ในครานี้ จัง หวะ จะ เดิน จะขอเชิญทุกท่าน ไปไหว้พระ ชมจิตรกรรมฝาผนังชิ้นเอกของกรุงรัตนโกสินทร์กันขอรับ
มาเที่ยววัดสุทัศน์รอบบนี้ จะขอนำทุกท่านชมภายในวิหารก่อน แล้วค่อยออกไปชมบริเวณรอบๆวัด
แต่คราวนี้ขอบอกไว้ก่อนนะขอรับว่า พระอุโบสถวัดสุทัศได้ปิดเพื่อบูรณะซ่อมแซม จึงมิอาจล่วงล้ำเข้าไปได้ขอรับ
ในช่วงเข้าพรรษานี้ ทางวัดได้มีการจัดกิจกรรมสวดมนต์ปฎิบัติธรรม ด้วยนะครับ
ในหนึ่งวันมีการสวดอยู่หลายรอบด้วยกัน ทั้งรอบกลางวัน และกลางคืน ถ้าเป็นวันพระใหญ่ ก็จะมีคนมาเยอะหน่อย ใครสะดวกช่วงไหนก็ลองไปปฎิบัติธรรมดูครับ สอบถามรายละเอียดและจองเป็นเจ้าภาพกัณฑ์เทศน์
ได้ที่คณะกรรมการบริหารโครงการเปิดพระอาราม
ภาคกลางคืน หรือ ที่ศาลาโพธิ์
โทร. 0-2222-6935, 0-2222-9632
การเดินทางก็ไม่ยากลำบากครับ ถ้ามารถเมล์ ก็มี ป.อ.8 , 12 และ สาย 10,12,19,35,42
หรือรถยนต์ส่วนตัวก็มาได้ แต่หาที่จอดยากนิดนึง อาจจะจอดไว้ที่ศาลาว่าการกรุงเทพก็ได้ จะสะดวกกว่า
แผนผังวัดครับ
อย่างที่เรียนไปข้างต้น ว่าช่วงนี้พระอุโบสถวัดสุทัศได้ปิดเพื่อบูรณะซ่อมแซม เพื่อความปลอดภัย ก็ไม่ควรเข้าไปใกล้เขตก่อสร้างนะขอรับ
ชาวไทยที่นับถือพุทธศาสนาคงเคยไปวัดกันมาแล้วทุกคน แต่หนนี้ ไม่ได้ชวนเข้าวัดทำบุญฟังเทศน์ฟังธรรมเท่านั้น แต่อยากชี้ชวนให้ชมงานจิตรกรรมฝาผนัง ศิลปะล้ำค่าอันเป็นเอกลักษณ์ของคนไทย โดยเฉพาะในวัดเก่าแก่หลายแห่ง ที่ยังปรากฏงานศิลปะอันวิจิตรตระการตานี้อยู่
เมื่อเข้าไปในโบสถ์หรือวิหารซึ่งเป็นอาคารสี่เหลี่ยม กราบนมัสการพระพุทธรูปประธานซึ่งประดิษฐานเป็นศูนย์กลางแล้ว ก็ลองเดินชมผนังทั้งสี่ด้าน กันเลยครับ ภาพจิตรกรรมในพระวิหารหลวง เป็นจิตรกรรมฝาผนังที่งดงามที่สุดแห่งหนึ่งในกรุงรัตนโกสินทร์ ภายในมีจิตรกรรมประดับอยู่โดยตลอดไม่มีส่วนที่ว่าง ได้แก่
จิตรกรรมฝาผนังจากเชิงผนังจรดเพดาน เป็นภาพเรื่องพระอดีตพระพุทธเจ้า ๒๘ พระองค์มีศิลาจารึกอธิบายภาพกำกับไว้ใต้ห้องภาพ พรรณาถึงพระประวัติพระพุทธเจ้าพระองค์นั้นๆ
จิตรกรรมที่เสาในวิหารมี ๘ ต้น มีจิตรกรรมทั้งสี่ด้านเรื่องไตรภูมิโลกยสัณฐาน มีศิลาจารึกกำกับที่โคนเสา
สำหรับวัดสุทัศนเทพวรารามแห่งนี้
มีภาพเขียนจิตรกรรมฝาผนัง ปรากฏทั้งในโบสถ์ และวิหาร ภายในโบสถ์เขียนตามขนบ ฝีมือช่างในรัชกาลที่ ๓ ส่วนที่วิหารนั้น บนฝาผนังทั้งสี่ด้านเขียนเป็นเรื่อง อดีตพระพุทธเจ้า ๒๗ พระองค์ ซึ่งอุบัติมาในโลกก่อนพระศากยมุนี
