“ ชีวิตและปฏิปทาของพระธุดงค์ ”
อยู่เมืองเหนือ แต่คราวก่อนยังหนุ่ม เรื่องผ้าบังสุกุลเขายังไม่รู้จักไม่เข้าใจได้ดี หากเขาพอใจพระเณรตนใดเขาก็เอามาให้ใช้เฉพาะตนนั้นๆ
การถือธุดงค์การปฏิบัติต้องเลือกอย่างใดอย่างหนึ่งให้มั่นคงเป็นคราวๆไปเช่น การอยู่ที่แจ้งจะกำหนดช่วงใด การอยู่รุกขมูล การอยู่ป่า การอยู่ป่าช้า การอยู่เสนาะสนะที่จัดให้ การเดินแถวบิณฑบาต การบิณฑบาตตามลำดับเรือน การไม่รับภัตกายหลัง การฉันหนเดียว การใช้ผ้าต้องรู้ต้องฉลาดในการรับอุบายข้อปฏิบัติแต่ละข้อ แต่ละกาล ว่ามีข้อจำกัดอย่างใดจึงได้ชื่อว่ามีวัตรปฏิบัติถือธุดงค์
ส่วนการเที่ยวธุดงค์นั้นให้ไปง่ายมาง่าย อยู่ง่าย กินง่าย อย่าให้มีโทษ อย่าให้เป็นบาป จะนั่งจะนอนก็ไม่วุ่นวายอะไรมาก กวาดเอาใบไม้แห้งมารวมกองแล้วเอาผ้านุ่งอาบน้ำปูทับลงก็นอนได้แล้ว จะนั่งก็อาศัยผ้าปูนั่งรองนั่ง ใบไม้ใบหญ้าฟางเฟืองก็ใช้ได้หรืออยู่ประจำที่นานหน่อย ญาติโยมเขาก็มาทำที่พักนั่งร้านให้ เป็นเพิงหมาแหงนบางทีมีแต่หลังคาก็อยู่ได้ หากจะจำพรรษาก็บอกเขาให้ทำที่มุงที่บังให้ก็พอ นอนในหลังหลับในตาจะอะไรมาก พื้นสับฟาก พื้นไม้เรียงลำ พอพ้นจากสัตว์เลื้อยคลานอันตรายได้ หนาวมาก็สุมไฟขึ้นพอได้ไออบอุ่น
การใช้สอยอยู่กิน ไม่เคยขออะไรของใคร ตาเขามีเขาต้องเห็น ใจเขามีเขาต้องพิจารณา ป่วยเป็นก็ฉันยาไปตามเรื่อง ไม่มียาก็ฉันน้ำมูตร ไม่หายก็ฉันภาวนาให้อิ่ม ญาติโยมเขาก็ดูแลอยู่หรอก เขาไม่ปล่อยให้ตายหรอก เพราะเขากลัวไม่มีที่ทำบุญ
การใช้สอยอะไรมีอยู่ก็ใช้ไป ไม่มีก็อย่าไปบอกร้องขอ หากบวชตั้งใจแล้วพระพุทธเจ้า ไม่ปล่อยให้ลูกศิษย์อดยากหรอก ที่ว่าอดยากก็เพราะไม่พอไม่รู้จักพอนั่นเอง
จะไปจะอยู่ก็อย่าให้กังวล อย่าให้ผิดธรรมผิดวินัยไปลามาบอก ที่อยู่ก็อย่าอาลัย ผู้คนก็อย่าได้อาวรณ์ก่อพันธะต่อกัน อยู่ก็ขอข้าวเขามากินเท่านั้นอย่าคลุกคลีหาคุ้นหาเคยหาโลกหาสงสารอะไรกับเขา
เมตตาอบรมพร่ำสอนเขาไปตามเรื่องตามเหตุเท่านั้นก็พอแล้ว ขอให้มั่นคงเฉียบขาดในพระธรรมพระวินัย การปฏิบัติที่ควรส่งเสริมก็คือ การปฏิบัติตนเอง
การเสาะหาที่วิเวกเที่ยวบำเพ็ญสมณธรรมนี้ ที่ใดได้สัปปายะดีก็พักอยู่นานหากที่ใดไม่เหมาะไม่ควรถูกรบกวนมากก็ย้ายไปเสียที่อื่น ไปอย่างนกไปตามอัธยาศัย อนุเคราะห์โปรดสัตว์โลกผู้ตกทุกข์ผู้สาธุชนเรื่อยไป
อย่าประพฤตินอกธรรมนอกวินัย
อย่าละเมิดต่อกฎหมายบ้านเมือง
ระเบียบการของหมู่คณะสงฆ์ผู้ปกครอง
ทำตนเพื่อเป็นแบบอย่างอันดี
