ในความเป็นจริงก่อนที่สงครามครั้งนี้จะเริ่มต้นขึ้น เจ้าชายลาซาร์ได้ขอกำลังสนับสนุนจากเพื่อนบ้านใกล้เคียงไม่ว่าจะเป็นอาณาจักรบอสเนียและเมืองใกล้เคียงอื่นๆอีกครับ แต่สุดท้ายก็ได้กองทัพจากอาณาจักรบอสเนีย มาช่วยเหลือดังที่ผมกล่าวไป (เหมือนขอตัวนักเตะจากสโมสรเพื่อไปเตะทีมชาติแต่สโมสรดันไม่ยอมปล่อยนักเตะนะครับ) และจากเหตุการณ์การขอความช่วยเหลือจากอาณาจักรอื่นๆแต่มีหลายๆเมืองที่ไม่ยอมส่งกองทัพเข้ามาช่วย มันจึงเป็นจุดกำเนิดของเป็นบทกวีที่เกี่ยวกับคำตัดพ้อ (หรือเอาแบบภาษาชาวบ้านก็คือสาปส่ง) จากเจ้าชายลาซาร์ที่พระองค์ทรงตรัสไว้ก่อนออกทำสึกสำหรับพวกไม่รักบ้านเกิดเมืองนอนของตัวเองที่ไม่ยอมส่งทหารมาช่วย (ถ้าเป็นปัจจุบันนี้คงจะโพสต์ด่าลง Facebook หรือ YouTube ไปแล้วประมาณนั้นครับ)
จิตใจของคนสมัยก่อนนั้นมันก็ช่างแข็งแกร่งจริงๆนะครับ ก่อนที่สงครามจะเริ่มขึ้นเหล่าทหารของอาณาจักร
เซอร์เบียทราบดีครับ ว่าการไปทำสงครามครั้งนี้ก็การเอาชีวิตไปทิ้ง คือการเดินออกไปพบกับความตาย แต่มือทั้งสองของพวกเขายังสามารถเอื้อมไปจับอาวุธมาไว้แนบกายและก้าวเดินจากครอบครัวของพวกเขาไปโดยรู้ทั้งรู้ว่าพวกเขาจะไม่มีโอกาสกลับมาเจอกันอีก พ่อต้องจากลูกและภรรยาที่รัก ลูกต้องจากพ่อแม่และญาติๆน้องๆ มันช่างน่าหดหู่ใจสุดๆครับ แต่ยังไงก็ต้องออกไปวัดกันให้รู้ครับ พวกเขารู้ว่าแม้เขาจะตายแต่พวกเขาจะฆ่าทหารออตโตมันให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ แต่สุดท้ายก็ไม่มีปาฏิหาริย์เกิดขึ้น ไม่เหมือนกรณีของ โจเซฟ สคูลลิ่ง หนุ่มนักว่ายน้ำสิงคโปร์วัย 21ปี ที่สามารถเอาชนะ ไมเคิ่ล เฟลป์ส นักว่ายน้ำจากสหรัฐเจ้าของเหรียญทองโอลิมปิกหลายสมัยในการว่ายน้ำท่าผีเสื้อ 100เมตร (แต่ โจเซฟ สคูลลิ่ง ต้องซ้อมมาอย่างหนักนะครับไม่ได้รอปาฏิหาริย์ใดๆ)
และจากวีรกรรมอันกล้าหาญของทหารฝ่ายเซิร์บครั้งนี้ มันได้กลายเป็นแรงบันดาลใจให้นักกวีนักแต่งเพลงในสมัยต่อๆมาของชาวยุโรปได้รังสรรค์ บทเพลง บทกวี นิทานพื้นบ้าน ต่างๆขึ้นมามากมายจากการรบ ณ ทุ่งโคโซโว แห่งนี้
ภาพในมุมสูงของเมืองพริซเร่น ภาพจากhttp://cannundrum.blogspot.com/2013/06/sinan-pasha-mosque-prizren-kosovo.html
จากพรมแดนระหว่างประเทศมาซิโดเนียกับประเทศโคโซโว ภายในเวลาสองชั่วโมงกว่า ผมก็เดินทางมาถึงเมือง พริซเร่น ในที่สุด แต่เมื่อเข้ามาในตัวเมืองแล้ว ผมเองกลับรู้สึกงงๆกับสิ่งที่เกิดขึ้น ว่าอะไรที่ทำให้เมืองที่อยู่ในคาบสมุทรบอลข่านอย่างโคโซโวจึงกลายมาเป็นดินแดนแห่งศาสนาอิสลามได้เพราะระหว่างเดินทางเตอแต่สุเหร่าเต็มไปหมด ผมหวังว่าคำตอบนั้นคงรอผมอยู่ในไม่ช้า
ว่าแต่นั่งรถมานานก็ขอเอาข้าวของไปเก็บไว้ที่โรงแรมก่อนดีกว่า เพราะว่าในตอนนี้ก็ปาเข้าไปประมาณห้าโมงเย็นแล้ว และหลังจากเก็บข้าวของที่โรงแรมเสร็จเรียบร้อย การค้นหาทำตอบให้กับตัวผมเองจึงเริ่มต้นขึ้นครับ หนึ่งในนั้นคือคำถามที่เกิดขึ้นในใจว่าที่นี้ "ที่นี่กลายเป็นดินแดนแห่งชาวมุสลิมได้อย่างไร"
เมื่อเริ่มออกเดินก็ได้เวลา หกโมงเย็นพอดี เดือนเมษายนที่นี้แสงแดดยังคงทอแสงเหมือนไม่มีทีท่าว่าจะอ่อนแรงแต่อย่างใด หกโมงเย็นแต่เหมือนว่าพึ่งสักบ่ายโมงไม่มีผิด แต่สิ่งที่ทำให้ผมรับรู้ว่าที่เมืองพริซเร่นนั้นถึงเวลาเย็นแล้ว ถ้าไม่นับเวลาจากนาฬิกาบนข้อมือของผม ก็คือเสียงถ้อยคำจากลำโพงของหออะซาน ( หอสูงที่ติดเครื่องกระจายเสียงตามสุเหร่า ) ที่คอยย้ำเตือนให้ชาวมุสลิมรับรู้ว่าถึงเวลาทำละหมาดแล้ว ที่ดังกึกก้องไปรอบๆเมืองแห่งนี้
ปัจจุบันนี้เมืองพริซเร่นมีประชากร 180,000 คน และมีพื้นที่ประมาณ 640 ตารางกิโลเมตร
โดยจุดที่สำคัญที่สุดของเมืองพริซเร่นครั้งนี้ก็คือ สุเหร่า ซีนัน ปาชา นั้นเองครับ เดินออกมาจากโรงแรมที่พักของผมแค่สิบนาทีก็เดินถึง แต่ก่อนหน้านั้นยังมีสิ่งที่น่าสนใจและถือว่าเป็นสัญญาลักษณ์ของเมืองพริซเร่น ที่มาแล้วต้องถ่ายรูปคู่ให้ได้นั้นก็คือ สะพานข้ามเเม่น้ำบิสตริกา (Bistrica) ที่ไหลผ่านตัวเมืองพริซเซน สะพานนี้สร้างตามสถาปัตยกรรมแบบชาวออตโตมัน หรือถ้าจะให้ผมพูดง่ายๆแต่ได้ใจความก็คือ การมาเดินเที่ยวเมืองเก่าที่เมืองนี้ ก็เหมือนกับว่าผมเดินอยู่ในเมืองใดเมืองหนึ่งของประเทศตุรกีไม่มีผิดครับ
ภาพจาก
https://en.m.wikipedia.org/wiki/Monuments_of_Kosovo#/media/File%3ABridge_in_Prizren_and_the_White_Drin.jpg
และถ้าเครื่องแต่กายสามารถบอกเล่าความเป็นมาของชาติพันธุ์นั้นๆได้ฉันใด ฉันนั้น สถาปัตยกรรมก็สามารถบ่งบอกเรื่องราวของเมืองพริซเร่นได้ฉันนั้น สะพานแห่งนี้ถูกสร้างขึ้นในปี พ.ศ.2059/ค.ศ.1516 ตรงกับรัชสมัยสุลต่านเซลิมที่ 1 ถ้าเทียบกับประวัติศาสตร์บ้านเราก็จะตรงกับรัชสมัย สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 พระมหากษัตริย์องค์ที่ 10 แห่งอาณาจักรอยุธยาหรือหลังจากสงครามแห่งทุ่งหญ้าโคโซโวมาแล้ว 100 กว่าปี
สะพานแบบนี้ถือเป็นสถาปัตยกรรมแบบออตโตมันโดยแท้ครับ แต่ในความเป็นจริงแล้วชาวออตโตมันนั้นได้นำเอาความรู้ความสามารถและวิทยาการต่างๆของพวกชาวไบแซนไทน์มาประยุกต์ใช้ให้เข้ากับความเป็นชาวมุสลิมเชื้อสายเติร์กอีกทีหนึ่ง ซึ่งสะท้อนให้เห็นได้จากสิ่งก่อสร้างต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นซุ้มโค้งที่เรามักจะพบ
