ตั้งอยู่ บ้านใหม่จอมแตง ตำบลสันโป่ง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่
ห่างจากถนนหลวง หมายเลข 107 (ถนนเชียงใหม่-ฝาง) กม.19 ห่างจากถนนไปทิศตะวันตก ประมาณ 500 เมตร
มีชื่อที่ชาวบ้านเรียกหลายชื่อว่า พระธาตุดอยจอมแตง, วัดจอมแตง, วัดดอยแตง
ตั้งอยู่บนพื้นที่ 23 ไร่ พื้นที่เป็นเนินเขาสูงประมาณ 300 เมตร ล้อมรอบต้นไม้นานาพันธ์ุ สามารถชมวิวทิวทัศน์ของตัวอำเภอแม่ริมได้แบบพาโนราม่า
จากประวัติเล่าสืบต่อกันมาว่า วัดแห่งนี้ได้มีประวัติเกิดขึ้นในสมัยพุทธกาล
ครั้งเมื่อพระพุทธเจ้าทรงอธิษฐานประทับรอยพระบาทซ้อนลงไปเป็นรอยที่ 4 ณ พระพุทธบาทสี่รอย
ต่อจากนั้นพระองค์ก็ได้เสด็จมาตามไหล่เขาจนบรรลุถึงเขาลูกหนึ่ง ซึ่งเป็นที่อยู่ของฝูงแรด (ดอยขี้แรด หรือเขาขี้แรด)
ห่างจากดอยขี้แรดไปทางทิศตะวันออกประมาณ 1 กิโลเมตร มีชาวล๊วะปลูกบ้านอาศัยอยู่ทำไร่ทำสวนใกล้ ๆ กับเชิงเขานั้น
เมื่อพระองค์เสด็จมาถึงบนเขาขี้แรดพร้อมเหล่าสาวกเป็นเวลาใกล้เที่ยง
ขณะนั้นมีล๊วะสองตายายกำลังทำสวนอยู่ที่เชิงเขา ได้เห็นพระองค์เสด็จมากับพระสาวก ก็เกิดปลื้มปิติมาก
จึงได้หอบหิ้วเอาแตงกวาขึ้นไปถวาย เมื่อพระองค์รับแตงกวาเหล่านั้นมาแล้ว ก็ทรงถวายแก่พระสาวกกันจนครบ
ด้วยอำนาจอิทธิฤทธิ์บารมีของพระองค์ ได้ทรงอธิษฐานลูกแตงกวาไว้ 1 ลูก
หลังจากนั้นพระองค์ได้ทรงโปรดสัมโมทิยคาถา ด้วยพระโอษฐ์อันมีเสียงพระสุระเสียงอันไพเราะแก่ล๊วะสองตายาย
เมื่อล๊วะสองตายายลากลับแล้ว พญาแรดพร้อมหมู่บริวารที่พากันอาศัยอยู่ตามเชิงเขา ก็ถือโอกาสพากันมาเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระองค์ทรงโปรดอนุเคราะห์ด้วยพระเมตตาธรรม
เมื่อพญาแรดและบริวารกลับไปแล้ว พระพุทธองค์ทรงตั้งจิตอธิษฐานถอนพระเกศาใส่ลงไปในลูกแตงกวาที่เหลือ
และทรงกระทำอาการแย้มพระโอษฐ์ เหล่าพระสาวกได้เห็นเช่นนั้นก็พากันทูลถามว่าเหตุใดพระองค์ทรงกระทำอาการเยี่ยงนั้น
พระองค์ก็ตรัสว่าต่อไปภายภาคหน้า สถานที่แห่งนี่จะชื่อว่า “พระธาตุจอมแตง”
สองตายายล๊วะได้เล่าเรื่องที่ตนพบเห็นพระพุทธเจ้าให้ลูกหลานฟัง ลูกหลานได้ฟังก็ดีใจพากันส่งเสียงร้องเพื่อให้รู้กันทั่ว
เลยเกิดมีเสียงโกลาหลเป็นการใหญ่ ต่อมาหมู่บ้าน นี้จึงได้ชื่อว่า “บ้านสันลัวะออ”
ได้ชักชวนกันจะไปเฝ้าพระพุทธองค์ เมื่อไปถึงปรากฏว่า พระพุทธองค์ได้เสด็จไปแล้ว คงพบแต่แตงกวาที่ใส่พระเกศาไว้เท่านั้น
พวกล๊วะเหล่านั้นต่างก็ยกแตงกวามาตั้งไว้ในที่อันควร เพื่อกราบบูชาโดยขุดหลุมลึก 1 คาวุธ แล้วสร้างมณฑปครอบไว้