ไปดีมาดีอย่ามีเวรมีภัย
มีสัมมาคารวะต่อเจ้าถิ่น
เว้นการยกตนข่มท่านผู้ใด
การปฏิบัติควรใส่ใจให้มาก เพราะในพระศาสนานี้ผู้ปฏิบัติมีน้อยมากจึงควรส่งเสริม แต่ในส่วนของปริยัติก็ให้แตกฉานพอสมควรให้ชอบศึกษาเล่าเรียนให้ใฝ่ใจการปฏิบัติ สันโดษ เลี้ยงง่าย อยู่ง่าย มักน้อย มีความเผื่อแผ่เจือจานประกอบตนด้วยเมตตา ให้เป็นผู้ฉลาดชำนาญในพระศาสนาให้ได้
หากอยู่กับครูบาอาจารย์ต้องตั้งใจในการปฏิบัติอุปัฎฐากครูบาอาจารย์ อย่าให้บกพร่องและกระทบกระเทือนท่านได้ ตื่นก่อนนอนทีหลัง กินทีหลังอิ่มก่อน คอยฟังว่าท่านจะใช้ให้ทำอะไร
หากจะเกี่ยวข้องกับตระกูลผู้คนก็ให้ทำตัวเหมือนแมลงที่ดูดกินแต่น้ำหวานเกสรของดอกไม้อย่าทำให้ดอกไม้บอบช้ำเป็นอันตรายไป”
“ฤดูฝนก็อยู่ประจำที่จำพรรษาเสีย ตกแล้งดินแห้งดินหมาดแล้วจึงขึ้นเขาขึ้นดอยเสาะหาที่ภาวนาต่อไป
ชีวิตการอยู่ป่าต้องฉลาด
ฝนตกทำอย่างไรบริขารจะไม่เปียก
แดดออกจะไปอย่างไรจึงจะไม่ร้อน
หนาวจะอยู่อย่างไร
มดปลวกสัตว์เลื้อยคลานตัวไรตัวเรือดตัวขุ้นแมงเลือดจะเข็บแมงป่อง สัตว์มีพิษต่างๆ จะทำอย่างไร งูเงี้ยวเขี้ยวขอจะทำอย่างไร
จะอยู่ป่าต้องฉลาดจึงจะรักษาตัวเองได้ สู้แดดสู้ลมสู้ฝน หนาวสั่นเป็นลูกนกนั่งเจ่าเป็นลิงตลอดคืนก็เคยมาหลายครั้ง ต้องขึ้นไปนั่งงอยขอนไม้น้ำไหลท่วมมาทั้งสัตว์เลื้อยคลานมันก็หนีน้ำขึ้นมา
ต่อสู้ตลอดคืนจนเช้า ตอนเช้าครองจีวรเปียกน้ำออกไปบิณฑบาตมาฉัน
ไปไหนมาไหนก็ไปด้วยเท้า บางครั้งเท้าเปล่า ก็เดินไปได้สบายเพราะภาวนาไปเดินไป กำหนดจิตไป บ่าสะพายบาตรแบกกลด มือหิ้วหม้อ(กา)น้ำ ขึ้นเขาลงห้วยบุกดงบุกป่าหลงทางวกไปวนมา ฝนตกแดดออกก็อดก็ทนไปตามเรื่องเพราะใจมันชอบอย่างนั้น
สังฆาฏิ ๑ ผืน
จีวร ๑ ผืน
สบงอังสะติดตัวอย่างละผืน สำรองอีกอย่างละผืน
ผ้าอาบน้ำ ๒ ผืน ผ้าปูนั่ง กลด มุ้งกลด ย่าม ถุงบาตร ธรรมกรกหม้อ(กระติกหรือกา)น้ำ โคมไฟ เทียนไข ไม้ขีด(ไฟ) สบู่ยาสีฟันแปรงสีฟัน หินส้ม มีดพับ ถุงไม้สีฟัน ยาเวชภัณฑ์สำหรับโรคประจำตัว ยากาพระ (ยาหม่อง)
มันลำบากที่สุดคือไม้ขีดไฟ แต่ก่อนไฟแก๊สไม่มี มีแต่ไม้ขีดก้านกล่องกระดาษต้องเอากระดาษพลาสติกมาห่อเอาไว้ ฝนตกก็ต้องระวัง
เดินไปบางทีจนลืมมื้อลืมวัน หนทางนับได้เป็นร้อยเป็นพัน ไปบางทีก็ถึงจุดหมาย บางทีก็ตายสลบไป
ชีวิตนี้เที่ยวธุดงค์ ตายสลบไป ๓ ครั้ง เพราะเกี่ยวแก่ไม่ได้ฉันจังหันมาหลายวัน
ไปนอนตายสลบอยู่อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ บ้านนายาว อำเภอห้างฉัตร ลำปาง และอยู่ออบหลวง
