ห้องเพลง**คนรากหญ้า** พักยกการเมือง มุมเสียงเพลง มุมนี้ไม่มีสี ไม่มีกลุ่ม............มีแต่เสียง 19/8/2016

กระทู้คำถาม



***สวัสดีค่ะเพื่อนๆ ห้องราชดำเนินทุกคน***


กระทู้นี้ เป็นมุมพักผ่อน มุมนี้ไม่มีสี  ไม่มีกลุ่ม.........แต่มีเสียง...................


พลุ MC นู๋สร้างชาติ รับหน้าที่ค่ะพลุ







วันนี้หรือวันที่ 19 สิงหาคมของทุกปีเป็นวันแห่งมนุษยธรรมโลก ค่ะ

วันแห่งมนุษยธรรมโลก (World Humanitarian Day) เป็นวันที่ระลึกถึงการทำงานเพื่อมนุษยธรรม และการทำความดี

เกิดขึ้นจาก วันที่ 19 สิงหาคม 2546 เป็นวันที่เจ้าหน้าที่ด้านมนุษยธรรม คือ นายเซอจิโอ เวียร่า เดอ เมลโล (Sérgio Vieira de Mello) และเพื่อนร่วมงาน 21 คน ถูกสังหารในด้วยการลอบวางระเบิดภายในสำนักงานใหญ่สหประชาชาติ ซึ่งตั้งอยู่ที่กรุงแบกแดด ประเทศอิรัก และมีผู้คนได้รับบาดเจ็บอีกกว่า 150 คน

ดังนั้น ในแต่ละปีจึงมีการจัดกิจกรรมเพื่อสดุดีบุคคลากรที่ต้องสูญเสียชีวิตในการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม  และยกย่องผู้ที่ทำหน้าที่ให้ความช่วยเหลือและบรรเทาทุกข์ผู้คนนับล้าน

ปี 2555 บียอนเซ่ (Beyoncé) ศิลปินหญิงชื่อดังชาวอเมริกัน รับหน้าที่เป็นทูตรณรงค์วันแห่งมนุษยธรรมโลก

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ


มนุษยธรรม คือหนึ่งในเจ็ดของหลักการกาชาด ที่องค์การกาชาดทุกประเทศใช้เป็นแนวทางดำเนินการ ในโลกที่กว้างใหญ่นี้ยังต้องการการช่วยเหลือ ความเห็นอกเห็นใจ ความมีมนุษยธรรมต่อกัน

สภากาชาดสากลนั้นยึดหลักมนุษยธรรม ซึ่งหมายถึงความเห็นอกเห็นใจ การยื่นมือเข้าช่วยเหลือและปกป้องผู้อื่นโดยไม่คำนึงว่าเขาจะเป็นใครหรือทำอะไรมา



หลักการนี้เป็นเรื่องของการเชิดชูศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของทุกคนแม้กระทั่งผู้ที่ไม่เป็นที่ต้องการของสังคม เพื่อคุ้มครองชีวิต สุขภาพ และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ซึ่งสามารถนำพาไปสู่ความเข้าใจซึ่งกันและกัน ให้มีสัมพันธภาพ ความร่วมมือ และสันติสุขที่ยั่งยืนในหมู่มวลมนุษยชาติ

เราทำความดีกันได้ทุกวันค่ะ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเล็กน้อยแค่ไหน เพราะทุกคนควรมนุษยธรรมมีประจำใจไม่ต้องรอให้เป็นวันพิเศษ หรือต้องมีใครเห็น


[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้


Beyoncé - I Was Here (United Nations World Humanitarian Day Performance Video)

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ







ห้องเพลงคนรากหญ้าเปิดขึ้นมามีวัตถุประสงค์ เพื่อ

1. มีพื้นที่ให้เพื่อนๆ ได้มาพบปะ พูดคุยระหว่างกัน ในภาวะที่ต้องระมัดระวังการโพสการเมืองอย่างเคร่งครัด
2. เป็นพื้นที่ พักผ่อน ลดความเครียดทางการเมือง ให้เพื่อนๆ มีกิจกรรมสนุกๆ ร่วมกัน
3. สร้างมิตรภาพและความปรองดอง ซึ่งเราหวังให้สังคมไทยเป็นเช่นนี้ แม้นคิดต่างกัน แต่เมื่อคุยกันแล้วก็เป็นเพื่อนกันเหมือนเดิม