เจอบ่อยๆตามโบสถ์ของชาวไบแซนไทน์นั่น ชาวออตโตมันก็ได้นำมาพัฒนาต่อยอดให้เป็นเอกลักษณ์ของพวกเขาเองจนกลายมาเป็นสุเหร่าแบบตุรกีที่เราเห็นในปัจจุบัน แต่ซุ้มโค้งเหล่านั้นก็ไม่จำเป็นว่าจะต้องใช่สร้างแต่อาคารเท่านั้น ซุ้มโค้งนี้ยังสามารถนำมาสร้างเป็นฐานหรือตอม่อของสะพานได้อีกด้วย หากแต่สิ่งที่จะทำให้เห็นชัดๆว่าแตกต่างจากชาวไบแซนไทน์อย่างไร ก็คือชาวออตโตมันจะนิยมใช้หินก้อนเล็กมาก่อสร้างสิ่งต่างๆ ซึ่งถ้าเราสังเกตโบสถ์ของชาวไบแซนไทแล้ว จะนิยมใช้หินก้อนใหญ่ในการสร้างสิ่งก่อสร้างของพวกเขา
สะพานออตโตมันแห่งนี้ไม่ชื่อเรียกเหมือนที่บ้านเรา เช่น สะพานพระรามเก้า สะพานภูมิพลนะครับ คนที่นี้จะเรียกกันว่า สะพานออตโตมัน หรือไม่ก็ สะพานหินออตโตมัน ตัวสะพานก็ไม่ได้ใหญ่โตอะไรมากครับ เหมือนจะเป็นสะพานที่ข้ามลำธารๆหนึ่งเท่านั้น แต่สิ่งที่ดูเหมือนลำธารนี้สำหรับคนที่เมืองพริซเซน แล้วมันคือแม่น้ำสายที่สำคัญของที่นี้เลยก็ว่าได้ครับและมีชื่อเรียกว่าแม่น้ำ บริสติกา ที่มีต้นกำเนิดมาจากเทือกเขาในเขตประเทศเซอร์เบีย ตัวเเม่น้ำมีความยาวทั้งหมด 158 กิโลเมตรซึ่งไหลผ่านตัวเมืองพริซเร่นประมาณ 18 กิโลเมตรเท่านั้นครับ ส่วนคำว่า Bristica นั้นเป็นภาษาเซอร์เบียซึ่งเป็นภาษาสลาฟทางตอนใต้แปลว่า แม่น้ำที่มีความใสสะอาด ซึ่งเมื่อผมลองมองไปยังแม่น้ำ มันก็ใสปิ้งจริงๆครับ
แม่น้ำในจุดที่ไหลผ่านเมืองมีความกว้างประมาณ 10 เมตรโดยวัดจากสายตาผมนะครับ จากแม่น้ำ Bristica ผมมองกลับมายังตัวสะพาน ซึ่งสะพานที่ผมเห็นในปัจจุบันนี้คือสะพานที่ได้รับการบูรณะขึ้นมาใหม่เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา จริงๆแล้วสะพานที่สร้างข้ามแม่น้ำ Bristica ยังมีอีกหลายสะพานนะครับ แต่ที่ถือว่าเป็นสัญญาลักษณ์ของเมืองพริซเร่นก็คือสะพานหินออตโตมันแห่งนี้แหละครับ
จากสะพานหินออตโตมันเดินไปไม่ไกลนัก นั้นก็คือ สุเหร่า ซีนัน ปาชา ที่ถือว่าเป็นจุดที่สำคัญที่สุดของเมืองก็ว่าได้ครับไม่ว่าจะเป็นทั้งในด้านประวัติศาสตร์หรือทางด้านจิตใจ แต่ก่อนที่ผมจะย่างก้าวเข้าสู่สุเหร่า ซีนัน ปาชา นั้น คำถามใหม่ก็เกิดขึ้นในใจผมครับ
"ถ้าจักรวรรดิออตโตมันเป็นผู้สร้างจุดกำเนิดของความขัดแย้งขึ้นที่นี้ แล้วความขัดแย้งที่พวกเจาสร้างไว้มันคืออะไร แล้วพวกเขาหรือเปล่าที่มีส่วนในการนำพาศาสนาอิสลามเข้ามาสู่ดินแดนแห่งนี้"
ภาพจาก
https://deanoworldtravels.files.wordpress.com/2015/11/img_3828-700x525.jpg
เรื่องมันย้อนกลับไปในตอนท้ายสุดของสงคราม ณ ทุ่งโคโซโว อีกแล้วครับท่าน นั้นคือก่อนการสิ้นพระชนม์ ของสุลต่านมูราดที่1 ก่อนพระองค์จะสิ้นใจ พระองค์ทรงมอบราชสมบัติให้กับเจ้าชายเบยาซิดที่1 ขึ้นครองราชต่อจากพระองค์
