วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร หรือ วัดสุทัศน์ จังหวัดกรุงเทพมหานคร
คิดถึงพี่ๆทุกท่านครับ 😀
วันนี้มาอบรมฝึกทักษะการถ่ายภาพ 📷
ผ่านมาที่วัดสุทัศน์ เลยขอเก็บภาพสวยๆมาฝากพี่ๆกัลยาณมิตรทุกฟท่านครับ
โดยส่วนตัวแล้ว วัดสุทัศน์ค่อนข้างมีความใกล้ชิดกับผมเป็นพิเศษ เนื่องจากในวันว่างจะเดินทางมาวัดแห่งนี้ในการฝึกสมาธิและทำวัตรเย็นครับ
วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร หรือ วัดสุทัศน์ เชื่อว่าหลายท่านคงคุ้นเคยกันดี
เมื่อเอ่ยถึงวัดสุทัศน์แล้ว ก็จะนึกถึงเสาชิงช้าสีแดงที่เป็นเอกลักษณ์ของกรุงเทพฯ ครับ
ประวัติค่อนข้างยาวหน่อยนะครับ แต่อยากให้อ่านครับ 🙏🏻🙏🏻🙏🏻
วัดสุทัศนเทพวราราม เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรมหาวิหาร
ตั้งอยู่ในเกาะรัตนโกสินทร์ชั้นนอก ภายในกำแพงพระนคร ปัจจุบันเลข 146 แขวงวัดราชบพิธ (ในคณะสงฆ์ขึ้นกับแขวงพระบรมมหาราชวัง) เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร มีเนื้อที่ 28 ไร่เศษ
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงสถาปนาวัดสุทัศนเทพวรารามแห่งนี้ขึ้น เมื่อปีพุทธศักราช 2350 ตามความปรากฎในหมายกระทรวงวังเรื่องพระฤกษ์ก่อรากพระวิหาร ความตอนหนึ่งว่า "ด้วยพระยารณฤทธิ์รับสั่งใส่เกล้า ฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมสั่งว่า พระฤกษ์จะได้ขุดรากพระริหาร วัดทำใหม่ ณ เสาชิงช้า พระราชาคณะ 20 รูป จะได้สวดพระพุทธมนต์ ณ วันอาทิตย์ ขึ้น 4 ค่ำเดือน 3 ปีเถาะนพศก จุลศักราช 1169 (พ.ศ.2350) “ฯลๆ " และทรงพระราชดำริพระราชทานนาม วัดขึ้นเป็นครั้งแรกว่า "วัดมหาสุทธาวาส" ปีที่ปรากฎในหมายนี้จึงนับเป็นปีเริ่มก่อตั้งวัดสุทัศนเทพวราราม
มูลเหตุการสถาปนาวัดสุทัศน์แห่งนี้ ก็ด้วยทรงพระราชประสงค์จะถ่ายแบบบ้านเมือง รั้ววัง ทั้งวัดวาอารามในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ของพระองค์ให้เป็นอย่าง กรุงศรีอยุธยาราชธานีเดิม ที่เรียกกันว่า "ครั้งบ้านเมืองดี" ปรากฎความในจดหมายเหตุความทรงจำของกรมหลวงนรินทรเทวี ว่า "ทรงมีพระราชโองการรับสั่งให้สร้างวัดขึ้นกลางพระนครให้สูงเท่าวัดพนัญเชิงให้พระพิเรนทรเทพขึ้นไปรับพระใหญ่ ณ เมืองสุโขทัย ชะลอเลื่อนลงมาประทับท่า สมโภช 7 วัน ณ เดือน 6 ขึ้น 15 ค่ำ ยกทรงเลื่อนตามทางสถลมารคพระโองการตรัสให้แต่งเครื่องนมัสการพระทุกหน้าวัง หน้าบ้านร้านตลาดตลอดจนถึงที่ประชวรอยู่แล้ว แต่ทรงพระอุตสาหะเพิ่มพระบารมีหวังที่หน่วงโพธิญาณ จะโปรดสัตว์ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา เสด็จพระราชดำเนินตามกระบวนแห่พระ หาทรงฉลองพระบาทไม่ จนถึงพลับพลาเสด็จขึ้นเซพลาด เจ้าฟ้ากรมขุนกษัตรา รับทรงพระองค์ไว้"