อยู่อำเภอห้างฉัตร นั้นหลงป่าหาทางไปทางมาไม่ได้ เกี้ยวไปเวียนมา ถึงแต่ที่เก่า น้ำก็หมดในกาน้ำ เป็นลมล้มสลบลง
ไปด้วยความสงบสบายดีอยู่ พอบุพกรรมมาถึงแล้วก็มืดตึบเป็นเงาดำครอบเอาไว้ มาพิจารณารู้จักได้ในภายหลังว่าเป็นบุพกรรม แต่เมื่อครั้งทรมารทหาร ทรมารช้าง ม้า ในสงครามกับพวกลัวะสมัยที่เกิดเป็นลูกชายเจ้าแม่จามเทวี
หากจิตสบายแล้วบริขารจะมากอย่างไรไม่หนักหรอก มันเบาสบายมันสงบเยือกเย็น จิตสบาย กายสบาย จิตสงบ กายสงบ จิตเบากายเบาเดินไปได้ทั้งวัน เท้าแตก บ่าแตกไปตามเรื่อง
ตั้งใจของตนที่สุด ตั้งใจอยู่ทุกกิริยาอาการ จะเดินอยู่จะนั่งพัก จะหลับจะนอน จะอยู่จะกินเรียกได้ว่าไม่ลดละอยู่ได้หมดค่ำมาใกล้บ้านคนก็หยุดพัก ถามหาน้ำ ถามหาป่าช้า ที่ว่าง เถียงนา อยู่ตามโคนไม้ กลางแจ้ง ทุ่งนา ริมธาร เงื้อมหิน หน้าผา ท้องถ้ำ โลงผี ดอนปู่ตา ศาลาผี ศาลาริมทาง อยู่ได้หมด อาบน้ำอาบท่าแล้ว ไหว้พระสวดมนต์ พักผ่อนหลับนอน ตื่นลุกขึ้นเจริญภาวนาปฏิบัติของตน
เรื่องการอดอาหารได้ทดลองทำแล้ว แต่เป็นการบังคับธาตุขันธ์เกินไป ต่อสู้ปฏิบัติไปมิได้ ต้องเลิก มาอดนอนผ่อนอาหารจึงถูกกับจิตจริตศรัทธาปฏิปทาของตน การปฏิบัติก็ก้าวหน้าเป็นไปได้
การอดนอนนี่พ้น ๗ วัน ไปแล้วจึงสบาย
การถืออริยาบถ ๓ นี่ทำเฉพาะวันพระ แต่การอดนอนนั้นให้กายนี้เหยียดนอนได้แต่ไม่ให้หลับ เพื่อให้ผ่อนคลายบ้าง
กลางวันอากาศร้อนแดดแข็งก็หยุดพักผ่อนภาวนา หลบอยู่ตามริมน้ำริมห้วย กลางคืนข้างขึ้นข้างแรมใหม่ๆ ก็อาศัยแสงพระจันทร์พอได้เดินทางไป
เรื่องอุตุสัปปายะ นี้ผู้ข้าฯ ชอบอากาศเย็นสบายเพราะไม่ร้อนเหนียวเหงื่อไคลจิตก็สบายกายก็สะดวกจิตก็รวมลงได้ง่าย
บางทีเดินไปตอนกลางคืน เทวดาโปรยหว่านดอกไม้ทิพย์ โปรยหว่านเพชร หว่านพลอยบูชาก็มี แต่ไม่สนใจพวกเขาหรอก เราก็อนุโมทนาให้พรแล้วก็จากกันไป
บางทีเดินไปเดินไป ธรรมะปัญญาเกิดขึ้นมาต้องหยุดยืนพิจารณาให้รู้ถูกผิดเหตุผล”
“เมืองเหนือเว้นแต่แม่ฮ่องสอน ไปไม่ถึง นอกนั้นได้ไปทุกจังหวัด
ภาคกลาง กรุงเทพฯ เมืองเพชร สมุทรปราการ ลพบุรี นครสวรรค์ พิจิตร กำแพงเพชร เพชรบูรณ์ พิษณุโลก อุตรดิตถ์
พม่า ไม่ได้ข้ามไป
อยู่นานที่สุด อำเภอแม่แตง อำเภอพร้าว เชียงใหม่ วกไปวนมาเกือบทุกหมู่บ้านภาวนาแล้วหมู่เทวดาหมู่พรหมมาหามากที่สุด อยู่ถ้ำมะกะ ปางหนาด ปางเมี่ยง แม่ทะพระสะบาย
จะนับดอยไม่รู้กี่สิบลูกร้อยดอย
จะนับห้วยน้ำก็ไม่รู้เท่าใด
จะนับถนนหนทางก็นับมิได้
