ก่อนอื่นต้องขอออกตัวก่อนครับ สำหรับเรื่องโคโซโวนั้น ตอนที่ไปผมไม่ได้คิดว่าจะกลับมาเขียน พอตัดสินใจจะเขียนก็เลยไม่มีภาพประกอบดังนั้นจึงต้องนำภาพจากแหล่งอื่นมาประกอบแทนครับ ขอขอบคุณภาพประกอบเหล่านั้นด้วยครับ ว่าแล้วมาเริ่มกันเลยครับ
ภาพจาก
http://www.acoupletrips.com/monthly-travel-summary-february-2015/
Kosovo เคยคุ้นๆกับชื่อประเทศนี้บ้างไหมครับ ถ้าใครหลายๆคนเคยได้ยินเรื่องราวสงครามฆ่าล้างเผ่าพันธุ์เมื่อประมาณ 20 กว่าปีก่อน ก็อาจจะพอนึกภาพออกกันบ้างนะครับ แต่ในความขัดแย้งที่เพิ่งผ่านพ้นไปไม่นานนี้ของประเทศโคโซโวนั้น ทำให้ผมอยากรู้ว่าอดีตของความขัดแย้ง มันมีจุดกำเนิดมาจากที่ใด แล้วมันจบไปแล้วจริงหรือไม่ แล้วปัญหาของความขัดแย้งนี้มันจะเป็นภาพสะท้อนให้กับสังคมไทยของเราที่กำลังเผชิญหน้าอยู่ได้หรือไม่ เราจะออกไปหาคำตอบด้วยกันนะครับ
เมืองโคโซโวในปัจจุบันนี้มีฐานะเป็นประเทศ ชื่อเต็มคือสาธารณรัฐโคโซโว มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 10,908 ตารางกิโลเมตร มีเมืองหลวงชื่อว่า พริสตินา (Pristina) ปัจจุบันนี้มีประชากรทั้งประเทศประมาณ 2 ล้านคน โดยเกือบทั้งหมดหรือประมาณ 93% มีเขื้อสายแอลเบเนีย (Albania) และมีเพียงส่วนน้อยหรือ 7% ที่มีเชื้อสายเซอร์เบีย (Serbia)
ด้วยความที่ประเทศนี้มันเล็กมาก ซึ่งมีขนาดและจำนวนประชากรใกล้เคียงกับจังหวัดข่อนแก่นของบ้านเรา แต่อย่างพึ่งคิดนะครับว่าสาธารณรัฐโคโซโวแห่งนี้จะไม่มีความสำคัญใดๆในเรื่องประวัติศาสตร์
ผมคงบอกเพียงคำเดียวว่า ถ้าไม่มีดินแดนแห่งนี้แล้ว หน้าประวัติศาสตร์ของชาวยุโรปในยุคกลางอาจจะเปลี่ยนไปเป็นอีกแบบก็เป็นได้ครับ และมันจะใช่จุดนี้หรือไม่ที่เป็นจุดเริ่มต้นของความขัดแย้งนั้น เราควต้องวิเคราะห์กันไปทีบะจุดนะครับ
ผมเริ่มต้นการเดินทางเข้าสาธารณรัฐโคโซโวโดยรถบัส ที่เริ่มต้นจากเมืองสโคเฟียเมืองหลวงของประเทศมาซิโดเนีย โดยใช้เวลาประมาณ 1 ขั่วโมงเพื่อมาถึงด่านตรวจคนเข้าเมืองระหว่างมาซิโดเนียกับโคโซโวก่อน ขั้นตอนในการผ่านด่านก็ไม่เข้มงวดอะไรมาก เพียงแค่ผมมีวีซ่าเชงเก้นของสหภาพยุโรปก็สามารถผ่านพรมแดนระหว่างสองประเทศนี้ได้ (อันนี้ในทางทฤษฎีครับ) แต่ในทางปฏิบัติในการข้ามด่าน มีน้ำดื่มสักขวดกับขนมสักหน่อยมันจะสะดวกขึ้นอีกเยอะครับ ซึ่งในส่วนของประเทศมาซิโดเนียนั้น ยังคงอยู่ในกลุ่มประเทศที่ขอเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพยุโรป ซึ่งขอเข้าร่วมตั้งแต่ปี พ.ศ.2548/ค.