และสุลต่านเบยาซิดที่1 ก็ทรงสั่งให้ถอยทัพกลับไปยังเมืองหลวงเอดีร์เน (Edirne) เนื่องจากสงคราม ณ ทุ่งโคโซโวนั้น ทำให้กองทัพฝ่ายออตโตมันสูญเสียทหารไปมากพอสมควรเหมือนกัน จึงเหมือนกับเป็นการกลับไปพักรักษากองทัพของออตโตมันไปด้วย แต่บางแหล่งข้อมูลก็บอกว่าสุลต่านเบยาซิดที่1 ต้องกลับไปจัดการกับปัญหาภายในราชสำนักซึ่งทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนตัวผู้นำจักรวรรดิ ก็มักจะมีปัญหาการชิงราชสมบัติเสมอๆครับ ไม่ต่างจากสิ่งที่เกิดขึ้นในสมัยอยุธยาบ้านเรา แต่หนังที่ชื่อเรื่อง The Battle of Kosovo หนังเรื่องนี้สร้างในประมาณปี 1989 ผมเองได้มีโอกาสนั่งดูและพบว่าตอนก่อนที่สุลต่านมูราดที่หนึ่งจะสิ้นพระชนม์ พระองค์ทรงมอบราชสมบัติให้กับเจ้าเบยาซิดที่1 และทรงตรัสกับเจ้าชายว่า "อย่าทำอะไรน้องนะลูก" ซึ่งนั้นหมายถึง เจ้าชาย Yakub Çelebi นั้นเองครับ และประวัติศาสตร์ก็ไม่ได้กล่าวถึงเจ้าชาย Yakub Çelebi อีกเลยในประวัติศาสตร์ของจักรวรรดิออตโตมัน แต่เท่าที่ผมถามเพื่อนที่เป็นชาวตุรกี เขาบอกว่าเจ้าชาย Yakub Çelebi โดนเจ้าชายเบยาซิดที่1สังหารครับ
ในส่วนของอาณาจักรเซอร์เบียนั้น ทหารของชาวเซิบร์ที่หลงเหลือจากสงครามก็มีอยู่ไม่มากนัก และจากการสูญเสียชายฉกรรจ์ในสงครามครั้งนี้ ทำให้ชาวเซิร์บนั้นต้องรอเวลาอีก 20 กว่าปี กว่าที่จะมีทหารหาญรุ่นใหม่เติบโตขึ้นมาอีกครั้ง แต่สิ่งสำคัญที่พวกเขาต้องสูญเสียไปด้วยในสงครามครั้งนี้ก็คือ เอกราชของชาวเซิบร์นะแหละครับ เพราะหลังจากสงคราม ทางอาณาจักรเซอร์เบียก็ต้องส่งเครื่องราชบรรณาการให้กับจักรวรรดิออตโตมันและนอกจากเครื่องราชบรรณาการแล้ว สิ่งที่จักรวรรดิออตโตมันต้องการอีกสิ่งหนึ่งนั้นคือ กองกำลังทหารครับ ดังนั้นเมื่อตกเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิออตโตมันแล้ว ถ้าจักรวรรดิออตโตมันจะต้องไปทำสงครามที่ไหน เมื่อไหร่ อาณาจักรต่างๆภายใต้การปกครองของจักรวรรดิออตโตมันจะต้องส่งทหารเข้าร่วมด้วยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ที่เเสนจะเจ็บปวดที่สุดในความคิดของผมนั้นคือ ถ้ามีเด็กที่อายุระหว่าง 5-7 ปีด้วยแล้ว เด็กเหล่านี้จะต้องถูกส่งตัวไปยังเมืองหลวงของจักรวรรดิออตโตมันเพื่อที่จะถูกฝึกให้เป็นทหารกองประจำการของจักรวรรดิออตโตมันต่อไป ซึ่งทหารเหล่านี้จะถูกเรียกว่า จานิสารี่ และพวกทหารจานิสารี่นี้แหละครับที่มักจะเป็นแนวหน้าสุดของกองทัพออตโตมันเสมอในการเข้าปะทะแต่ละครั้งไม่ว่าจะไปทำสงครามที่ไหนก็ตาม
ดังนั้นผมพอจะสรุปได้ว่า จักรวรรดิออตโตมันเริ่มเข้ามาในพื้นที่แถบคาบสมุทรบอลข่านประมาณต้นศตวรรษที่14 โดยก่อนที่จะบุกมาถึงอาณาจักรเซอร์เบียได้นั้น จักรวรรดิออตโตมันก็ได้จัดการกับอาณาจักรบัลกาเลียเป็นที่เรียบร้อยไปแล้วครับ และค่อยกระชับพื้นที่มายังอาณาจักรเซอร์เบียต่อ กิจกรรมทางทหารที่เกิดขึ้นทั้งหมดนี้ เกิดขึ้นก่อนที่จักรววรรดิออตโตมันจะยึดครองกรุงคอนสแตนติโนเปิลได้สำเร็จในปี พ.ศ.1996/ค.ศ.1453 เสียอีก ดังนั้นสงคราม ณ ทุ่งโคโซโวจึงเปรียบได้กับการชะลอการเข้าสู่ยุโรปของจักรววรรดิออตโตมันเท่านั้น และวัฒนธรรมความเป็นมุสลิมก็เริ่มต้นเข้ามาตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาครับ ส่วนจะเป็นไปโดยวิธีใดบ้าง ตอนหน้ามาว่ากันต่อครับ
