ยิ่งเราเข้าใกล้ธรรมชาติมากขึ้นเท่าไหร่ สมองก็จะยิ่งผ่อนคลายและมีประสิทธิภาพมากขึ้นเท่านั้น ประโยคนี้ได้รับการยืนยันโดยนักวิจัยจากหลากหลายประเทศโดยมิได้นัดหมาย
นักวิจัยชาวสหรัฐ พบว่าอาสาสมัครที่เข้าป่าสามวัน สามารถแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ได้ดีขึ้นถึงร้อยละ 50
ทีมวิจัยชาวเนเธอแลนด์ พบว่าผู้ที่อาศัยอยู่รอบๆ พื้นที่สีเขียวมีอัตราการเกิดโรค เช่น ภาวะซึมเสร้า อาการวิตกกงวล โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคหืด และไมเกรน ต่ำลง
ส่วนนักวิจัยชาวญี่ปุ่นไม่ยอมน้อยหน้า พบว่าการเดินในป่าเพียงแค่ 15 นาทีสงผลให้ระดับคอร์ติซอลซึ่งเป็นฮอร์โมนเครียดลดลงถึงร้อยละ 16
แต่ประเทศที่เอาจริงเอาจังกับเรื่องนี้มากที่สุดคือเกาหลีใต้ รัฐบาลลงทุนเปิดป่าเพื่อใช้สำหรับบำบัดโดยเฉพาะโดยตั้งเป้าไว้ว่าจะมีถึง 34 แห่ง ภายในปี 2017
เมื่อมองภาพเมือง จะมีเลือดไหลเวียนมากขึ้นในสมองส่วนอมิกดาลาซึ่งเกี่ยวกับความกลัวและวิตกกังวล แต่เมื่อมองภาพธรรมชาติ เปลือกสมองซิงกูเลตส่วนหน้าและกลีบสมองอินซูลา ซึ่งเกี่ยวกับความเมตตาจะสว่างขึ้น
เมื่อเราเดินอยู่กลางธรรมชาติ กิจกรรมบริเวณกลีบสมองส่วนหน้าซึ่งเกี่ยวข้องกับการคิดวกวนจนเกิดอาการซึมเศร้าจะลดลง แต่กิจกรรมทางไฟฟ้าดังกล่าวไม่ลดลงเมื่อเราเดินอยู่ในเมือง
แต่สำหรับพนักงงานออฟฟิศ หรือคนที่กำลังไฟลุกโชนจนงานเริ่มเกรียม ข่าวดีคือ คุณไม่จำเป็นต้องไปไกลถึงป่าเขา ไม่ต้องเข้าสวนสาธารณะ ไม่ต้องขยับตัวไปสวนหลังบ้านด้วยซ้ำ แค่มองรูปธรรมชาติหรือต้นไม้ก็พอจะช่วยได้แล้วจ้า อย่างไรก็ตาม อย่าลืมว่าการสัมผัสกับธรรมชาติจริงๆ ย่อมช่วยดีท็อกซ์สมองได้ดีกว่าแน่นอน
ที่มา National Geographic ฉบับเมษายน 2559
เรียบเรียง
https://www.facebook.com/bearducktraveler
หมีเป็ดชวนมองภาพต้นไม้ ผ่อนคลายสมอง
ยิ่งเราเข้าใกล้ธรรมชาติมากขึ้นเท่าไหร่ สมองก็จะยิ่งผ่อนคลายและมีประสิทธิภาพมากขึ้นเท่านั้น ประโยคนี้ได้รับการยืนยันโดยนักวิจัยจากหลากหลายประเทศโดยมิได้นัดหมาย
นักวิจัยชาวสหรัฐ พบว่าอาสาสมัครที่เข้าป่าสามวัน สามารถแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ได้ดีขึ้นถึงร้อยละ 50
ทีมวิจัยชาวเนเธอแลนด์ พบว่าผู้ที่อาศัยอยู่รอบๆ พื้นที่สีเขียวมีอัตราการเกิดโรค เช่น ภาวะซึมเสร้า อาการวิตกกงวล โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคหืด และไมเกรน ต่ำลง
ส่วนนักวิจัยชาวญี่ปุ่นไม่ยอมน้อยหน้า พบว่าการเดินในป่าเพียงแค่ 15 นาทีสงผลให้ระดับคอร์ติซอลซึ่งเป็นฮอร์โมนเครียดลดลงถึงร้อยละ 16
แต่ประเทศที่เอาจริงเอาจังกับเรื่องนี้มากที่สุดคือเกาหลีใต้ รัฐบาลลงทุนเปิดป่าเพื่อใช้สำหรับบำบัดโดยเฉพาะโดยตั้งเป้าไว้ว่าจะมีถึง 34 แห่ง ภายในปี 2017
เมื่อมองภาพเมือง จะมีเลือดไหลเวียนมากขึ้นในสมองส่วนอมิกดาลาซึ่งเกี่ยวกับความกลัวและวิตกกังวล แต่เมื่อมองภาพธรรมชาติ เปลือกสมองซิงกูเลตส่วนหน้าและกลีบสมองอินซูลา ซึ่งเกี่ยวกับความเมตตาจะสว่างขึ้น
เมื่อเราเดินอยู่กลางธรรมชาติ กิจกรรมบริเวณกลีบสมองส่วนหน้าซึ่งเกี่ยวข้องกับการคิดวกวนจนเกิดอาการซึมเศร้าจะลดลง แต่กิจกรรมทางไฟฟ้าดังกล่าวไม่ลดลงเมื่อเราเดินอยู่ในเมือง
แต่สำหรับพนักงงานออฟฟิศ หรือคนที่กำลังไฟลุกโชนจนงานเริ่มเกรียม ข่าวดีคือ คุณไม่จำเป็นต้องไปไกลถึงป่าเขา ไม่ต้องเข้าสวนสาธารณะ ไม่ต้องขยับตัวไปสวนหลังบ้านด้วยซ้ำ แค่มองรูปธรรมชาติหรือต้นไม้ก็พอจะช่วยได้แล้วจ้า อย่างไรก็ตาม อย่าลืมว่าการสัมผัสกับธรรมชาติจริงๆ ย่อมช่วยดีท็อกซ์สมองได้ดีกว่าแน่นอน
ที่มา National Geographic ฉบับเมษายน 2559
เรียบเรียง https://www.facebook.com/bearducktraveler