรับจำเลยที่ 3 ถึงที่ 11 มีความผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร 2522 แต่ละรายนั้นศาลได้พิจารณามีค่าปรับรายวันวันละ 1,000-3,000 บาท ตามระยะวลาที่ฝ่าฝืนตาม พ.ร.บ.ฯนับถึงวันฟ้อง ทำให้จำเลยแต่ละรายต้องจ่ายค่าปรับรายละเกือบ 1 ล้านบาทถึง 1.3 ล้านบาท ซึ่งระยะเวลา 2 ปี หลังศาลฎีกาอ่านคำพิพากษาเมื่อวันที่ 10 กันยายน 2557 แต่เทศบาลหัวหินในฐานะผู้เสียหายตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคารฯ ได้ทำการตรวจสำนวนเมื่อวันที่ 23 สิงหาคมที่ผ่านมา พบว่าจำเลยไม่ได้ปฏิบัติตามคำพิพากษา
ด้าน พ.ต.อ.บัญชา ปั้นประดับ รองผู้บังคับการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (รอง ผบก.ปทส.) กล่าวว่า จากการติดตามความคดีหน้าคดีรุกหาดหัวหินพบว่ามีความล่าช้าผิดปกติ หลังจากศาลฎีกามีคำพิพากษาแล้ว 2 ปี แต่เจ้าพนักงานท้องถิ่นเพิ่งมีหนังสือถึงจำเลย ล่าสุดฝ่ายปกครอง อ.หัวหิน กรมสอบสวนคดีพิเศษหรือดีเอสไอ เจ้าหน้าที่จากสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) พร้อมเจ้าหน้าที่ทหารจาก กอ.รมน.ส่วนกลาง จะลงพื้นที่เพื่อร่วมกันตรวจสอบและเร่งรัดดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายในฐานความผิดบุกรุกที่สาธารณประโยชน์ มีการปล่อยน้ำเสียทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยขอให้ผู้บริหารเทศบาลหัวหินชี้แจงเหตุผลความล่าช้า มีการประวิงเวลาโดยส่อเจตนาไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาล