ดูให้รู้ใน 3 ปีข้างหน้า พบกับโฉมหน้าสถานที่จัดแข่งโอลิมปิก และพาราลิมปิก 2024 ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส

สวัสดีค่ะ จบไปล้วสำหรับการแข่งขันพาราลิมปิก 2020  และขอแสดงความยินดีกับนักกีฬาคนพิการไทยที่ได้เหรียญรางวัลในครั้งนี้ด้วย หลังจากเสร็จสิ้นโอลิมปิก 2020 หลายคนยังทึ่งกับอลังการณ์งานสร้างของปารีสที่เตรียมเป็นเจ้าภาพในอีก 3 ปีข้างหน้า หลังจากที่รอคอยมากว่า 100 ปี และเคยเสนอเป็นเจ้าภาพมา 2 ครั้ง (2008,2012) ก่อนหน้านั้นปารีสเคยเป็นเจ้าภาพมา 2 ครั้ง (1900,1924) สำหรับโอลิมปิกจัดการแข่งขันตั้งแต่วันที่ 26 กรกฎาคม – 11 สิงหาคม 2024 และพาราลิมปิกจัดการแข่งขันในวันที่ 28 สิงหาคม – 8 กันยายน 2024 มาดูกันนะคะว่าสถานที่การแข่งขันและความพร้อมในปารีส 2024 จะเป็นอะไรบ้าง

 
ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 13 กันยายน 2017 ในช่วงการประชุมวิสามัญโอลิมปิกสากลครั้งที่ 131 อยู่ที่เมืองลิมา ประเทศเปรู และเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่มาการแบ่งเค้กเจ้าภาพให้กับเมืองปารีส ประเทศฝรั่งเศสได้เป็นเจ้าภาพในปี 2024 และเมืองลอสแอนเจลิส สหรัฐอเมริกาในปี 2028 หลังจากเมืองที่ผ่านเข้ารอบสุดท้ายเหลือแค่ 2 เมือง เพราะก่อนหน้านั้นเมืองนำเสนอตัวที่เป็นเจ้าภาพอย่าง กรุงโรม ประเทศอิตาลี,เมืองบูดาเปสต์ ประเทศฮังการี,เมืองฮัมบรูค ประเทศเยอรมนี และเมืองบอสตัน สหรัฐอเมริกาได้ถอนตัวไปก่อนหน้านั้นแล้ว เพราะความกังวัลเกี่ยวกับสภาพเศรษฐกิจ และมีคนบางกลุ่มไม่เห็นด้วยที่ต้องจ่ายภาษีแพงเพื่อการเป็นเจ้าภาพ รวมทั้งบทเรียนราคาแพงจากเอเธนส์ 2004 และริโอ 2016 โดยเฉพาะสนามการแข่งขันที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์หลังเสร็จสิ้นการแข่งขัน และปล่อยทิ้งร้างไปอย่างน่าเสียดาย
 
ข้อดีในการได้เลือกฝรั่งเศสเป็นเจ้าภาพในการแข่งขันปี 2024 เพราะมีสถานที่การแข่งขันที่มีอยู่เดิมร้อยละ 80 และไม่มีนโยบายที่สร้างสนามแห่งใหม่เกินความจำเป็น เพียงแค่ปรับปรุงสนามให้เข้าให้กับจัดการแข่งขันภายใน 3 ปีข้างหน้า รวมทั้งมีการใช้สถานที่พื้นประวัติศาสตร์ของฝรั่งเศสเป็นสถานที่การแข่งขันเพียงชั่วคราว เพื่อเพิ่มมิติใหม่ดึงดูดคนในใจกลางเมือง ซึ่งไม่ต่างจากสมัยที่กรุงโรมเป็นเจ้าภาพเมื่อปี 1960 ที่ใช้สถานที่ประวัติศาสตร์เป็นสถานที่การแข่งขันกีฬาบางชนิดแบบไม่มีใครว่า ทั้งนี้การใช้ทรัพยากรที่มีอยู่เดิมให้เกิดประโยชน์สูงสุดตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) และลดการก่อสร้างอาคารใหม่ ๆ คาดหมายว่าจะช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อันเป็นสาเหตุของการเกิดปรากฏการณ์เรือนกระจก (Greenhouse Effect) ได้เกินครึ่งกว่าการจัดโอลิมปิกครั้งที่ผ่านมา และจะเป็นครั้งแรกที่มีโอกาสได้กำไรมากกว่างบประมาณที่ใช้จัดการแข่งขันได้หลายเท่า เพราะครั้งที่ผ่านมางบประมาณจริงสูงเกินจริงและขาดทุนไม่คุ้มในการลงทุนด้วยซ้ำ


 
 
กระทู้เกี่ยวข้อง
 
 Tokyo Olympic 2020 16 วันแห่งความหลากหลาย และความเสมอภาคของชาย-หญิงในยุคโควิด 19 
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่