ศ.2005 แต่จนทุกวันนี้ก็ยังไม่ได้เข้าร่วมนะครับ ในส่วนของประเทศโคโซโวนั้นก็ยังไม่ได้ขอเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งสหภา พยุโรปเช่นกันและก็ยังมีหลายๆเรื่องที่ยังขัดแย้งกันกับประเทศเซอร์เบียอยู่จนทำให้สถานะของประเทศโคโซโวในทุกวันนี้ยังไม่มั่นคงอยู่ เปรียบเทียบง่ายๆก่อนนะครับ ถ้าประเทศจีนไม่ยอมรับไต้หวันว่ามีสถานะเป็นประเทศแล้ว โคโซโวเองก็ไม่ได้รับการยอมรับจากประเทศเซอร์เบียเช่นกัน เอาเป็นว่าประมาณนี้ก่อนนะครับ ส่วนเรื่องราวจะเป็นยังไงนั้นค่อยว่ากันต่อนะครับ
จตุรัสพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชกลางกรุงสโกเฟีย
หลังจากเสียเวลาประมาณ 30 นาทีในการข้ามแดน โสตประสาทของผมก็เริ่มทำงานมากกว่าปกติกว่าที่มันควรจะเป็น เหตุที่เป็นเช่นนั้น ก็เพราะว่าที่นี้พึ่งผ่านเรื่องราวของสงครามฆ่าล้างเผ่าพันธุ์กันมาหมาดๆ แม้ว่าตลอดสองข้างทางที่ผมนั่งรถผ่าน ผมไม่อาจจะมองเห็นร่องรอยของสงครามที่เคยเกิดขึ้นระหว่าง พ.ศ.2541-2542 ซึ่งตรงกลับสมัยที่ นายก ชวน หลีกภัย ยังดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอยู่ แต่ร่องรอยที่ผมพอพบเห็นได้นั่นคือ รถทหารฮัมวี่ขององค์การนาโตที่ยังคงมีวิ่งให้เห็นบ้างเป็นระยะๆระหว่างทางในประเทศโคโซโว
จุดหมายในการเดินทางมาประเทศโคโซโวในครั้งนี้ ผมไม่ได้เดินทางไปยังกรุงพริสติน่านะครับ เพราะมันไม่มีความสลักสำคัญอะไรในด้านประวัติศาสตร์ (คำพูดดูดีครับ แต่จริงๆไม่มีเงินพอจะไป) แต่ผมกำลังมุ่งหน้าไปสู่เมือง พริซเร่น หนึ่งใน 38 จังหวัดของประเทศโคโซโว ซึ่งตั้งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศ โดยจากด่านข้ามแดนผมต้องนั่งรถไปอีกสองชั่วโมงด้วยกันครับกว่าจะถึง
ระหว่างทางผมบอกได้คำเดียวว่าที่ประเทศโคโซโวนั้นมีป่าเยอะมากๆครับ โดยพื้นที่ประมาณ 70% ของประเทศเป็นป่าเป็นต้นไม้ทั้งนั้น ถนนที่นี่ก็เป็นสองเลนรถวิ่งสวนกัน อาคารบ้านเรือนร้านค้าก็ยังดูเล็กๆไม่ใหญ่โตอะไรมากนักหรืออาจจะเป็นเพราะผมอยู่แค่ต่างจังหวัดก็เป็นได้
ว่าแล้วต่างจังหวัดอย่างเมือง พริซเร่น จึงมีความสำคัญอะไรที่ทำให้ผมต้องเดินทางมาที่เมืองนี้ เรื่องมันเริ่มต้นขึ้นในกลางศตวรรษที่ 14 โน่นเลยครับและมันจะวกเข้ามาสู่ประเด็นที่ผมกล่าวไว้ว่าทำไมที่นี้ถึงมีความสำคัญต่อชาวยุโรปอย่างถึงที่สุดหรืออาจจะเป็นหน้าประวัติศาสตร์หนึ่งของชาวยุโรปเลยละครับ
กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว หลังจากที่จักรวรรดิออตโตมันเริ่มขยายอำนาจเข้ามาสู่พื้นที่เอเชียน้อยหรือที่เรียกตามภาษากรีกว่า อนาโตเลีย (ดินแดนที่พระอาทิตย์ขึ้น) และได้สร้างเมืองหลวงของจักรวรรดิที่เมืองเอดีร์เน (ปัจจุบันเป็นจังหวัดหนึ่งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเมืองอิสตันบูล ประเทศตุรกี ฝั่งที่เป็นแผ่นดินยุโรป) เป้าหมายหลักของชาวออตโตมันคือการเข้ายึดครองกรุงคอนสแตนติโนเปิลให้ได้ แต่จนแล้วจนรอดก็ยังคงยุดกรุงคอนสแตนติโนเปิลไม่สำเร็จ (พวกออตโตมันต้องใช่ความพยายามเข้ายึดกรุงคอนสแตนติโนเปิลถึง 4 ครั้งและมาสำเร็จครั้งที่4 ในปี พ.ศ.1996/ค.ศ.1453) แต่ในเมื่อยังไม่สามารถยึดครองกรุงคอนสแตนติโนเปิลได้ ก็ไม่ได้หมายความว่าจักรวรรดิออตโตมันจะหยุดอยู่แค่นี้ครับ นโยบายการขยายอำนาจไปยังพื้นที่ๆเคยเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิไบแซนไทน์ก็ยังถือเป็นสิ่งสำคัญเช่นกันหรือถ้าสามารถขยายอำนาจมากไปกว่านั้นได้ก็ถือเป็นผลพลอยได้อีกอันหนึ่ง
ภาพยนตร์ Battle of Kosovo ที่ลงโรงในปี พ.ศ.2532/ค.ศ.1989
ดังนั้นในปี พ.ศ.1932/ค.ศ.1389 รัชสมัยของ สุลต่านมูราดที่1 ซึ่งตรงกับรัชสมัยของสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่2 (เจ้าสามพระยา) ของอาณาจักรอยุธยาบ้านเรา สุลต่านมูราดที่1 ทรงยกกองทัพมายังที่ราบโคโซโวซึ่งคำว่าโคโซโวนี้เป็นภาษาท้องถิ่นที่มีความหมายว่า ท้องทุ่งแห่งนกเดินดงสีดำ ( the field of black bird ) และท้องทุ่งแห่งนี้แหละครับที่ใช้เป็นสนามรบระหว่างจักรวรรดิออตโตมันกับอาณาจักรเซอร์เบียร์ ในสมรภูมิที่เรียกกันว่า การรบ ณ ทุ่งโคโซโว ซึ่งปัจจุบันอยู่เหนือกรุงพริสตินาเมืองหลวงไปประมาณ 5 กิโลเมตร ซึ่งในการรบครั้งนั้นกองกำลังของอาณาจักรเซอร์เบียร์ซึ่งผมขอเรียกสั้นๆว่าชาวเซิร์บ ประกอบไปด้วย 3 กองกำลังใหญ่
1.กองกำลังของเจ้าชายลาซาร์ ( Prince Lazar Hrebeljanović) ซึ่งพระองค์ทรงมีกำลังทหารอยู่ประมาณ 12,000-15,000 นาย และทรงเป็นผู้ที่มีอำนาจสูงที่สุด
2.กองทัพของ ขุนนางนามว่า Vuk Branković โดยขุมกำลังทหารอีกประมาณ 5,000-10,000 นาย
3.Vlatko Vuković Kosača เป็นแม่ทัพอีกท่านที่ถูกส่งมาสมทบจาก ราชอาณาจักรบอสเนีย ซึ่งผมหาข้อมูลไม่ได้ครับว่าจำนวนทหารของแม่ทัพท่านนี้อยู่ที่เท่าไร่
แต่ในเอกสารของประเทศยูโกสลาเวีย ( ปัจจุบันประเทศนี้ได้แตกเป็นหกประเทศ บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา, โครเอเชีย, มาซิโดเนีย, มอนเตเนโกร, เซอร์เบีย, และ สโลวีเนีย) ระบุว่ากองทัพทั้งหมดของชาวเซิร์บ ที่นำโดยเจ้าชาย ลาซาร์ นั้นน่าจะมีไม่เกิน 30,000 คน และตัวเลขนี้ย่อมน้อยกว่ากองทัพของจักรวรรดิออตโตมันอย่างแน่นอน
