สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 25
พูดถึงการแปลตำราของญี่ปุ่นแล้วก็รู้สึกได้เลยถึงความใจแคบและเห็นแก่ตัว คนญี่ปุ่นเองก็ไม่เก่งภาษาอังกฤษเหมือนไทยแต่เขาเน้นแปลตำราต่างประเทศเป็นภาษาตัวเองให้มากที่สุดเพื่อจะได้ศึกษาได้เองไม่ต้องไปศึกษาจากประเทศอื่น รวมไปถึงคนที่ไม่มีความรู้ภาษาอังกฤษรึภาษาอื่นจะได้สามารถศึกษาจากในประเทสได้ด้วย ทำให้มีการค้นคว้าวิจัยกันเยอะเพราะมีข้อมูลในญี่ปุ่นเป็นภาษาญี่ปุ่นมาก แม้จะไม่ค่อยมีคนรู้ภาษาต่างประเทศมากแต่ก็ยังหาข้อมูลใหม่ๆได้ตลอด
ในขณะที่ประเทศไทยคนรู้ภาษาจะค่อนข้างเห็นแก่ตัว คนที่ศึกษาจากต่างประเทศมาไม่ค่อยจะอยากแปลเป็นภาษาตัวเองให้คนอื่นอ่าน เพราะรู้สึกว่าตัวเองต้องลำบากเสียเงินไปเรียนแล้วเรื่องอะไรจะให้คนอื่นมาหาข้อมูลได้ง่ายๆ ต้องให้ลำบากมากๆเหมือนตน (โดยอ้างให้สวยหรูว่าอยากรู้ก็ศึกษาภาษาอังกฤษสิ จะให้ป้อนทุกอย่างให้เลยเหรอ ไม่รู้ศัพท์ก็เปิดพจนานุกรมสิ เรียนสิ หาความรู้สิ ไม่ยากหรอก) ทำให้งานวิจัยและตำราต่างๆไม่ค่อยมีแปลเป็นภาษาไทย คนไทยเองก็ไม่ค่อยรู้ภาษาอังกฤษและเมื่อมันยุ่งยากขนาดนั้นคนส่วนใหญ่ก็ปล่อยผ่านเลิกสนใจไปด้วย ส่งผลให้คนไม่มีความรู้ภาษาต่างประเทศก็ไม่ค่อยจะอยากค้นคว้าหาข้อมูลอะไรเพราะอ่านยากไม่ค่อยรู้เรื่อง งานวิจัยน้อยเพราะไม่ค่อยมีข้อมูล สรุปว่านอกจากคนไม่เก่งภาษาต่างประเทศแล้วยังไม่ค่อยมีความรู้ข้อมูลใหม่ๆอีกต่างหาก
ในขณะที่ประเทศไทยคนรู้ภาษาจะค่อนข้างเห็นแก่ตัว คนที่ศึกษาจากต่างประเทศมาไม่ค่อยจะอยากแปลเป็นภาษาตัวเองให้คนอื่นอ่าน เพราะรู้สึกว่าตัวเองต้องลำบากเสียเงินไปเรียนแล้วเรื่องอะไรจะให้คนอื่นมาหาข้อมูลได้ง่ายๆ ต้องให้ลำบากมากๆเหมือนตน (โดยอ้างให้สวยหรูว่าอยากรู้ก็ศึกษาภาษาอังกฤษสิ จะให้ป้อนทุกอย่างให้เลยเหรอ ไม่รู้ศัพท์ก็เปิดพจนานุกรมสิ เรียนสิ หาความรู้สิ ไม่ยากหรอก) ทำให้งานวิจัยและตำราต่างๆไม่ค่อยมีแปลเป็นภาษาไทย คนไทยเองก็ไม่ค่อยรู้ภาษาอังกฤษและเมื่อมันยุ่งยากขนาดนั้นคนส่วนใหญ่ก็ปล่อยผ่านเลิกสนใจไปด้วย ส่งผลให้คนไม่มีความรู้ภาษาต่างประเทศก็ไม่ค่อยจะอยากค้นคว้าหาข้อมูลอะไรเพราะอ่านยากไม่ค่อยรู้เรื่อง งานวิจัยน้อยเพราะไม่ค่อยมีข้อมูล สรุปว่านอกจากคนไม่เก่งภาษาต่างประเทศแล้วยังไม่ค่อยมีความรู้ข้อมูลใหม่ๆอีกต่างหาก
