เสียงประชาธิปไตยกับคนในชนบท ที่โดนกล่าวหาว่าเป็นเสียงที่ไร้คุณภาพ


ระบอบประชาธิปไตยเป็นการปกครองที่คนทั่วโลกให้การยอมรับ

จริงหรือที่ระบอบประชาธิปไตยไทย อยู่คู่กับการคอรัปชั่นมาอย่างยาวนาน

แล้วจริงหรือไม่การคอรัปชั่น เป็นชนวนเหตุหลักๆที่นำไปสู่การรัฐประหาร



ในหัวข้อนี้ เราจะกล่าวถึงเสียงประชาธิปไตยกับคนในชนบท เป็นหลักนะครับ


คอรัปชั่น -->รัฐประหาร -->เลือกตั้ง -->คอรัปชั่น --> รัฐประหาร   มันก็เลยการเป็นวงจรไม่รู้จักจบสิ้น

ดูเผินๆแล้ว หลายคนอาจจะมองแค่ว่า เป็นเรื่องของรัฐบาลหรือนักนักการเมืองเพียงอย่างเดียว
แต่ความจริงแล้ว มันเกิดจากการแบ่งพวกแบ่งฝ่ายของประชาชนด้วย แนวคิดที่เชื่อว่า รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง เสียงโดยส่วนมากมักจะมาจากชนบทเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งเสียงที่ได้มาเหล่านี้ เกิดจากการซื้อเสียง

เราปฎิเสธไม่ได้เลยว่า การซื้อสิทธิ์ขายเสียงของคนในชนบทนั้น มีมานานกว่า50ปี เป็นระบบที่หยั่งรากลึก มีการทำที่เป็นแบบแผน เป็นระบบ
ดั้งนั้นมุมมองของคนในเมือง ก็มักจะมองว่า รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งที่ได้เสียงส่วนใหญ่มาจากชนบทนั้น ไม่ชอบธรรม นำไปสู่แนวคิดที่ว่า เสียงของคนในชนบทไม่มีค่าพอในระบบการเลือกตั้ง เพราะคนเมืองมองคนชนบทว่า ไม่มีการศึกษา โดนชักจูงได้ง่าย ใครจ่ายเงินก็เลือกคนนั้น ซึ่งแนวคิดนี้เอง จึงนำมาสู่การแบ่งประชาชนที่เห็นต่างทางการเมืองออกเป็นสองข้าง แนวคิดนี้มีมานานมาก แต่เพิ่งมาเริ่มเอาเป็นเอาตายเมื่อเกือบ10ปีที่บ้านมานี่เอง

สองฝ่ายที่ว่ามานี่คือ คนในชนบทที่เลือกรัฐบาลเข้ามาและพร้อมจะสนับสนุนฝ่ายรัฐบาล และ คนชนชั้นกลางในเมืองที่คิดว่าตนมีการศึกษาสูงกว่าได้มองว่าเสียงที่มาจากชนบทไม่มีประสิทธิภาพ
เมื่อมีความแตกแยกกัน ความวุ่นวายก็มักจะตามมา
เริ่มมีการออกมาชุมนุมเรียกร้องกัน

เมื่ออีกฝั่งได้อำนาจไป ฝั่งที่เสียเปรียบก็ไม่ยอม

ผลสรุปสุดท้ายเป็นไงทีนี้

ก็กลับมาเข้าสู่วงจรเดิม คือ คอรัปชั่น -->รัฐประหาร -->เลือกตั้ง -->คอรัปชั่น --> รัฐประหาร

ประชาธิปไตยที่เสียงส่วนมากกลับไม่มีความหมาย แล้วเราจะเรียกว่าประชาธิปไตยโดยสมบูรณ์ได้อย่างไร?

