วันนี้ 6 สิงหาคม 2559 รัฐมนตรีคมนาคม อาคม เติมพิทยาไพสิฐ ได้ร่วมพิธีลงนามบันทึกความร่วมมือด้านระบบราง ระหว่างกระทรวงคมนาคมของไทย และกระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน การขนส่งและการท่องเที่ยวแห่งญี่ปุ่น ว่า ใจความสำคัญของการลงนาม คือ การพัฒนาโครงการรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพ-เชียงใหม่ ที่จะใช้เทคโนโลยีชินคันเซนของญี่ปุ่น แบ่งการดำเนินงานออกเป็น 2 ระยะ ได้แก่ กรุงเทพ - พิษณุโลก และพิษณุโลก – เชียงใหม่
ซึ่งฝ่ายไทยได้ขอให้ญี่ปุ่นเร่งรัดการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการฯ ตลอดเส้นทาง และขอให้ญี่ปุ่นสนับสนุนทางวิชาการ และการศึกษาการพัฒนาพื้นที่ระหว่างเส้นทางรถไฟความเร็วสูงและบริเวณโดยรอบสถานีซึ่งจำเป็นต้องแยกระบบรางของเส้นทางดังกล่าวให้รองรับรถไฟชินคันเซนโดยเฉพาะส่วนขั้นตอนจะศึกษาความเป็นไปได้ของทั้งโครงการให้เสร็จภายในเดือนตุลาคม-พฤศจิกายนนี้ ก่อนจะเข้าสู่กระบวนการออกแบบในปี 60 และเริ่มลงทุนก่อสร้างในปี 61
“โครงการรถไฟความเร็วสูงนั้น มีอัตราระยะเวลาการคืนทุนของโครงการนานถึง 50 ปี ซึ่งการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์นั้นก่อนจะมาเป็นรายได้ชดเชยผลตอบแทนการลงทุนได้ ตามกรอบระยะเวลาการทำงานมั่นใจว่าภายในเดือนตุลาคมถึงพฤศจิกายนนี้ การศึกษาความเหมาะสมของโครงการรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพ-เชียงใหม่จะได้ข้อสรุป ก็จะเดินหน้าโครงการและออกแบบรายละเอียดต่อไป”นายอาคมกล่าว
ทั้งนี้ นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นหัวหน้าคณะฝ่ายไทยประชุมระดับรัฐมนตรีด้านคมนาคม กับ H.E. Keiichi Ishii รัฐมนตรีกระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน การขนส่งและการท่องเที่ยวแห่งญี่ปุ่น หัวหน้าคณะฝ่ายญี่ปุ่น และได้ลงนามบันทึกความร่วมมือ (MOC) ด้านระบบราง และด้านความปลอดภัยทางถนน ระหว่างกระทรวงคมนาคมแห่งราชอาณาจักรไทย และกระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน การขนส่งและการท่องเที่ยวแห่งญี่ปุ่น โดยมี นายออมสิน ชีวะพฤกษ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม นายชาติชาย ทิพย์สุนาวี ปลัดกระทรวงคมนาคม นายพีระพล ถาวรสุภเจริญ รองปลัดกระทรวงคมนาคม นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร นายสนิท พรหมวงษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมประชุม และร่วมเป็นสักขีพยานในการลงนามบันทึกความร่วมมือ
นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ กล่าวว่า ความร่วมมือด้านระบบราง ระหว่างไทย - ญี่ปุ่น มีความก้าวหน้าอย่างมาก มีการประชุมคณะทำงานด้านเทคนิคทั้งสองฝ่ายอย่างต่อเนื่อง เพื่อดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรม ดังนี้
1. โครงการรถไฟความเร็วสูง เส้นทางกรุงเทพ - เชียงใหม่ จะใช้เทคโนโลยีระบบชินคันเซ็นของญี่ปุ่น แบ่งการดำเนินงานออกเป็น 2 ระยะ ได้แก่ กรุงเทพ - พิษณุโลก และพิษณุโลก – เชียงใหม่ ซึ่งฝ่ายไทยได้ขอให้ญี่ปุ่นเร่งรัดการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการฯ ตลอดเส้นทาง และขอให้ญี่ปุ่นสนับสนุนทางวิชาการ และการศึกษาการพัฒนาพื้นที่ระหว่างเส้นทางรถไฟความเร็วสูงและบริเวณโดยรอบสถานี