ความคิดเห็นที่ 40
ขอบคุณสำหรับกะทู้นะคะ
ขอเพิ่มเติมนิดนึงค่ะ
ถ้าตามคห.17 ที่บอกว่าจะมีการลดเงินเดือนพนักงานหญิง ให้ต่ำกว่าชายในปี2017แต่ngoประท้วง นี่เราไม่เคยได้ยินข่าวเลยนะคะ เราทำงานอยู่ที่ญี่ปุ่นค่ะ เป็นพนักงานประจำ เราว่าเราก็ติดตามข่าวสารตลอดระดับหนึ่งนะคะ และก็ดูท่าทางว่าจะเป็นไปได้ยากมากถ้าเกิดมีนโยบายนี้ตอนนี้ เพราะว่าอาเบะเป็นคนชูนโยบายwomenomics ค่ะ
(เราขอแปะลิงค์ของgoldman sach ที่เขาวิเคราะห์ไว้ให้อ่านด้วยนะคะปกติเราชอบอ่านวิเคราะห์ของที่นี่ค่ะ)
http://www.goldmansachs.com/our-thinking/outlook/womenomics4-folder/womenomics4-time-to-walk-the-talk.pdf
อย่างแรกคุณควรเข้าใจระบบบริษัทและการจ้างงานที่ญี่ปุ่นก่อนค่ะ
การจ้างงานเป็นระบบจ้างปีละ1ครั้งสำหรับเด็กจบใหม่ เริ่มงานวันที่1เมษาค่ะเกือบทั่วประเทศ ตอนหางานบริษัทจะประกาศเงินเดือนไว้เลยค่ะ(ตามกม.) ได้เท่ากันทั้งชายและหญิง ไม่ว่าต่างชาติหรือคนญี่ปุ่น
1.ถ้าคุณเป็นพนักงานระดับต่ำกว่าmanager ลงมา คุณจะมีunion หรือสหภาพแรงงานของบริษัทดูแลเรื่องเงินเดือน โบนัส OT เงินออม สวัสดิการต่างๆค่ะ เช่น union จะเป็นคนต่อรองเรื่องโบนัสต่างๆให้กับพนักงานทุกคนค่ะหลังจากที่ได้ประชุมผลประกอบการประจำปี และยังเป็นคนที่ช่วยเหลือเรื่องนโยบายการลาคลอด การกลับมาทำงานหลังคลอดของพนักงานผู้หญิงด้วยค่ะ
2. กรณีคุณเป็นระดับmanager คุณจะขึ้นตรงกับบริษัทค่ะ เงินเดือนและโบนัสบริษัทจะเป็นผู้พิจารณาโดยตรง แต่สวัสดิการทั่วไปยังเหมือนกันทั้งบริษัทค่ะ
แล้วอาเบะเป็นคนชูนโยบาย womenomics เองค่ะ เราฟังข่าวก็มีแต่จะสนับสนุนให้ผญออกมาทำงานกัน และต้องการให้มีผู้หญิงอยู่ในระดับบริหาร 30% ที่ปี2020 หรือTokyo Olympics นั่นเองค่ะ (ปัจจุบันผู้ว่าราชการกรุงโตเกียวก็เป็นผญแล้วนะคะสดๆร้อนๆค่ะ)
ส่วนตามคห.18ที่บอกว่าพอลาคลอดกลับเข้ามาจะโดนลดตำแหน่ง ลดเงินเดือน ตางนี้เราขออธิบายนิดนึงค่ะ