ในขณะที่ฝ่ายออตโตมันที่นำทัพโดยสุลตาน มูราดที่1 (Sultan Murad I) และพระราชโอรสองค์โตคือ เจ้าชายเบยาซิด (ซึ่งต่อมาพระองค์ก็คือสุลต่านเบยาซิดที่1) และ พระราชโอรสองค์รองคือเจ้าชาย Yakub Çelebi ซึ่งกองกำลังที่สุลต่านมูราดที่1 ที่ทรงมีอยู่นั้น ตัวเลขอยู่ที่ประมาณ 40,000 นาย
การเข้าปะทะกันของทั้งสองฝ่ายนี้เกิดขึ้นในวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ.1932/ค.ศ.1389 มันเป็นวันที่อากาศค่อนข้างเย็นจนทำให้มือนั้นเย็นเฉียบ แต่แม้ว่ามือทั้งสองที่จับอาวุธจะเย็นชาขนาดไหน แต่หัวใจที่สูบฉีดเลือดของเหล่าทหารย่อมเต้นเเรงจนทำให้ลืมความหนาวเย็นไปจนหมดสิ้น
ผลของสงครามย่อมไม่มีอะไรดีครับ และจากทุ่งหญ้าที่เคยมีสีเขียวขจีก็ถูกชโลมไปด้วยเลือดของเหล่านักรบของทั้งสองฝ่าย (ผมเองก็ไม่แน่ใจว่าในวันนั้นนกเดินดงที่ทุ่งโคโซโวจะถูกเหยียบตายไปกี่ตัว) และผลลัพธ์เป็นที่ทราบกันแล้วในหน้าประวัติศาสตร์ ว่าจักรวรรดิออตโตมันสามารถพิชิตกองทัพของเจ้าชายลาซาร์แห่งชาวเซิร์บลงได้ แต่มีกี่คนที่จะรู้ว่าชัยชนะที่ได้มานั้นต้องแลกด้วยอะไรบ้าง (ถ้าพูดแบบภาษามวยก็คือชนะคะแนนอย่างไม่เป็นเอกฉันท์แถมผู้ชนะยังหน้าตาแหกยับเยินอีกต่างหากครับ)
ทหารสองในสามของจักรวรรดิออตโตมันต้องตายไปในสมรภูมิครั้งนี้ และที่สุดของการสูญเสียคือ สุลต่านมูราดที่1 ทรงสิ้นพระชนในสนามรบด้วย ซึ่งทำให้เจ้าชายเบยาซิด ก้าวขึ้นมาเป็นสุลต่านเบยาซิดที่1 สุลต่านพระองค์ที่ 4 แห่งจักรวรรดิออตโตมัน โดยหลังจากนั้นสุลต่านเบยาซิดที่1ทรงบัญชาการให้ถอยทัพกลับไปที่เมืองเอดีร์เนดังเดิมก่อน และในส่วนของเจ้าชายลาซาร์กับแม่ทัพอีกสองท่านและกองทหารเกือบทั้งหมดล้วนจบชีวิตในสงครามครั้งนี้ทั้งสิ้น
มันเป็นเรื่องยากที่จะเข้าใจจริงๆครับว่าทำไมคนเราต้องฆ่าฟันกันทั้งๆที่อายุของพวกเรานั้นก็สั้นอยู่แล้ว เราพยายามที่จะครอบครองทุกสิ่งทุกอย่าง แต่ดูผลลัพธ์ซิครับ วันนี้พวกเขาไม่มีตัวตนอยู่อีกแล้วไม่ว่าพวกเขาผู้นั้นจะเป็นผู้แพ้หรือผู้ชนะก็ตาม
สงครามแห่งทุ่งโคโซโวครั้งนี้แหละครับ ที่ถือได้ว่าเป็นส่วนสำคัญของหน้าประวัติศาสตร์ยุโรปหน้าหนึ่ง เพราะถ้าหากไม่มีเหล่าทหารหาญชาวเซิร์บ คอยต้านทานการแผร่ขยายอำนาจของจักรวรรดิออตโตมันแล้ว แผ่นดินของยุโรปทั้งหมดอาจจะกลายเป็นของจักรวรรดิออตโตมันเร็วขึ้นก็เป็นได้ "และนี้แหละครับที่คือจุดเริ่มต้นของความขัดแย้งต่างๆที่จะส่งผลกระทบมาจนถึงยุคปัจจุบันนี้"
แต่ถ้าจะมองอีกด้านผมว่าจริงๆชาวเซิร์บก็ต่อสู้เพื่อปกป้องตัวของพวกเขาเองแหละครับ สถานการณ์ก็ไม่ได้ต่างไปจาก กษัตริย์ลีโอไนดัสนำทหารสปาต้า 300นาย ต่อสู้กับจักรววรรดิเปอร์เซีย หรือ ขุนรองปลัดชูนำชาวบ้านกว่า400คน เข้าต่อสู้กับกองทัพของพระเจ้าอลองพญาของอาณาจักรพม่าในสงครามก่อนกรุงศรีอยุธยาถูกเผาในปี พ.ศ.2310/ค.ศ1767