ย้อนไปเมื่อ ปี 2549 ก่อนเกิดการรัฐประหาร ยอมรับว่าก่อนหน้านั้น คนในชนบทเอง มีความรู้เรื่องการเมืองการเลือกตั้งน้อยมาก จึงโดนชักจูงได้ง่าย
เพราะตั้งแต่เริ่มแผนพัฒนาเศรษฐกิจสังคมแห่งชาติ2504 คนในชนบท เกษตรกร โดนภาคอุตสาหกรรมเข้ามาเอาเปรียบทำไร่ทำนา แต่ยังยากจนเหมือนเดิม ชาวนาเหล่านี้ขาดความรู้หลายๆด้สน และต้องตกอยู่ภายใต้ระบบอุปถัมภ์ของนักการเมือง

ดังนั้นเมื่อมีการเลือกตั้งเข้ามา ชาวนาเหล่านี้ที่ตกอยู่ภายใต้ระบบอุปถัมภ์ของนักการเมืองอยู่แล้ว ก็เกิดการซื้อสิทธิ์ขายเสียง ซึ่งคนในชนบทมองว่า นักการเมืองเขามาช่วยพัฒนาบ้านเรา ให้นู่นให้นี่เรา เวลามีงานในหมู่บ้าน ผู้แทน(คำเรียก สส. สว. ของคนในชนบท) ก็มักจจะส่งของส่งคนมาช่วย แม้กระทั่งให้มหรสพมาแสดงในงานให้ดูแบบฟรีๆ ใครเดือนร้อนขึ้นโรงขึ้นศาลก็เข้าหาเข้ามาปรึกษาได้เลย นักการเมืองเขาลงมาช่วยหมด ซึ่งนี่ก็เป็นอีกข้อหนึ่งที่ทำให้คนในชนบทมีความผูกพันธ์กับนักการเมือง ซึ่งถึงเวลาเลือกตั้งประชาชนเหล่านี้ก็มักจะเลือกคนที่มาช่วยเหลือพวกเขานั่นเอง
ซึ่งมันเป็นการหยั่งรากลึกมาอย่างยาวนาน
แต่หลังจากเหตุการณ์การรัฐประหาร2549 ประกอบกับวิกฤติเศรษฐกิจที่แย่ลง ทำให้ชนบทเริ่มเปลี่ยนไป ชาวนาไม่ได้เป็นชาวนา100% ชาวชนบท ไม่ได้เป็นเกษตรกรทั้งหมด ความเจริญ การศึกษา เทคโนโลยี เริ่มเข้ามามีบทบาทมากขึ้น สิ่งที่เรียกว่า ชนบท บัดนี้ได้กลายเป็น ชุมชนกึ่งชนบทกึ่งชมชนเมืองไปแล้ว และส่วนใหญ่ของชาวนา กลายมาเป็นผู้มีรายได้ปานกลาง ส่งลูกเรียน ผ่อนรถ ซื้อบ้านได้ แต่ไม่ใช่ว่ารวยเท่าคนในกรุงเทพ แต่ก็ไม่ได้ยากจนข้นแค้นจนไม่มีกินเหมือนแต่ก่อน


ปัจจุบันชนบท ไม่ได้เป็นชนบทแบบเดิมๆ ถามว่าเพราะอะไร เพราะคนในชนบทเริ่มมีความรู้ เริ่มสัมผัสถึงเทคโนโลยีเทียบเท่ากับคนในเมือง ในกรุงเทพแล้ว

อีกข้อหนึ่งคือ ชาวนาเริ่มคิดเป็น เพราะลูกหลานที่จบการศึกษาสูงๆ ได้กลับมาพัฒนาชนบท หรือบางคน กลับมาเป็นชาวนาเสียเองก็มี

ต่อไปเราจะมาพูดถึง การซื้อสิทธิ์ขายเสียงของชนบทในปัจจุบัน
จากงานวิชาการที่ลงไปพื้นที่เพื่อศึกษาเรื่องนี้โดยตรง หลายคนลงความเห็นตรงกันว่า ชาวชนบทไม่ได้อยู่ภายใต้ระบบอุปถัมภ์ของนักการเมืองอรกต่อไป แต่ก็ยังมีได้รับความช่วยเหลือจากนักการเมืองอยู่ แต่ตอนนี้ชาวนาเริ่มคิดได้และคิดเป็น คือ แต่ก่อนเอาของเขามาเราต้องกาเลือกให้คะแนนเขา 100%
สำหรับปัจจุบัน ใครให้ของมาก็เอาไว้ก่อน แต่จะเลือกจะกาใคร ก็อีกเรื่องนึง แน่ะ.. เริ่มมีความกะล่อนในตัว
ชาวนาฉลาดในการดึงอำนาจภายนอก ไม่ว่าจะเป็นอำนาจรัฐ อำนาจทุน เข้ามาในชุมชน เพื่อพัฒนาเเละเพิ่มประสิทธิภาพชุมชนของตนเอง พูดมาถึงจุดนี้ หลายท่านคงพอมองภาพออกแล้วว่า คนในชนบทเริ่มเปลี่ยนแปลงไป มีความรู้ทันนักการเมืองมากขึ้น ไม่โดนปิดหูปิดตาเหมือนแต่ก่อน


