ธุรกิจ บดพลาสติก เวิค ไม่เวิค?

สนใจธุรกิจตัวนี้อยู่ค่ะ เพราะ โรงงานที่รับซื้อพลาสติกที่บดแล้วอยู่ห่างจากบ้านแค่5 กม. ซึ่งน่าจะสะดวก ในการขนย้ายไปขาย แต่เรายังมีข้อมูลไม่มาก ทราบเพียง ว่าต้องมีเครื่องบด ขวดพลาสติกที่แกะป้ายออกแล้ว  เราคิดไว้ว่า จะรับขวดที่แกะแล้ว ไม่นำมาแกะเองค่ะ และ1เครื่องจะบดได้วันละประมาณ500-1000กก.  ราคาเครื่องละไม่เกินหนึ่งแสนบาท ไฟฟ้าระบบสามเฟสมีอยู่แล้วค่ะ  ในอำเภอยังไม่มีคนอื่นทำธุกิจนี้ แต่ อำเภอใกล้เคียงมีบ้างค่ะ ตั้งใจทำเป็นอาชีพเสริม โดยจ้างลูกน้อง สัก2คน ตั้งเป้าวันละ1000-1500กก.

สิ่งที่อยากสอบถามเพื่อนๆพันทิปคือ ธุรกิจนี้น่าสนใจหรือไม่คะ  มีอุปสรรคอะไรบ้างที่ทำให้ไม่น่าลงทุน หรือ จุดเด่นอะไรที่ทำให้น่าลงทุนคะ  ยังไม่เคยทำธุรกิจใดๆมาก่อนค่ะ ขอความเห็นคำแนะนำจากทุกคนด้วยนะคะ ^^
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 4
ข้อสำคัญอยู่ที่มีวัตถุดิบป้อนเครื่องบดต่อเนื่องหรือไม่ เพื่อให้เครื่องจักรและแรงงานได้ทำงานต่อเนื่องคุ้มค่ากับการลงทุน
เครื่องบดใช้มอเตอร์ 3 แรง ความเร็วรอบต่ำ ผ่านตะแกรงบดขนาด 10 มม. สามารถบดขวดที่ทำความสะอาดและแกะฉลาก
ออกแล้วได้ชม.ละ 200-250 กก.
การรับซื้อขวด PET ที่แกะฉลาดแล้วลดขั้นตอนการทำงานได้มาก ขวดพลาสติกที่แกะฉลากออกแล้วได้มาจากชุมชนขนาด
ใหญ่ มีการตกลงซื้อขายประจำและให้ราคาขายสูงกว่าทั่วไป เช่น โรงเรียน สถานศึกษา สถานที่ราชการ  ส่วนขวดรับซื้อทั่วไป
ไม่ค่อยมีแบบที่แกะฉลาก ต้องลงทุนซื้อเครื่องแกะฉลากทำงานอีกขั้นตอนหนึ่งก่อนบด ตลาดรับซื้อรายใหญ่
นอกจากในชุมชนตจว.แล้ว มีแหล่งรับซื้อรายใหญ่อยู่ย่านบางกะดี่ แสมดำ กทม. เพื่อรอส่งออกไปตปท.โดยเฉพาะ จีนและอินเดีย
ธุรกิจบดขวด PET หากตั้งอยู่ในโซนภาคตะวันออก ยังมีตลาดรับซื้อแผ่นลูกฟูก(ฟิวเจอร์บอร์ด) สีน้ำเงิน สีแดง สีขียว  เขตนี้มีวัตถุดิบ
ฟิวเจอร์บอร์ดต่อเนื่องมากกว่า 10 ตัน/วัน มีเศษพลาสติกประเภทลังภาชนะต่างๆมากกว่า 100 ตัน/วัน สามารถบดแล้วป้อนโรงหลอม
เม็ดพลาสติกรีไซเคิล ทำเม็ดพลาสติกส่งโรงงานผลิตแผ่นปูพื้น พาเลทพลาสติก ลังพลาสติก ตลาดมีความต้องการสูงมากกว่าขวด
PETหลายเท่า โรงงานพลาสติกที่ใช้เม็ด HDPE PP รีไซเคิล เช่น บริษัท สยามเมธี ,นำง่ายฮง,วิริยะกิจอุตสหากรรมพลาสติก,โรงงาน3S ,
โรงงานวินเนอร์อินเตอร์พลาสตท์,แพลตตินั่มโปรพลาสติก รวมๆมากกว่า 1,000 ตัน/เดือน
หากคิดจะลงทุนธุรกิจด้านนี้ โดยไม่ต้องลงทุนตั้งโรงงานและมีต้นทุนประจำ โดยเริ่มจากหาตลาดซื้อขายเม็ดรีไซเคิลและทำระบบ OEM
ทุกขั้นตอน เช่น หาตลาดโรงงานฉีดพลาสติกที่รับซื้อเม็ดพลาสติก PP สีน้ำเงิน ตกลงราคาซื้อขายราคา 30 บาท/กก. แล้ววิ่งหาแหล่ง
เศษบดเศษพีพี ราคา 20 บาท/กก. นำเข้าโรงหลอมจ้างโรงหลอมรีดเม็ด 5 บาท/กก. มีค่ารถบรรทุก 2 บาท/กก. เหลือส่วนต่าง 3 บาท/
กก. แต่ละเดือนหาแหล่งวัตถุดิบให้ได้เดือนละ 30 ตัน เหลือผลกำไรก่อนภาษี 9 หมื่นบาท/เดือน แล้วค่อยนำผลกำไรสะสมไปทำโรงงาน
เล็กๆในชุมชนได้ครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่