พระราชวิจารณ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวว่าด้วยจดหมายเหตุความทรงจำข้างต้นก็ทรงพระราชวิจารณ์ไว้ว่า "วัดสุทัศน์นี้กำหนดว่าเป็นกึ่งกลางพระนคร จึงตั้งเทวสถานมีเสาชิงช้า ณ ที่นั้น ตามประเพณีพระนครโบราณ ข้อซึ่งว่า พระราชประสงค์จะทำให้สูงเท่าวัดพนัญเชิงนั้น ก็ชอบกลอยู่ เพราะถมพื้นสูงขึ้นไปมาก ในพระนครซึ่งเป็นที่ลุ่ม"
การสร้างวิหารหลวงแต่แรกเริ่มในจดหมายเหตุและในพระราชวิจารณ์ ชี้ให้เห็นว่า โปรดให้สร้างวัดสุทัศน์สูงเทียบเท่าวัดพนัญเชิง แต่กลับปรากฎว่ารูปแบบสถาปัตยกรรมของตัวพระวิหารหลวงวัดสุทัศน์นี้ใกล้เคียงกับพระวิหารพระมงคลบพิตร ซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณพระราชวังหลวงกรุงเก่าอย่างชัดเจนที่สุด
อนึ่งพระใหญ่ ณ เมืองสุโขทัย (หล่อด้วยสำริด หน้าตักกว้าง 3 วา 1 คืบ) ในจดหมายเหตุนั้น ก็คือพระพุทธศรีศากยมุนี ซึ่งรัชกาลที่ 4 ทรงขนานพระนามประดิษฐานอยู่ ณ พระวิหารหลวงบัดนี้ เดิมประดิษฐานอยู่ที่วัดมหาธาตุกรุงสุโขทัยซึ่งร้างลง พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายลงมา ปรากฏความในพระราชพงศาวดารรัชกาลที่ 1 ว่า เมื่อเดือน 5 ปีมะโรงสัมฤทธิศก (พุทธศักราช 2351) พระพุทธรูป ณ เมืองสุโขทัยลงมาถึงกรุงเทพฯ แล้วทอดทุ่นอยู่กลางน้ำหน้าพระตำหนักแพ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการมหรสพสมโภช ทั้งกลางวัน กลางคืน โปรดให้มีการสมโภชเวียนเทียนพระพุทธรูปใหญ่เป็นปฐม ต่อมาเมื่อเดือน 6 จึงชักลากขึ้นไปประดิษฐานพักไว้ยังถนนเสาชิงช้าหน้าพระวิหารหลวง (ในปัจจุบัน)
การชักพระเลื่อนไปตามทางบกนั้น ได้เลื่อนแพไปเทียบ ที่ท่าช้าง เหนือกำแพงพระราชวังด้านเหนือฝั่งตะวันตก แต่ที่ท่าช้าง (ซึ่งเป็นประตูเมืองด้านหนึ่ง)ไม่ตรงถนน ทั้งพระก็ยังใหญ่กว่าประตูที่ท่าช้าง จำต้องรื้อประตูทั้งกำแพงออก จึงชักพระขึ้นเข้าทางประตูนี้ได้ ภายหลังบริเวณนี้จึงเรียกว่า "ท่าพระ" มาจนถึงปัจจุบันนี้ และเหตุนี้ทำให้เรียกวัดสุทัศน์โดยสามัญว่า วัดพระใหญ่ วัดพระโต และเพราะวัดตั้งอยู่บริเวณหน้าเสาชิงช้า จึงเรียกว่า วัดเสาชิงช้า อีกนามหนึ่งด้วย
