หลาย ๆ คนคงเคยเห็นผีเสื้อชนิดนี้กันมาบ้าง
เจ้าตัวสีเหลืองทองสลับดำ ตัวใหญ่บินสูงเหนือยอดไม้
ลงมาตอมดอกไม้บ้างเป็นครั้งคราว มาทำความรู้จักเจ้านี่กันครับ
พบหนอนได้ที่ต้นกระเช้าผีมด,กระเช้าถุงทอง ไข่มีลักษณะกลมสีออกส้ม
เมื่อหนอนออกจากไข่ อาหารมื้อแรกคือเปลือกไข่ของตัวเอง ใช้เวลาประมาณ 3 วันถึงจะลอกคราบ
หลังจากลอกคราบครั้งแรก หนอนจะตัวใหญ่ขึ้นอีกเล็กน้อย โดยระยะนี้ใช้เวลาอีก 2-3 วัน
เมื่อเข้าระยะที่ 3 หนอนจะตัวใหญ่ขึ้นมาก ตอนนี้ประมาณ 2cm แล้ว สีสันชัดเจนขึ้น
ใช้เวลาในระยะนี้พอ ๆ กันกับระยะที่ 2
ในระยะที่ 4 และ 5 หนอนจะมีหน้าตาคล้ายกัน แต่ต่างกันที่ขนาด
หนอนระยะ 5 ยาวได้ถึง 6cm ตัวอ้วนฉุ และกินเยอะมาก เลี้ยงหลายตัวนี่ปวดหัวกับการหาอาหารให้มันเลยครับ หมดไวมาก
จากที่กินแต่ใบ หนอนช่วงนี้จะชอบกินใบแก่และก้านมากเป็นพิเศษ (เสียงกัดดังมากเลย)
ดูหน้ากันชัด ๆ หน่อย
เทียบกับขนาดนิ้วมือคน หนอนอยู่ในระยะนี้เกือบ 1 อาทิตย์เลยและกินเก่งมาก
พอถึงเวลาแล้ว หนอนจะหยุดกินและคลานไปหาที่เหมาะสม ทอใยยึดตัวและทำใยคล้องลำตัวคล้ายกับผูกเปลนอน
หนอนจะใช้เวลาอยู่ในลักษณะนี้อีก 1 วัน
จากนั้นก็ลอกคราบกลายเป็นดักแด้อย่างสมบูรณ์
ปล. จากนี้ไปอย่าสนใจสีฉากหลังนะครับ ผมเปลี่ยนไปเรื่อยตามอารมณ์ 555+
เวลาผ่านไป สีของดักแด้ก็เริ่มเปลี่ยนไปทีละเล็กน้อยครับ
เจ้าตัวนี้แรงเยอะ ดิ้นจนเปลขาด ผมเลยผูกให้ใหม่ซะ อิอิ
ในภาพนี่เป็นดักแด้มาเกือบ 3 อาทิตย์แล้วครับ
ในวันที่ 20 ของการงีบอันยาวนาน เปลือกดักแด้เริ่มโปร่งจนเห็นสิ่งที่อยู่ภายใน
เป็นสัญญาณบอกว่าการแปลงร่างได้มาถึงขั้นสุดท้ายแล้ว !!!
เวลาที่รอคอยมาถึง ผีเสื้อจะดันตัวออกตามรอยต่อที่ธรรมชาติออกแบบไว้ให้
ตัวนี้เหมือนจะไม่มีแรงดันตัวเองออกมาเลยต้องช่วยกันนิดนึง
ในธรรมชาติ ถ้าผีเสื้อออกจากดักแด้ไม่พ้นก็จะต้องพบกับความตายครับ
ออกมาอย่างปลอดภัยแล้ว ^^
ผีเสื้อจะคลี่ปีกออกแล้วพักจนกว่าปีกจะแห้งและแข็งแรงพร้อมบิน
เจ้าตัวนี้เป็นตัวผู้ครับ ขนาดเล็กกว่าตัวเมียอยู่เล็กน้อย
ผีเสื้อชนิดนี้กางปีกแล้วอาจจะกว้างถึง 15-16cm เลยทีเดียว
ข้อมูลผีเสื้อ
Golden Birdwing : ผีเสื้อถุงทองธรรมดา
Troides aeacus aeacus (Felder & Felder,1865)
Family Papilionidae
Subfamily Papilioninae
พืชอาหาร : กระเช้าผีมด,กระเช้าถุงทอง
ข้อมูลแมลงเก่า (Login เก่าของผมเองแหละครับ 555)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ผีเสื้อฟ้าหนอนมะนาว
http://ppantip.com/topic/33923062
ผีเสื้อหนอนคูนธรรมดา
http://ppantip.com/topic/33839021
ผีเสื้อม่วงใบไม้
http://ppantip.com/topic/33775289
ผีเสื้อพุ่มไม้ธรรมดา
http://ppantip.com/topic/33695475
หนอนผีเสื้อหางตุ้มจุดชมพูลอกคราบ
http://ppantip.com/topic/33618244