[CR] โคโซโว วันนี้ที่เงียบสงบกับอดีตของความขัดแย้ง (ตอนที่1)
ภาพจาก http://www.acoupletrips.com/monthly-travel-summary-february-2015/
Kosovo เคยคุ้นๆกับชื่อประเทศนี้บ้างไหมครับ ถ้าใครหลายๆคนเคยได้ยินเรื่องราวสงครามฆ่าล้างเผ่าพันธุ์เมื่อประมาณ 20 กว่าปีก่อน ก็อาจจะพอนึกภาพออกกันบ้างนะครับ แต่ในความขัดแย้งที่เพิ่งผ่านพ้นไปไม่นานนี้ของประเทศโคโซโวนั้น ทำให้ผมอยากรู้ว่าอดีตของความขัดแย้ง มันมีจุดกำเนิดมาจากที่ใด แล้วมันจบไปแล้วจริงหรือไม่ แล้วปัญหาของความขัดแย้งนี้มันจะเป็นภาพสะท้อนให้กับสังคมไทยของเราที่กำลังเผชิญหน้าอยู่ได้หรือไม่ เราจะออกไปหาคำตอบด้วยกันนะครับ
เมืองโคโซโวในปัจจุบันนี้มีฐานะเป็นประเทศ ชื่อเต็มคือสาธารณรัฐโคโซโว มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 10,908 ตารางกิโลเมตร มีเมืองหลวงชื่อว่า พริสตินา (Pristina) ปัจจุบันนี้มีประชากรทั้งประเทศประมาณ 2 ล้านคน โดยเกือบทั้งหมดหรือประมาณ 93% มีเขื้อสายแอลเบเนีย (Albania) และมีเพียงส่วนน้อยหรือ 7% ที่มีเชื้อสายเซอร์เบีย (Serbia)
ด้วยความที่ประเทศนี้มันเล็กมาก ซึ่งมีขนาดและจำนวนประชากรใกล้เคียงกับจังหวัดข่อนแก่นของบ้านเรา แต่อย่างพึ่งคิดนะครับว่าสาธารณรัฐโคโซโวแห่งนี้จะไม่มีความสำคัญใดๆในเรื่องประวัติศาสตร์
ผมคงบอกเพียงคำเดียวว่า ถ้าไม่มีดินแดนแห่งนี้แล้ว หน้าประวัติศาสตร์ของชาวยุโรปในยุคกลางอาจจะเปลี่ยนไปเป็นอีกแบบก็เป็นได้ครับ และมันจะใช่จุดนี้หรือไม่ที่เป็นจุดเริ่มต้นของความขัดแย้งนั้น เราควต้องวิเคราะห์กันไปทีบะจุดนะครับ
ผมเริ่มต้นการเดินทางเข้าสาธารณรัฐโคโซโวโดยรถบัส ที่เริ่มต้นจากเมืองสโคเฟียเมืองหลวงของประเทศมาซิโดเนีย โดยใช้เวลาประมาณ 1 ขั่วโมงเพื่อมาถึงด่านตรวจคนเข้าเมืองระหว่างมาซิโดเนียกับโคโซโวก่อน ขั้นตอนในการผ่านด่านก็ไม่เข้มงวดอะไรมาก เพียงแค่ผมมีวีซ่าเชงเก้นของสหภาพยุโรปก็สามารถผ่านพรมแดนระหว่างสองประเทศนี้ได้ (อันนี้ในทางทฤษฎีครับ) แต่ในทางปฏิบัติในการข้ามด่าน มีน้ำดื่มสักขวดกับขนมสักหน่อยมันจะสะดวกขึ้นอีกเยอะครับ ซึ่งในส่วนของประเทศมาซิโดเนียนั้น ยังคงอยู่ในกลุ่มประเทศที่ขอเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพยุโรป ซึ่งขอเข้าร่วมตั้งแต่ปี พ.ศ.2548/ค.ศ.2005 แต่จนทุกวันนี้ก็ยังไม่ได้เข้าร่วมนะครับ ในส่วนของประเทศโคโซโวนั้นก็ยังไม่ได้ขอเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งสหภา พยุโรปเช่นกันและก็ยังมีหลายๆเรื่องที่ยังขัดแย้งกันกับประเทศเซอร์เบียอยู่จนทำให้สถานะของประเทศโคโซโวในทุกวันนี้ยังไม่มั่นคงอยู่ เปรียบเทียบง่ายๆก่อนนะครับ ถ้าประเทศจีนไม่ยอมรับไต้หวันว่ามีสถานะเป็นประเทศแล้ว โคโซโวเองก็ไม่ได้รับการยอมรับจากประเทศเซอร์เบียเช่นกัน เอาเป็นว่าประมาณนี้ก่อนนะครับ ส่วนเรื่องราวจะเป็นยังไงนั้นค่อยว่ากันต่อนะครับ
จตุรัสพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชกลางกรุงสโกเฟีย
หลังจากเสียเวลาประมาณ 30 นาทีในการข้ามแดน โสตประสาทของผมก็เริ่มทำงานมากกว่าปกติกว่าที่มันควรจะเป็น เหตุที่เป็นเช่นนั้น ก็เพราะว่าที่นี้พึ่งผ่านเรื่องราวของสงครามฆ่าล้างเผ่าพันธุ์กันมาหมาดๆ แม้ว่าตลอดสองข้างทางที่ผมนั่งรถผ่าน ผมไม่อาจจะมองเห็นร่องรอยของสงครามที่เคยเกิดขึ้นระหว่าง พ.ศ.2541-2542 ซึ่งตรงกลับสมัยที่ นายก ชวน หลีกภัย ยังดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอยู่ แต่ร่องรอยที่ผมพอพบเห็นได้นั่นคือ รถทหารฮัมวี่ขององค์การนาโตที่ยังคงมีวิ่งให้เห็นบ้างเป็นระยะๆระหว่างทางในประเทศโคโซโว
จุดหมายในการเดินทางมาประเทศโคโซโวในครั้งนี้ ผมไม่ได้เดินทางไปยังกรุงพริสติน่านะครับ เพราะมันไม่มีความสลักสำคัญอะไรในด้านประวัติศาสตร์ (คำพูดดูดีครับ แต่จริงๆไม่มีเงินพอจะไป) แต่ผมกำลังมุ่งหน้าไปสู่เมือง พริซเร่น หนึ่งใน 38 จังหวัดของประเทศโคโซโว ซึ่งตั้งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศ โดยจากด่านข้ามแดนผมต้องนั่งรถไปอีกสองชั่วโมงด้วยกันครับกว่าจะถึง
ระหว่างทางผมบอกได้คำเดียวว่าที่ประเทศโคโซโวนั้นมีป่าเยอะมากๆครับ โดยพื้นที่ประมาณ 70% ของประเทศเป็นป่าเป็นต้นไม้ทั้งนั้น ถนนที่นี่ก็เป็นสองเลนรถวิ่งสวนกัน อาคารบ้านเรือนร้านค้าก็ยังดูเล็กๆไม่ใหญ่โตอะไรมากนักหรืออาจจะเป็นเพราะผมอยู่แค่ต่างจังหวัดก็เป็นได้
ว่าแล้วต่างจังหวัดอย่างเมือง พริซเร่น จึงมีความสำคัญอะไรที่ทำให้ผมต้องเดินทางมาที่เมืองนี้ เรื่องมันเริ่มต้นขึ้นในกลางศตวรรษที่ 14 โน่นเลยครับและมันจะวกเข้ามาสู่ประเด็นที่ผมกล่าวไว้ว่าทำไมที่นี้ถึงมีความสำคัญต่อชาวยุโรปอย่างถึงที่สุดหรืออาจจะเป็นหน้าประวัติศาสตร์หนึ่งของชาวยุโรปเลยละครับ
กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว หลังจากที่จักรวรรดิออตโตมันเริ่มขยายอำนาจเข้ามาสู่พื้นที่เอเชียน้อยหรือที่เรียกตามภาษากรีกว่า อนาโตเลีย (ดินแดนที่พระอาทิตย์ขึ้น) และได้สร้างเมืองหลวงของจักรวรรดิที่เมืองเอดีร์เน (ปัจจุบันเป็นจังหวัดหนึ่งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเมืองอิสตันบูล ประเทศตุรกี ฝั่งที่เป็นแผ่นดินยุโรป) เป้าหมายหลักของชาวออตโตมันคือการเข้ายึดครองกรุงคอนสแตนติโนเปิลให้ได้ แต่จนแล้วจนรอดก็ยังคงยุดกรุงคอนสแตนติโนเปิลไม่สำเร็จ (พวกออตโตมันต้องใช่ความพยายามเข้ายึดกรุงคอนสแตนติโนเปิลถึง 4 ครั้งและมาสำเร็จครั้งที่4 ในปี พ.