เมื่อชะลอพระพุทธศรีศากยมุนีมาประดิษฐานพักไว้แล้วยังมิได้ยกขึ้น เพราะการก่อพระวิหารยังไม่แล้วเสร็จ ทั้งทรงมีพระราชโองการโปรดให้หล่อแก้พระพุทธศรีศากยมุนี ซึ่งมีส่วนชำรุดและมีลักษณะไม่ต้องด้วยพุทธลักษณะผิดจากพระบาลี การพระราชปฏิสังขรณ์พระพุทธศรีศากยมุนีนี้แล้วเสร็จพอดีเวลาที่ก่อรากและฐานบัลลังก์ชุกชีสำเร็จจึงได้แต่ทรงยกพระขึ้นประดิษฐานเท่านั้นในต้นปีมะเส็งเอกศก พ.ศ. 2352 ซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เสด็จสวรรคตในเดือน 9 ปีเดียวกันนี้ การสร้างพระวิหารยังไม่แล้วเสร็จ
ในการยกพระพุทธศรีศากยมุนีขึ้นประดิษฐานนี้เป็นเวลาที่ทรงประชวรมากจึงมีรับสั่งว่า "เพียงได้ยกพระขึ้นถึงที่สิ้นธุระเท่านั้นแล้ว" การหล่อแก้พระพุทธศรีศากยมุนีและการก่อฐานพระได้เร่งรัดเวลามาก เหตุด้วยทรงกลัวจะสวรรคตเสียก่อนที่จะได้เชิญพระขึ้นที่ ครั้นทอดพระเนตรเห็นเชิญพระขึ้นที่ทันสมพระราชประสงค์แล้ว ก็ทรงโสมนัสเปล่งพระอุทานว่า "สิ้นธุระแล้ว"
การก่อสร้างวัดสุทัศน์ที่คั่งค้างอยู่ ได้ดำเนินการต่อมาในรัชกาลที่ 2 จนมาเสร็จสมบูรณ์ในรัชกาลที่ 3 จึงมีพระสงฆ์เข้าอยู่จำพรรษา ดังความปรากฎในพระราชพงศาวดารรัชกาลที่ 3 ตอนหนึ่งว่า " พระราชดำริว่า วัดพระโต เสาชิงช้า ฯลฯ พอสิ้นแผ่นดินไปครั้งนี้จะต้องทำให้เป็นวัดขึ้นให้ได้ จึงให้พระยาศรีพิพัฒน์รัตนราชโกษา เป็นแม่กองดูทั่วไปทั้งวัด ให้พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นพิทักษเทเวศร ทำพระอุโบสถใหญ่และทำพระระเบียงล้อมพระวิหาร การนั้นสำเร็จทั่วทุกแห่งทั้งกุฏิสงฆ์ด้วย จึงให้อาราธนาพระธรรมไตรโลก อยู่วัดเกาะ ตั้งเป็น พระพิมลธรรมเป็นเจ้าอธิการจัดเอาพระภิกษุในวัดพระเชตุพน วัดมหาธาตุ วัดราชบุรณะ รวมได้ 300 รูป ไปอยู่เป็นอันดับพระราชทานชื่อ วัดสุทัศนเทพธาราม (พระราชพงศาวดารฉบับพระยาทิพากรวงศ์)" ต่อมาในรัชกาลที่ 4 ทรงพระราชปฏิสังขรณ์พระวิหารและทั่วไปในพระอาราม ทั้งทรงแปลงนามวัดพระราชทานใหม่ว่า "สุทัศนเทพวราราม"
ออกเสียงว่า สุ-ทัด-เทบ-พะ-วะ-รา-ราม)
ในสมัยรัชกาลที่ 5 ทรงพระราชศรัทธาปฏิสังขรณ์ใหญ่ทั่วทั้งพระอารามอีกครั้งหนึ่ง วัดสุทัศนเทพวรารามแห่งนี้ได้รับการยกย่องให้เป็นวัดประจำรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8