พระศรีศากยมุนี พระพุทธรูปปางมารวิชัย ขนาดหน้าตักกว้างประมาณ ๖.๒๕ เมตรประดิษฐานบนฐานชุกชีแบบฐานลายแข้งสิงห์ ปิดทองประดับกระจกสีงดงามด้านหลังฐานชุกชีมีภาพสลักศิลานูนต่ำสมัยทวารวดี (พุทธศตวรรษ ๑๒-๑๓) สูง ๒.๔ เมตร กว้าง ๐.๙๕ เมตรเป็นศิลปกรรมชิ้นเอกของวัดชิ้นหนึ่ง สันนิษฐานว่าย้ายมาจากจังหวัดนครปฐม เป็นภาพสลักพระพุทธประวัติ ๒ ตอน คือปางยมกปาฏิหาริย์และปางเทศนาโปรดพระพุทธมารดา
ความสำคัญอีกอย่างหนึ่งของพระศรีศากยมุนีคือเป็นที่ประดิษฐานพระบรมราชสริรางคาร พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระบรมราชสริรางคาร มาประดิษฐาน ณ ผ้าทิพย์พุทธบัลลังก์พระศรีศากยมุนีในพระวิหารหลวงแห่งนี้
บานหน้าต่างวิหาร ลายวิจิตรงดงาม
ไหว้พระ สวดมนต์ ชมจิตรกรรมฝาผนังเสร็จแล้ว คราวนี้เราจะขอนำทุกท่าน ไปชมรอบๆวิหารกันครับ
พระศรีศากยมุนีองค์จำลอง ด้านหน้าพระวิหารหลวงตรงช่องประตูกลาง (พระวิหารหลวงมีประตูเข้า-ออกด้านหน้า 3 ช่องแต่ช่องกลางได้เปิดไว้ให้มองเห็นพระศรีศากยมุนีและประดิษฐานองค์จำลองให้จุดเทียนธูปสักการะบูชาด้านนอกไม่ให้ใช้เป็นทางขึ้น-ลง)
เมื่อยืนอยู่บนวิหาร มองตรงอกมาก็จะเห็นเสาชิงช้าตั้งเด่นเป็นสง่า สูงเลยพ้นหลังคาวิหารคต
มองตรงออกไปจากวิหาร นอกจากจะมองเห็นเสาชิงช้าแล้ว ยังมีรูปปั้นทหารจีน ยืนอยู่หน้าพระวิหารหลวง
บริเวณด้านข้างวิหาร มองลอดไปก็จะเห็นพระอุโบสถ
เมื่อลงมาจากวิหารแล้ว ก็จะเจอเสาพ่อฟ้า-แม่ดิน ตั้งอยู่ด้านหน้าพระวิหารหลวงวัดสุทัศนเทพวราราม ตรงทางขึ้นบันไดทั้ง 2 ข้างของพระวิหารหลวง ประดับโคมไฟสีแดงแบบจีน
ตรงกลางคือเก๋งจีนหน้าพระวิหาร เครื่องศิลาสลักจีนอยู่ที่ลานประทักษินชั้นล่างด้านหน้าพระวิหารหลวง เดิมตั้งอยู่บนลานประทักษินชั้นบนย้ายลงมาชั้นล่างในสมัยพระบาทสมเด็จอานันทมหิดล รัชกาลที่ ๘ จากลักษณะที่ตั้งเดิมหมายถึงวิมานไพชยนต์ของพระอินทร์แห่งเมืองสุทัสสนนครบนเขาพระสุเมรุ
ลานประทักษินพระวิหารหลวงชั้นล่างด้านหลังยังมีภูเขาที่สลักจากศิลาจีน คือเขาพระสุเมรุและป่าหิมพานต์ มีรูปฤๅษีและสัตว์ที่สลักศิลาเช่นกันประดับอยู่โดยรอบสมมติเป็นเขาพระสุเมรุที่เป็นศูนย์กลางจักรวาล เขาลูกนี้เดิมเป็นฉากในการแสดงโขนกลางแปลงในสมัยสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒
พระวิหารหลวงวัดสุทัศนเทพวราราม ภาพด้านข้างแสดงให้เห็นเจดีย์ศิลปะแบบจีนรายล้อมพระวิหารหลวง 28 องค์ เรียกว่า ถะรายพระวิหาร คำว่า ถะ เป็นเครื่องศิลาแบบจีนรูปแบบคล้ายอาคารหกเหลี่ยมซ้อนกันขึ้นไป ๖ ชั้น แต่ะลชั้นเป็นช่องโปร่งซึ่งเป็นลักษณะของเรือนไฟใช้ตามประทีป ถะรายพระวิหารมี ๒๘ ถะ หมายถึงพุทธ ๒๘ พระองค์ ตั้งอยู่บนพนักฐานพระวิหารชั้นที่ ๒
พระวิหารหลวงเป็นอาคารเครื่องก่อ มีความสูงเด่นกว่าศาสนสถานอื่นทั้งหมด คือมีฐาน 3 ชั้น สูงชั้นละประมาณ 2 เมตร รวมความสูงประมาณ 6 เมตร จากพื้นดิน และตามแนวฝาผนังด้านนอกมีเสานางแนบด้านละ ๖ ต้น
จากมุมนี้มองเห็นหน้าบรรณหลังคามุขแกะสลักไม้ปิดทองเช่นเดียวกันกับหลังคาประธานต่างแต่รูปในกรอบตรงกลางเป็นรูปพระนารายณ์ทรงครุฑ หมายเป็นพระมหากษัตริย์แบ่งภาคมาจากเทพเพื่อคุ้มครองโลกมนุษย์
ที่เห็นลักษณะคล้ายๆ ศาลาที่มุมทั้งสี่ของพระวิหารหลวงเรียกว่า พระวิหารทิศ ตั้งอยู่บนฐานพระวิหารหลวงชั้นบน สร้างเหมือนกันทั้งสี่หลัง ช่อฟ้าใบระกาหางหางส์นาคสะดุ้ง เป็นไม้จำหลักลายลงรักประดับกระจกสี แต่ละหลังประดิษฐานพระพุทธรูปปางต่างๆ กันหลังละ ๒ องค์
พระวิหารหลวงวัดสุทัศนเทพวราราม ภาพมุมกว้างแสดงให้เห็นอาณาบริเวณที่กว้างขวางระหว่างพระวิหารหลวงและแนวพระวิหารคด หรือพระระเบียงคด ซึ่งสร้างในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ มีขนาดกว้าง ๘๙.๖๐ เมตร ยาว ๙๘.๘๗ เมตร
พระพุทธรูปบนพระวิหารคดพระวิหารหลวง พระวิหารคดหรือพระระเบียงคดล้อมรอบพระวิหารหลวง เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปจำนวน ๑๕๖ องค์ เลข ๕๖ มากจากจำนวนพยางค์ในบทพุทธคุณ อิติปิโส ฯลฯ
เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปิดทองคำเปลว ปางสมาธิราบ ประดิษฐานบนฐานชุกชี ที่มุมพระวิหารคดมีซุ้มหลังคาจตุรมุข ประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัยทั้งสี่มุม
เนื่องจากปัจจุบันทองคำเปลวซึ่งปิดองค์พระได้เริ่มลอกละจางลงไป ทางวัดจึงเริ่มมีการซ่อมเเซมองค์พระพุทธรูปในวิหารคต ทั้ง๑๕๖องค์
พระบรมราชานุสรณ์ พระบรมราชานุสรณ์นี้สร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติคุณในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล ผู้ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณแก่พสกนิกรทั้งปวง ทรงเลื่อมใสในพระบวรพุทธศาสนาด้วยพระราชศรัทธาปสาทอันมั่นคง ทรงแสดงพระองค์เป็นพุทธมามกะ ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม สมเด็นพระสังฆราช (แพ ติสุสเทว) วัดสุทัศนเทพวราราม ทรงเป็นประธานคณะสงฆ์ถวายศาสโนวาทและถวายศีล เมื่อเสด็จสวรรคตและถวายพระเพลิงพระบรมศพแล้ว พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สมเด็จพระอนุชาธิราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระบรมราชสริรางคาร มาประดิษฐาน ณ ผ้าทิพย์พุทธบัลลังก์พระศรีศากยมุนีในพระวิหารหลวงวัดสุทัศนเทพวราราม และถวายพระราชทรัพย์เป็นประถมให้วัดตั้งมูลนิธิ พระราชทานนามว่า "มูลนิธิอัฏฐมราชานุสรณ์"
