ญี่ปุ่นเจอเรื่องอื้อฉาว งบบานปลายจัดโอลิมปิก 2020 กูรูชี้เป็นเจ้าภาพไม่ช่วยกู้เศรษฐกิจ
สำนักข่าวซีเอ็นเอ็น รายงานว่าญี่ปุ่นซึ่งรับไม้ต่อการเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันโอลิมปิกที่กรุงโตเกียวในปี 2020 กำลังเผชิญกับข่าวอื้อฉาวและงบประมาณที่บานปลาย ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญหลายฝ่ายเริ่มตั้งข้อสงสัยต่อการจัดการแข่งขันดังกล่าวจะสามารถช่วยเหลือเศรษฐกิจของญี่ปุ่นที่เต็มไปด้วยหนี้และการเผชิญกับภาวะเงินฝืดได้หรือไม่ โดยญี่ปุ่นพยายามใช้การจัดการแข่งขันดึงนักท่องเที่ยวและสนับสนุนเอกชนและนวัตกรรมภายในประเทศ
โรเบิร์ต บาด และวิกเตอร์ มาเธอซัน นักเศรษฐศาสตร์ชาวสหรัฐ เปิดเผยว่า แทบไม่มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจสำหรับการจัดการแข่งขันกีฬาหรือช่วยเศรษฐกิจได้น้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้ โดยธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ) คาดการณ์ว่าการจัดการแข่งขันโอลิมปิกจะช่วยเศรษฐกิจญี่ปุ่นได้0.3% ต่อปี ไปจนถึงปี 2018
“งบประมาณสำหรับการจัดการกับสถานที่พิเศษและการจัดการงานอีเวนต์ต้องใช้มหาศาล โดยเฉพาะงบประมาณด้านความมั่นคง จึงเป็นการยากที่รายได้จากการจัดโอลิมปิกและการท่องเที่ยวโดยรอบจะครอบคลุมงบประมาณในส่วนดังกล่าว”บาดและมาเธอซัน ระบุในรายงานวิจัยเศรษฐศาสตร์โอลิมปิก
สอดคล้องกับ แอนดริว ไซมาบลิสต์ นักเศรษฐศาสตร์จากสมิธคอลเลจ ในรัฐแมสซาชูเซตส์ สหรัฐ ซึ่งศึกษาผลกระทบจากการเป็นเจ้าภาพจัดงานกีฬาต่อเศรษฐกิจ การเป็นเจ้าภาพจัดโอลิมปิกจะไม่ช่วยเศรษฐกิจญี่ปุ่นให้ขยายตัวได้มากเนื่องจากแผนการของญี่ปุ่นไม่สามารถสร้างการขยายตัวทางเศรษฐกิจได้มากเพียงพอ ซีเอ็นเอ็น ระบุว่า นับตั้งแต่ญี่ปุ่นประกาศเป็นเจ้าภาพโอลิมปิกปี 2020 ญี่ปุ่นเผชิญเรื่องอื้อฉาวมาก เช่น การติดสินบนในกระบวนการประมูลเจ้าภาพจัดการแข่งขัน หรือการยกเลิกโลโก้ที่ใช้สำหรับการแข่งขันดังกล่าว เนื่องจากพบไปลอกเลียนงานออกแบบของศิลปินชาวเบลเยียม
ก่อนหน้านี้ ยูริโกะ โคอิเกะ ผู้ว่าราชการหญิงคนแรกของกรุงโตเกียว กล่าวว่า จะทบทวนรายจ่ายสำหรับโอลิมปิกภายหลังคณะกรรมการผู้จัดพบงบประมาณดังกล่าวสูงเกินกว่าที่คาดการณ์ไว้ที่แรกที่ 3.5 แสนล้านเยน (ราว 1.19 แสนล้านบาท) โดยยังไม่ครอบคลุมการสร้างสิ่งปลูกสร้างสำหรับการแข่งขันเพิ่มเติม ด้าน เจฟฟ์ คิงสตัน ผู้เชี่ยวชาญด้านเอเชียศึกษา
มหาวิทยาลัยเทมเปิลในญี่ปุ่น กล่าวว่า ญี่ปุ่นต้องการควบคุมงบประมาณไม่ให้บานปลายและสร้างสิ่งปลูกสร้างที่ไม่จำเป็นสำหรับหลังการจัดการแข่งขันดังกล่าว ซึ่งจำเป็นต้องใช้งบประมาณในการดูแลรักษาภายหลังจบงาน