ศ.1996/ค.ศ.1453) แต่ในเมื่อยังไม่สามารถยึดครองกรุงคอนสแตนติโนเปิลได้ ก็ไม่ได้หมายความว่าจักรวรรดิออตโตมันจะหยุดอยู่แค่นี้ครับ นโยบายการขยายอำนาจไปยังพื้นที่ๆเคยเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิไบแซนไทน์ก็ยังถือเป็นสิ่งสำคัญเช่นกันหรือถ้าสามารถขยายอำนาจมากไปกว่านั้นได้ก็ถือเป็นผลพลอยได้อีกอันหนึ่ง
ภาพยนตร์ Battle of Kosovo ที่ลงโรงในปี พ.ศ.2532/ค.ศ.1989
ดังนั้นในปี พ.ศ.1932/ค.ศ.1389 รัชสมัยของ สุลต่านมูราดที่1 ซึ่งตรงกับรัชสมัยของสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่2 (เจ้าสามพระยา) ของอาณาจักรอยุธยาบ้านเรา สุลต่านมูราดที่1 ทรงยกกองทัพมายังที่ราบโคโซโวซึ่งคำว่าโคโซโวนี้เป็นภาษาท้องถิ่นที่มีความหมายว่า ท้องทุ่งแห่งนกเดินดงสีดำ ( the field of black bird ) และท้องทุ่งแห่งนี้แหละครับที่ใช้เป็นสนามรบระหว่างจักรวรรดิออตโตมันกับอาณาจักรเซอร์เบียร์ ในสมรภูมิที่เรียกกันว่า การรบ ณ ทุ่งโคโซโว ซึ่งปัจจุบันอยู่เหนือกรุงพริสตินาเมืองหลวงไปประมาณ 5 กิโลเมตร ซึ่งในการรบครั้งนั้นกองกำลังของอาณาจักรเซอร์เบียร์ซึ่งผมขอเรียกสั้นๆว่าชาวเซิร์บ ประกอบไปด้วย 3 กองกำลังใหญ่
1.กองกำลังของเจ้าชายลาซาร์ ( Prince Lazar Hrebeljanović) ซึ่งพระองค์ทรงมีกำลังทหารอยู่ประมาณ 12,000-15,000 นาย และทรงเป็นผู้ที่มีอำนาจสูงที่สุด
2.กองทัพของ ขุนนางนามว่า Vuk Branković โดยขุมกำลังทหารอีกประมาณ 5,000-10,000 นาย
3.Vlatko Vuković Kosača เป็นแม่ทัพอีกท่านที่ถูกส่งมาสมทบจาก ราชอาณาจักรบอสเนีย ซึ่งผมหาข้อมูลไม่ได้ครับว่าจำนวนทหารของแม่ทัพท่านนี้อยู่ที่เท่าไร่
แต่ในเอกสารของประเทศยูโกสลาเวีย ( ปัจจุบันประเทศนี้ได้แตกเป็นหกประเทศ บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา, โครเอเชีย, มาซิโดเนีย, มอนเตเนโกร, เซอร์เบีย, และ สโลวีเนีย) ระบุว่ากองทัพทั้งหมดของชาวเซิร์บ ที่นำโดยเจ้าชาย ลาซาร์ นั้นน่าจะมีไม่เกิน 30,000 คน และตัวเลขนี้ย่อมน้อยกว่ากองทัพของจักรวรรดิออตโตมันอย่างแน่นอน
ในขณะที่ฝ่ายออตโตมันที่นำทัพโดยสุลตาน มูราดที่1 (Sultan Murad I) และพระราชโอรสองค์โตคือ เจ้าชายเบยาซิด (ซึ่งต่อมาพระองค์ก็คือสุลต่านเบยาซิดที่1) และ พระราชโอรสองค์รองคือเจ้าชาย Yakub Çelebi ซึ่งกองกำลังที่สุลต่านมูราดที่1 ที่ทรงมีอยู่นั้น ตัวเลขอยู่ที่ประมาณ 40,000 นาย