ไปแท้ไปว่าสมัยยังหนุ่มเรี่ยวแรงกำลังดี
เป็นพระธุดงค์ต้องทราบความมุ่งหมายของธุดงค์ประโยชน์ของธุดงควัตร ของวัตร ของข้อวัตร ทุกข้อทุกอย่าง
ข้อใดปราบปรามใจอย่างใด ได้ผลได้ประโยชน์อย่างใด
ข้อใดแก้มูลกิเลสในกาลใดเวลาใด ประเภทใด”
“พระธุดงค์คือ ผู้ทำความดับเชื้อทุกข์อยู่เสมอ กลั่นกรองตัวเองอยู่เสมอ ธุดงค์ ข้อวัตร วัตรปฏิบัติทั้งหลาย เป็นผลเป็นประโยชน์แก่ผู้ปฏิบัติอยู่เสมอตลอดเวลา ตัดอุปสรรค ดำรงวงศ์ตระกูลของกรรมฐานเอาไว้ เพราะต้นแบบอย่างปฏิปทาของนักบวช ของผู้มุ่งความพ้นทุกข์
ธุดงค์วัตรไม่เกินสมัย ไม่ล้าสมัย
มีศีลเสียก่อนจึงมีวัตร
มีศีลมีวัตรจึงจักเป็นธรรมเป็นวินัย
ความปฏิบัติตน ความประพฤติตน ความเป็นผู้มีศีลอันดีบริสุทธิ์ความรอบรู้ในการเป็นอยู่การใช้สอย ล้วนแล้วแต่เป็นอัญญมัญญปัจจัยธรรมให้แก่มรรคแก่ผลทั้งหมด
การไปคนเดียวอยู่คนเดียวนั้นเหมาะกับจริตนิสสัยของผู้ข้าฯ ที่สุด เพราะชอบนิสสัยสงบ แม้จะมีหมู่มาอยู่ด้วยก็ไม่เกิน ๕ หากเกิน ๕ แล้วผู้ข้าฯ ก็หนีไปเสีย อยู่คนเดียวมันมีสติระลึกรู้สึกตัวเอง จิตใจไม่สนใจเรื่องอื่นใด ไม่มีอารมณ์เกาะเกี่ยวเที่ยวหาโทษ มีแต่สติมีแต่ความเพียรมีแต่ความรู้ตัว รับผิดรับชอบแต่เรื่องของตัวเองเท่านั้น
คนสละเป็นสละตายได้จึงอยู่คนเดียวไปมาคนเดียวได้ จะตายอย่างไรไม่ห่วงแล้ว
หากใจมีความสะดวกสบาย หากจิตดี ร่างกายก็ดี มันกลมกลืนล้มไปด้วยกันได้ ความจดจ่อพากเพียรในอิริยาบถ ความมีพร้อมสติปัญญา หากมีขึ้นช่วงใดเวลาใด การกินก็เกิดความพอดี การหลับนอนก็พอแต่กายพักผ่อนได้เท่านั้น มันถึงความพอดีมีประมาณ มันเหมาะสมไปด้วยกันได้หมด
วัตถุใดๆ ไม่ทันกายใจ อาหารหยูกยาที่หลับนอนเครื่องนุ่งของห่มไม่มาทับถมกายใจได้
กินมากก็นอนมาก เพราะมันขี้เกียจขี้คร้าน มันเมาอาหารเมาหลับเมานอน
ผู้ข้าฯ เป็นคนไม่ยอมรับคนง่าย มันจึงภาวนายาก เป็นยากได้ยาก เพราะใจมันคอยฝืนสู้อยู่กับสิ่งที่ว่าไม่ถูกไม่ต้อง ไม่รู้มันเป็นกิเลสเป็นตัณหาอะไรหรอก รู้แต่ว่ามันยาก
พอรู้ว่ายากก็เสาะหาที่ภาวนาป่าเขา ทรมานตนอยู่กับป่า เสาะหาครูบาอาจารย์ผู้รู้จริตนิสสัยของเรามาเข่นขู่สู้ขนาบให้ จึงพอไม่ตาย มีช่องหนทาง
อดนอน ผ่อนอาหาร ทรมานตนอยู่ป่า จิตใจมันชอบของมันอย่างนี้มันชอบให้บังคับ มันยอมพระอุปัชฌาย์เพิ่นสอนไว้แต่วันบวช
อย่ามาถามหาความทุกข์ความยากกับพระธุดงค์ มันเดนตายเหลือตายกันมาทุกคนแล้ว จึงได้เป็นอยู่ในวันนี้ได้ มันฟากตายแล้วทั้งนั้น ”………….
