โดยทั่วไป ไม้ทัณฑฆาต เมื่อวางไว้บนตัวอักษรตัวไหนก็จะเท่ากับว่า "ฆ่าเสียงของตัวนั้น" คือไม่ออกเสียงนั่นเอง และตัวอักษรที่ใส่ไม้ทัณฑฆาตเขาก็จะเรียกว่า "ตัวการันต์" ตัวอย่างเช่น รัตน์ ก็อ่านว่า รัด หรือ พิมพ์ อ่านว่า พิม แต่ทุกวันนี้น่าจะมีบางคนที่ไม่เข้าใจหลักการนี้ จึงอ่านหรือเขียนผิด โดยใส่ไม้ทัณฑฆาตผิดที่ผิดทาง เช่นบางคนสะกดว่า กอลฟ์ ซึ่งถ้าเข้าหลักนั้น ก็ต้องอ่านว่า กอล เพราะเสียง ฟ โดนฆ่าไปแล้ว
แต่ถึงกระนั้น ก็ยังมีเรื่องที่ผมสงสัยอยู่ เคยมีคนสงสัยเรื่องการอ่านพระนามของพระราชินี คือ สิริกิติ์ บางคนสงสัยว่าในเมื่อมีไม้ทัณฑฆาตอยู่บน ติ ทำไมถึงไม่อ่านว่า สิริกิ ก็มีคนเข้ามาอธิบายว่า ไม้ทัณฑฆาตในพระนามของพระราชินีนั้น เป็นการฆ่าเสียงสระอิ ก็เท่ากับว่าไม่ออกเสียงสระอิ จึงทำให้พระนามของพระราชินีอ่านออกเสียงว่า สิริกิต เพราะเสียงสระอิโดนฆ่าไปแล้ว
แต่ผมก็ยังงงอยู่ เพราะว่า สิทธิ์ ก็เข้าหลักเดียวกันเลย แต่ทำไมถึงยังอ่านว่า สิด หรือ ศักดิ์ ก็อ่านว่า สัก รามเกียรติ์ ก็เช่นกัน ทำไมจึงยังอ่าน ราม-มะ-เกียน
ถึงบอกไงว่าภาษาไทยเราก็ยากไม่ใช่เล่น ถ้าศึกษาให้ลึกจริง ๆ อ่ะนะ
แอบสงสัยเรื่อง "ไม้ทัณฑฆาต" อยู่ ตกลงแล้วมันมีหลักยังไงกันแน่
แต่ถึงกระนั้น ก็ยังมีเรื่องที่ผมสงสัยอยู่ เคยมีคนสงสัยเรื่องการอ่านพระนามของพระราชินี คือ สิริกิติ์ บางคนสงสัยว่าในเมื่อมีไม้ทัณฑฆาตอยู่บน ติ ทำไมถึงไม่อ่านว่า สิริกิ ก็มีคนเข้ามาอธิบายว่า ไม้ทัณฑฆาตในพระนามของพระราชินีนั้น เป็นการฆ่าเสียงสระอิ ก็เท่ากับว่าไม่ออกเสียงสระอิ จึงทำให้พระนามของพระราชินีอ่านออกเสียงว่า สิริกิต เพราะเสียงสระอิโดนฆ่าไปแล้ว
แต่ผมก็ยังงงอยู่ เพราะว่า สิทธิ์ ก็เข้าหลักเดียวกันเลย แต่ทำไมถึงยังอ่านว่า สิด หรือ ศักดิ์ ก็อ่านว่า สัก รามเกียรติ์ ก็เช่นกัน ทำไมจึงยังอ่าน ราม-มะ-เกียน
ถึงบอกไงว่าภาษาไทยเราก็ยากไม่ใช่เล่น ถ้าศึกษาให้ลึกจริง ๆ อ่ะนะ