2. การพัฒนาเส้นทางรถไฟตามแนวเศรษฐกิจด้านใต้ กาญจนบุรี - แหลมฉบัง - อรัญประเทศ ฝ่ายไทยได้ขอให้ญี่ปุ่นเร่งศึกษาแผนการพัฒนาเส้นทาง เพื่อส่งเสริมการพัฒนาเมืองและพื้นที่เศรษฐกิจ รวมถึงเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน
3. การพัฒนาเศรษฐกิจตามแนวเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก – ตะวันตก ฝ่ายไทยได้ขอให้ญี่ปุ่นเร่งศึกษาความเป็นไปได้โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ช่วงแม่สอด - ตาก – นครสวรรค์
4. การขนส่งสินค้าทางรถไฟ ทั้งสองฝ่ายจะเร่งรัดสำรวจรายละเอียดการดำเนินการให้บริการขนส่งสินค้ารูปแบบใหม่ เพื่อให้ได้ข้อสรุปสำหรับการให้บริการขนส่งสินค้า
5. การพัฒนาบุคลากรของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ฝ่ายไทยได้ขอให้ญี่ปุ่นพิจารณาจัดโปรแกรมการฝึกอบรมพนักงาน รฟท. เกี่ยวกับการซ่อมบำรุง และเทคโนโลยี สำหรับความร่วมมือด้านความปลอดภัยทางถนน ซึ่งฝ่ายไทยได้ขอให้ญี่ปุ่นจัดส่งผู้เชี่ยวชาญมาให้คำปรึกษากับไทย เพื่อดำเนินการให้ทันในช่วงเทศกาลปีใหม่ 2560 นอกจากนี้ ได้ขอให้ญี่ปุ่นช่วยศึกษาการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์โดยรอบสถานีกลางบางซื่อ เพื่อนำผลการศึกษา ฯ เสนอนายกรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป
ที่มา
http://www.oknation.net/blog/akom/2016/08/06/entry-2
“คมนาคม” เอ็มโอยู “ญี่ปุ่น” เดินหน้ารถไฟความเร็วสูงกรุงเทพ-เชียงใหม่ คาดสรุปผลพ.ย.นี้
http://www.matichon.co.th/news/239247
คิดว่าจะได้สร้างจริง ๆ มั้ย ?
เพิ่มเติม
รถไฟทางคู่เขาทำอยู่แล้ว ดูข่าวเก่าๆ เห็นอยู่ในแผนโครงการเร่งด่วนปี 2560
บางเส้นทางก็เริ่มสร้างไปแล้วด้วย
ที่มา เพจ ข่าวรถไฟ
https://www.facebook.com/ThaiRailNews/
ปิดดีลไทยลงนามใช้ซินคันเซนเส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ คืนทุน50ปี
วันนี้ 6 สิงหาคม 2559 รัฐมนตรีคมนาคม อาคม เติมพิทยาไพสิฐ ได้ร่วมพิธีลงนามบันทึกความร่วมมือด้านระบบราง ระหว่างกระทรวงคมนาคมของไทย และกระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน การขนส่งและการท่องเที่ยวแห่งญี่ปุ่น ว่า ใจความสำคัญของการลงนาม คือ การพัฒนาโครงการรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพ-เชียงใหม่ ที่จะใช้เทคโนโลยีชินคันเซนของญี่ปุ่น แบ่งการดำเนินงานออกเป็น 2 ระยะ ได้แก่ กรุงเทพ - พิษณุโลก และพิษณุโลก – เชียงใหม่
ซึ่งฝ่ายไทยได้ขอให้ญี่ปุ่นเร่งรัดการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการฯ ตลอดเส้นทาง และขอให้ญี่ปุ่นสนับสนุนทางวิชาการ และการศึกษาการพัฒนาพื้นที่ระหว่างเส้นทางรถไฟความเร็วสูงและบริเวณโดยรอบสถานีซึ่งจำเป็นต้องแยกระบบรางของเส้นทางดังกล่าวให้รองรับรถไฟชินคันเซนโดยเฉพาะส่วนขั้นตอนจะศึกษาความเป็นไปได้ของทั้งโครงการให้เสร็จภายในเดือนตุลาคม-พฤศจิกายนนี้ ก่อนจะเข้าสู่กระบวนการออกแบบในปี 60 และเริ่มลงทุนก่อสร้างในปี 61
“โครงการรถไฟความเร็วสูงนั้น มีอัตราระยะเวลาการคืนทุนของโครงการนานถึง 50 ปี ซึ่งการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์นั้นก่อนจะมาเป็นรายได้ชดเชยผลตอบแทนการลงทุนได้ ตามกรอบระยะเวลาการทำงานมั่นใจว่าภายในเดือนตุลาคมถึงพฤศจิกายนนี้ การศึกษาความเหมาะสมของโครงการรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพ-เชียงใหม่จะได้ข้อสรุป ก็จะเดินหน้าโครงการและออกแบบรายละเอียดต่อไป”นายอาคมกล่าว