ฐานเสาไฟฟ้ารอบวิหาร เป็นรูปปั้นช้างสี่ทิศ ฝีมือประณีตสวยงาม
สัตตมหาสถาน
สัตตมหาสถานในศาสนาพุทธ หมายถึง สถานที่สำคัญ 7 แห่งที่พระพุทธเจ้าเสด็จประทับเสวยวิมุตติสุข หลังจากได้ทรงตรัสรู้ธรรมวิเศษแล้วเป็นเวลาแห่งละ 1 สัปดาห์
สัตตมหาสถานในวัดสุทัศนเทพวราราม หมายถึง สถานที่สำคัญ 7 แห่ง รัชกาลที่ 3โปรดเกล้าฯ ให้สร้างจำลองขึ้นแทนพระธาตุเจดีย์ ตั้งอยู่บริเวณกำแพงวัดด้านทิศตะวันออกติดกับถนนอุณากรรณ เรียงเป็นแถวแนวทิศเหนือ ทิศใต้ ประกอบไปด้วย
ต้นโพธิ์ลังกา (สมมุติเป็นต้นมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้)
เก๋งจีน ประดิษฐานพระพุทธรูปปางถวายเนตร (สมมุติเป็นอนินมิสเจดีย์ที่ประทับยืนทอดพระเนตรดูต้นมหาโพธิ์)
แผ่นศิลาปูนบนฐานสี่เหลี่ยมสูง (สมมุติเป็นที่รัตนจงกรมเจดีย์)
ศาลาศิลาทรงโรงแบบจีน (สมมุติเป็นเรือนแก้วหรือรัตนฆรเจดีย์)
ต้นไทรบนฐานสี่เหลี่ยมก่ออิฐถือปูน ประดิษฐานพระพุทธรูปปางประทับนั่งยกพระหัตถ์ขวาห้ามธิดาพญามาร (สมมุติเป็นต้นอชปาลนิโครธ)
ต้นจิกบนฐานสี่เหลี่ยมก่ออิฐถือปูน ประดิษฐานพระพุทธรูปปางนาคปรก (สมมุติต้นจิกเป็นต้นมุจลินท์)
ต้นเกดบนฐานสี่เหลี่ยมก่ออิฐถือปูน ประดิษฐานพระพุทธรูปปางรับผลสมอนั่งสมาธิ (ต้นเกดนี้มีคุณสมบัติเป็นต้นไม้ราชายตนะ)
เสาชิงช้าวัดสุทัศน์
เสาชิงช้า ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของโบสถ์พราหมณ์หรือหน้าวัดสุทัศนเทพวราราม ถนนบ้านดินสอ แขวงเสาชิงช้า เขตพระนคร (เดิม รัชกาลที่ 1 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นด้านหน้าเทวสถานตรงบริเวณที่เป็นใจกลางพระนคร เมื่อมีการสร้างโรงแก๊สขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 จึงย้ายมาตั้งตรงบริเวณปัจจุบัน ) นับเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของกรุงเทพมหานคร
กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนเสาชิงช้าเป็นโบราณสถานสำคัญของชาติเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2492 จนถึงวันที่เสาชิงช้าถูกถอดลงมาบูรณะมีอายุรวม 222 ปี
จบครับ จบแล้ว
