เมืองไทย 360 องศา
"ด้วยรัฐธรรมนูญใหม่นี้ประเทศได้ก้าวถอยหลังและถอยหลังจากเส้นทางประชาธิปไตย"
นั่นเป็นคำพูดของ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีที่ถูกคลื่นมหาชนประท้วงขับไล่
และน้องสาวของ ทักษิณ ชินวัตร ที่กล่าวกับสื่อต่างประเทศ
หลังจากพ่ายแพ้ผลการลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม
หลังจากเธอและพี่ชายของเธอรวมทั้งผู้สนับสนุนต่างรณรงค์ให้ไม่รับร่างดังกล่าว
เมื่อผลออกมากว่าร้อยละ 61 เห็นชอบหรือรับร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่ผลักดันโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.)
ขณะที่เสียงปฏิเสธหรือไม่รับมีเพียงแค่กว่าร้อยละ 38 เท่านั้น
โดยมีผู้ออกมาใช้สิทธิ์ลงคะแนนกว่าร้อยละ 55
ซึ่งก็ถือว่าออกมาใช้สิทธิ์เกินครึ่ง ก็พอกล้อมแกล้มได้ว่านี่คือเสียงส่วนใหญ่
ดังนั้นอย่าได้แปลกใจที่จะได้เห็นปฏิกิริยาที่แสดงอาการผิดหวัง
โวยวายพยายามกล่าวโทษฝ่ายตรงข้าม พยายามอ้างว่าเป็นการลงประชามติที่ไม่เป็นมาตรฐานสากล
และที่สำคัญก็คือการ"ฟ้องกับต่างประเทศ"โดยเฉพาะพวกตะวันตก
อย่างไรก็ดีนั่นคือความพยายามดิ้นรนฟูมฟายตีอกชกตัว
เมื่อทุกอย่างผิดไปจากความคาดหมายอย่างใหญ่หลวง
ชนิดที่เรียกว่าไม่คาดคิดแบบนี้มันก็ย่อมเกิดอาการช็อกอย่างที่เห็น
ผลการลงประชามติดังกล่าวไม่ใช่แต่พวก ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เท่านั้นที่ช็อก และคาดไม่ถึง
ยังหมายรวมถึงบรรดานักการเมืองจากพรรคการเมืองต่างๆ รวมทั้งนักเคลื่อนไหวทางการเมืองต่างๆ
ก็ไม่คาดว่าผลจะออกมาแบบนี้ เพราะหากพิจารณาจากฐานเสียงเดิมของทั้งสองพรรคใหญ่
คือ พรรคเพื่อไทยกับพรรคประชาธิปัตย์ที่ประกาศพร้อมใจกัน"คว่ำ"ร่างรัฐธรรมนูญ
ซึ่งแน่นอนว่าสำหรับพรรคเพื่อไทยย่อมมีฐานเสียงหลักอยู่ที่ ภาคเหนือ ภาคอีสาน
ขณะที่ประชาธิปัตย์อยู่ที่ภาคใต้กับกรุงเทพมหานคร
แต่เมื่อผลที่ออกมากลับพบว่าในภาคเหนือกับภาคอีสานแม้ว่าโหวตไม่รับ แต่คะแนนสูสีมาก
มิหนำซ้ำหลายจังหวัดกลับโหวตสวนคือรับหรือเห็นชอบเฉยเลย
ขณะที่ภาคใต้กับกรุงเทพมหานครนั้นไม่ต้องพูดถึงเห็นชอบกันถล่มทลาย
แม้ว่าจะมีสามจังหวัดชายแดนภาคใต้เท่านั้นที่ไม่รับร่างและคำถามพ่วง
แต่ก็พออธิบายได้ว่าการเมืองในพื้นที่ดังกล่าวนั้นแปลกแยกออกไปต่างหากมานานแล้ว
เพราะไม่มีความแน่นอนมาตั้งแต่เดิมอยู่แล้ว
ขณะเดียวกันอีกด้านหนึ่งผลที่ออกมาแบบนี้มันก็ย่อมแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า
กระแสการสนับสนุนที่มีต่อ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช.
