ความดับทุกข์มี เพราะความดับไป แห่งความเพลิน (นันทิ)

ปุณณะ ! รูป ที่เห็นด้วย ตา ก็ดี, เสียง ที่ฟัง
ด้วย หู ก็ดี, กลิ่น ที่ดมด้วย จมูก ก็ดี, รส ที่ลิ้ม ด้วย ลิ้น
ก็ดี, โผฏฐัพพะ ที่สัมผัสด้วย กาย ก็ดี, ธรรมารมณ์ ที่
รู้แจ้งด้วย ใจ ก็ดี, อันเป็นสิ่งที่น่าปรารถนา น่ารักใคร่
น่าพอใจ เป็นที่ยวนตายวนใจให้รัก เป็นที่เข้าไปตั้ง
อาศัยอยู่แห่งความใคร่ เป็น ที่ตั้งแห่งความกำหนัด
ย้อมใจ มีอยู่ ;
ภิกษุย่อมไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำสรรเสริญ ไม่
เมาหมกซึ่งอารมณ์ มีรูปเป็นต้นนั้น. เมื่อภิกษุไม่
เพลิดเพลิน ไม่พร่ำสรรเสริญ ไม่เมาหมก ซึ่งอารมณ์มี
รูป เป็นต้นนั้นอยู่, นันทิ (ความเพลิน) ย่อมดับไป.
ปุณณะ ! เรากล่าวว่า “ความดับไม่มีเหลือ
ของทุกข์มีได้ เพราะความดับไม่เหลือของความเพลิน”
ดังนี้ แล.
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่