ขอแนะนำวัดสงบ ๆ อยู่เชิงเขา อยุ่ในเขต ท้องที่ตำบลนาเสียว อำเภอเมืองชัยภูมิ
วัดชื่อว่า วัดศิลาอาสน์ ค่ะ ชาวชัยภูมิเรียกวัดนี้ว่า ภูพระ เราพึ่งเคยไปครั้งแล้ว ยอมรับว่าอากาศดีมาก ทั้ง ๆ ที่แดดจ้าขนาดนั้น แต่มีลมเย็น ๆ พัดมาตลอด บรรยากาศร่มรื่นมากค่ะ เหมาะแก่การนั่งสมาธิ (แต่เรื่องผีดุมั๊ย อันนี้เราไม่ทราบนะคะ)
วัดตั้งอยู่ห่างจากตัวเมือง ประมาณ 12 กิโลเมตร มีแผนที่ใน Google map นะคะ ไม่พาหลงด้วย เราก็เปิด GPS ไป แหะๆ ระหว่างทางที่เราไปเต็มไปด้วยทุ่งนาเขียว ๆ สวยมากเลยค่ะ ถ่ายรูปมาให้ดูด้วย
ในวัดมีที่จอดรถไม่มาก และไม่ค่อยมีคนไปกันเยอะเท่าไหร่ เลยไม่ต้องวนหาที่จอดรถแบบในกรุงเทพ ลงจากรถมาก็จะเจอกับลานหินเต็มไปหมด
เดินออกมาจากที่จอดรถก็จะเจอภูเขาเตี้ย ๆ มีบันไดให้เราเดินขึ้นไป ไม่ได้สูงมากนะคะ พอเดินได้ แล้วก็จะเจอป้ายสอนภาษาอังกฤษเป็นระยะ ๆ
เมื่อขึ้นมาเราก็จะเจอกับ รอยสลักหินเป็นพระพุทธรูปนั่งขัดสมาธิ ซึ่งชาวบ้านเรียกกันว่า "พระเจ้าองค์ตื้อ" ชาวบ้านเชื่อกันนะคะว่าศักดิ์สิทธิ์มาก
ที่รูปสลักมีรอยขาว ๆ น่าจะมาจากช่วงสงกรานต์ชาวบ้านคงสรงน้ำอบ น้ำหอม ก็เลยเกิดเป็นรอยขาว ๆ มั้งคะ
"พระเจ้าองค์ตื้อ มีลักษณะพระหัตถ์ขวาวางอยู่ที่พระเพลา พระหัตถ์ซ้ายวางพาดอยู่ที่ พระชงฆ์ หน้าตักกว้าง 5 ฟุต สูง 7 ฟุต เรียกว่า รอบ ๆ พระพุทธรูปองค์นี้มีรอยแกะหินเป็นรูปพระสาวกอีกหลายองค์ ฐานว่าอาจจะสร้าง ในสมัยรุ่นราวคราวเดียวกับปรางค์กู่ ก็เป็นได้ พระพุทธรูปเหล่านี้มีลักษณะเป็นพระพุทธรูปแบบอู่ทอง มีอายุระหว่างพุทธศตวรรษที่ 18 - 19 ( ราว พ.ศ. 1701 - พ.ศ. 1900 ) ทุก ๆ ปี จะมีผู้คนจากทั่วทุกสารทิศ ขึ้นไปกราบไหว้พระเจ้าองค์ตื้อ ในวันขึ้น 13, 14 และ 15 ค่ำ เดือน 5 เป็นจำนวนมาก เนื่องจากผู้คนเลื่อมใสว่า "หมอรักษาเป็นหมอลำ" ให้การรักษาคนป่วย ขอให้หาย โดยบนบานต่อพระเจ้าองค์ตื้อจะได้สมความปรารถนา ในปี พ.ศ. 2483 พระวิบูลนิโรธกิจ อดีตเจ้าคณะจังหวัด ชัยภูมิ ( พระครูจรูญ นิโรธ เจ้าคณะจังหวัดชัยภูมิ ขณะนั้นได้ขอตั้งเป็นสำนักสงฆ์ชื่อ "ศิลาอาสน์" ) และปรับปรุงบริเวณสถานที่ ในปีต่อมาได้สร้างกุฏิ พระภิกษุได้จำพรรษอยู่ประจำมาตลอดจนทุกวันนี้" (เนื้อหานี้ก๊อปมาจากในเว็บนะคะ
http://place.thai-tour.com/chaiyaphum/mueangchaiyaphum/496)
