คำพิพากษาศาลฏีกา 45/2496 ปฐมบท ของความพินาศ

จากเหตุการณ์วุ่นวาย ในทุกวันนี้  ผมมองว่า
เมื่อคน มีอำนาจ นั่นคือความชอบธรรม มันคือ ประเพณี ในทางการเมือง การปกครองของไทย ไม่เว้นแม้แต่ พวกเผด็จการรัฐประหาร หรือพวกนักการเมืองเลือกตั้ง  

การรอมชอม ด้วยว่า บ้านเมืองจะเดินไปได้ โดยอนุญาติให้ทำผิด เป็นสิ่งศาลฎีกาได้สร้างขึ้นมาเป็น บรรทัดฐาน

คำพิพากษาฎีกาที่ 45/2496 การที่คณะรัฐประหารยึดอำนาจการปกครองประเทศได้สำเร็จนั้นคณะรัฐประหารย่อมมีอำนาจที่จะเปลี่ยนแปลงแก้ไขยกเลิกและออกกฎหมายตามระบบแห่งการปฏิวัติเพื่อบริหารประเทศชาตต่อไปได้ มิฉะนั้นประเทศชาติจะตั้งอยู่ด้วยความสงบไม่ได้ดังนั้นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2490จึงเป็นกฎหมายอันสมบูรณ์การแต่งตั้งให้ผู้ใดเป็นรัฐมนตรีในตอนนั้น ก็ย่อมเป็นการชอบด้วย

ซึ่งมีคำพิพากษา คำพิพากษาฎีกาที่ 1662/2505
                       คำพิพากษาฎีกาที่ 1234/2523        
จนถึงปัจจุบัน     พัฒนาการขั้นสุดยอดได้ ไปบรรจุไว้ใน รัฐธรรมนูญ เรียกร้อย

สิ่งที่ได้วางเป็น บรรทัดฐาน ในอดีต ได้ สร้างวัฒนธรรม ให้เกิดแก่ประเทศ  
                         คน ต้องวิ่งเข้าหา อำนาจ  เพื่อตำแหน่ง หน้าที่  ประโยชน์
                         ความถูกต้อง  สำคัญน้อยกว่า  อำนาจ

ซึ่งเรื่องราว ของการนิรโทษกรรม ในเวลานี้ ล้วนอยู่ใน ทำนองเดียวกันทั้งสิ้น  เมื่อเรามีอำนาจ เราก็ลบล้างความผิดได้  
กฏหมายเปลี่ยนแปลงได้ตาม แต่ผู้มีอำนาจ  ซึ่งณ.วันนั้น หากศาลฎีกา ไม่ยอมรับต่ออำนาจที่ไม่ถูกต้อง ตามรัฐธรรมนูญ ยึดถือต่อหลักกฏหมายอย่างเคร่งครัด  ประเทศเราคงเจริญมากกว่านี้ คนในสังคมจะเคารพต่อ กฏ ระเบียบ  

ผมเห็นว่า นี่ ควรจะเป็นสิ่งที่ ประชาชนอย่างเราๆ คนที่อยู่ภายใต้การปกครอง  ควรจะบอกให้พวกมีอำนาจทางการปกครอง รับรู้ว่า เราต้องการให้การปกครองของ บ้านเมืองนี้ เป็นไปอย่างมีหลักธรรมภิบาล  เมื่อมีสิ่งไม่ถูกต้องในอดีต เราควรกลับไปแก้ไข ให้เกิดเป็นบรรทัดฐานใหม่ของสังคม  เห็นว่าสมควรลบล้าง คำพิพากษาเหล่านี้
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่