เธออย่าหยุดความฝัน ครบรอบห้องเพลง 2 ปี
เนื้อร้อง ทำนอง ดนตรี ขับร้อง โดย MC มาริโอ้

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ



กระทู้ห้องเพลงเป็นกระทู้เปิด มิได้ปิดกั้นผู้หนึ่งผู้ใด "ขอให้มาดี เราคือเพื่อนกัน" ซึ่งก็เหมือนกับกระทู้ทั่วไป ที่เราไม่จำเป็นต้องทราบว่า User ท่านไหนเป็นใครมาจากไหน  ...ดังนั้น หากมีบุคคลใดที่มีการโพสสิ่งผิดกฎหมายและศีลธรรมอันดีของสังคมนั้น หรือสิ่งรบกวนใดๆ ในบอร์ด เป็นเรื่องส่วนบุคคล ทางห้องเพลงจึงขอแสดงความบริสุทธิ์ใจว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งสิ้น
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 2
อีกสักครั้งกับ "เซ็นทรัลเฟสติวัล บิกินี บีช เรส 2016 บาย สิงห์"

เก็บตก "Bikini Run 2016" สาวงามคึกคักท้าแสงแดด

ผ่านพ้นไปแล้วสำหรับกิจกรรมวิ่ง "Bikini Run 2016" ภายใต้ชื่องาน
"เซ็นทรัลเฟสติวัล บิกินี บีช เรส 2016 บาย สิงห์" ที่ชายหาดพัทยา อ.บางละมุง จ.ชลบุรี
เมื่อวันที่ 6 สิงหาคมที่ผ่านมา โดยมีหนุ่มสาวนักวิ่ง และกลุ่มคนรักสุขภาพทั้งไทยและต่างชาติ
พาเหรดร่วมแจมกว่า 2,000 คน



















       ผลการแข่งขันในประเภทต่างๆ มีดังต่อไปนี้
       ประเภทวิ่งบีกินีรัน ระยะทาง 3 กม.
       ชนะเลิศประเภทชาย - ปิยะ บุญริ้ว
       ชนะเลิศประเภทหญิง - Liisa-Maija Maria Wecknan
       
       บีกินีรัน ระยะทาง 9 กม. ชาย : สมาน แก้วเขียว
       บีกินีรัน ระยะทาง 9 กม. หญิง : พิกุล ทองลือ
       วิ่งทั่วไป ระยะทาง 9 กม. รุ่นอายุไม่เกิน 16-39 ปี ชาย : สุทัศน์ กัลยาณกิตติ
       วิ่งทั่วไป ระยะทาง 9 กม. รุ่นอายุไม่เกิน 16-39 ปี หญิง : คานฑรัตน์ คำแพง
       
     [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
http://www.manager.co.th/Sport/ViewNews.aspx?NewsID=9590000078508

Brian Hyland - Itsy Bitsy Teenie Weenie Yellow Polka Dot Bikini
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
https://www.youtube.com/watch?v=3KvHuOY_2Ig

สาวแว่น
ความคิดเห็นที่ 27
หัวกระทู้วันนี้ตั้งได้ถูกใจจริงๆ ถูกใจขนาดตอนแรกตั้งใจจะไปกินข้าวนอกบ้าน

เปลี่ยนใจมากินในบ้านดีกว่า

เวลาพูดถึงคำว่า "มนุษยธรรม" สิ่งแรกที่คิดถึงคือการลี้ภัยสงคราม .

และเมื่อพูดถึงการลี้ภัยสงคราม ก็จะนึกถึงคำว่า "มนุษย์เรือ "


ในช่วงปี พ.ศ 2518  ประเทศอินโดจีน ทั้ง 3 ประเทศคือ ลาว เขมร เวียดนาม ได้เกิดการ

เปลี่ยนแปลงการปกครองครั้งใหญ่ โดยเปลี่ยนการปกครองเป็นระบอบ "คอมมูนิสต์"

ทำให้มีคลื่นคนที่อพยพมายังประเทศไทยหลายแสนคน
.