ธรรมะประวัติองค์หลวงปู่จาม มหาปุญโญ ผู้มากมีบุญ วัดป่าวิเวกวัฒนาราม ตอนที่ ๑๐๘
(วัดป่าบ้านห้วยทราย) บ้านห้วยทราย ต.คำชะอี อ.คำชะอี จ.มุกดาหาร
๒๒ กรกฏาคม ๒๕๕๙
กราบขอบพระคุณและขออนุโมทนาบุญท่านเจ้าของผู้ถ่ายภาพนี้ พร้อมทั้งผู้ที่มีส่วนร่วมในการเผยแผ่โอวาทธรรมนี้ ทุกๆท่านครับ
ชีวิตและปฏิปทาของพระธุดงค์
“ ชีวิตและปฏิปทาของพระธุดงค์ ”
อยู่เมืองเหนือ แต่คราวก่อนยังหนุ่ม เรื่องผ้าบังสุกุลเขายังไม่รู้จักไม่เข้าใจได้ดี หากเขาพอใจพระเณรตนใดเขาก็เอามาให้ใช้เฉพาะตนนั้นๆ
การถือธุดงค์การปฏิบัติต้องเลือกอย่างใดอย่างหนึ่งให้มั่นคงเป็นคราวๆไปเช่น การอยู่ที่แจ้งจะกำหนดช่วงใด การอยู่รุกขมูล การอยู่ป่า การอยู่ป่าช้า การอยู่เสนาะสนะที่จัดให้ การเดินแถวบิณฑบาต การบิณฑบาตตามลำดับเรือน การไม่รับภัตกายหลัง การฉันหนเดียว การใช้ผ้าต้องรู้ต้องฉลาดในการรับอุบายข้อปฏิบัติแต่ละข้อ แต่ละกาล ว่ามีข้อจำกัดอย่างใดจึงได้ชื่อว่ามีวัตรปฏิบัติถือธุดงค์
ส่วนการเที่ยวธุดงค์นั้นให้ไปง่ายมาง่าย อยู่ง่าย กินง่าย อย่าให้มีโทษ อย่าให้เป็นบาป จะนั่งจะนอนก็ไม่วุ่นวายอะไรมาก กวาดเอาใบไม้แห้งมารวมกองแล้วเอาผ้านุ่งอาบน้ำปูทับลงก็นอนได้แล้ว จะนั่งก็อาศัยผ้าปูนั่งรองนั่ง ใบไม้ใบหญ้าฟางเฟืองก็ใช้ได้หรืออยู่ประจำที่นานหน่อย ญาติโยมเขาก็มาทำที่พักนั่งร้านให้ เป็นเพิงหมาแหงนบางทีมีแต่หลังคาก็อยู่ได้ หากจะจำพรรษาก็บอกเขาให้ทำที่มุงที่บังให้ก็พอ นอนในหลังหลับในตาจะอะไรมาก พื้นสับฟาก พื้นไม้เรียงลำ พอพ้นจากสัตว์เลื้อยคลานอันตรายได้ หนาวมาก็สุมไฟขึ้นพอได้ไออบอุ่น
การใช้สอยอยู่กิน ไม่เคยขออะไรของใคร ตาเขามีเขาต้องเห็น ใจเขามีเขาต้องพิจารณา ป่วยเป็นก็ฉันยาไปตามเรื่อง ไม่มียาก็ฉันน้ำมูตร ไม่หายก็ฉันภาวนาให้อิ่ม ญาติโยมเขาก็ดูแลอยู่หรอก เขาไม่ปล่อยให้ตายหรอก เพราะเขากลัวไม่มีที่ทำบุญ
การใช้สอยอะไรมีอยู่ก็ใช้ไป ไม่มีก็อย่าไปบอกร้องขอ หากบวชตั้งใจแล้วพระพุทธเจ้า ไม่ปล่อยให้ลูกศิษย์อดยากหรอก ที่ว่าอดยากก็เพราะไม่พอไม่รู้จักพอนั่นเอง
จะไปจะอยู่ก็อย่าให้กังวล อย่าให้ผิดธรรมผิดวินัยไปลามาบอก ที่อยู่ก็อย่าอาลัย ผู้คนก็อย่าได้อาวรณ์ก่อพันธะต่อกัน อยู่ก็ขอข้าวเขามากินเท่านั้นอย่าคลุกคลีหาคุ้นหาเคยหาโลกหาสงสารอะไรกับเขา
เมตตาอบรมพร่ำสอนเขาไปตามเรื่องตามเหตุเท่านั้นก็พอแล้ว ขอให้มั่นคงเฉียบขาดในพระธรรมพระวินัย การปฏิบัติที่ควรส่งเสริมก็คือ การปฏิบัติตนเอง
การเสาะหาที่วิเวกเที่ยวบำเพ็ญสมณธรรมนี้ ที่ใดได้สัปปายะดีก็พักอยู่นานหากที่ใดไม่เหมาะไม่ควรถูกรบกวนมากก็ย้ายไปเสียที่อื่น ไปอย่างนกไปตามอัธยาศัย อนุเคราะห์โปรดสัตว์โลกผู้ตกทุกข์ผู้สาธุชนเรื่อยไป