ทั้งนี้ นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นหัวหน้าคณะฝ่ายไทยประชุมระดับรัฐมนตรีด้านคมนาคม กับ H.E. Keiichi Ishii รัฐมนตรีกระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน การขนส่งและการท่องเที่ยวแห่งญี่ปุ่น หัวหน้าคณะฝ่ายญี่ปุ่น และได้ลงนามบันทึกความร่วมมือ (MOC) ด้านระบบราง และด้านความปลอดภัยทางถนน ระหว่างกระทรวงคมนาคมแห่งราชอาณาจักรไทย และกระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน การขนส่งและการท่องเที่ยวแห่งญี่ปุ่น โดยมี นายออมสิน ชีวะพฤกษ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม นายชาติชาย ทิพย์สุนาวี ปลัดกระทรวงคมนาคม นายพีระพล ถาวรสุภเจริญ รองปลัดกระทรวงคมนาคม นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร นายสนิท พรหมวงษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมประชุม และร่วมเป็นสักขีพยานในการลงนามบันทึกความร่วมมือ
นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ กล่าวว่า ความร่วมมือด้านระบบราง ระหว่างไทย - ญี่ปุ่น มีความก้าวหน้าอย่างมาก มีการประชุมคณะทำงานด้านเทคนิคทั้งสองฝ่ายอย่างต่อเนื่อง เพื่อดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรม ดังนี้
1. โครงการรถไฟความเร็วสูง เส้นทางกรุงเทพ - เชียงใหม่ จะใช้เทคโนโลยีระบบชินคันเซ็นของญี่ปุ่น แบ่งการดำเนินงานออกเป็น 2 ระยะ ได้แก่ กรุงเทพ - พิษณุโลก และพิษณุโลก – เชียงใหม่ ซึ่งฝ่ายไทยได้ขอให้ญี่ปุ่นเร่งรัดการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการฯ ตลอดเส้นทาง และขอให้ญี่ปุ่นสนับสนุนทางวิชาการ และการศึกษาการพัฒนาพื้นที่ระหว่างเส้นทางรถไฟความเร็วสูงและบริเวณโดยรอบสถานี
2. การพัฒนาเส้นทางรถไฟตามแนวเศรษฐกิจด้านใต้ กาญจนบุรี - แหลมฉบัง - อรัญประเทศ ฝ่ายไทยได้ขอให้ญี่ปุ่นเร่งศึกษาแผนการพัฒนาเส้นทาง เพื่อส่งเสริมการพัฒนาเมืองและพื้นที่เศรษฐกิจ รวมถึงเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน
3. การพัฒนาเศรษฐกิจตามแนวเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก – ตะวันตก ฝ่ายไทยได้ขอให้ญี่ปุ่นเร่งศึกษาความเป็นไปได้โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ช่วงแม่สอด - ตาก – นครสวรรค์
4. การขนส่งสินค้าทางรถไฟ ทั้งสองฝ่ายจะเร่งรัดสำรวจรายละเอียดการดำเนินการให้บริการขนส่งสินค้ารูปแบบใหม่ เพื่อให้ได้ข้อสรุปสำหรับการให้บริการขนส่งสินค้า
5. การพัฒนาบุคลากรของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ฝ่ายไทยได้ขอให้ญี่ปุ่นพิจารณาจัดโปรแกรมการฝึกอบรมพนักงาน รฟท. เกี่ยวกับการซ่อมบำรุง และเทคโนโลยี สำหรับความร่วมมือด้านความปลอดภัยทางถนน ซึ่งฝ่ายไทยได้ขอให้ญี่ปุ่นจัดส่งผู้เชี่ยวชาญมาให้คำปรึกษากับไทย เพื่อดำเนินการให้ทันในช่วงเทศกาลปีใหม่ 2560 นอกจากนี้ ได้ขอให้ญี่ปุ่นช่วยศึกษาการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์โดยรอบสถานีกลางบางซื่อ เพื่อนำผลการศึกษา ฯ เสนอนายกรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป
ที่มา
http://www.oknation.net/blog/akom/2016/08/06/entry-2
“คมนาคม” เอ็มโอยู “ญี่ปุ่น” เดินหน้ารถไฟความเร็วสูงกรุงเทพ-เชียงใหม่ คาดสรุปผลพ.ย.นี้
http://www.matichon.co.th/news/239247
คิดว่าจะได้สร้างจริง ๆ มั้ย ?
เพิ่มเติม
รถไฟทางคู่เขาทำอยู่แล้ว ดูข่าวเก่าๆ เห็นอยู่ในแผนโครงการเร่งด่วนปี 2560
บางเส้นทางก็เริ่มสร้างไปแล้วด้วย
ที่มา เพจ ข่าวรถไฟ
https://www.facebook.com/ThaiRailNews/