[CR] โคโซโว วันนี้ที่เงียบสงบกับอดีตของความขัดแย้ง (ตอนที่2)
จิตใจของคนสมัยก่อนนั้นมันก็ช่างแข็งแกร่งจริงๆนะครับ ก่อนที่สงครามจะเริ่มขึ้นเหล่าทหารของอาณาจักร
เซอร์เบียทราบดีครับ ว่าการไปทำสงครามครั้งนี้ก็การเอาชีวิตไปทิ้ง คือการเดินออกไปพบกับความตาย แต่มือทั้งสองของพวกเขายังสามารถเอื้อมไปจับอาวุธมาไว้แนบกายและก้าวเดินจากครอบครัวของพวกเขาไปโดยรู้ทั้งรู้ว่าพวกเขาจะไม่มีโอกาสกลับมาเจอกันอีก พ่อต้องจากลูกและภรรยาที่รัก ลูกต้องจากพ่อแม่และญาติๆน้องๆ มันช่างน่าหดหู่ใจสุดๆครับ แต่ยังไงก็ต้องออกไปวัดกันให้รู้ครับ พวกเขารู้ว่าแม้เขาจะตายแต่พวกเขาจะฆ่าทหารออตโตมันให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ แต่สุดท้ายก็ไม่มีปาฏิหาริย์เกิดขึ้น ไม่เหมือนกรณีของ โจเซฟ สคูลลิ่ง หนุ่มนักว่ายน้ำสิงคโปร์วัย 21ปี ที่สามารถเอาชนะ ไมเคิ่ล เฟลป์ส นักว่ายน้ำจากสหรัฐเจ้าของเหรียญทองโอลิมปิกหลายสมัยในการว่ายน้ำท่าผีเสื้อ 100เมตร (แต่ โจเซฟ สคูลลิ่ง ต้องซ้อมมาอย่างหนักนะครับไม่ได้รอปาฏิหาริย์ใดๆ)
และจากวีรกรรมอันกล้าหาญของทหารฝ่ายเซิร์บครั้งนี้ มันได้กลายเป็นแรงบันดาลใจให้นักกวีนักแต่งเพลงในสมัยต่อๆมาของชาวยุโรปได้รังสรรค์ บทเพลง บทกวี นิทานพื้นบ้าน ต่างๆขึ้นมามากมายจากการรบ ณ ทุ่งโคโซโว แห่งนี้
ภาพในมุมสูงของเมืองพริซเร่น ภาพจากhttp://cannundrum.blogspot.com/2013/06/sinan-pasha-mosque-prizren-kosovo.html
จากพรมแดนระหว่างประเทศมาซิโดเนียกับประเทศโคโซโว ภายในเวลาสองชั่วโมงกว่า ผมก็เดินทางมาถึงเมือง พริซเร่น ในที่สุด แต่เมื่อเข้ามาในตัวเมืองแล้ว ผมเองกลับรู้สึกงงๆกับสิ่งที่เกิดขึ้น ว่าอะไรที่ทำให้เมืองที่อยู่ในคาบสมุทรบอลข่านอย่างโคโซโวจึงกลายมาเป็นดินแดนแห่งศาสนาอิสลามได้เพราะระหว่างเดินทางเตอแต่สุเหร่าเต็มไปหมด ผมหวังว่าคำตอบนั้นคงรอผมอยู่ในไม่ช้า
ว่าแต่นั่งรถมานานก็ขอเอาข้าวของไปเก็บไว้ที่โรงแรมก่อนดีกว่า เพราะว่าในตอนนี้ก็ปาเข้าไปประมาณห้าโมงเย็นแล้ว และหลังจากเก็บข้าวของที่โรงแรมเสร็จเรียบร้อย การค้นหาทำตอบให้กับตัวผมเองจึงเริ่มต้นขึ้นครับ หนึ่งในนั้นคือคำถามที่เกิดขึ้นในใจว่าที่นี้ "ที่นี่กลายเป็นดินแดนแห่งชาวมุสลิมได้อย่างไร"
