ชลบุรี 14 ก.ค. – การรถไฟแห่งประเทศไทยนำสื่อมวลชนร่วมพิธีเปิดตัวรถโดยสารรุ่นใหม่สำหรับเชิงพาณิชย์ 39 คัน
นายออมสิน ชีวะพฤกษ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการ กระทรวงคมนาคม เป็นประธาน เปิดตัวรถโดยสารรุ่นใหม่สำหรับบริการเชิงพาณิชย์รอบแรก 39 คัน จากทั้งหมด 115 คัน ของการรถไฟแห่งประเทศไทย ที่สั่งซื้อ จากบริษัท CRRC (China Railway Rolling Stock Corporation) หรือ CNR (China CNR Corporation Limited) และเครื่องแบบใหม่ ของพนักงานประจำรถ ที่ สถานีรถไฟศรีราชา จังหวัดชลบุรี พร้อมด้วยนายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร ผู้ว่า การรถไฟแห่งประเทศไทย
นายออมสิน ระบุว่า การจัดหารถโดยสารใหม่ชุดนี้ ถือเป็นย่างก้าวสำคัญของการรถไฟฯ ในการเปลี่ยนแปลง การให้บริการรถโดยสารให้ทันสมัยใหม่ เพื่อประชาชนผู้ใช้บริการได้รับความสะดวกสบาย ตามนโยบายของรัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และกระทรวงคมนาคม ซึ่งเป็นเครื่องยืนยันว่ารัฐบาลชุดปัจจุบัน มีความมุ่งมั่นและตั้งใจที่จะพัฒนาระบบรางของประเทศให้มีความสมบูรณ์
ด้านนายวุฒิชาติ กล่าววว่า การรับมอบขบวนรถไฟทั้งหมดจะผ่าน ขั้นตอนต่างๆแล้วเสร็จสมบูรณ์ภายในเดือนกรกฎาคมนี้ และในเดือนสิงหาคมการรถไฟแห่งประเทศไทยจะเรียนเชิญพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชานายกรัฐมนตรี มาร่วมพิธีเปิดขบวนรถโดยสารรุ่นใหม่ที่เดินทางในเส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่เป็นครั้งแรกด้วย
สำหรับรถโดยสารทั้งหมดจะมีระบบการทำงาน และการอำนวยความสะดวกที่ทันสมัย โดยในส่วนรถปรับอากาศนั่งและนอนชั้นที่ 1 (เฟิร์สคลาส) ซึ่งมี 24 ที่นั่ง 12 ห้อง ได้มีการติดตั้งจอแอลซีดีสำหรับผู้โดยสารทุกที่นั่ง และช่องเสียบ USB สำหรับชาร์ตแบตเตอรี่ เพื่อใช้เป็นช่องทางแจ้งข้อมูลข่าวสารของการรถไฟฯ ถึงผู้โดยสาร รวมถึงรวบรวมรายการบันเทิงชั้นนำ เช่น ภาพยนตร์ เพลง เพื่อให้ความบันเทิงตลอดการเดินทาง ขณะเดียวกันผู้โดยสารยังใช้ช่องทางนี้ติดต่อกับเจ้าหน้าที่บนรถไฟ เช่น สั่งอาหารได้จากที่นั่งทันที
ขณะที่รถปรับอากาศนั่งและนอนชั้นที่ 2 มีการติดตั้งจอแอลซีดีขนาดใหญ่ 4 จอ ใช้แจ้งข้อมูลข่าวสารให้ผู้โดยสาร เช่น การแจ้งเตือนระยะเวลาถึงสถานีปลายทาง ข้อมูลข่าวสารอื่นๆ เช่นเดียวกับป้ายบอกข้างตัวรถได้ทำเป็นระบบดิจิทัลสำหรับบอกชื่อสถานี และที่สำคัญในส่วนของบริการห้องน้ำ การรถไฟฯ ได้นำห้องน้ำระบบปิดสุญญากาศ ซึ่งมีความทันสมัยเท่ากับห้องน้ำบนเครื่องบินมาให้บริการ มีความสะอาด สะดวก ลดปัญหากลิ่นเหม็น และประหยัดน้ำกว่าเดิม นอกจากนี้เพื่อเป็นการป้องกันเสียงรบกวนระหว่างการเดินทาง การรถไฟฯได้มีการนำระบบรถ Power Car มาใช้จ่ายไฟให้กับรถโดยสารทั้งขบวน ทดแทนระบบเดิมที่จะใช้เครื่องยนต์ ในรถโดยสารทุกคัน ซึ่งนอกจากจะช่วยลดเสียงรบกวนจากเครื่องยนต์แล้ว ยังเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ช่วยประหยัดพลังงานได้ถึง 13% ด้วย