มอธหนอนคืบละหุ่ง
http://ppantip.com/topic/33453344
ผีเสื้อหนอนละหุ่งลายหยัก
http://ppantip.com/topic/33443862
ผีเสื้อหนอนมะนาว
http://ppantip.com/topic/32953535
ผีเสื้อหนอนใบรักธรรมดา
http://ppantip.com/topic/30923741
ขอบคุณในการรับชม
ชวนกันมาตามติด ดูช่วงชีวิตของ " ผีเสื้อถุงทองธรรมดา "
เจ้าตัวสีเหลืองทองสลับดำ ตัวใหญ่บินสูงเหนือยอดไม้
ลงมาตอมดอกไม้บ้างเป็นครั้งคราว มาทำความรู้จักเจ้านี่กันครับ
พบหนอนได้ที่ต้นกระเช้าผีมด,กระเช้าถุงทอง ไข่มีลักษณะกลมสีออกส้ม
เมื่อหนอนออกจากไข่ อาหารมื้อแรกคือเปลือกไข่ของตัวเอง ใช้เวลาประมาณ 3 วันถึงจะลอกคราบ
หลังจากลอกคราบครั้งแรก หนอนจะตัวใหญ่ขึ้นอีกเล็กน้อย โดยระยะนี้ใช้เวลาอีก 2-3 วัน
เมื่อเข้าระยะที่ 3 หนอนจะตัวใหญ่ขึ้นมาก ตอนนี้ประมาณ 2cm แล้ว สีสันชัดเจนขึ้น
ใช้เวลาในระยะนี้พอ ๆ กันกับระยะที่ 2
ในระยะที่ 4 และ 5 หนอนจะมีหน้าตาคล้ายกัน แต่ต่างกันที่ขนาด
หนอนระยะ 5 ยาวได้ถึง 6cm ตัวอ้วนฉุ และกินเยอะมาก เลี้ยงหลายตัวนี่ปวดหัวกับการหาอาหารให้มันเลยครับ หมดไวมาก
จากที่กินแต่ใบ หนอนช่วงนี้จะชอบกินใบแก่และก้านมากเป็นพิเศษ (เสียงกัดดังมากเลย)
ดูหน้ากันชัด ๆ หน่อย
เทียบกับขนาดนิ้วมือคน หนอนอยู่ในระยะนี้เกือบ 1 อาทิตย์เลยและกินเก่งมาก
พอถึงเวลาแล้ว หนอนจะหยุดกินและคลานไปหาที่เหมาะสม ทอใยยึดตัวและทำใยคล้องลำตัวคล้ายกับผูกเปลนอน
หนอนจะใช้เวลาอยู่ในลักษณะนี้อีก 1 วัน
จากนั้นก็ลอกคราบกลายเป็นดักแด้อย่างสมบูรณ์
ปล. จากนี้ไปอย่าสนใจสีฉากหลังนะครับ ผมเปลี่ยนไปเรื่อยตามอารมณ์ 555+
เวลาผ่านไป สีของดักแด้ก็เริ่มเปลี่ยนไปทีละเล็กน้อยครับ
เจ้าตัวนี้แรงเยอะ ดิ้นจนเปลขาด ผมเลยผูกให้ใหม่ซะ อิอิ
ในภาพนี่เป็นดักแด้มาเกือบ 3 อาทิตย์แล้วครับ
ในวันที่ 20 ของการงีบอันยาวนาน เปลือกดักแด้เริ่มโปร่งจนเห็นสิ่งที่อยู่ภายใน
เป็นสัญญาณบอกว่าการแปลงร่างได้มาถึงขั้นสุดท้ายแล้ว !!!
เวลาที่รอคอยมาถึง ผีเสื้อจะดันตัวออกตามรอยต่อที่ธรรมชาติออกแบบไว้ให้
ตัวนี้เหมือนจะไม่มีแรงดันตัวเองออกมาเลยต้องช่วยกันนิดนึง
ในธรรมชาติ ถ้าผีเสื้อออกจากดักแด้ไม่พ้นก็จะต้องพบกับความตายครับ
ออกมาอย่างปลอดภัยแล้ว ^^
ผีเสื้อจะคลี่ปีกออกแล้วพักจนกว่าปีกจะแห้งและแข็งแรงพร้อมบิน
เจ้าตัวนี้เป็นตัวผู้ครับ ขนาดเล็กกว่าตัวเมียอยู่เล็กน้อย
ผีเสื้อชนิดนี้กางปีกแล้วอาจจะกว้างถึง 15-16cm เลยทีเดียว
ข้อมูลผีเสื้อ
Golden Birdwing : ผีเสื้อถุงทองธรรมดา
Troides aeacus aeacus (Felder & Felder,1865)
Family Papilionidae
Subfamily Papilioninae
พืชอาหาร : กระเช้าผีมด,กระเช้าถุงทอง
ข้อมูลแมลงเก่า (Login เก่าของผมเองแหละครับ 555)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ขอบคุณในการรับชม