แนะนำ ภูพระ สถานที่ทำบุญ วัดเชิงเขา บรรยากาศดี ร่มรื่น สำหรับคนที่ต้องการหนีความวุ่นวายในเมือง
วัดชื่อว่า วัดศิลาอาสน์ ค่ะ ชาวชัยภูมิเรียกวัดนี้ว่า ภูพระ เราพึ่งเคยไปครั้งแล้ว ยอมรับว่าอากาศดีมาก ทั้ง ๆ ที่แดดจ้าขนาดนั้น แต่มีลมเย็น ๆ พัดมาตลอด บรรยากาศร่มรื่นมากค่ะ เหมาะแก่การนั่งสมาธิ (แต่เรื่องผีดุมั๊ย อันนี้เราไม่ทราบนะคะ)
วัดตั้งอยู่ห่างจากตัวเมือง ประมาณ 12 กิโลเมตร มีแผนที่ใน Google map นะคะ ไม่พาหลงด้วย เราก็เปิด GPS ไป แหะๆ ระหว่างทางที่เราไปเต็มไปด้วยทุ่งนาเขียว ๆ สวยมากเลยค่ะ ถ่ายรูปมาให้ดูด้วย
ในวัดมีที่จอดรถไม่มาก และไม่ค่อยมีคนไปกันเยอะเท่าไหร่ เลยไม่ต้องวนหาที่จอดรถแบบในกรุงเทพ ลงจากรถมาก็จะเจอกับลานหินเต็มไปหมด
เดินออกมาจากที่จอดรถก็จะเจอภูเขาเตี้ย ๆ มีบันไดให้เราเดินขึ้นไป ไม่ได้สูงมากนะคะ พอเดินได้ แล้วก็จะเจอป้ายสอนภาษาอังกฤษเป็นระยะ ๆ
เมื่อขึ้นมาเราก็จะเจอกับ รอยสลักหินเป็นพระพุทธรูปนั่งขัดสมาธิ ซึ่งชาวบ้านเรียกกันว่า "พระเจ้าองค์ตื้อ" ชาวบ้านเชื่อกันนะคะว่าศักดิ์สิทธิ์มาก
ที่รูปสลักมีรอยขาว ๆ น่าจะมาจากช่วงสงกรานต์ชาวบ้านคงสรงน้ำอบ น้ำหอม ก็เลยเกิดเป็นรอยขาว ๆ มั้งคะ
"พระเจ้าองค์ตื้อ มีลักษณะพระหัตถ์ขวาวางอยู่ที่พระเพลา พระหัตถ์ซ้ายวางพาดอยู่ที่ พระชงฆ์ หน้าตักกว้าง 5 ฟุต สูง 7 ฟุต เรียกว่า รอบ ๆ พระพุทธรูปองค์นี้มีรอยแกะหินเป็นรูปพระสาวกอีกหลายองค์ ฐานว่าอาจจะสร้าง ในสมัยรุ่นราวคราวเดียวกับปรางค์กู่ ก็เป็นได้ พระพุทธรูปเหล่านี้มีลักษณะเป็นพระพุทธรูปแบบอู่ทอง มีอายุระหว่างพุทธศตวรรษที่ 18 - 19 ( ราว พ.ศ. 1701 - พ.ศ. 1900 ) ทุก ๆ ปี จะมีผู้คนจากทั่วทุกสารทิศ ขึ้นไปกราบไหว้พระเจ้าองค์ตื้อ ในวันขึ้น 13, 14 และ 15 ค่ำ เดือน 5 เป็นจำนวนมาก เนื่องจากผู้คนเลื่อมใสว่า "หมอรักษาเป็นหมอลำ" ให้การรักษาคนป่วย ขอให้หาย โดยบนบานต่อพระเจ้าองค์ตื้อจะได้สมความปรารถนา ในปี พ.ศ. 2483 พระวิบูลนิโรธกิจ อดีตเจ้าคณะจังหวัด ชัยภูมิ ( พระครูจรูญ นิโรธ เจ้าคณะจังหวัดชัยภูมิ ขณะนั้นได้ขอตั้งเป็นสำนักสงฆ์ชื่อ "ศิลาอาสน์" ) และปรับปรุงบริเวณสถานที่ ในปีต่อมาได้สร้างกุฏิ พระภิกษุได้จำพรรษอยู่ประจำมาตลอดจนทุกวันนี้" (เนื้อหานี้ก๊อปมาจากในเว็บนะคะ http://place.thai-tour.com/chaiyaphum/mueangchaiyaphum/496)