กรณีคุณเป็นพนักงานแบบที่เราเขียนข้างบนไปคือตำกว่าระดับmanager คุณสามารถเลือกที่จะใช้ระบบทำงานสั้นได้ค่ะภาษาญี่ปุ่นเรียกว่าทังจิคังคิมมุ (短時間勤務) แต่กรณีคุณใช้ระบบนี้เช่นมาทำงานน้อยลงวันละ2ชม.เพื่อเอาเวลาไปจัดการรับส่งลูกไปเนอสเซอรี่ คุณจะไม่ได้รับเงินเดือนใน2ชม.นั้นค่ะง่ายๆคือno work no pay
ถ้าคุณเป็นmanager คุณก็จะได้สิทธิ์นี้เหมือนกันค่ะ
ส่วนเรื่องตำแหน่ง พอกลับมาก็อยู่ที่ตำแหน่งเดิมค่ะไม่เปลี่ยนแปลง
ที่เราอธิบายเรื่องนี้เพราะว่าเราใช้สิทธิ์ลาคลอด1ปีค่ะ(บริษัทเราให้ลาได้2ปี) พอเรากลับไป เราก็ได้อยู่ตำแหน่งเดิม เงินเดือนเท่าเดิมไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงเลยค่ะ โดยรวมเราว่าระบบเกี่ยวกับการลาคลอด การเลี้ยงลูกที่ญี่ปุ่นดีกว่าไทยมากค่ะ
ถ้าเป็นไปได้เราอยากเห็นกะทู้พูดถึงเรื่องนโยบายปัจจุบัน และพูดคุยวิเคราะห์แนวทางอนาคตด้วยค่ะ น่าจะดีกว่าเอาประวัติศาสตร์มาวิเคราะห์อย่างเดียว เพราะประวัติศาสตร์มันผ่านไปแล้วค่ะ และมันเกิดขึ้นแล้ว เห็นผลแล้ว(ส่วนตัว เราเคยอ่านเรื่องแนวๆนี้มาแล้วค่ะแต่เป็นฉบับeng & jap versions ค่ะ) ถ้าเป็นไปได้รบกวนด้วยนะคะ จะรออ่านค่ะ
ขอเพิ่มเติมนิดนึงค่ะ
ถ้าตามคห.17 ที่บอกว่าจะมีการลดเงินเดือนพนักงานหญิง ให้ต่ำกว่าชายในปี2017แต่ngoประท้วง นี่เราไม่เคยได้ยินข่าวเลยนะคะ เราทำงานอยู่ที่ญี่ปุ่นค่ะ เป็นพนักงานประจำ เราว่าเราก็ติดตามข่าวสารตลอดระดับหนึ่งนะคะ และก็ดูท่าทางว่าจะเป็นไปได้ยากมากถ้าเกิดมีนโยบายนี้ตอนนี้ เพราะว่าอาเบะเป็นคนชูนโยบายwomenomics ค่ะ
(เราขอแปะลิงค์ของgoldman sach ที่เขาวิเคราะห์ไว้ให้อ่านด้วยนะคะปกติเราชอบอ่านวิเคราะห์ของที่นี่ค่ะ)
http://www.goldmansachs.com/our-thinking/outlook/womenomics4-folder/womenomics4-time-to-walk-the-talk.pdf
อย่างแรกคุณควรเข้าใจระบบบริษัทและการจ้างงานที่ญี่ปุ่นก่อนค่ะ
การจ้างงานเป็นระบบจ้างปีละ1ครั้งสำหรับเด็กจบใหม่ เริ่มงานวันที่1เมษาค่ะเกือบทั่วประเทศ ตอนหางานบริษัทจะประกาศเงินเดือนไว้เลยค่ะ(ตามกม.) ได้เท่ากันทั้งชายและหญิง ไม่ว่าต่างชาติหรือคนญี่ปุ่น