พระอารามหลวงแห่งนี้สร้างขึ้นและได้รับการทำนุบำรุงด้วยพระราชศรัทธาและพระราชวิริยอุตสาหะอย่างแรงกล้า ของพระมหากษัตริย์ในพระบรมราชจักรีวงศ์ทุกพระองค์ มีอายุล่วงมาถึง 214 ปีมีพระสงฆ์ได้รับการยกขึ้นเป็นเจ้าปกครองวัด บริหารจัดการทำนุบำรุงดูแลรักษา ให้เป็นที่เจริญพระราชศรัทธาเป็นรมณียสถาน เป็นคารวสถาน ควรแก่การเป็นวัดสำคัญของเหล่าพุทธศาสนิกชนและของชาติสืบมาจนบัดนี้
พิกัด: Wat Suthat Thepwararam Ratchaworahawihan
https://goo.gl/maps/B1HF4SAhuAeMHXZS8
บันทึกความทรงจำ
วันที่ 11 กันยายน พ.ศ.2565
11 September 2022
ตรงกับวันอาทิตย์ แรม ๑ ค่ำ เดือนสิบ(๑๐) ปีขาล
อาทิจวาร(อ) ภัทรปทมาส จัตวาศก จ.ศ. 1384 , ค.ศ. 2022 , ม.ศ. 1944 , ร.ศ. 241
สุริยคติ เป็น ปกติสุรทิน , จันทรคติ เป็น ปกติมาส ปกติวาร
TeawWatThai / เที่ยววัดไทย
เที่ยววัดไทย เที่ยวชมวัด และสักการะบูชาสิ่งศักดิ์สิทธ์คู่บ้านคู่เมืองไทย
#วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร
#วัดสุทัศน์
#พระศรีศากยมุนี
#พระพุทธตรีโลกเชษฐ์
#พระพุทธเสรฏฐมุนี
#หลวงพ่อกลักฝิ่น
#ท้าวเวสสุวรรณ
#จังหวัดกรุงเทพมหานคร
#TeawWatThai / เที่ยววัดไทย
https://www.facebook.com/TeawWatThai.Travel/
https://www.instagram.com/teawwatthai.travel/
วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร หรือ วัดสุทัศน์ จังหวัดกรุงเทพมหานคร
คิดถึงพี่ๆทุกท่านครับ 😀
วันนี้มาอบรมฝึกทักษะการถ่ายภาพ 📷
ผ่านมาที่วัดสุทัศน์ เลยขอเก็บภาพสวยๆมาฝากพี่ๆกัลยาณมิตรทุกฟท่านครับ
โดยส่วนตัวแล้ว วัดสุทัศน์ค่อนข้างมีความใกล้ชิดกับผมเป็นพิเศษ เนื่องจากในวันว่างจะเดินทางมาวัดแห่งนี้ในการฝึกสมาธิและทำวัตรเย็นครับ
วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร หรือ วัดสุทัศน์ เชื่อว่าหลายท่านคงคุ้นเคยกันดี
เมื่อเอ่ยถึงวัดสุทัศน์แล้ว ก็จะนึกถึงเสาชิงช้าสีแดงที่เป็นเอกลักษณ์ของกรุงเทพฯ ครับ
ประวัติค่อนข้างยาวหน่อยนะครับ แต่อยากให้อ่านครับ 🙏🏻🙏🏻🙏🏻
วัดสุทัศนเทพวราราม เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรมหาวิหาร
ตั้งอยู่ในเกาะรัตนโกสินทร์ชั้นนอก ภายในกำแพงพระนคร ปัจจุบันเลข 146 แขวงวัดราชบพิธ (ในคณะสงฆ์ขึ้นกับแขวงพระบรมมหาราชวัง) เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร มีเนื้อที่ 28 ไร่เศษ