ในทุก ๆ วันพระจะพากันมาไหว้สวดมนต์ภาวนา
ตามประวัติศาสตร์ไม่ได้ปรากฏหลักฐานผู้สร้าง
สันนิฐานว่าเมื่อ ปี 2245 มีพระเถระ 2 รูปเดินทางมาจากประเทศพม่าได้มาบำเพ็ญบารมีที่แห่งนี้
และได้ชักชวนชาวลั๊วะมาสร้างเจดีย์ครอบมณฑปเดิมไว้
สถานที่แห่งนี้จึงมีพระสงฆ์มาปฏิบัติธรรมตลอดพระอริยะสงฆ์ผู้ได้มาจำพรรษา และแสวงโมกขธรรม
มี หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต วัดเลียบ จ.อุบลราชธานี, หลวงปู่คำปัน สุภทฺโท อดีตเจ้าคณะ ต.สันโป่ง,
หลวงปู่แหวน สุจินณฺโณ วัดดอยแม่ปั๋ง อ.พร้าว, หลวงปู่ฝั้น อาจาโร วัดป่าอุดมสมพร จ.สกลนคร,
หลวงปู่ครูบาพรหมมา วัดพระพุทธบาทตากผ้า จ.ลำพูน, พระครูปิยธรรมภาณี อดีตเจ้าอาวาสวัดพระธาตุจอมแตง
และพระครูอมรธรรมประยุต อดีตเจ้าคณะ อ.แม่ริม
ปัจจุบันวัดพระธาตุจอมแตง มีเจ้าอาวาสตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน ปี 2385
จนถึงปัจจุบัน รูปที่ 11 พระครูสุวิสุทธิเจติยาภิบาล (สุระ วิสุทฺธิญาโณ เตชะเลิศพนา) ตำรงตำเหน่งเจ้าอาวาส
ภายในวัดมีโบราณสถานโบราณวัตถุที่น่าสนใจ
1. พระธาตุจอมแตง องค์พระเจดีย์สีขาว 2 องค์ โดยตั้งอยู่บนฐานเดียวกัน
องค์หนึ่งเป็นองค์ใหญ่ และอีกองค์เป็นองค์เล็ก มีฐานกว้าง 8 เมตร ยาว 8 เมตร สูง 15 เมตร
เป็นลักษณะแบบเหลี่ยมมีจำนวนฐานจากฐานองค์พระเจดีย์ขึ้นไปจนถึงฐานยอดมี 9 ชั้น ด้านบนเป็นทรงระฆังคว่ำ
มีพระพุทธรูปอยู่ด้านทิศตะวันตก โดยชาวบ้านได้ถือเอาองค์พระเจดีย์นั้น
เพราะได้อัญเชิญพระเกศาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่มีอยู่ในลูกแตง ชาวบ้านจึงได้สร้างสถูปครอบไว้เพื่อบูชาสักการะ
กรมศิลปากรได้สำรวจขึ้นทะเบียนไว้ เมื่อ วันที่ 5 มกราคม 2497
ประเพณีสรงน้ำพระธาตุตะบัดข้าวสาร ในวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 เหนือ ขึ้น 15 ค่ำ จนถึงทุกวันนี้
2. พระเจ้าทันใจ 1,000 ปี เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่ศักดิ์สิทธิ์ ที่ประดิษฐานภายในพระเจดีย์องค์เล็ก
3. พระเจ้าทันใจมหาเศรษฐี สร้างขึ้นในปี 2548 หน้าตักขนาด 89 นิ้ว
ด้วยการสร้างซึ่งจะต้องทำให้เสร็จในวันเดียวเรียกว่าทันอกทันใจ สร้างด้วยปูน เป็นปางมารวิชัยทรงเครื่องจักรพรรดิ์
4. รอยพระบาทจำลอง เพื่อให้พุทธศาสนิกชน ได้กราบไหว้บูชากันโดยเชื่อว่าเป็นสัญลักษณ์ของพระพุทธเจ้า
ที่มีมาตั้งแต่สมัยอินเดียโบราณใช้เป็นรูปปั้นพระสันตะปาปา พระพุทธรูปขึ้นเป็นรูปพระพุทธรูปเพื่อแสดงความเคารพต่อพระพุทธศาสนา