ท่านสามารถ ติดตามเรื่องราวที่เที่ยวดีๆ ได้ที่
https://www.facebook.com/thiseattheworld/
[CR] พาชมความวิจิตรงดงาม วัดสุทัศนเทพวราราม ราชวรมหาวิหาร สถาปัตกรรมและจิตรกรรมแห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ในช่วงเข้าพรรษานี้ ทางวัดได้มีการจัดกิจกรรมสวดมนต์ปฎิบัติธรรม ด้วยนะครับ
ในหนึ่งวันมีการสวดอยู่หลายรอบด้วยกัน ทั้งรอบกลางวัน และกลางคืน ถ้าเป็นวันพระใหญ่ ก็จะมีคนมาเยอะหน่อย ใครสะดวกช่วงไหนก็ลองไปปฎิบัติธรรมดูครับ สอบถามรายละเอียดและจองเป็นเจ้าภาพกัณฑ์เทศน์
ได้ที่คณะกรรมการบริหารโครงการเปิดพระอาราม
ภาคกลางคืน หรือ ที่ศาลาโพธิ์
โทร. 0-2222-6935, 0-2222-9632
การเดินทางก็ไม่ยากลำบากครับ ถ้ามารถเมล์ ก็มี ป.อ.8 , 12 และ สาย 10,12,19,35,42
หรือรถยนต์ส่วนตัวก็มาได้ แต่หาที่จอดยากนิดนึง อาจจะจอดไว้ที่ศาลาว่าการกรุงเทพก็ได้ จะสะดวกกว่า
แผนผังวัดครับ
อย่างที่เรียนไปข้างต้น ว่าช่วงนี้พระอุโบสถวัดสุทัศได้ปิดเพื่อบูรณะซ่อมแซม เพื่อความปลอดภัย ก็ไม่ควรเข้าไปใกล้เขตก่อสร้างนะขอรับ
ชาวไทยที่นับถือพุทธศาสนาคงเคยไปวัดกันมาแล้วทุกคน แต่หนนี้ ไม่ได้ชวนเข้าวัดทำบุญฟังเทศน์ฟังธรรมเท่านั้น แต่อยากชี้ชวนให้ชมงานจิตรกรรมฝาผนัง ศิลปะล้ำค่าอันเป็นเอกลักษณ์ของคนไทย โดยเฉพาะในวัดเก่าแก่หลายแห่ง ที่ยังปรากฏงานศิลปะอันวิจิตรตระการตานี้อยู่
เมื่อเข้าไปในโบสถ์หรือวิหารซึ่งเป็นอาคารสี่เหลี่ยม กราบนมัสการพระพุทธรูปประธานซึ่งประดิษฐานเป็นศูนย์กลางแล้ว ก็ลองเดินชมผนังทั้งสี่ด้าน กันเลยครับ ภาพจิตรกรรมในพระวิหารหลวง เป็นจิตรกรรมฝาผนังที่งดงามที่สุดแห่งหนึ่งในกรุงรัตนโกสินทร์ ภายในมีจิตรกรรมประดับอยู่โดยตลอดไม่มีส่วนที่ว่าง ได้แก่
จิตรกรรมฝาผนังจากเชิงผนังจรดเพดาน เป็นภาพเรื่องพระอดีตพระพุทธเจ้า ๒๘ พระองค์มีศิลาจารึกอธิบายภาพกำกับไว้ใต้ห้องภาพ พรรณาถึงพระประวัติพระพุทธเจ้าพระองค์นั้นๆ
จิตรกรรมที่เสาในวิหารมี ๘ ต้น มีจิตรกรรมทั้งสี่ด้านเรื่องไตรภูมิโลกยสัณฐาน มีศิลาจารึกกำกับที่โคนเสา
สำหรับวัดสุทัศนเทพวรารามแห่งนี้
มีภาพเขียนจิตรกรรมฝาผนัง ปรากฏทั้งในโบสถ์ และวิหาร ภายในโบสถ์เขียนตามขนบ ฝีมือช่างในรัชกาลที่ ๓ ส่วนที่วิหารนั้น บนฝาผนังทั้งสี่ด้านเขียนเป็นเรื่อง อดีตพระพุทธเจ้า ๒๗ พระองค์ ซึ่งอุบัติมาในโลกก่อนพระศากยมุนี