UNHCR ข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยและสหประชาชาติ ได้ขอร้องให้ ไทย ช่วยรับผู้อพยพเหล่านี้ไว้

เพื่อเห็นแก่มนุษยธรรม ตั้งแต่นั้นมา ไทย ได้ชื่อว่า "ม้าอารี" .


การข้ามพรหมแดนมายังไทย ของประเทศเหล่านี้ ส่วนหนึ่งมาทางเรือ จึงเรียกว่า มนุษย์เรือ .

รูป มนุษย์เรือ ต่างๆ .










ป.ล เวียดนามแตกวันที่ 30 เมษายน 2518 เขมรแตก วันที่ 17 เมษายน 2518 และลาวแตก

วันที่ 1 ธันวาคม 2518

ป.ล 2 รูปเม้นท์นี้ ไม่รู้เทียบกับ เม้นท์ที่ 2 ของพี่สาวได้เปล่า ?
ความคิดเห็นที่ 16

แต่งกลอนประกอบเพลง ร่วมกระทู้ไว้ ในห้องถนนนักเขียน
เอามาลง ให้เพื่อนๆ อ่านกันค่ะ


คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ

บางปะกงหลงคอยใจลอยล่อง
ยามห่างน้องนวลเจ้าเฝ้าโหยหา
คำมั่นรักฝากให้สายธารา
เป็นพยานสัญญามิลาเลือน

เงาจันทร์ทอดกอดนที...พี่กอดเจ้า
สุขสองเราล้นใจใดเสมือน
ดังสัญญาณรักห่างสีจางเดือน
ทิวเมฆเคลื่อนคล้อยกลบลบโสมงาม

บางปะกงคงเอื่อยระเรื่อยล่อง
ยังเฝ้ามองเหม่อหมายใจหวิวหวาม
คุ้งคดเคี้ยวเลี้ยวไหลไม่หยุดตาม
เกินกว่าห้ามถวิลหวนครวญคนึง

บรรจบสุดสมุทรกว้างว้างว้าเหว่
เจ้ารวนเรไร้หลัก ลืมรักซึ้ง
แว่ววิเวก ลำนำ ช้ำตราตรึง
ร่ำรำพึง รักจาง...ร้างระทม


ข้อมูลเกี่ยวกับ แม่น้ำบางปะกง มาฝากค่ะ

เปิดตำนาน สายน้ำบางปะกง หรือ Dragon River ที่ยิ่งใหญ่กว่าคุณคิด ไม่ใช้แค่หมายตกกุ้งหรือปลา