ปัจจุบันชนบท ไม่ใช่พื้นที่โล่งๆ ที่นักการเมืองเอาเงินไปหว่าน แล้วจะได้เสียงเลือกตั้งมา
แต่ชาวนาชาวชนบททุกวันนี้ ได้พลิกบทบาทตัวเอง จากผู้ถูกล่า กลายมาเป็นผู้ล่าแทน
คือยังไง กล่าวคือ ไม่ใช่ว่าคุณถือเงินเข้ามาแจกๆๆๆ แล้วคุณจะได้เสียงมา มันไม่ใช่แบบนั้นอีกต่อไป แต่มันมีกระบวนการซื้อสิทธิ์ขายเสียงที่เป็นระบบมากขึ้นชาวชนบทได้เริ่มมีการตั้งกฎเกณฑ์ของชุมชนขึ้นมา มีวัฒนธรรมทางการเมืองขึ้นมา เรียกว่า ธรรมนูญชนบท
แล้วชาวนาก็ใช้เม็ดเงินเหล่านี้ที่หลั่งไหลเข้ามาในชุมชน ต่อรอง แลกเปลี่ยน เพื่อจะเอาอำนาจเงินเหล่านี้มาพัฒนาและเพิ่มศักยภาพของชุมชน
หลายคนมองว่า ก็ขายเสียงอยู่ดี ชนบทก็ยังขาดศีลธรรมเห็นแก่เงินอยู่ดีนั่นแหละ
ไม่ใช่อย่างนั้นครับ มันไม่ใช่การซื้อสิทธิขายเสียงง่ายๆ แบบเดิมอีกต่อไป มันไม่ใช่ว่าคุณเอาเงินไปโปรยแลกกันคะเเนนเสียงอีกต่อไป ต่อมันเป็นชุมชนที่มีกฏหมายและวัฒนะธรรมของมันเอง และเป็นชมชนที่มีพลังที่จะตอบโต้กับกระบวนการซื้อสิทธิ์ขายเสียงเหล่านี้ได้
สรุปตรงนี้ก็คือ  ชนบทไม่ได้โง่อีกต่อไป ที่รับเงินใครมาแล้วก้ต้องกาเลือกคนนั้น ทุกวันนี้พวกเขาคิดเป็น นักการเมืองนั่นแหละ ที่ยังคิดไม่เป็น


Professor Andrew Walker นักวิชาการด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มหาวิทยาลับแห่งชาติออสเตรเลีย
เป็นอีกคนหนึ่งที่เข้ามาศึกษาการเปลี่ยนแปลงด้านการเมืองในชนบทไทย
*** ลิงค์เอกสาร  Thailand’s Political Peasants https://muse.jhu.edu/book/18956 ***

Andrew Walke ได้เริ่มเชื่อโยงเหตุการณ์รัฐประหาร2549 สมัย นายกทักษิณ ชินวัตร
คำถามของ Andrew Walke คือ การที่คนในเมืองมองคนในชนบทว่าไร้การศึกษา ไร้ประสิทธิภาพ ส่วนใหญ่ มีการซื้อสิทธิขายเสียง และนำมาซึ่งการชนะการเลือกตั้งที่ได้เสียงคะแนนเลือกตั้งมา แต่ไม่มีคุณภาพ บางคนมองว่าคนในชนบทว่าโง่ จน และเจ็บ
มุมมองเหล่านี้เป็นเรื่องจริงหรือเปล่า หรือเป็นเพียงมายาคติ เหตุผลเหล่านี้เพียงพอมั้ย ที่จะใช้เป็นข้ออ้างหรือความชอบธรรมในการออกมารัฐประหารในแต่ละยุคแต่ละสมัยที่ผ่านมา เพราะการรัฐประหารทุกๆครั้ง มักจะมีข้ออ้างว่ารัฐบาลคอรัปชั่นมากเกินไป และเพื่อตัดปัญหา ก็เลยต้องออกมากระทำการรัฐประหาร หรือเป็นเพียงเหตุผลที่ถูกปลุกกระตุ้นขึ้นมา เพื่อให้กลุ่มอำนาจบางกลุ่ม ล้มล้างรัฐบาลเดิม เพื่อให้ตนได้ขึ้นมามีอำนาจอีกครั้ง