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงสถาปนาวัดสุทัศนเทพวรารามแห่งนี้ขึ้น เมื่อปีพุทธศักราช 2350 ตามความปรากฎในหมายกระทรวงวังเรื่องพระฤกษ์ก่อรากพระวิหาร ความตอนหนึ่งว่า "ด้วยพระยารณฤทธิ์รับสั่งใส่เกล้า ฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมสั่งว่า พระฤกษ์จะได้ขุดรากพระริหาร วัดทำใหม่ ณ เสาชิงช้า พระราชาคณะ 20 รูป จะได้สวดพระพุทธมนต์ ณ วันอาทิตย์ ขึ้น 4 ค่ำเดือน 3 ปีเถาะนพศก จุลศักราช 1169 (พ.ศ.2350) “ฯลๆ " และทรงพระราชดำริพระราชทานนาม วัดขึ้นเป็นครั้งแรกว่า "วัดมหาสุทธาวาส" ปีที่ปรากฎในหมายนี้จึงนับเป็นปีเริ่มก่อตั้งวัดสุทัศนเทพวราราม
มูลเหตุการสถาปนาวัดสุทัศน์แห่งนี้ ก็ด้วยทรงพระราชประสงค์จะถ่ายแบบบ้านเมือง รั้ววัง ทั้งวัดวาอารามในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ของพระองค์ให้เป็นอย่าง กรุงศรีอยุธยาราชธานีเดิม ที่เรียกกันว่า "ครั้งบ้านเมืองดี" ปรากฎความในจดหมายเหตุความทรงจำของกรมหลวงนรินทรเทวี ว่า "ทรงมีพระราชโองการรับสั่งให้สร้างวัดขึ้นกลางพระนครให้สูงเท่าวัดพนัญเชิงให้พระพิเรนทรเทพขึ้นไปรับพระใหญ่ ณ เมืองสุโขทัย ชะลอเลื่อนลงมาประทับท่า สมโภช 7 วัน ณ เดือน 6 ขึ้น 15 ค่ำ ยกทรงเลื่อนตามทางสถลมารคพระโองการตรัสให้แต่งเครื่องนมัสการพระทุกหน้าวัง หน้าบ้านร้านตลาดตลอดจนถึงที่ประชวรอยู่แล้ว แต่ทรงพระอุตสาหะเพิ่มพระบารมีหวังที่หน่วงโพธิญาณ จะโปรดสัตว์ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา เสด็จพระราชดำเนินตามกระบวนแห่พระ หาทรงฉลองพระบาทไม่ จนถึงพลับพลาเสด็จขึ้นเซพลาด เจ้าฟ้ากรมขุนกษัตรา รับทรงพระองค์ไว้"
พระราชวิจารณ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวว่าด้วยจดหมายเหตุความทรงจำข้างต้นก็ทรงพระราชวิจารณ์ไว้ว่า "วัดสุทัศน์นี้กำหนดว่าเป็นกึ่งกลางพระนคร จึงตั้งเทวสถานมีเสาชิงช้า ณ ที่นั้น ตามประเพณีพระนครโบราณ ข้อซึ่งว่า พระราชประสงค์จะทำให้สูงเท่าวัดพนัญเชิงนั้น ก็ชอบกลอยู่ เพราะถมพื้นสูงขึ้นไปมาก ในพระนครซึ่งเป็นที่ลุ่ม"
การสร้างวิหารหลวงแต่แรกเริ่มในจดหมายเหตุและในพระราชวิจารณ์ ชี้ให้เห็นว่า โปรดให้สร้างวัดสุทัศน์สูงเทียบเท่าวัดพนัญเชิง แต่กลับปรากฎว่ารูปแบบสถาปัตยกรรมของตัวพระวิหารหลวงวัดสุทัศน์นี้ใกล้เคียงกับพระวิหารพระมงคลบพิตร ซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณพระราชวังหลวงกรุงเก่าอย่างชัดเจนที่สุด