เมื่อเริ่มออกเดินก็ได้เวลา หกโมงเย็นพอดี เดือนเมษายนที่นี้แสงแดดยังคงทอแสงเหมือนไม่มีทีท่าว่าจะอ่อนแรงแต่อย่างใด หกโมงเย็นแต่เหมือนว่าพึ่งสักบ่ายโมงไม่มีผิด แต่สิ่งที่ทำให้ผมรับรู้ว่าที่เมืองพริซเร่นนั้นถึงเวลาเย็นแล้ว ถ้าไม่นับเวลาจากนาฬิกาบนข้อมือของผม ก็คือเสียงถ้อยคำจากลำโพงของหออะซาน ( หอสูงที่ติดเครื่องกระจายเสียงตามสุเหร่า ) ที่คอยย้ำเตือนให้ชาวมุสลิมรับรู้ว่าถึงเวลาทำละหมาดแล้ว ที่ดังกึกก้องไปรอบๆเมืองแห่งนี้
ปัจจุบันนี้เมืองพริซเร่นมีประชากร 180,000 คน และมีพื้นที่ประมาณ 640 ตารางกิโลเมตร
โดยจุดที่สำคัญที่สุดของเมืองพริซเร่นครั้งนี้ก็คือ สุเหร่า ซีนัน ปาชา นั้นเองครับ เดินออกมาจากโรงแรมที่พักของผมแค่สิบนาทีก็เดินถึง แต่ก่อนหน้านั้นยังมีสิ่งที่น่าสนใจและถือว่าเป็นสัญญาลักษณ์ของเมืองพริซเร่น ที่มาแล้วต้องถ่ายรูปคู่ให้ได้นั้นก็คือ สะพานข้ามเเม่น้ำบิสตริกา (Bistrica) ที่ไหลผ่านตัวเมืองพริซเซน สะพานนี้สร้างตามสถาปัตยกรรมแบบชาวออตโตมัน หรือถ้าจะให้ผมพูดง่ายๆแต่ได้ใจความก็คือ การมาเดินเที่ยวเมืองเก่าที่เมืองนี้ ก็เหมือนกับว่าผมเดินอยู่ในเมืองใดเมืองหนึ่งของประเทศตุรกีไม่มีผิดครับ
ภาพจาก https://en.m.wikipedia.org/wiki/Monuments_of_Kosovo#/media/File%3ABridge_in_Prizren_and_the_White_Drin.jpg
และถ้าเครื่องแต่กายสามารถบอกเล่าความเป็นมาของชาติพันธุ์นั้นๆได้ฉันใด ฉันนั้น สถาปัตยกรรมก็สามารถบ่งบอกเรื่องราวของเมืองพริซเร่นได้ฉันนั้น สะพานแห่งนี้ถูกสร้างขึ้นในปี พ.ศ.2059/ค.ศ.1516 ตรงกับรัชสมัยสุลต่านเซลิมที่ 1 ถ้าเทียบกับประวัติศาสตร์บ้านเราก็จะตรงกับรัชสมัย สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 พระมหากษัตริย์องค์ที่ 10 แห่งอาณาจักรอยุธยาหรือหลังจากสงครามแห่งทุ่งหญ้าโคโซโวมาแล้ว 100 กว่าปี
สะพานแบบนี้ถือเป็นสถาปัตยกรรมแบบออตโตมันโดยแท้ครับ แต่ในความเป็นจริงแล้วชาวออตโตมันนั้นได้นำเอาความรู้ความสามารถและวิทยาการต่างๆของพวกชาวไบแซนไทน์มาประยุกต์ใช้ให้เข้ากับความเป็นชาวมุสลิมเชื้อสายเติร์กอีกทีหนึ่ง ซึ่งสะท้อนให้เห็นได้จากสิ่งก่อสร้างต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นซุ้มโค้งที่เรามักจะพบ
เจอบ่อยๆตามโบสถ์ของชาวไบแซนไทน์นั่น ชาวออตโตมันก็ได้นำมาพัฒนาต่อยอดให้เป็นเอกลักษณ์ของพวกเขาเองจนกลายมาเป็นสุเหร่าแบบตุรกีที่เราเห็นในปัจจุบัน แต่ซุ้มโค้งเหล่านั้นก็ไม่จำเป็นว่าจะต้องใช่สร้างแต่อาคารเท่านั้น ซุ้มโค้งนี้ยังสามารถนำมาสร้างเป็นฐานหรือตอม่อของสะพานได้อีกด้วย หากแต่สิ่งที่จะทำให้เห็นชัดๆว่าแตกต่างจากชาวไบแซนไทน์อย่างไร ก็คือชาวออตโตมันจะนิยมใช้หินก้อนเล็กมาก่อสร้างสิ่งต่างๆ ซึ่งถ้าเราสังเกตโบสถ์ของชาวไบแซนไทแล้ว จะนิยมใช้หินก้อนใหญ่ในการสร้างสิ่งก่อสร้างของพวกเขา