การเข้าปะทะกันของทั้งสองฝ่ายนี้เกิดขึ้นในวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ.1932/ค.ศ.1389 มันเป็นวันที่อากาศค่อนข้างเย็นจนทำให้มือนั้นเย็นเฉียบ แต่แม้ว่ามือทั้งสองที่จับอาวุธจะเย็นชาขนาดไหน แต่หัวใจที่สูบฉีดเลือดของเหล่าทหารย่อมเต้นเเรงจนทำให้ลืมความหนาวเย็นไปจนหมดสิ้น
ผลของสงครามย่อมไม่มีอะไรดีครับ และจากทุ่งหญ้าที่เคยมีสีเขียวขจีก็ถูกชโลมไปด้วยเลือดของเหล่านักรบของทั้งสองฝ่าย (ผมเองก็ไม่แน่ใจว่าในวันนั้นนกเดินดงที่ทุ่งโคโซโวจะถูกเหยียบตายไปกี่ตัว) และผลลัพธ์เป็นที่ทราบกันแล้วในหน้าประวัติศาสตร์ ว่าจักรวรรดิออตโตมันสามารถพิชิตกองทัพของเจ้าชายลาซาร์แห่งชาวเซิร์บลงได้ แต่มีกี่คนที่จะรู้ว่าชัยชนะที่ได้มานั้นต้องแลกด้วยอะไรบ้าง (ถ้าพูดแบบภาษามวยก็คือชนะคะแนนอย่างไม่เป็นเอกฉันท์แถมผู้ชนะยังหน้าตาแหกยับเยินอีกต่างหากครับ)
ทหารสองในสามของจักรวรรดิออตโตมันต้องตายไปในสมรภูมิครั้งนี้ และที่สุดของการสูญเสียคือ สุลต่านมูราดที่1 ทรงสิ้นพระชนในสนามรบด้วย ซึ่งทำให้เจ้าชายเบยาซิด ก้าวขึ้นมาเป็นสุลต่านเบยาซิดที่1 สุลต่านพระองค์ที่ 4 แห่งจักรวรรดิออตโตมัน โดยหลังจากนั้นสุลต่านเบยาซิดที่1ทรงบัญชาการให้ถอยทัพกลับไปที่เมืองเอดีร์เนดังเดิมก่อน และในส่วนของเจ้าชายลาซาร์กับแม่ทัพอีกสองท่านและกองทหารเกือบทั้งหมดล้วนจบชีวิตในสงครามครั้งนี้ทั้งสิ้น
มันเป็นเรื่องยากที่จะเข้าใจจริงๆครับว่าทำไมคนเราต้องฆ่าฟันกันทั้งๆที่อายุของพวกเรานั้นก็สั้นอยู่แล้ว เราพยายามที่จะครอบครองทุกสิ่งทุกอย่าง แต่ดูผลลัพธ์ซิครับ วันนี้พวกเขาไม่มีตัวตนอยู่อีกแล้วไม่ว่าพวกเขาผู้นั้นจะเป็นผู้แพ้หรือผู้ชนะก็ตาม
สงครามแห่งทุ่งโคโซโวครั้งนี้แหละครับ ที่ถือได้ว่าเป็นส่วนสำคัญของหน้าประวัติศาสตร์ยุโรปหน้าหนึ่ง เพราะถ้าหากไม่มีเหล่าทหารหาญชาวเซิร์บ คอยต้านทานการแผร่ขยายอำนาจของจักรวรรดิออตโตมันแล้ว แผ่นดินของยุโรปทั้งหมดอาจจะกลายเป็นของจักรวรรดิออตโตมันเร็วขึ้นก็เป็นได้ "และนี้แหละครับที่คือจุดเริ่มต้นของความขัดแย้งต่างๆที่จะส่งผลกระทบมาจนถึงยุคปัจจุบันนี้"
แต่ถ้าจะมองอีกด้านผมว่าจริงๆชาวเซิร์บก็ต่อสู้เพื่อปกป้องตัวของพวกเขาเองแหละครับ สถานการณ์ก็ไม่ได้ต่างไปจาก กษัตริย์ลีโอไนดัสนำทหารสปาต้า 300นาย ต่อสู้กับจักรววรรดิเปอร์เซีย หรือ ขุนรองปลัดชูนำชาวบ้านกว่า400คน เข้าต่อสู้กับกองทัพของพระเจ้าอลองพญาของอาณาจักรพม่าในสงครามก่อนกรุงศรีอยุธยาถูกเผาในปี พ.ศ.2310/ค.ศ1767