อนึ่งพระใหญ่ ณ เมืองสุโขทัย (หล่อด้วยสำริด หน้าตักกว้าง 3 วา 1 คืบ) ในจดหมายเหตุนั้น ก็คือพระพุทธศรีศากยมุนี ซึ่งรัชกาลที่ 4 ทรงขนานพระนามประดิษฐานอยู่ ณ พระวิหารหลวงบัดนี้ เดิมประดิษฐานอยู่ที่วัดมหาธาตุกรุงสุโขทัยซึ่งร้างลง พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายลงมา ปรากฏความในพระราชพงศาวดารรัชกาลที่ 1 ว่า เมื่อเดือน 5 ปีมะโรงสัมฤทธิศก (พุทธศักราช 2351) พระพุทธรูป ณ เมืองสุโขทัยลงมาถึงกรุงเทพฯ แล้วทอดทุ่นอยู่กลางน้ำหน้าพระตำหนักแพ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการมหรสพสมโภช ทั้งกลางวัน กลางคืน โปรดให้มีการสมโภชเวียนเทียนพระพุทธรูปใหญ่เป็นปฐม ต่อมาเมื่อเดือน 6 จึงชักลากขึ้นไปประดิษฐานพักไว้ยังถนนเสาชิงช้าหน้าพระวิหารหลวง (ในปัจจุบัน)
การชักพระเลื่อนไปตามทางบกนั้น ได้เลื่อนแพไปเทียบ ที่ท่าช้าง เหนือกำแพงพระราชวังด้านเหนือฝั่งตะวันตก แต่ที่ท่าช้าง (ซึ่งเป็นประตูเมืองด้านหนึ่ง)ไม่ตรงถนน ทั้งพระก็ยังใหญ่กว่าประตูที่ท่าช้าง จำต้องรื้อประตูทั้งกำแพงออก จึงชักพระขึ้นเข้าทางประตูนี้ได้ ภายหลังบริเวณนี้จึงเรียกว่า "ท่าพระ" มาจนถึงปัจจุบันนี้ และเหตุนี้ทำให้เรียกวัดสุทัศน์โดยสามัญว่า วัดพระใหญ่ วัดพระโต และเพราะวัดตั้งอยู่บริเวณหน้าเสาชิงช้า จึงเรียกว่า วัดเสาชิงช้า อีกนามหนึ่งด้วย
เมื่อชะลอพระพุทธศรีศากยมุนีมาประดิษฐานพักไว้แล้วยังมิได้ยกขึ้น เพราะการก่อพระวิหารยังไม่แล้วเสร็จ ทั้งทรงมีพระราชโองการโปรดให้หล่อแก้พระพุทธศรีศากยมุนี ซึ่งมีส่วนชำรุดและมีลักษณะไม่ต้องด้วยพุทธลักษณะผิดจากพระบาลี การพระราชปฏิสังขรณ์พระพุทธศรีศากยมุนีนี้แล้วเสร็จพอดีเวลาที่ก่อรากและฐานบัลลังก์ชุกชีสำเร็จจึงได้แต่ทรงยกพระขึ้นประดิษฐานเท่านั้นในต้นปีมะเส็งเอกศก พ.ศ. 2352 ซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เสด็จสวรรคตในเดือน 9 ปีเดียวกันนี้ การสร้างพระวิหารยังไม่แล้วเสร็จ
ในการยกพระพุทธศรีศากยมุนีขึ้นประดิษฐานนี้เป็นเวลาที่ทรงประชวรมากจึงมีรับสั่งว่า "เพียงได้ยกพระขึ้นถึงที่สิ้นธุระเท่านั้นแล้ว" การหล่อแก้พระพุทธศรีศากยมุนีและการก่อฐานพระได้เร่งรัดเวลามาก เหตุด้วยทรงกลัวจะสวรรคตเสียก่อนที่จะได้เชิญพระขึ้นที่ ครั้นทอดพระเนตรเห็นเชิญพระขึ้นที่ทันสมพระราชประสงค์แล้ว ก็ทรงโสมนัสเปล่งพระอุทานว่า "สิ้นธุระแล้ว"