      สายน้ำแห่งมังกร เมืองแปดริ้ว
จังหวัดฉะเชิงเทรา อยู่ห่างจากรุงเทพฯ เพียงไม่ถึงหนึ่งชั่วโมง เป็นจังหวัดหนึ่งที่หลายคนมองว่าเป็น เมืองเล็กๆ อยู่ชานเมืองหลวง แต่หลายคนนั้นก็ต้องเดินทางมาที่จังหวัดนี้ เพื่อนมัสการพระศักดิ์สิทธิ์คู่บ้าน คู่เมือง หลวงพ่อพุทธโสธร ณ. วัดโสธรวรารามวรวิหาร ซึ่งตั้งอยู่เขตเทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา
ด้วยจังหวัดนี้มีแม่น้ำสายหลักหล่อเลี้ยงชีวิตมาแต่ดั้งเดิม ในอดีตการดำเนินชีวิตตลอดสองฟากฝั่งลำน้ำทั้งการค้าขาย การเกษตรกรรม การประมงมีให้เห็นเป็นระยะๆ อยู่ตลอดลำน้ำ แม่น้ำบางปะกง คือชื่อเรียกของสายน้ำแห่งนี้ ซึ่งเล่ากันสืบต่อมาว่าเป็นแหล่งชุกชุมของปลาอีกง จึงเรียกขานกันว่า บางปลาอีกง และที่สุดก็เพี้ยนเสียง มาเป็น บางปะกง จวบจนปัจจุบัน
ต้นกำเนิดของแม่น้ำบางปะกง เริ่มต้นจากการรวมตัวของแม่น้ำ 2 สาย คือแม่น้ำปราจีนบุรี และแม่น้ำนครนายก ที่ ตำบลบางแตน จังหวัดปราจีนบุรี รวมระยะทางตามสายน้ำราว 122 กิโลเมตร จนถึงปากอ่าวแม่น้ำบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา
เหตุใดแม่น้ำสายนี้จึงมีชื่อว่า สายน้ำแห่งมังกร ของ เมืองแปดริ้ว นั่นก็คงเป็นชื่อเรียกขานตามการสันนิษฐานที่เกิดขึ้น เนื่องด้วยหลายๆ เหตุผล แต่ด้วยลักษณะทางกายภาพของสายน้ำแห่งนี้ที่มีความคดโค้งไปมาดุจดั่ง พญามังกร พาดผ่านเมืองที่มีความอุดมสมบูรณ์ทั้งพืชพันธุ์ ธัญญาหาร ทรัพย์ในดิน สินในน้ำ
กอปรกับการวางตำแหน่งตามหลักฮวงจุ้ยของคณาจารย์จีนวังส์สมาธิวัตร (สกเห็ง) ปฐมบูรพาจารย์ผู้มีชื่อเสียงและเป็นที่นับถือของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เป็นอย่างมาก ท่านได้พระราชทานที่ดินให้สร้างวัดจีนแห่งหนึ่งขึ้นบริเวณเยาวราช ซึ่งก็คือ วัดเล่งเน่ยยี่ หรือ วัดมังกรกมลาวาส ในปัจจุบัน และตำแหน่งนี้เปรียบได้เป็น ตำแหน่งหัวมังกร โดยกำหนด ตำแหน่งท้องมังกร ไว้ที่ วัดเล่งฮกยี่ จังหวัดฉะเชิงเทรา (พ.ศ. 2450 พระพุทธเจ้าหลวงเสด็จประพาส แล้วได้พระราชทานนามว่า “วัดจีนประชาสโมสร” ) สำหรับ ตำแหน่งหางมังกร อยู่ที่ วัดเล่งฮัวยี่ หรือ วัดมังกรบุปผาราม จังหวัดจันทบุรี หากพิจารณาให้ดีจะเห็นว่าตำแหน่งต่างๆ ที่พระอาจารย์สกเห็งท่านได้วางไว้นั้น เป็นตำแหน่งของความอุดมสมบูรณ์ทั้ง ทรัพย์สิน เงินทอง การค้าขาย และความสมบูรณ์ของธรรมชาติที่หล่อเลี้ยงชีวิตผู้คนในบริเวณนั้นอย่างมีความสุข ด้วยเหตุนี้เองจึงทำให้เกิดการผสมผสานความเชื่อ ตำนาน เรื่องเล่า และประวัติศาสตร์ของสถานที่สำคัญต่างๆ ที่ตั้งอยู่บริเวณริมแม่น้ำบางปะกง ด้วยความสอดคล้องกันอย่างมีเหตุผล
สายน้ำแห่งมังกร จึงเกิดเป็นชื่อเรียกขานที่บ่งบอกถึงความเชื่อของความศักดิ์สิทธิ์แห่งสายน้ำนี้โดยมี มังกรตัวเล็ก พาดอยู่ตามลำน้ำบางปะกง ตำแหน่งหัวมังกร อยู่บริเวณ วัดโสธรวรารามวรวิหาร ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานของ หลวงพ่อพุทธโสธร อันศักดิ์สิทธิ์ ที่เคารพ นับถือของชาวไทย ทั่วประเทศ
ตำแหน่งท้องมังกร อยู่ตำแหน่งเดิมที่ วัดเล่งฮกยี่ (วัดจีนประชาสโมสร) ซึ่งภายในวัดนั้นมีสิ่งน่าสนใจมากมาย ประกอบด้วย องค์พระประธาน และ 18 อรหันต์ ที่เป็นประติมากรรมโบราณ ทำจากกระดาษ อายุกว่า 100 ปี (ลักษณะเปเปอร์ - มาเช่) ภูมิปัญญาชาวจีนจากเมืองเซี่ยงไฮ้ เทพเจ้าไฉ้เซ่งยิ้ม (เทพเจ้าแห่งโชคลาภ) , ระฆังศักดิ์สิทธิ์ใบใหญ่ หนึ่งในสามใบในโลก
และ พระสำเร็จ ร่างสังขารเจ้าอาวาสที่มรณภาพแล้วไม่เน่าเปื่อย
ตำแหน่งหางมังกร คือตำแหน่งที่พระเจ้าตากสินได้เดินทัพผ่านสู่เมืองจันทบุรี เพื่อระดมไพร่พลในการกู้กรุงศรีอยุธยา และเมื่อเดินทัพถึงบริเวณปากน้ำโจ้โล้ จึงได้เจอทัพพม่าซุ่มโจมตี และสู้รบกันจนได้รับชัยชนะ จึงได้สั่งให้สร้างพระเจดีย์ขึ้นบริเวณแห่งนี้เพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งชัยชนะ และพักทัพ ณ บริเวณวัดโพธิ์ บางคล้า (สถานที่ชมค้างคาวแม่ไก่)
บริเวณนี้เคยเป็นสถานที่ประกอบ “พระราชพิธีตักน้ำศักดิ์สิทธิ์” เพื่อนำน้ำไปใช้ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของพระมหากษัตริย์ไทย ซึ่งแม่น้ำบางปะกงเป็นหนึ่งใน “เบญจสุทธคงคา” (คือแม่น้ำสายสำคัญ 5 สาย ได้แก่ แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำเพชรบุรี แม่น้ำราชบุรี แม่น้ำป่าสัก และแม่น้ำบางปะกง เปรียบเสมือน “ปัญจมหานที” ของประเทศอินเดีย คือ คงคา ยมนา เนรัญชรา สินธุ และพรหมบุตร) ที่ได้ตักน้ำไปทำพิธีเสกเป็น “น้ำอภิเษก” จึงเป็นอีกเหตุผลหนึ่งของที่มาแห่งสายน้ำศักดิ์สิทธิ์นี้
การเดินทางท่องเที่ยวตามเส้นทางสายน้ำแห่งมังกร จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่นักท่องเที่ยวสามารถเลือกสัมผัสธรรมชาติ สืบสานวัฒนธรรมในเส้นทาง “สายน้ำแห่งชีวิต สายน้ำศักดิ์สิทธิ์แห่งธรรม”