อย่าประพฤตินอกธรรมนอกวินัย
อย่าละเมิดต่อกฎหมายบ้านเมือง
ระเบียบการของหมู่คณะสงฆ์ผู้ปกครอง
ทำตนเพื่อเป็นแบบอย่างอันดี
ไปดีมาดีอย่ามีเวรมีภัย
มีสัมมาคารวะต่อเจ้าถิ่น
เว้นการยกตนข่มท่านผู้ใด
การปฏิบัติควรใส่ใจให้มาก เพราะในพระศาสนานี้ผู้ปฏิบัติมีน้อยมากจึงควรส่งเสริม แต่ในส่วนของปริยัติก็ให้แตกฉานพอสมควรให้ชอบศึกษาเล่าเรียนให้ใฝ่ใจการปฏิบัติ สันโดษ เลี้ยงง่าย อยู่ง่าย มักน้อย มีความเผื่อแผ่เจือจานประกอบตนด้วยเมตตา ให้เป็นผู้ฉลาดชำนาญในพระศาสนาให้ได้
หากอยู่กับครูบาอาจารย์ต้องตั้งใจในการปฏิบัติอุปัฎฐากครูบาอาจารย์ อย่าให้บกพร่องและกระทบกระเทือนท่านได้ ตื่นก่อนนอนทีหลัง กินทีหลังอิ่มก่อน คอยฟังว่าท่านจะใช้ให้ทำอะไร
หากจะเกี่ยวข้องกับตระกูลผู้คนก็ให้ทำตัวเหมือนแมลงที่ดูดกินแต่น้ำหวานเกสรของดอกไม้อย่าทำให้ดอกไม้บอบช้ำเป็นอันตรายไป”
“ฤดูฝนก็อยู่ประจำที่จำพรรษาเสีย ตกแล้งดินแห้งดินหมาดแล้วจึงขึ้นเขาขึ้นดอยเสาะหาที่ภาวนาต่อไป
ชีวิตการอยู่ป่าต้องฉลาด
ฝนตกทำอย่างไรบริขารจะไม่เปียก
แดดออกจะไปอย่างไรจึงจะไม่ร้อน
หนาวจะอยู่อย่างไร
มดปลวกสัตว์เลื้อยคลานตัวไรตัวเรือดตัวขุ้นแมงเลือดจะเข็บแมงป่อง สัตว์มีพิษต่างๆ จะทำอย่างไร งูเงี้ยวเขี้ยวขอจะทำอย่างไร
จะอยู่ป่าต้องฉลาดจึงจะรักษาตัวเองได้ สู้แดดสู้ลมสู้ฝน หนาวสั่นเป็นลูกนกนั่งเจ่าเป็นลิงตลอดคืนก็เคยมาหลายครั้ง ต้องขึ้นไปนั่งงอยขอนไม้น้ำไหลท่วมมาทั้งสัตว์เลื้อยคลานมันก็หนีน้ำขึ้นมา
ต่อสู้ตลอดคืนจนเช้า ตอนเช้าครองจีวรเปียกน้ำออกไปบิณฑบาตมาฉัน
ไปไหนมาไหนก็ไปด้วยเท้า บางครั้งเท้าเปล่า ก็เดินไปได้สบายเพราะภาวนาไปเดินไป กำหนดจิตไป บ่าสะพายบาตรแบกกลด มือหิ้วหม้อ(กา)น้ำ ขึ้นเขาลงห้วยบุกดงบุกป่าหลงทางวกไปวนมา ฝนตกแดดออกก็อดก็ทนไปตามเรื่องเพราะใจมันชอบอย่างนั้น
สังฆาฏิ ๑ ผืน
จีวร ๑ ผืน
สบงอังสะติดตัวอย่างละผืน สำรองอีกอย่างละผืน
ผ้าอาบน้ำ ๒ ผืน ผ้าปูนั่ง กลด มุ้งกลด ย่าม ถุงบาตร ธรรมกรกหม้อ(กระติกหรือกา)น้ำ โคมไฟ เทียนไข ไม้ขีด(ไฟ) สบู่ยาสีฟันแปรงสีฟัน หินส้ม มีดพับ ถุงไม้สีฟัน ยาเวชภัณฑ์สำหรับโรคประจำตัว ยากาพระ (ยาหม่อง)
มันลำบากที่สุดคือไม้ขีดไฟ แต่ก่อนไฟแก๊สไม่มี มีแต่ไม้ขีดก้านกล่องกระดาษต้องเอากระดาษพลาสติกมาห่อเอาไว้ ฝนตกก็ต้องระวัง
เดินไปบางทีจนลืมมื้อลืมวัน หนทางนับได้เป็นร้อยเป็นพัน ไปบางทีก็ถึงจุดหมาย บางทีก็ตายสลบไป
ชีวิตนี้เที่ยวธุดงค์ ตายสลบไป ๓ ครั้ง เพราะเกี่ยวแก่ไม่ได้ฉันจังหันมาหลายวัน
ไปนอนตายสลบอยู่อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ บ้านนายาว อำเภอห้างฉัตร ลำปาง และอยู่ออบหลวง