โดยรวม ชาวบ้านยังมีความศรัทธาและเชื่อมั่นโดยเฉพาะความต้องการให้บ้านเมืองมีการปฏิรูปตามโรดแมป
ผลการโหวตคราวนี้ยังชี้ให้เห็นว่าชาวบ้านส่วนใหญ่รังเกียจนักการเมือง
ไม่ให้เครดิตมองว่าพวกเขานั่นแหละคือตัวถ่วงของบ้านเมือง
ชาวบ้านมองเห็นภาพการทุจริต มีพฤติกรรมที่น่ารังเกียจ
ซึ่งทำให้เกิดผลโหวตดังกล่าวออกมา
เพราะหากย้อนกลับไปพิจารณาเปรียบเทียบสิบ ยี่สิบปีก่อน
ในช่วงที่เกิดรัฐธรรมนูญปี 40 ต่อเนื่องมาจนถึงปี 50
ตอนนั้นกระแสประชาธิปไตยเลือกตั้งมาแรงมาก
กระแสนายกฯจากการเลือกตั้ง(สส.)ต้องมาก่อน
ขณะที่กระแสรังเกียจเผด็จการทหารในยุคนั้นก็แรง
ดังนั้นเรื่องนายกฯคนนอกถือว่าไม่ค่อยมีใครกล้าพูดถึงมากนัก
ซึ่งผิดกับยุคปัจจุบันที่ตรงกันข้าม
เมื่อพูดถึงความเชื่อมั่น ความนิยมต่อ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่สูง
มีผลสำคัญต่อการโหวตเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งส่วนทางกับความนิยมของฝ่ายนักการเมือง
โดยเฉพาะการเมืองในกลุ่มของ ทักษิณ ชินวัตร ที่มีแนวโน้มมีอนาคตที่ดับวูบชัดเจน
นอกเหนือจากประเด็นจากคุณสมบัติต้องห้ามในรัฐธรรมนูญที่ทำให้พวกเขา
ต้องจบบทบาทลงไปจากประวัติคดีทุจริตติดตัวในอดีตแล้ว
ยังมีผลต่อการดำเนินคดีที่เป็นอยู่ที่คาดว่าจะต้อง"เดินหน้าเต็มตัว"
เพราะพิจารณาจากผลโหวต มันก็ทำให้ พล.อ.ประยุทธ์ และ คสช.มั่นใจมากขึ้น
มั่นใจในฐานสนับสนุนที่มีอยู่ข้างหลัง
ขณะเดียวกันเมื่อพูดถึงอนาคตทางการเมืองเปรียบเทียบกัน
เมื่อร่างรัฐธรรมนูญที่รวมเอาบทเฉพาะกาล 5 ปีที่ให้ สว.มาจากการแต่งตั้ง 250 คน
คำถามพ่วงที่ให้ร่วมโหวตเลือกนายกฯจากคนนอกได้
มันก็ย่อมมองเห็นอนาคตรำไรแล้วว่าหลังการเลือกตั้งตามโรดแมปในปี 60 ว่าจะมีโฉมหน้าอย่างไร
ดังนั้นถึงได้บอกว่าอย่าได้แปลกใจที่คนในครอบครัว ทักษิณ ชินวัตร
จะต้องร้องจ๊ากเมื่อรัฐธรรมนูญผ่านประชามติและมีผลบังคับใช้
เพราะไม่ต่างจากถูกประหารชีวิตทางการเมือง นั่นแหละ !!
ทักษิณตายหยั่งเขียด
"ด้วยรัฐธรรมนูญใหม่นี้ประเทศได้ก้าวถอยหลังและถอยหลังจากเส้นทางประชาธิปไตย"
นั่นเป็นคำพูดของ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีที่ถูกคลื่นมหาชนประท้วงขับไล่
และน้องสาวของ ทักษิณ ชินวัตร ที่กล่าวกับสื่อต่างประเทศ
หลังจากพ่ายแพ้ผลการลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม
หลังจากเธอและพี่ชายของเธอรวมทั้งผู้สนับสนุนต่างรณรงค์ให้ไม่รับร่างดังกล่าว
เมื่อผลออกมากว่าร้อยละ 61 เห็นชอบหรือรับร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่ผลักดันโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.)
ขณะที่เสียงปฏิเสธหรือไม่รับมีเพียงแค่กว่าร้อยละ 38 เท่านั้น
โดยมีผู้ออกมาใช้สิทธิ์ลงคะแนนกว่าร้อยละ 55
ซึ่งก็ถือว่าออกมาใช้สิทธิ์เกินครึ่ง ก็พอกล้อมแกล้มได้ว่านี่คือเสียงส่วนใหญ่
ดังนั้นอย่าได้แปลกใจที่จะได้เห็นปฏิกิริยาที่แสดงอาการผิดหวัง
โวยวายพยายามกล่าวโทษฝ่ายตรงข้าม พยายามอ้างว่าเป็นการลงประชามติที่ไม่เป็นมาตรฐานสากล
และที่สำคัญก็คือการ"ฟ้องกับต่างประเทศ"โดยเฉพาะพวกตะวันตก
อย่างไรก็ดีนั่นคือความพยายามดิ้นรนฟูมฟายตีอกชกตัว
เมื่อทุกอย่างผิดไปจากความคาดหมายอย่างใหญ่หลวง
ชนิดที่เรียกว่าไม่คาดคิดแบบนี้มันก็ย่อมเกิดอาการช็อกอย่างที่เห็น