คำขวัญจังหวัดฉะเชิงเทรา(ภาคขยายความ)

แม่น้ำ บางปะกง แหล่งชีวิต
ช่วยพิชิต ความยากจน คนทั้งหลาย
หล่อข้าวกล้า พรรณพฤกษา มามากมาย
ใช้แจวพาย ทางเรือ เพื่อสัญจร
ที่รวมพันธุ์ กุ้งปลา นานาชนิด
กอจากชิด สองฝั่งไซร้ ใบสลอน
ห่อขนม มุงหลังคา ไม่อาทร
นั่งพักผ่อน ริมฝั่งน้ำ สำราญใจ

พระศักดิ์สิทธิ์ หลวงพ่อ โสธร
นามกระฉ่อน เรื่องลือชา มาแต่ไหน
อธิษฐาน ให้มีโชค ปลอดโรคภัย
มักสมหวัง ดังตั้งใจ เกือบทุกคน

พระยาศรีสุนทร ปราชญ์ ภาษาไทย
ท่านเป็นใคร สืบได้ความ ตามเหตุผล
แต่งแบบเรียน หนังสือ ฝึกปรือคน
ใช้ท่องบ่น อ่านเขียน หมั่นเพียรไป
สนองคุณ พระจุล จอมเกล้า
ให้เข้าเฝ้า มอบหมายงาน อันยิ่งใหญ่
รับใส่เกล้า ยินดีช่วย ด้วยเต็มใจ
ผองเด็กไทย ได้เรียนรู้ คู่คุณธรรม

อ่างฤๅไน ป่าสมบูรณ์ ไม่สูญสิ้น
สัตว์หากิน กันฝูงใหญ่ เมื่อใกล้ค่ำ
ผืนสุดท้าย รักษาไว้ ควรจดจำ
แหล่งต้นน้ำ ลำธาร ของบ้านเรา
ที่รวมพันธุ์ พฤกษา ดารดาษ
ขึ้นเกลื่อนกลาด กลางพนา ตามป่าเขา
โชคดีที่ มีป่าใหญ่ ในบ้านเรา
ฉะเชิงเทรา ได้ร่มเย็น เป็นนิรันดร์



อ้างอิง


http://www.weekendhobby.com/board/boat/shtml/24074.shtml


แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่