สะพานออตโตมันแห่งนี้ไม่ชื่อเรียกเหมือนที่บ้านเรา เช่น สะพานพระรามเก้า สะพานภูมิพลนะครับ คนที่นี้จะเรียกกันว่า สะพานออตโตมัน หรือไม่ก็ สะพานหินออตโตมัน ตัวสะพานก็ไม่ได้ใหญ่โตอะไรมากครับ เหมือนจะเป็นสะพานที่ข้ามลำธารๆหนึ่งเท่านั้น แต่สิ่งที่ดูเหมือนลำธารนี้สำหรับคนที่เมืองพริซเซน แล้วมันคือแม่น้ำสายที่สำคัญของที่นี้เลยก็ว่าได้ครับและมีชื่อเรียกว่าแม่น้ำ บริสติกา ที่มีต้นกำเนิดมาจากเทือกเขาในเขตประเทศเซอร์เบีย ตัวเเม่น้ำมีความยาวทั้งหมด 158 กิโลเมตรซึ่งไหลผ่านตัวเมืองพริซเร่นประมาณ 18 กิโลเมตรเท่านั้นครับ ส่วนคำว่า Bristica นั้นเป็นภาษาเซอร์เบียซึ่งเป็นภาษาสลาฟทางตอนใต้แปลว่า แม่น้ำที่มีความใสสะอาด ซึ่งเมื่อผมลองมองไปยังแม่น้ำ มันก็ใสปิ้งจริงๆครับ
แม่น้ำในจุดที่ไหลผ่านเมืองมีความกว้างประมาณ 10 เมตรโดยวัดจากสายตาผมนะครับ จากแม่น้ำ Bristica ผมมองกลับมายังตัวสะพาน ซึ่งสะพานที่ผมเห็นในปัจจุบันนี้คือสะพานที่ได้รับการบูรณะขึ้นมาใหม่เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา จริงๆแล้วสะพานที่สร้างข้ามแม่น้ำ Bristica ยังมีอีกหลายสะพานนะครับ แต่ที่ถือว่าเป็นสัญญาลักษณ์ของเมืองพริซเร่นก็คือสะพานหินออตโตมันแห่งนี้แหละครับ
จากสะพานหินออตโตมันเดินไปไม่ไกลนัก นั้นก็คือ สุเหร่า ซีนัน ปาชา ที่ถือว่าเป็นจุดที่สำคัญที่สุดของเมืองก็ว่าได้ครับไม่ว่าจะเป็นทั้งในด้านประวัติศาสตร์หรือทางด้านจิตใจ แต่ก่อนที่ผมจะย่างก้าวเข้าสู่สุเหร่า ซีนัน ปาชา นั้น คำถามใหม่ก็เกิดขึ้นในใจผมครับ
"ถ้าจักรวรรดิออตโตมันเป็นผู้สร้างจุดกำเนิดของความขัดแย้งขึ้นที่นี้ แล้วความขัดแย้งที่พวกเจาสร้างไว้มันคืออะไร แล้วพวกเขาหรือเปล่าที่มีส่วนในการนำพาศาสนาอิสลามเข้ามาสู่ดินแดนแห่งนี้"
ภาพจาก https://deanoworldtravels.files.wordpress.com/2015/11/img_3828-700x525.jpg
เรื่องมันย้อนกลับไปในตอนท้ายสุดของสงคราม ณ ทุ่งโคโซโว อีกแล้วครับท่าน นั้นคือก่อนการสิ้นพระชนม์ ของสุลต่านมูราดที่1 ก่อนพระองค์จะสิ้นใจ พระองค์ทรงมอบราชสมบัติให้กับเจ้าชายเบยาซิดที่1 ขึ้นครองราชต่อจากพระองค์
และสุลต่านเบยาซิดที่1 ก็ทรงสั่งให้ถอยทัพกลับไปยังเมืองหลวงเอดีร์เน (Edirne) เนื่องจากสงคราม ณ ทุ่งโคโซโวนั้น ทำให้กองทัพฝ่ายออตโตมันสูญเสียทหารไปมากพอสมควรเหมือนกัน จึงเหมือนกับเป็นการกลับไปพักรักษากองทัพของออตโตมันไปด้วย แต่บางแหล่งข้อมูลก็บอกว่าสุลต่านเบยาซิดที่1 ต้องกลับไปจัดการกับปัญหาภายในราชสำนักซึ่งทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนตัวผู้นำจักรวรรดิ ก็มักจะมีปัญหาการชิงราชสมบัติเสมอๆครับ ไม่ต่างจากสิ่งที่เกิดขึ้นในสมัยอยุธยาบ้านเรา แต่หนังที่ชื่อเรื่อง