พระศรีศากยมุนี พระพุทธรูปปางมารวิชัย ขนาดหน้าตักกว้างประมาณ ๖.๒๕ เมตรประดิษฐานบนฐานชุกชีแบบฐานลายแข้งสิงห์ ปิดทองประดับกระจกสีงดงามด้านหลังฐานชุกชีมีภาพสลักศิลานูนต่ำสมัยทวารวดี (พุทธศตวรรษ ๑๒-๑๓) สูง ๒.๔ เมตร กว้าง ๐.๙๕ เมตรเป็นศิลปกรรมชิ้นเอกของวัดชิ้นหนึ่ง สันนิษฐานว่าย้ายมาจากจังหวัดนครปฐม เป็นภาพสลักพระพุทธประวัติ ๒ ตอน คือปางยมกปาฏิหาริย์และปางเทศนาโปรดพระพุทธมารดา
ความสำคัญอีกอย่างหนึ่งของพระศรีศากยมุนีคือเป็นที่ประดิษฐานพระบรมราชสริรางคาร พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระบรมราชสริรางคาร มาประดิษฐาน ณ ผ้าทิพย์พุทธบัลลังก์พระศรีศากยมุนีในพระวิหารหลวงแห่งนี้
บานหน้าต่างวิหาร ลายวิจิตรงดงาม
ไหว้พระ สวดมนต์ ชมจิตรกรรมฝาผนังเสร็จแล้ว คราวนี้เราจะขอนำทุกท่าน ไปชมรอบๆวิหารกันครับ
พระศรีศากยมุนีองค์จำลอง ด้านหน้าพระวิหารหลวงตรงช่องประตูกลาง (พระวิหารหลวงมีประตูเข้า-ออกด้านหน้า 3 ช่องแต่ช่องกลางได้เปิดไว้ให้มองเห็นพระศรีศากยมุนีและประดิษฐานองค์จำลองให้จุดเทียนธูปสักการะบูชาด้านนอกไม่ให้ใช้เป็นทางขึ้น-ลง)
เมื่อยืนอยู่บนวิหาร มองตรงอกมาก็จะเห็นเสาชิงช้าตั้งเด่นเป็นสง่า สูงเลยพ้นหลังคาวิหารคต
มองตรงออกไปจากวิหาร นอกจากจะมองเห็นเสาชิงช้าแล้ว ยังมีรูปปั้นทหารจีน ยืนอยู่หน้าพระวิหารหลวง
บริเวณด้านข้างวิหาร มองลอดไปก็จะเห็นพระอุโบสถ
เมื่อลงมาจากวิหารแล้ว ก็จะเจอเสาพ่อฟ้า-แม่ดิน ตั้งอยู่ด้านหน้าพระวิหารหลวงวัดสุทัศนเทพวราราม ตรงทางขึ้นบันไดทั้ง 2 ข้างของพระวิหารหลวง ประดับโคมไฟสีแดงแบบจีน
ตรงกลางคือเก๋งจีนหน้าพระวิหาร เครื่องศิลาสลักจีนอยู่ที่ลานประทักษินชั้นล่างด้านหน้าพระวิหารหลวง เดิมตั้งอยู่บนลานประทักษินชั้นบนย้ายลงมาชั้นล่างในสมัยพระบาทสมเด็จอานันทมหิดล รัชกาลที่ ๘ จากลักษณะที่ตั้งเดิมหมายถึงวิมานไพชยนต์ของพระอินทร์แห่งเมืองสุทัสสนนครบนเขาพระสุเมรุ
ลานประทักษินพระวิหารหลวงชั้นล่างด้านหลังยังมีภูเขาที่สลักจากศิลาจีน คือเขาพระสุเมรุและป่าหิมพานต์ มีรูปฤๅษีและสัตว์ที่สลักศิลาเช่นกันประดับอยู่โดยรอบสมมติเป็นเขาพระสุเมรุที่เป็นศูนย์กลางจักรวาล เขาลูกนี้เดิมเป็นฉากในการแสดงโขนกลางแปลงในสมัยสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒
พระวิหารหลวงวัดสุทัศนเทพวราราม ภาพด้านข้างแสดงให้เห็นเจดีย์ศิลปะแบบจีนรายล้อมพระวิหารหลวง 28 องค์ เรียกว่า ถะรายพระวิหาร คำว่า ถะ เป็นเครื่องศิลาแบบจีนรูปแบบคล้ายอาคารหกเหลี่ยมซ้อนกันขึ้นไป ๖ ชั้น แต่ะลชั้นเป็นช่องโปร่งซึ่งเป็นลักษณะของเรือนไฟใช้ตามประทีป ถะรายพระวิหารมี ๒๘ ถะ หมายถึงพุทธ ๒๘ พระองค์ ตั้งอยู่บนพนักฐานพระวิหารชั้นที่ ๒