http://www.posttoday.com/world/news/450532
‘ญี่ปุ่น’เฉา โอลิมปิกไม่ช่วย
สำนักข่าวซีเอ็นเอ็น รายงานว่าญี่ปุ่นซึ่งรับไม้ต่อการเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันโอลิมปิกที่กรุงโตเกียวในปี 2020 กำลังเผชิญกับข่าวอื้อฉาวและงบประมาณที่บานปลาย ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญหลายฝ่ายเริ่มตั้งข้อสงสัยต่อการจัดการแข่งขันดังกล่าวจะสามารถช่วยเหลือเศรษฐกิจของญี่ปุ่นที่เต็มไปด้วยหนี้และการเผชิญกับภาวะเงินฝืดได้หรือไม่ โดยญี่ปุ่นพยายามใช้การจัดการแข่งขันดึงนักท่องเที่ยวและสนับสนุนเอกชนและนวัตกรรมภายในประเทศ
โรเบิร์ต บาด และวิกเตอร์ มาเธอซัน นักเศรษฐศาสตร์ชาวสหรัฐ เปิดเผยว่า แทบไม่มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจสำหรับการจัดการแข่งขันกีฬาหรือช่วยเศรษฐกิจได้น้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้ โดยธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ) คาดการณ์ว่าการจัดการแข่งขันโอลิมปิกจะช่วยเศรษฐกิจญี่ปุ่นได้0.3% ต่อปี ไปจนถึงปี 2018
“งบประมาณสำหรับการจัดการกับสถานที่พิเศษและการจัดการงานอีเวนต์ต้องใช้มหาศาล โดยเฉพาะงบประมาณด้านความมั่นคง จึงเป็นการยากที่รายได้จากการจัดโอลิมปิกและการท่องเที่ยวโดยรอบจะครอบคลุมงบประมาณในส่วนดังกล่าว”บาดและมาเธอซัน ระบุในรายงานวิจัยเศรษฐศาสตร์โอลิมปิก
สอดคล้องกับ แอนดริว ไซมาบลิสต์ นักเศรษฐศาสตร์จากสมิธคอลเลจ ในรัฐแมสซาชูเซตส์ สหรัฐ ซึ่งศึกษาผลกระทบจากการเป็นเจ้าภาพจัดงานกีฬาต่อเศรษฐกิจ การเป็นเจ้าภาพจัดโอลิมปิกจะไม่ช่วยเศรษฐกิจญี่ปุ่นให้ขยายตัวได้มากเนื่องจากแผนการของญี่ปุ่นไม่สามารถสร้างการขยายตัวทางเศรษฐกิจได้มากเพียงพอ ซีเอ็นเอ็น ระบุว่า นับตั้งแต่ญี่ปุ่นประกาศเป็นเจ้าภาพโอลิมปิกปี 2020 ญี่ปุ่นเผชิญเรื่องอื้อฉาวมาก เช่น การติดสินบนในกระบวนการประมูลเจ้าภาพจัดการแข่งขัน หรือการยกเลิกโลโก้ที่ใช้สำหรับการแข่งขันดังกล่าว เนื่องจากพบไปลอกเลียนงานออกแบบของศิลปินชาวเบลเยียม
ก่อนหน้านี้ ยูริโกะ โคอิเกะ ผู้ว่าราชการหญิงคนแรกของกรุงโตเกียว กล่าวว่า จะทบทวนรายจ่ายสำหรับโอลิมปิกภายหลังคณะกรรมการผู้จัดพบงบประมาณดังกล่าวสูงเกินกว่าที่คาดการณ์ไว้ที่แรกที่ 3.5 แสนล้านเยน (ราว 1.19 แสนล้านบาท) โดยยังไม่ครอบคลุมการสร้างสิ่งปลูกสร้างสำหรับการแข่งขันเพิ่มเติม ด้าน เจฟฟ์ คิงสตัน ผู้เชี่ยวชาญด้านเอเชียศึกษา
มหาวิทยาลัยเทมเปิลในญี่ปุ่น กล่าวว่า ญี่ปุ่นต้องการควบคุมงบประมาณไม่ให้บานปลายและสร้างสิ่งปลูกสร้างที่ไม่จำเป็นสำหรับหลังการจัดการแข่งขันดังกล่าว ซึ่งจำเป็นต้องใช้งบประมาณในการดูแลรักษาภายหลังจบงาน
http://www.posttoday.com/world/news/450532