อยู่อำเภอห้างฉัตร นั้นหลงป่าหาทางไปทางมาไม่ได้ เกี้ยวไปเวียนมา ถึงแต่ที่เก่า น้ำก็หมดในกาน้ำ เป็นลมล้มสลบลง
ไปด้วยความสงบสบายดีอยู่ พอบุพกรรมมาถึงแล้วก็มืดตึบเป็นเงาดำครอบเอาไว้ มาพิจารณารู้จักได้ในภายหลังว่าเป็นบุพกรรม แต่เมื่อครั้งทรมารทหาร ทรมารช้าง ม้า ในสงครามกับพวกลัวะสมัยที่เกิดเป็นลูกชายเจ้าแม่จามเทวี
หากจิตสบายแล้วบริขารจะมากอย่างไรไม่หนักหรอก มันเบาสบายมันสงบเยือกเย็น จิตสบาย กายสบาย จิตสงบ กายสงบ จิตเบากายเบาเดินไปได้ทั้งวัน เท้าแตก บ่าแตกไปตามเรื่อง
ตั้งใจของตนที่สุด ตั้งใจอยู่ทุกกิริยาอาการ จะเดินอยู่จะนั่งพัก จะหลับจะนอน จะอยู่จะกินเรียกได้ว่าไม่ลดละอยู่ได้หมดค่ำมาใกล้บ้านคนก็หยุดพัก ถามหาน้ำ ถามหาป่าช้า ที่ว่าง เถียงนา อยู่ตามโคนไม้ กลางแจ้ง ทุ่งนา ริมธาร เงื้อมหิน หน้าผา ท้องถ้ำ โลงผี ดอนปู่ตา ศาลาผี ศาลาริมทาง อยู่ได้หมด อาบน้ำอาบท่าแล้ว ไหว้พระสวดมนต์ พักผ่อนหลับนอน ตื่นลุกขึ้นเจริญภาวนาปฏิบัติของตน
เรื่องการอดอาหารได้ทดลองทำแล้ว แต่เป็นการบังคับธาตุขันธ์เกินไป ต่อสู้ปฏิบัติไปมิได้ ต้องเลิก มาอดนอนผ่อนอาหารจึงถูกกับจิตจริตศรัทธาปฏิปทาของตน การปฏิบัติก็ก้าวหน้าเป็นไปได้
การอดนอนนี่พ้น ๗ วัน ไปแล้วจึงสบาย
การถืออริยาบถ ๓ นี่ทำเฉพาะวันพระ แต่การอดนอนนั้นให้กายนี้เหยียดนอนได้แต่ไม่ให้หลับ เพื่อให้ผ่อนคลายบ้าง
กลางวันอากาศร้อนแดดแข็งก็หยุดพักผ่อนภาวนา หลบอยู่ตามริมน้ำริมห้วย กลางคืนข้างขึ้นข้างแรมใหม่ๆ ก็อาศัยแสงพระจันทร์พอได้เดินทางไป
เรื่องอุตุสัปปายะ นี้ผู้ข้าฯ ชอบอากาศเย็นสบายเพราะไม่ร้อนเหนียวเหงื่อไคลจิตก็สบายกายก็สะดวกจิตก็รวมลงได้ง่าย
บางทีเดินไปตอนกลางคืน เทวดาโปรยหว่านดอกไม้ทิพย์ โปรยหว่านเพชร หว่านพลอยบูชาก็มี แต่ไม่สนใจพวกเขาหรอก เราก็อนุโมทนาให้พรแล้วก็จากกันไป
บางทีเดินไปเดินไป ธรรมะปัญญาเกิดขึ้นมาต้องหยุดยืนพิจารณาให้รู้ถูกผิดเหตุผล”
“เมืองเหนือเว้นแต่แม่ฮ่องสอน ไปไม่ถึง นอกนั้นได้ไปทุกจังหวัด
ภาคกลาง กรุงเทพฯ เมืองเพชร สมุทรปราการ ลพบุรี นครสวรรค์ พิจิตร กำแพงเพชร เพชรบูรณ์ พิษณุโลก อุตรดิตถ์
พม่า ไม่ได้ข้ามไป
อยู่นานที่สุด อำเภอแม่แตง อำเภอพร้าว เชียงใหม่ วกไปวนมาเกือบทุกหมู่บ้านภาวนาแล้วหมู่เทวดาหมู่พรหมมาหามากที่สุด อยู่ถ้ำมะกะ ปางหนาด ปางเมี่ยง แม่ทะพระสะบาย
จะนับดอยไม่รู้กี่สิบลูกร้อยดอย
จะนับห้วยน้ำก็ไม่รู้เท่าใด
จะนับถนนหนทางก็นับมิได้
ไปแท้ไปว่าสมัยยังหนุ่มเรี่ยวแรงกำลังดี
เป็นพระธุดงค์ต้องทราบความมุ่งหมายของธุดงค์ประโยชน์ของธุดงควัตร ของวัตร ของข้อวัตร ทุกข้อทุกอย่าง