พระวิหารหลวงเป็นอาคารเครื่องก่อ มีความสูงเด่นกว่าศาสนสถานอื่นทั้งหมด คือมีฐาน 3 ชั้น สูงชั้นละประมาณ 2 เมตร รวมความสูงประมาณ 6 เมตร จากพื้นดิน และตามแนวฝาผนังด้านนอกมีเสานางแนบด้านละ ๖ ต้น
จากมุมนี้มองเห็นหน้าบรรณหลังคามุขแกะสลักไม้ปิดทองเช่นเดียวกันกับหลังคาประธานต่างแต่รูปในกรอบตรงกลางเป็นรูปพระนารายณ์ทรงครุฑ หมายเป็นพระมหากษัตริย์แบ่งภาคมาจากเทพเพื่อคุ้มครองโลกมนุษย์
ที่เห็นลักษณะคล้ายๆ ศาลาที่มุมทั้งสี่ของพระวิหารหลวงเรียกว่า พระวิหารทิศ ตั้งอยู่บนฐานพระวิหารหลวงชั้นบน สร้างเหมือนกันทั้งสี่หลัง ช่อฟ้าใบระกาหางหางส์นาคสะดุ้ง เป็นไม้จำหลักลายลงรักประดับกระจกสี แต่ละหลังประดิษฐานพระพุทธรูปปางต่างๆ กันหลังละ ๒ องค์
พระวิหารหลวงวัดสุทัศนเทพวราราม ภาพมุมกว้างแสดงให้เห็นอาณาบริเวณที่กว้างขวางระหว่างพระวิหารหลวงและแนวพระวิหารคด หรือพระระเบียงคด ซึ่งสร้างในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ มีขนาดกว้าง ๘๙.๖๐ เมตร ยาว ๙๘.๘๗ เมตร
พระพุทธรูปบนพระวิหารคดพระวิหารหลวง พระวิหารคดหรือพระระเบียงคดล้อมรอบพระวิหารหลวง เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปจำนวน ๑๕๖ องค์ เลข ๕๖ มากจากจำนวนพยางค์ในบทพุทธคุณ อิติปิโส ฯลฯ
เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปิดทองคำเปลว ปางสมาธิราบ ประดิษฐานบนฐานชุกชี ที่มุมพระวิหารคดมีซุ้มหลังคาจตุรมุข ประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัยทั้งสี่มุม
เนื่องจากปัจจุบันทองคำเปลวซึ่งปิดองค์พระได้เริ่มลอกละจางลงไป ทางวัดจึงเริ่มมีการซ่อมเเซมองค์พระพุทธรูปในวิหารคต ทั้ง๑๕๖องค์
พระบรมราชานุสรณ์ พระบรมราชานุสรณ์นี้สร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติคุณในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล ผู้ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณแก่พสกนิกรทั้งปวง ทรงเลื่อมใสในพระบวรพุทธศาสนาด้วยพระราชศรัทธาปสาทอันมั่นคง ทรงแสดงพระองค์เป็นพุทธมามกะ ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม สมเด็นพระสังฆราช (แพ ติสุสเทว) วัดสุทัศนเทพวราราม ทรงเป็นประธานคณะสงฆ์ถวายศาสโนวาทและถวายศีล เมื่อเสด็จสวรรคตและถวายพระเพลิงพระบรมศพแล้ว พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สมเด็จพระอนุชาธิราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระบรมราชสริรางคาร มาประดิษฐาน ณ ผ้าทิพย์พุทธบัลลังก์พระศรีศากยมุนีในพระวิหารหลวงวัดสุทัศนเทพวราราม และถวายพระราชทรัพย์เป็นประถมให้วัดตั้งมูลนิธิ พระราชทานนามว่า "มูลนิธิอัฏฐมราชานุสรณ์"