เชียงใหม่-กราบรอยพระพุทธบาทจำลองวัดพระธาตุจอมแตง และชมวิว PANORAMA ของแม่ริม
ตั้งอยู่ บ้านใหม่จอมแตง ตำบลสันโป่ง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่
ห่างจากถนนหลวง หมายเลข 107 (ถนนเชียงใหม่-ฝาง) กม.19 ห่างจากถนนไปทิศตะวันตก ประมาณ 500 เมตร
มีชื่อที่ชาวบ้านเรียกหลายชื่อว่า พระธาตุดอยจอมแตง, วัดจอมแตง, วัดดอยแตง
ตั้งอยู่บนพื้นที่ 23 ไร่ พื้นที่เป็นเนินเขาสูงประมาณ 300 เมตร ล้อมรอบต้นไม้นานาพันธ์ุ สามารถชมวิวทิวทัศน์ของตัวอำเภอแม่ริมได้แบบพาโนราม่า
จากประวัติเล่าสืบต่อกันมาว่า วัดแห่งนี้ได้มีประวัติเกิดขึ้นในสมัยพุทธกาล
ครั้งเมื่อพระพุทธเจ้าทรงอธิษฐานประทับรอยพระบาทซ้อนลงไปเป็นรอยที่ 4 ณ พระพุทธบาทสี่รอย
ต่อจากนั้นพระองค์ก็ได้เสด็จมาตามไหล่เขาจนบรรลุถึงเขาลูกหนึ่ง ซึ่งเป็นที่อยู่ของฝูงแรด (ดอยขี้แรด หรือเขาขี้แรด)
ห่างจากดอยขี้แรดไปทางทิศตะวันออกประมาณ 1 กิโลเมตร มีชาวล๊วะปลูกบ้านอาศัยอยู่ทำไร่ทำสวนใกล้ ๆ กับเชิงเขานั้น
เมื่อพระองค์เสด็จมาถึงบนเขาขี้แรดพร้อมเหล่าสาวกเป็นเวลาใกล้เที่ยง
ขณะนั้นมีล๊วะสองตายายกำลังทำสวนอยู่ที่เชิงเขา ได้เห็นพระองค์เสด็จมากับพระสาวก ก็เกิดปลื้มปิติมาก
จึงได้หอบหิ้วเอาแตงกวาขึ้นไปถวาย เมื่อพระองค์รับแตงกวาเหล่านั้นมาแล้ว ก็ทรงถวายแก่พระสาวกกันจนครบ
ด้วยอำนาจอิทธิฤทธิ์บารมีของพระองค์ ได้ทรงอธิษฐานลูกแตงกวาไว้ 1 ลูก
หลังจากนั้นพระองค์ได้ทรงโปรดสัมโมทิยคาถา ด้วยพระโอษฐ์อันมีเสียงพระสุระเสียงอันไพเราะแก่ล๊วะสองตายาย
เมื่อล๊วะสองตายายลากลับแล้ว พญาแรดพร้อมหมู่บริวารที่พากันอาศัยอยู่ตามเชิงเขา ก็ถือโอกาสพากันมาเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระองค์ทรงโปรดอนุเคราะห์ด้วยพระเมตตาธรรม
เมื่อพญาแรดและบริวารกลับไปแล้ว พระพุทธองค์ทรงตั้งจิตอธิษฐานถอนพระเกศาใส่ลงไปในลูกแตงกวาที่เหลือ
และทรงกระทำอาการแย้มพระโอษฐ์ เหล่าพระสาวกได้เห็นเช่นนั้นก็พากันทูลถามว่าเหตุใดพระองค์ทรงกระทำอาการเยี่ยงนั้น
พระองค์ก็ตรัสว่าต่อไปภายภาคหน้า สถานที่แห่งนี่จะชื่อว่า “พระธาตุจอมแตง”
สองตายายล๊วะได้เล่าเรื่องที่ตนพบเห็นพระพุทธเจ้าให้ลูกหลานฟัง ลูกหลานได้ฟังก็ดีใจพากันส่งเสียงร้องเพื่อให้รู้กันทั่ว
เลยเกิดมีเสียงโกลาหลเป็นการใหญ่ ต่อมาหมู่บ้าน นี้จึงได้ชื่อว่า “บ้านสันลัวะออ”
ได้ชักชวนกันจะไปเฝ้าพระพุทธองค์ เมื่อไปถึงปรากฏว่า พระพุทธองค์ได้เสด็จไปแล้ว คงพบแต่แตงกวาที่ใส่พระเกศาไว้เท่านั้น
พวกล๊วะเหล่านั้นต่างก็ยกแตงกวามาตั้งไว้ในที่อันควร เพื่อกราบบูชาโดยขุดหลุมลึก 1 คาวุธ แล้วสร้างมณฑปครอบไว้