The Battle of Kosovo หนังเรื่องนี้สร้างในประมาณปี 1989 ผมเองได้มีโอกาสนั่งดูและพบว่าตอนก่อนที่สุลต่านมูราดที่หนึ่งจะสิ้นพระชนม์ พระองค์ทรงมอบราชสมบัติให้กับเจ้าเบยาซิดที่1 และทรงตรัสกับเจ้าชายว่า "อย่าทำอะไรน้องนะลูก" ซึ่งนั้นหมายถึง เจ้าชาย Yakub Çelebi นั้นเองครับ และประวัติศาสตร์ก็ไม่ได้กล่าวถึงเจ้าชาย Yakub Çelebi อีกเลยในประวัติศาสตร์ของจักรวรรดิออตโตมัน แต่เท่าที่ผมถามเพื่อนที่เป็นชาวตุรกี เขาบอกว่าเจ้าชาย Yakub Çelebi โดนเจ้าชายเบยาซิดที่1สังหารครับ
ในส่วนของอาณาจักรเซอร์เบียนั้น ทหารของชาวเซิบร์ที่หลงเหลือจากสงครามก็มีอยู่ไม่มากนัก และจากการสูญเสียชายฉกรรจ์ในสงครามครั้งนี้ ทำให้ชาวเซิร์บนั้นต้องรอเวลาอีก 20 กว่าปี กว่าที่จะมีทหารหาญรุ่นใหม่เติบโตขึ้นมาอีกครั้ง แต่สิ่งสำคัญที่พวกเขาต้องสูญเสียไปด้วยในสงครามครั้งนี้ก็คือ เอกราชของชาวเซิบร์นะแหละครับ เพราะหลังจากสงคราม ทางอาณาจักรเซอร์เบียก็ต้องส่งเครื่องราชบรรณาการให้กับจักรวรรดิออตโตมันและนอกจากเครื่องราชบรรณาการแล้ว สิ่งที่จักรวรรดิออตโตมันต้องการอีกสิ่งหนึ่งนั้นคือ กองกำลังทหารครับ ดังนั้นเมื่อตกเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิออตโตมันแล้ว ถ้าจักรวรรดิออตโตมันจะต้องไปทำสงครามที่ไหน เมื่อไหร่ อาณาจักรต่างๆภายใต้การปกครองของจักรวรรดิออตโตมันจะต้องส่งทหารเข้าร่วมด้วยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ที่เเสนจะเจ็บปวดที่สุดในความคิดของผมนั้นคือ ถ้ามีเด็กที่อายุระหว่าง 5-7 ปีด้วยแล้ว เด็กเหล่านี้จะต้องถูกส่งตัวไปยังเมืองหลวงของจักรวรรดิออตโตมันเพื่อที่จะถูกฝึกให้เป็นทหารกองประจำการของจักรวรรดิออตโตมันต่อไป ซึ่งทหารเหล่านี้จะถูกเรียกว่า จานิสารี่ และพวกทหารจานิสารี่นี้แหละครับที่มักจะเป็นแนวหน้าสุดของกองทัพออตโตมันเสมอในการเข้าปะทะแต่ละครั้งไม่ว่าจะไปทำสงครามที่ไหนก็ตาม
ดังนั้นผมพอจะสรุปได้ว่า จักรวรรดิออตโตมันเริ่มเข้ามาในพื้นที่แถบคาบสมุทรบอลข่านประมาณต้นศตวรรษที่14 โดยก่อนที่จะบุกมาถึงอาณาจักรเซอร์เบียได้นั้น จักรวรรดิออตโตมันก็ได้จัดการกับอาณาจักรบัลกาเลียเป็นที่เรียบร้อยไปแล้วครับ และค่อยกระชับพื้นที่มายังอาณาจักรเซอร์เบียต่อ กิจกรรมทางทหารที่เกิดขึ้นทั้งหมดนี้ เกิดขึ้นก่อนที่จักรววรรดิออตโตมันจะยึดครองกรุงคอนสแตนติโนเปิลได้สำเร็จในปี พ.ศ.1996/ค.ศ.1453 เสียอีก ดังนั้นสงคราม ณ ทุ่งโคโซโวจึงเปรียบได้กับการชะลอการเข้าสู่ยุโรปของจักรววรรดิออตโตมันเท่านั้น และวัฒนธรรมความเป็นมุสลิมก็เริ่มต้นเข้ามาตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาครับ ส่วนจะเป็นไปโดยวิธีใดบ้าง ตอนหน้ามาว่ากันต่อครับ