ฐานเสาไฟฟ้ารอบวิหาร เป็นรูปปั้นช้างสี่ทิศ ฝีมือประณีตสวยงาม
สัตตมหาสถาน
สัตตมหาสถานในศาสนาพุทธ หมายถึง สถานที่สำคัญ 7 แห่งที่พระพุทธเจ้าเสด็จประทับเสวยวิมุตติสุข หลังจากได้ทรงตรัสรู้ธรรมวิเศษแล้วเป็นเวลาแห่งละ 1 สัปดาห์
สัตตมหาสถานในวัดสุทัศนเทพวราราม หมายถึง สถานที่สำคัญ 7 แห่ง รัชกาลที่ 3โปรดเกล้าฯ ให้สร้างจำลองขึ้นแทนพระธาตุเจดีย์ ตั้งอยู่บริเวณกำแพงวัดด้านทิศตะวันออกติดกับถนนอุณากรรณ เรียงเป็นแถวแนวทิศเหนือ ทิศใต้ ประกอบไปด้วย
ต้นโพธิ์ลังกา (สมมุติเป็นต้นมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้)
เก๋งจีน ประดิษฐานพระพุทธรูปปางถวายเนตร (สมมุติเป็นอนินมิสเจดีย์ที่ประทับยืนทอดพระเนตรดูต้นมหาโพธิ์)
แผ่นศิลาปูนบนฐานสี่เหลี่ยมสูง (สมมุติเป็นที่รัตนจงกรมเจดีย์)
ศาลาศิลาทรงโรงแบบจีน (สมมุติเป็นเรือนแก้วหรือรัตนฆรเจดีย์)
ต้นไทรบนฐานสี่เหลี่ยมก่ออิฐถือปูน ประดิษฐานพระพุทธรูปปางประทับนั่งยกพระหัตถ์ขวาห้ามธิดาพญามาร (สมมุติเป็นต้นอชปาลนิโครธ)
ต้นจิกบนฐานสี่เหลี่ยมก่ออิฐถือปูน ประดิษฐานพระพุทธรูปปางนาคปรก (สมมุติต้นจิกเป็นต้นมุจลินท์)
ต้นเกดบนฐานสี่เหลี่ยมก่ออิฐถือปูน ประดิษฐานพระพุทธรูปปางรับผลสมอนั่งสมาธิ (ต้นเกดนี้มีคุณสมบัติเป็นต้นไม้ราชายตนะ)
เสาชิงช้าวัดสุทัศน์
เสาชิงช้า ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของโบสถ์พราหมณ์หรือหน้าวัดสุทัศนเทพวราราม ถนนบ้านดินสอ แขวงเสาชิงช้า เขตพระนคร (เดิม รัชกาลที่ 1 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นด้านหน้าเทวสถานตรงบริเวณที่เป็นใจกลางพระนคร เมื่อมีการสร้างโรงแก๊สขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 จึงย้ายมาตั้งตรงบริเวณปัจจุบัน ) นับเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของกรุงเทพมหานคร
กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนเสาชิงช้าเป็นโบราณสถานสำคัญของชาติเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2492 จนถึงวันที่เสาชิงช้าถูกถอดลงมาบูรณะมีอายุรวม 222 ปี
จบครับ จบแล้ว
ท่านสามารถ ติดตามเรื่องราวที่เที่ยวดีๆ ได้ที่ https://www.facebook.com/thiseattheworld/