Andrew Walke เลือกหมู่บ้านแห่งหนึ่งในจังหวัดเชียงใหม่เป็นกรณีศึกษา
ชาวบ้านเหล่านี้ จากที่เคยเป็นชุมชนยากจนที่ยังชีพด้วยการเกษตรเป็นหลัก แต่ปัจจุบันชาวบ้านมีรายได้เพิ่มขึ้น และเป็นคนชั้นกลางที่เพิ่มข้ามผ่านความยากจนมา พบว่า ชาวบ้านที่นี่ ไม่ได้ขายเสียงให้ใครก็ได้ อย่างที่คนเมืองได้มองและเข้าใจกัน ชาวบ้านร้อยละ84 ยินดีรับเงินจากการเมืองทุกพรรค แต่พอถึงเวลาเลือกตั้ง พวกเขาเลือกคนที่พวกเขาอยากจะเลือกจริงๆ ซึ่งอาจจะไม่ใช่เจ้าของเงินก็ได้
ประเด็นสำคัญที่Andrew Walke ค้นพบก็คือ มุมมองและของชาวบ้านที่มีต่อการเมืองที่เปลี่ยนแปลงไป แต่ยังคงต้องพึ่งพานโยบายต่างๆของรัฐ เช่นการอุดหนุนราคาสินค้าเกษตร บทบาททางการเมืองของชาวบ้านจึงไม่ใช่ออกมาประท้วงต่ออำนาจรัฐ แต่เป็นไปในทางที่มีการร่วมมือ กดดัน หรือแม้แต่หลอกล่อนักการเมือง เผื่อผลักดันให้เกิดนโยบายที่พวกเขาต้องการและสิทธิที่พวกเขาพึงมี เที่ยบเท่ากับคนในเมือง ให้เกิดขึ้นมาในชุมชน
Andrew Walke พยายามจะลบแนวคิดเดิมๆของคนในเมือง ที่มองว่า คนในชนบทเป็นคนยากจนไร้การศึกษา ที่คนในเมืองต้องคอยบริจาคให้พวกเอา ต้อง เอาเงินไปให้พวกเขา แถมยังต้องคิดแทนพวกเขาเพราะคิดว่าพวกเขายังไม่มีการศึกษา สิ่งเหล่านั้น Andrew Walke มองว่าไม่มีความจริงอยู่เลย

ปัจจุบันปี 2559 และประเทสไทยเราอาจจะมีการเลือกตั้งใจอีก ไม่กี่ปี ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับ ร่าง รธน. จะผ่านประชามติเมื่อใด
จึงอยากให้คนที่คิดว่าตัวเองมีการศึกษาสูง เป็นคนในเมือง สามารถคิดแทนคนในชนบทได้ ลองคิดไตร่ตริงดุใหม่ เพราะนี่ไม่ใช่ พ.ศ.2504
เพราะปัจจุบันคนในชนบทมีเล่ห์เหลี่ยมมากขึ้น เข้าใจระบบการเมืองมากขึ้น และสามารถดึกอำนาจรัฐ หลอกล่อได้แม้กระทั่งนักการเมือง ให้เข้ามามีบทบาทในชุมชนของตนเองได้มากขึ้นเมื่อเทียบกับ 50 ปี ที่ผ่านมา
มีงานวิจัยอีกเล่มของ  อาจารย์ ดร.จักรกริช สังขมณี
ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะรัฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ชื่อ ชุมชนแห่งนั้นชื่อปรารถนา:วัฒนธรรมการเมืองในชีวิตประจําวัน กับเครือข่ายความสัมพันธ์ในการพัฒนาท้องถิ่น
ลิ้งเอกสาร http://www.polsci.chula.ac.th/jakkrit/anthro/Home_files/Community%20of%20Aspiration%20Full%20Report.pdf

ซึ่งสอดคล้องกับ งานวิจัยของ Andrew Walke ซึ่งมองว่าชาวบ้านในชนบท ไม่ได่โง่อย่างที่เป็นมา
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่