ข้อใดปราบปรามใจอย่างใด ได้ผลได้ประโยชน์อย่างใด
ข้อใดแก้มูลกิเลสในกาลใดเวลาใด ประเภทใด”
“พระธุดงค์คือ ผู้ทำความดับเชื้อทุกข์อยู่เสมอ กลั่นกรองตัวเองอยู่เสมอ ธุดงค์ ข้อวัตร วัตรปฏิบัติทั้งหลาย เป็นผลเป็นประโยชน์แก่ผู้ปฏิบัติอยู่เสมอตลอดเวลา ตัดอุปสรรค ดำรงวงศ์ตระกูลของกรรมฐานเอาไว้ เพราะต้นแบบอย่างปฏิปทาของนักบวช ของผู้มุ่งความพ้นทุกข์
ธุดงค์วัตรไม่เกินสมัย ไม่ล้าสมัย
มีศีลเสียก่อนจึงมีวัตร
มีศีลมีวัตรจึงจักเป็นธรรมเป็นวินัย
ความปฏิบัติตน ความประพฤติตน ความเป็นผู้มีศีลอันดีบริสุทธิ์ความรอบรู้ในการเป็นอยู่การใช้สอย ล้วนแล้วแต่เป็นอัญญมัญญปัจจัยธรรมให้แก่มรรคแก่ผลทั้งหมด
การไปคนเดียวอยู่คนเดียวนั้นเหมาะกับจริตนิสสัยของผู้ข้าฯ ที่สุด เพราะชอบนิสสัยสงบ แม้จะมีหมู่มาอยู่ด้วยก็ไม่เกิน ๕ หากเกิน ๕ แล้วผู้ข้าฯ ก็หนีไปเสีย อยู่คนเดียวมันมีสติระลึกรู้สึกตัวเอง จิตใจไม่สนใจเรื่องอื่นใด ไม่มีอารมณ์เกาะเกี่ยวเที่ยวหาโทษ มีแต่สติมีแต่ความเพียรมีแต่ความรู้ตัว รับผิดรับชอบแต่เรื่องของตัวเองเท่านั้น
คนสละเป็นสละตายได้จึงอยู่คนเดียวไปมาคนเดียวได้ จะตายอย่างไรไม่ห่วงแล้ว
หากใจมีความสะดวกสบาย หากจิตดี ร่างกายก็ดี มันกลมกลืนล้มไปด้วยกันได้ ความจดจ่อพากเพียรในอิริยาบถ ความมีพร้อมสติปัญญา หากมีขึ้นช่วงใดเวลาใด การกินก็เกิดความพอดี การหลับนอนก็พอแต่กายพักผ่อนได้เท่านั้น มันถึงความพอดีมีประมาณ มันเหมาะสมไปด้วยกันได้หมด
วัตถุใดๆ ไม่ทันกายใจ อาหารหยูกยาที่หลับนอนเครื่องนุ่งของห่มไม่มาทับถมกายใจได้
กินมากก็นอนมาก เพราะมันขี้เกียจขี้คร้าน มันเมาอาหารเมาหลับเมานอน
ผู้ข้าฯ เป็นคนไม่ยอมรับคนง่าย มันจึงภาวนายาก เป็นยากได้ยาก เพราะใจมันคอยฝืนสู้อยู่กับสิ่งที่ว่าไม่ถูกไม่ต้อง ไม่รู้มันเป็นกิเลสเป็นตัณหาอะไรหรอก รู้แต่ว่ามันยาก
พอรู้ว่ายากก็เสาะหาที่ภาวนาป่าเขา ทรมานตนอยู่กับป่า เสาะหาครูบาอาจารย์ผู้รู้จริตนิสสัยของเรามาเข่นขู่สู้ขนาบให้ จึงพอไม่ตาย มีช่องหนทาง
อดนอน ผ่อนอาหาร ทรมานตนอยู่ป่า จิตใจมันชอบของมันอย่างนี้มันชอบให้บังคับ มันยอมพระอุปัชฌาย์เพิ่นสอนไว้แต่วันบวช
อย่ามาถามหาความทุกข์ความยากกับพระธุดงค์ มันเดนตายเหลือตายกันมาทุกคนแล้ว จึงได้เป็นอยู่ในวันนี้ได้ มันฟากตายแล้วทั้งนั้น ”………….
ธรรมะประวัติองค์หลวงปู่จาม มหาปุญโญ ผู้มากมีบุญ วัดป่าวิเวกวัฒนาราม ตอนที่ ๑๐๘
(วัดป่าบ้านห้วยทราย) บ้านห้วยทราย ต.คำชะอี อ.คำชะอี จ.มุกดาหาร
๒๒ กรกฏาคม ๒๕๕๙
กราบขอบพระคุณและขออนุโมทนาบุญท่านเจ้าของผู้ถ่ายภาพนี้ พร้อมทั้งผู้ที่มีส่วนร่วมในการเผยแผ่โอวาทธรรมนี้ ทุกๆท่านครับ