1.ถ้าคุณเป็นพนักงานระดับต่ำกว่าmanager ลงมา คุณจะมีunion หรือสหภาพแรงงานของบริษัทดูแลเรื่องเงินเดือน โบนัส OT เงินออม สวัสดิการต่างๆค่ะ เช่น union จะเป็นคนต่อรองเรื่องโบนัสต่างๆให้กับพนักงานทุกคนค่ะหลังจากที่ได้ประชุมผลประกอบการประจำปี และยังเป็นคนที่ช่วยเหลือเรื่องนโยบายการลาคลอด การกลับมาทำงานหลังคลอดของพนักงานผู้หญิงด้วยค่ะ
2. กรณีคุณเป็นระดับmanager คุณจะขึ้นตรงกับบริษัทค่ะ เงินเดือนและโบนัสบริษัทจะเป็นผู้พิจารณาโดยตรง แต่สวัสดิการทั่วไปยังเหมือนกันทั้งบริษัทค่ะ
แล้วอาเบะเป็นคนชูนโยบาย womenomics เองค่ะ เราฟังข่าวก็มีแต่จะสนับสนุนให้ผญออกมาทำงานกัน และต้องการให้มีผู้หญิงอยู่ในระดับบริหาร 30% ที่ปี2020 หรือTokyo Olympics นั่นเองค่ะ (ปัจจุบันผู้ว่าราชการกรุงโตเกียวก็เป็นผญแล้วนะคะสดๆร้อนๆค่ะ)
ส่วนตามคห.18ที่บอกว่าพอลาคลอดกลับเข้ามาจะโดนลดตำแหน่ง ลดเงินเดือน ตางนี้เราขออธิบายนิดนึงค่ะ
กรณีคุณเป็นพนักงานแบบที่เราเขียนข้างบนไปคือตำกว่าระดับmanager คุณสามารถเลือกที่จะใช้ระบบทำงานสั้นได้ค่ะภาษาญี่ปุ่นเรียกว่าทังจิคังคิมมุ (短時間勤務) แต่กรณีคุณใช้ระบบนี้เช่นมาทำงานน้อยลงวันละ2ชม.เพื่อเอาเวลาไปจัดการรับส่งลูกไปเนอสเซอรี่ คุณจะไม่ได้รับเงินเดือนใน2ชม.นั้นค่ะง่ายๆคือno work no pay
ถ้าคุณเป็นmanager คุณก็จะได้สิทธิ์นี้เหมือนกันค่ะ
ส่วนเรื่องตำแหน่ง พอกลับมาก็อยู่ที่ตำแหน่งเดิมค่ะไม่เปลี่ยนแปลง
ที่เราอธิบายเรื่องนี้เพราะว่าเราใช้สิทธิ์ลาคลอด1ปีค่ะ(บริษัทเราให้ลาได้2ปี) พอเรากลับไป เราก็ได้อยู่ตำแหน่งเดิม เงินเดือนเท่าเดิมไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงเลยค่ะ โดยรวมเราว่าระบบเกี่ยวกับการลาคลอด การเลี้ยงลูกที่ญี่ปุ่นดีกว่าไทยมากค่ะ
ถ้าเป็นไปได้เราอยากเห็นกะทู้พูดถึงเรื่องนโยบายปัจจุบัน และพูดคุยวิเคราะห์แนวทางอนาคตด้วยค่ะ น่าจะดีกว่าเอาประวัติศาสตร์มาวิเคราะห์อย่างเดียว เพราะประวัติศาสตร์มันผ่านไปแล้วค่ะ และมันเกิดขึ้นแล้ว เห็นผลแล้ว(ส่วนตัว เราเคยอ่านเรื่องแนวๆนี้มาแล้วค่ะแต่เป็นฉบับeng & jap versions ค่ะ) ถ้าเป็นไปได้รบกวนด้วยนะคะ จะรออ่านค่ะ
แสดงความคิดเห็น
The collapse of Japan เมื่อเศรษฐกิจญี่ปุ่นแย่ (Rewrite ใหม่ครับ)