ส่วนรักษาความปลอดภัย ภายในรถโดยสารใหม่มีการติดตั้งกล้องวงจรปิดโดยรอบตลอดทั้งคันเพื่อสร้างความอุ่นใจในการเดินทาง รวมถึงมีการติดตั้งระบบห้ามล้อแบบดิสเบรกเอบีเอส ระบบอัตโนมัติแจ้งเตือนการปิดประตูรถไม่สนิทก่อนขบวนออกจากสถานี รวมถึงการทำทางเชื่อมระหว่างตู้โดยสารบนขบวนรถ ทำให้ไม่มีช่องว่างระหว่างข้อต่อขบวน ช่วยเพิ่มความปลอดภัยในการเดินทางนอกจากนี้ในรถรุ่นใหม่ยังมีบริการตู้โดยสารสำหรับผู้พิการและผู้สูงวัยเพื่อใช้เดินทาง โดยมีลิฟท์สำหรับยกรถวีลแชร์ รวมถึงบริการวีลแชร์สำรอง
สำหรับรายละเอียดการจัดหารถโดยสารรุ่นใหม่ สำหรับบริการเชิงพาณิชย์ทั้ง 115 คัน แบ่งเป็นการจัดหารถพ่วงเป็นรถปรับอากาศนั่งและนอนชั้นที่1 (บนอ.ป.) 9 คัน, รถปรับอากาศนั่งและนอนชั้นที่2 (บนท.ป.) 88 คัน ในจำนวนนี้มีรถสำหรับผู้พิการ 9 คัน, รถโบกี้ขายอาหารปรับอากาศ (บกข.ป.) 9 คัน และรถกำลังไฟฟ้า (Power Car) 9 คัน และในจำนวนทั้งหมดแบ่งเป็นรถสำหรับใช้งาน 104 คัน ส่วนอีก 11 คัน ใช้เป็นรถสำรองรวมทั้งสิ้น 115 คัน
ทั้งนี้การรถไฟฯ มีแผนนำรถโดยสารชุดใหม่ทั้งหมด ไปเปิดเดินขบวนให้บริการเป็นขบวนรถด่วนพิเศษ 4 เส้นทาง ระหว่างสถานีกรุงเทพ–เชียงใหม่, อุบลราชธานี, หนองคาย และหาดใหญ่ ไป – กลับ วันละ 2 ขบวนต่อเส้นทาง รวม 8 ขบวน ซึ่งจะเปิดให้บริการได้ครบทั้ง 4 เส้นทาง ในปีงบประมาณ 2560 – สำนักข่าวไทย
http://www.tnamcot.com/content/513442
การรถไฟแห่งประเทศไทย นำสื่อมวลชนร่วมพิธี เปิดตัวรถโดยสารรุ่นใหม่ สำหรับเชิงพาณิชย์ 39 คัน
นายออมสิน ชีวะพฤกษ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการ กระทรวงคมนาคม เป็นประธาน เปิดตัวรถโดยสารรุ่นใหม่สำหรับบริการเชิงพาณิชย์รอบแรก 39 คัน จากทั้งหมด 115 คัน ของการรถไฟแห่งประเทศไทย ที่สั่งซื้อ จากบริษัท CRRC (China Railway Rolling Stock Corporation) หรือ CNR (China CNR Corporation Limited) และเครื่องแบบใหม่ ของพนักงานประจำรถ ที่ สถานีรถไฟศรีราชา จังหวัดชลบุรี พร้อมด้วยนายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร ผู้ว่า การรถไฟแห่งประเทศไทย
นายออมสิน ระบุว่า การจัดหารถโดยสารใหม่ชุดนี้ ถือเป็นย่างก้าวสำคัญของการรถไฟฯ ในการเปลี่ยนแปลง การให้บริการรถโดยสารให้ทันสมัยใหม่ เพื่อประชาชนผู้ใช้บริการได้รับความสะดวกสบาย ตามนโยบายของรัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และกระทรวงคมนาคม ซึ่งเป็นเครื่องยืนยันว่ารัฐบาลชุดปัจจุบัน มีความมุ่งมั่นและตั้งใจที่จะพัฒนาระบบรางของประเทศให้มีความสมบูรณ์
ด้านนายวุฒิชาติ กล่าววว่า การรับมอบขบวนรถไฟทั้งหมดจะผ่าน ขั้นตอนต่างๆแล้วเสร็จสมบูรณ์ภายในเดือนกรกฎาคมนี้ และในเดือนสิงหาคมการรถไฟแห่งประเทศไทยจะเรียนเชิญพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชานายกรัฐมนตรี มาร่วมพิธีเปิดขบวนรถโดยสารรุ่นใหม่ที่เดินทางในเส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่เป็นครั้งแรกด้วย