การก่อสร้างวัดสุทัศน์ที่คั่งค้างอยู่ ได้ดำเนินการต่อมาในรัชกาลที่ 2 จนมาเสร็จสมบูรณ์ในรัชกาลที่ 3 จึงมีพระสงฆ์เข้าอยู่จำพรรษา ดังความปรากฎในพระราชพงศาวดารรัชกาลที่ 3 ตอนหนึ่งว่า " พระราชดำริว่า วัดพระโต เสาชิงช้า ฯลฯ พอสิ้นแผ่นดินไปครั้งนี้จะต้องทำให้เป็นวัดขึ้นให้ได้ จึงให้พระยาศรีพิพัฒน์รัตนราชโกษา เป็นแม่กองดูทั่วไปทั้งวัด ให้พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นพิทักษเทเวศร ทำพระอุโบสถใหญ่และทำพระระเบียงล้อมพระวิหาร การนั้นสำเร็จทั่วทุกแห่งทั้งกุฏิสงฆ์ด้วย จึงให้อาราธนาพระธรรมไตรโลก อยู่วัดเกาะ ตั้งเป็น พระพิมลธรรมเป็นเจ้าอธิการจัดเอาพระภิกษุในวัดพระเชตุพน วัดมหาธาตุ วัดราชบุรณะ รวมได้ 300 รูป ไปอยู่เป็นอันดับพระราชทานชื่อ วัดสุทัศนเทพธาราม (พระราชพงศาวดารฉบับพระยาทิพากรวงศ์)" ต่อมาในรัชกาลที่ 4 ทรงพระราชปฏิสังขรณ์พระวิหารและทั่วไปในพระอาราม ทั้งทรงแปลงนามวัดพระราชทานใหม่ว่า "สุทัศนเทพวราราม"ออกเสียงว่า สุ-ทัด-เทบ-พะ-วะ-รา-ราม)
ในสมัยรัชกาลที่ 5 ทรงพระราชศรัทธาปฏิสังขรณ์ใหญ่ทั่วทั้งพระอารามอีกครั้งหนึ่ง วัดสุทัศนเทพวรารามแห่งนี้ได้รับการยกย่องให้เป็นวัดประจำรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8
พระอารามหลวงแห่งนี้สร้างขึ้นและได้รับการทำนุบำรุงด้วยพระราชศรัทธาและพระราชวิริยอุตสาหะอย่างแรงกล้า ของพระมหากษัตริย์ในพระบรมราชจักรีวงศ์ทุกพระองค์ มีอายุล่วงมาถึง 214 ปีมีพระสงฆ์ได้รับการยกขึ้นเป็นเจ้าปกครองวัด บริหารจัดการทำนุบำรุงดูแลรักษา ให้เป็นที่เจริญพระราชศรัทธาเป็นรมณียสถาน เป็นคารวสถาน ควรแก่การเป็นวัดสำคัญของเหล่าพุทธศาสนิกชนและของชาติสืบมาจนบัดนี้
พิกัด: Wat Suthat Thepwararam Ratchaworahawihan
https://goo.gl/maps/B1HF4SAhuAeMHXZS8
บันทึกความทรงจำ
วันที่ 11 กันยายน พ.ศ.2565
11 September 2022
ตรงกับวันอาทิตย์ แรม ๑ ค่ำ เดือนสิบ(๑๐) ปีขาล
อาทิจวาร(อ) ภัทรปทมาส จัตวาศก จ.ศ. 1384 , ค.ศ. 2022 , ม.ศ. 1944 , ร.ศ. 241
สุริยคติ เป็น ปกติสุรทิน , จันทรคติ เป็น ปกติมาส ปกติวาร
TeawWatThai / เที่ยววัดไทย
เที่ยววัดไทย เที่ยวชมวัด และสักการะบูชาสิ่งศักดิ์สิทธ์คู่บ้านคู่เมืองไทย
#วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร
#วัดสุทัศน์
#พระศรีศากยมุนี
#พระพุทธตรีโลกเชษฐ์
#พระพุทธเสรฏฐมุนี
#หลวงพ่อกลักฝิ่น
#ท้าวเวสสุวรรณ
#จังหวัดกรุงเทพมหานคร
#TeawWatThai / เที่ยววัดไทย
https://www.facebook.com/TeawWatThai.Travel/
https://www.instagram.com/teawwatthai.travel/