ในทุก ๆ วันพระจะพากันมาไหว้สวดมนต์ภาวนา
ตามประวัติศาสตร์ไม่ได้ปรากฏหลักฐานผู้สร้าง
สันนิฐานว่าเมื่อ ปี 2245 มีพระเถระ 2 รูปเดินทางมาจากประเทศพม่าได้มาบำเพ็ญบารมีที่แห่งนี้
และได้ชักชวนชาวลั๊วะมาสร้างเจดีย์ครอบมณฑปเดิมไว้
สถานที่แห่งนี้จึงมีพระสงฆ์มาปฏิบัติธรรมตลอดพระอริยะสงฆ์ผู้ได้มาจำพรรษา และแสวงโมกขธรรม
มี หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต วัดเลียบ จ.อุบลราชธานี, หลวงปู่คำปัน สุภทฺโท อดีตเจ้าคณะ ต.สันโป่ง,
หลวงปู่แหวน สุจินณฺโณ วัดดอยแม่ปั๋ง อ.พร้าว, หลวงปู่ฝั้น อาจาโร วัดป่าอุดมสมพร จ.สกลนคร,
หลวงปู่ครูบาพรหมมา วัดพระพุทธบาทตากผ้า จ.ลำพูน, พระครูปิยธรรมภาณี อดีตเจ้าอาวาสวัดพระธาตุจอมแตง
และพระครูอมรธรรมประยุต อดีตเจ้าคณะ อ.แม่ริม
ปัจจุบันวัดพระธาตุจอมแตง มีเจ้าอาวาสตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน ปี 2385
จนถึงปัจจุบัน รูปที่ 11 พระครูสุวิสุทธิเจติยาภิบาล (สุระ วิสุทฺธิญาโณ เตชะเลิศพนา) ตำรงตำเหน่งเจ้าอาวาส
ภายในวัดมีโบราณสถานโบราณวัตถุที่น่าสนใจ
1. พระธาตุจอมแตง องค์พระเจดีย์สีขาว 2 องค์ โดยตั้งอยู่บนฐานเดียวกัน
องค์หนึ่งเป็นองค์ใหญ่ และอีกองค์เป็นองค์เล็ก มีฐานกว้าง 8 เมตร ยาว 8 เมตร สูง 15 เมตร
เป็นลักษณะแบบเหลี่ยมมีจำนวนฐานจากฐานองค์พระเจดีย์ขึ้นไปจนถึงฐานยอดมี 9 ชั้น ด้านบนเป็นทรงระฆังคว่ำ
มีพระพุทธรูปอยู่ด้านทิศตะวันตก โดยชาวบ้านได้ถือเอาองค์พระเจดีย์นั้น
เพราะได้อัญเชิญพระเกศาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่มีอยู่ในลูกแตง ชาวบ้านจึงได้สร้างสถูปครอบไว้เพื่อบูชาสักการะ
กรมศิลปากรได้สำรวจขึ้นทะเบียนไว้ เมื่อ วันที่ 5 มกราคม 2497
ประเพณีสรงน้ำพระธาตุตะบัดข้าวสาร ในวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 เหนือ ขึ้น 15 ค่ำ จนถึงทุกวันนี้
2. พระเจ้าทันใจ 1,000 ปี เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่ศักดิ์สิทธิ์ ที่ประดิษฐานภายในพระเจดีย์องค์เล็ก
3. พระเจ้าทันใจมหาเศรษฐี สร้างขึ้นในปี 2548 หน้าตักขนาด 89 นิ้ว
ด้วยการสร้างซึ่งจะต้องทำให้เสร็จในวันเดียวเรียกว่าทันอกทันใจ สร้างด้วยปูน เป็นปางมารวิชัยทรงเครื่องจักรพรรดิ์
4. รอยพระบาทจำลอง เพื่อให้พุทธศาสนิกชน ได้กราบไหว้บูชากันโดยเชื่อว่าเป็นสัญลักษณ์ของพระพุทธเจ้า
ที่มีมาตั้งแต่สมัยอินเดียโบราณใช้เป็นรูปปั้นพระสันตะปาปา พระพุทธรูปขึ้นเป็นรูปพระพุทธรูปเพื่อแสดงความเคารพต่อพระพุทธศาสนา