สำหรับรถโดยสารทั้งหมดจะมีระบบการทำงาน และการอำนวยความสะดวกที่ทันสมัย โดยในส่วนรถปรับอากาศนั่งและนอนชั้นที่ 1 (เฟิร์สคลาส) ซึ่งมี 24 ที่นั่ง 12 ห้อง ได้มีการติดตั้งจอแอลซีดีสำหรับผู้โดยสารทุกที่นั่ง และช่องเสียบ USB สำหรับชาร์ตแบตเตอรี่ เพื่อใช้เป็นช่องทางแจ้งข้อมูลข่าวสารของการรถไฟฯ ถึงผู้โดยสาร รวมถึงรวบรวมรายการบันเทิงชั้นนำ เช่น ภาพยนตร์ เพลง เพื่อให้ความบันเทิงตลอดการเดินทาง ขณะเดียวกันผู้โดยสารยังใช้ช่องทางนี้ติดต่อกับเจ้าหน้าที่บนรถไฟ เช่น สั่งอาหารได้จากที่นั่งทันที
ขณะที่รถปรับอากาศนั่งและนอนชั้นที่ 2 มีการติดตั้งจอแอลซีดีขนาดใหญ่ 4 จอ ใช้แจ้งข้อมูลข่าวสารให้ผู้โดยสาร เช่น การแจ้งเตือนระยะเวลาถึงสถานีปลายทาง ข้อมูลข่าวสารอื่นๆ เช่นเดียวกับป้ายบอกข้างตัวรถได้ทำเป็นระบบดิจิทัลสำหรับบอกชื่อสถานี และที่สำคัญในส่วนของบริการห้องน้ำ การรถไฟฯ ได้นำห้องน้ำระบบปิดสุญญากาศ ซึ่งมีความทันสมัยเท่ากับห้องน้ำบนเครื่องบินมาให้บริการ มีความสะอาด สะดวก ลดปัญหากลิ่นเหม็น และประหยัดน้ำกว่าเดิม นอกจากนี้เพื่อเป็นการป้องกันเสียงรบกวนระหว่างการเดินทาง การรถไฟฯได้มีการนำระบบรถ Power Car มาใช้จ่ายไฟให้กับรถโดยสารทั้งขบวน ทดแทนระบบเดิมที่จะใช้เครื่องยนต์ ในรถโดยสารทุกคัน ซึ่งนอกจากจะช่วยลดเสียงรบกวนจากเครื่องยนต์แล้ว ยังเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ช่วยประหยัดพลังงานได้ถึง 13% ด้วย
ส่วนรักษาความปลอดภัย ภายในรถโดยสารใหม่มีการติดตั้งกล้องวงจรปิดโดยรอบตลอดทั้งคันเพื่อสร้างความอุ่นใจในการเดินทาง รวมถึงมีการติดตั้งระบบห้ามล้อแบบดิสเบรกเอบีเอส ระบบอัตโนมัติแจ้งเตือนการปิดประตูรถไม่สนิทก่อนขบวนออกจากสถานี รวมถึงการทำทางเชื่อมระหว่างตู้โดยสารบนขบวนรถ ทำให้ไม่มีช่องว่างระหว่างข้อต่อขบวน ช่วยเพิ่มความปลอดภัยในการเดินทางนอกจากนี้ในรถรุ่นใหม่ยังมีบริการตู้โดยสารสำหรับผู้พิการและผู้สูงวัยเพื่อใช้เดินทาง โดยมีลิฟท์สำหรับยกรถวีลแชร์ รวมถึงบริการวีลแชร์สำรอง
สำหรับรายละเอียดการจัดหารถโดยสารรุ่นใหม่ สำหรับบริการเชิงพาณิชย์ทั้ง 115 คัน แบ่งเป็นการจัดหารถพ่วงเป็นรถปรับอากาศนั่งและนอนชั้นที่1 (บนอ.ป.) 9 คัน, รถปรับอากาศนั่งและนอนชั้นที่2 (บนท.ป.) 88 คัน ในจำนวนนี้มีรถสำหรับผู้พิการ 9 คัน, รถโบกี้ขายอาหารปรับอากาศ (บกข.ป.) 9 คัน และรถกำลังไฟฟ้า (Power Car) 9 คัน และในจำนวนทั้งหมดแบ่งเป็นรถสำหรับใช้งาน 104 คัน ส่วนอีก 11 คัน ใช้เป็นรถสำรองรวมทั้งสิ้น 115 คัน
ทั้งนี้การรถไฟฯ มีแผนนำรถโดยสารชุดใหม่ทั้งหมด ไปเปิดเดินขบวนให้บริการเป็นขบวนรถด่วนพิเศษ 4 เส้นทาง ระหว่างสถานีกรุงเทพ–เชียงใหม่, อุบลราชธานี, หนองคาย และหาดใหญ่ ไป – กลับ วันละ 2 ขบวนต่อเส้นทาง รวม 8 ขบวน ซึ่งจะเปิดให้บริการได้ครบทั้ง 4 เส้นทาง ในปีงบประมาณ 2560 – สำนักข่าวไทย http://www.tnamcot.com/content/513442