ผลการลงประชามติดังกล่าวไม่ใช่แต่พวก ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เท่านั้นที่ช็อก และคาดไม่ถึง
ยังหมายรวมถึงบรรดานักการเมืองจากพรรคการเมืองต่างๆ รวมทั้งนักเคลื่อนไหวทางการเมืองต่างๆ
ก็ไม่คาดว่าผลจะออกมาแบบนี้ เพราะหากพิจารณาจากฐานเสียงเดิมของทั้งสองพรรคใหญ่
คือ พรรคเพื่อไทยกับพรรคประชาธิปัตย์ที่ประกาศพร้อมใจกัน"คว่ำ"ร่างรัฐธรรมนูญ
ซึ่งแน่นอนว่าสำหรับพรรคเพื่อไทยย่อมมีฐานเสียงหลักอยู่ที่ ภาคเหนือ ภาคอีสาน
ขณะที่ประชาธิปัตย์อยู่ที่ภาคใต้กับกรุงเทพมหานคร
แต่เมื่อผลที่ออกมากลับพบว่าในภาคเหนือกับภาคอีสานแม้ว่าโหวตไม่รับ แต่คะแนนสูสีมาก
มิหนำซ้ำหลายจังหวัดกลับโหวตสวนคือรับหรือเห็นชอบเฉยเลย
ขณะที่ภาคใต้กับกรุงเทพมหานครนั้นไม่ต้องพูดถึงเห็นชอบกันถล่มทลาย
แม้ว่าจะมีสามจังหวัดชายแดนภาคใต้เท่านั้นที่ไม่รับร่างและคำถามพ่วง
แต่ก็พออธิบายได้ว่าการเมืองในพื้นที่ดังกล่าวนั้นแปลกแยกออกไปต่างหากมานานแล้ว
เพราะไม่มีความแน่นอนมาตั้งแต่เดิมอยู่แล้ว
ขณะเดียวกันอีกด้านหนึ่งผลที่ออกมาแบบนี้มันก็ย่อมแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า
กระแสการสนับสนุนที่มีต่อ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช.
โดยรวม ชาวบ้านยังมีความศรัทธาและเชื่อมั่นโดยเฉพาะความต้องการให้บ้านเมืองมีการปฏิรูปตามโรดแมป
ผลการโหวตคราวนี้ยังชี้ให้เห็นว่าชาวบ้านส่วนใหญ่รังเกียจนักการเมือง
ไม่ให้เครดิตมองว่าพวกเขานั่นแหละคือตัวถ่วงของบ้านเมือง
ชาวบ้านมองเห็นภาพการทุจริต มีพฤติกรรมที่น่ารังเกียจ
ซึ่งทำให้เกิดผลโหวตดังกล่าวออกมา
เพราะหากย้อนกลับไปพิจารณาเปรียบเทียบสิบ ยี่สิบปีก่อน
ในช่วงที่เกิดรัฐธรรมนูญปี 40 ต่อเนื่องมาจนถึงปี 50
ตอนนั้นกระแสประชาธิปไตยเลือกตั้งมาแรงมาก
กระแสนายกฯจากการเลือกตั้ง(สส.)ต้องมาก่อน
ขณะที่กระแสรังเกียจเผด็จการทหารในยุคนั้นก็แรง
ดังนั้นเรื่องนายกฯคนนอกถือว่าไม่ค่อยมีใครกล้าพูดถึงมากนัก
ซึ่งผิดกับยุคปัจจุบันที่ตรงกันข้าม
เมื่อพูดถึงความเชื่อมั่น ความนิยมต่อ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่สูง
มีผลสำคัญต่อการโหวตเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งส่วนทางกับความนิยมของฝ่ายนักการเมือง
โดยเฉพาะการเมืองในกลุ่มของ ทักษิณ ชินวัตร ที่มีแนวโน้มมีอนาคตที่ดับวูบชัดเจน
นอกเหนือจากประเด็นจากคุณสมบัติต้องห้ามในรัฐธรรมนูญที่ทำให้พวกเขา
ต้องจบบทบาทลงไปจากประวัติคดีทุจริตติดตัวในอดีตแล้ว
ยังมีผลต่อการดำเนินคดีที่เป็นอยู่ที่คาดว่าจะต้อง"เดินหน้าเต็มตัว"
เพราะพิจารณาจากผลโหวต มันก็ทำให้ พล.อ.ประยุทธ์ และ คสช.มั่นใจมากขึ้น
มั่นใจในฐานสนับสนุนที่มีอยู่ข้างหลัง
ขณะเดียวกันเมื่อพูดถึงอนาคตทางการเมืองเปรียบเทียบกัน
เมื่อร่างรัฐธรรมนูญที่รวมเอาบทเฉพาะกาล 5 ปีที่ให้ สว.มาจากการแต่งตั้ง 250 คน
คำถามพ่วงที่ให้ร่วมโหวตเลือกนายกฯจากคนนอกได้
มันก็ย่อมมองเห็นอนาคตรำไรแล้วว่าหลังการเลือกตั้งตามโรดแมปในปี 60 ว่าจะมีโฉมหน้าอย่างไร
ดังนั้นถึงได้บอกว่าอย่าได้แปลกใจที่คนในครอบครัว ทักษิณ ชินวัตร
จะต้องร้องจ๊ากเมื่อรัฐธรรมนูญผ่านประชามติและมีผลบังคับใช้
เพราะไม่ต่างจากถูกประหารชีวิตทางการเมือง นั่นแหละ !!